homeowners insurance Claim home insurance Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim commercial insurance Claim cheap auto insurance Claim cheap health insurance Claim indemnity Claim car insurance companies Claim progressive quote Claim usaa car insurance Claim insurance near me Claim term life insurance Claim auto insurance near me Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim progressive renters insurance Claim state farm insurance quote Claim metlife auto insurance Claim best insurance companies Claim progressive auto insurance quote Claim cheap car insurance quotes Claim allstate car insurance Claim rental car insurance Claim car insurance online Claim liberty mutual car insurance Claim cheap car insurance near me Claim best auto insurance Claim home insurance companies Claim usaa home insurance Claim list of car insurance companies Claim full coverage insurance Claim allstate insurance near me Claim cheap insurance quotes Claim national insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim health insurance quotes Claim ameritas dental Claim state farm renters insurance Claim medicare supplement plans Claim progressive renters insurance Claim aetna providers Claim title insurance Claim sr22 insurance Claim medicare advantage plans Claim aetna health insurance Claim ambetter insurance Claim umr insurance Claim massmutual 401k Claim private health insurance Claim assurant renters insurance Claim assurant insurance Claim dental insurance plans Claim state farm insurance quote Claim health insurance plans Claim workers compensation insurance Claim geha dental Claim metlife auto insurance Claim boat insurance Claim aarp insurance Claim costco insurance Claim flood insurance Claim best insurance companies Claim cheap car insurance quotes Claim best travel insurance Claim insurance agents near me Claim car insurance Claim car insurance quotes Claim auto insurance Claim auto insurance quotes Claim long term care insurance Claim auto insurance companies Claim home insurance quotes Claim cheap car insurance quotes Claim affordable car insurance Claim professional liability insurance Claim cheap car insurance near me Claim small business insurance Claim vehicle insurance Claim best auto insurance Claim full coverage insurance Claim motorcycle insurance quote Claim homeowners insurance quote Claim errors and omissions insurance Claim general liability insurance Claim best renters insurance Claim cheap home insurance Claim cheap insurance near me Claim cheap full coverage insurance Claim cheap life insurance Claim

แพทย์ชี้ผู้สูงอายุ เสี่ยงกระดูกสะโพกหักสูง


ผู้สูงอายุ


แพทย์ชี้ผู้สูงอายุเสี่ยงกระดูกสะโพกหักสูง (กระทรวงสาธารณสุข)


         แพทย์กระดูกชี้ผู้สูงอายุไทย เสี่ยงกระดูกสะโพกหักสูงเพิ่มตามอายุ เหตุร้อยละ 90 มาจาก "หกล้ม" ชี้ผู้ที่มีปัญหากระดูกพรุน เสี่ยงอาการรุนแรง ต้องเร่งป้องกันตั้งแต่วัยหนุ่มสาว

          นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรมกระดูก ประจำโรงพยาบาลลำปาง ให้สัมภาษณ์ว่า ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง "อุบัติการณ์กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง ผลการศึกษา 10 ปี และการพยากรณ์" ซึ่งจะเป็นข้อมูลวิชาการประกอบการวางแผนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุไทย ซึ่งมีทิศทางเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยที่อยู่ในภาวะเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ จึงต้องมีการวางแผนการดูแลอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้กระดูกสะโพกหัก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ พบผู้ป่วยจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหากระดูกพรุนอยู่แล้ว จะมีอาการรุนแรงกว่าผู้สูงอายุทั่วไป ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เสียชีวิต และเสียค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลรักษา

          ขณะนี้ มีรายงานพบปัญหากระดูกสะโพกหักสูงสุดในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้แก่ กลุ่มสแกนดิเนเวียและอเมริกาเหนือ ส่วนในทวีปเอเชียพบมากที่ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่นและไต้หวัน นักวิจัยได้คาด ประมาณว่า จำนวนผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักทั่วโลกใน พ.ศ.2568 จะมีมากถึง 2 ล้าน 6 แสนราย โดยร้อยละ 37 อยู่ในทวีปเอเชีย และในพ.ศ.2593 หรืออีก 40 ปีข้างหน้า จะเพิ่มเป็น 4 ล้าน 5 แสนราย ซึ่งร้อยละ 45 อยู่ในทวีปเอเชีย ทั้งนี้ ผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก จะมีอัตราเสียชีวิตภายในปีแรกร้อยละ 17-28 และมีรายงานที่โรงพยาบาลรามาธิบดีว่า ผู้ป่วยดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษารายละประมาณ 116,000 บาทต่อปี

          นาย แพทย์ณัฐพงศ์ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอุบัติการณ์กระดูกสะโพกหักสูงขึ้น เพราะประชาชนมีอายุยืนขึ้น จำนวนผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้ไทยมีผู้สูงอายุประมาณ 7 ล้านคน แต่ที่ผ่านมา สถิติการเกิดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ยังต่ำกว่าความเป็นจริงมาก พบได้ประมาณแสนละ 7 คน โดยยังไม่เคยมีรายงานการศึกษาผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก และคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยในอนาคตมาก่อน ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษา ปัญหาดังกล่าวของจังหวัดลำปาง เพื่อหาลักษณะและอัตราการเกิดกระดูกสะโพกหักในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปของจังหวัดลำปาง ระหว่างพ.ศ. 2540-2549 และคาดทำนายจำนวนผู้ป่วยในอีก 20 ปีข้างหน้า เพื่อนำมาวางแผนป้องกัน และจัดการกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม

          ในการศึกษาครั้งนี้ ได้เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยอายุ 50 ปีขึ้นไป อายุสูงสุดคือ 80 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยว่ากระดูกสะโพกหัก และรักษาตัวที่โรงพยาบาลศูนย์ลำปาง ระหว่างพ.ศ. 2540-2549 พบมีผู้ป่วยทั้งหมด 2,572 ราย เป็นหญิง 1,822 ราย ที่เหลืออีก 750 รายเป็นชาย จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 13 ต่อปี ผู้หญิงจะเริ่มป่วยอายุประมาณ 75 ปี ขณะที่ผู้ชายเริ่มเมื่ออายุประมาณ 74 ปี

          นาย แพทย์ณัฐพงศ์ กล่าวต่อไปว่า จุดที่เกิดการหักของกระดูกสะโพกมากที่สุดคือ บริเวณส่วนหัวของกระดูกขาท่อนบน ที่มีชื่อว่าโทรแชนเตอร์ (Trochanter) ซึ่งกระดูกส่วนนี้จะเป็นส่วนที่รองรับกับเบ้ากระดูกสะโพกทั้ง 2 ข้าง โดยส่วนปลายกระดูกจะมีลักษณะเป็นหัวกลม ๆ และคอค่อนข้างกิ่วคล้ายกับหัวค้อน เมื่อโดนแรงกระแทกจึงหักง่าย พบมากถึงร้อยละ 59-66 ยิ่งอายุมากก็ยิ่งพบปัญหามาก โดยในรอบ 10 ปี เพศหญิงป่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 153 ส่วนชายป่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 136

          นายแพทย์ณัฐพงศ์ กล่าวอีกว่า ผลจากการศึกษาปัญหากระดูกสะโพกหักตลอด 10 ปีในจังหวัดลำปาง สามารถพยากรณ์ได้ว่าผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกสะโพกหัก ซึ่งจังหวัดลำปางมีมีอัตราเพิ่มขึ้นของคนวัยนี้ร้อยละ 2.6 ต่อปี จึงคาดว่าในปี 2559 จังหวัดลำปางจะมีผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักจำนวน 1,568 ราย หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ประมาณ 3 เท่าตัว และจะเพิ่มเป็น 2,128 รายในปี 2569

          ทั้ง นี้สาเหตุกระดูกสะโพกหัก ส่วนใหญ่เกิดมาจากปัญหากระดูกพรุน ซึ่งคนไทยขณะนี้มีแนวโน้มใช้ชีวิตแบบคนเมืองมากขึ้น ออกกำลังกายน้อยลง กินอาหารที่ไม่ได้ส่งเสริมความแข็งแรงของมวลกระดูก เช่น กินอาหารจานด่วนที่มีแต่เนื้อ ไม่มีกระดูก โดยอาหารที่จะส่งเสริมให้มีมวลกระดูกมากขึ้น ก็คือ นม หรือจำพวกปลาเล็กปลาน้อยที่กินได้ทั้งตัว เพราะมีแคลเซียมมาก นอกจากนี้จะต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการยึดของกล้ามเนื้อกับกระดูกได้ดีขึ้น โดยการป้องกันปัญหาโรคกระดูกพรุน จะต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาว เพื่อสะสมความแข็งแรงไปเรื่อย ๆ เป็นต้นทุนสุขภาพ เมื่อก้าวสู่วัยสูงอายุก็จะมีปัญหาน้อยน้อยลง หรือไม่เกิดปัญหาเลย


http://health.kapook.com/view18033.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก