homeowners insurance Claim home insurance Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim commercial insurance Claim cheap auto insurance Claim cheap health insurance Claim indemnity Claim car insurance companies Claim progressive quote Claim usaa car insurance Claim insurance near me Claim term life insurance Claim auto insurance near me Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim progressive renters insurance Claim state farm insurance quote Claim metlife auto insurance Claim best insurance companies Claim progressive auto insurance quote Claim cheap car insurance quotes Claim allstate car insurance Claim rental car insurance Claim car insurance online Claim liberty mutual car insurance Claim cheap car insurance near me Claim best auto insurance Claim home insurance companies Claim usaa home insurance Claim list of car insurance companies Claim full coverage insurance Claim allstate insurance near me Claim cheap insurance quotes Claim national insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim health insurance quotes Claim ameritas dental Claim state farm renters insurance Claim medicare supplement plans Claim progressive renters insurance Claim aetna providers Claim title insurance Claim sr22 insurance Claim medicare advantage plans Claim aetna health insurance Claim ambetter insurance Claim umr insurance Claim massmutual 401k Claim private health insurance Claim assurant renters insurance Claim assurant insurance Claim dental insurance plans Claim state farm insurance quote Claim health insurance plans Claim workers compensation insurance Claim geha dental Claim metlife auto insurance Claim boat insurance Claim aarp insurance Claim costco insurance Claim flood insurance Claim best insurance companies Claim cheap car insurance quotes Claim best travel insurance Claim insurance agents near me Claim car insurance Claim car insurance quotes Claim auto insurance Claim auto insurance quotes Claim long term care insurance Claim auto insurance companies Claim home insurance quotes Claim cheap car insurance quotes Claim affordable car insurance Claim professional liability insurance Claim cheap car insurance near me Claim small business insurance Claim vehicle insurance Claim best auto insurance Claim full coverage insurance Claim motorcycle insurance quote Claim homeowners insurance quote Claim errors and omissions insurance Claim general liability insurance Claim best renters insurance Claim cheap home insurance Claim cheap insurance near me Claim cheap full coverage insurance Claim cheap life insurance Claim

เคล็ดลับลดพลังตด / เอมอร คชเสนี



โดย เอมอร คชเสนี 20 พฤษภาคม 2554 12:04 น.




ทุก คนล้วนเคยตด การตดเมื่ออยู่คนเดียวดูจะเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ แต่เมื่อตดต่อหน้าธารกำนัลจะกลายเป็นเรื่องที่ผิดกาลเทศะ คนส่วนใหญ่จึงมักอายที่จะตดอย่างเปิดเผย และไม่ต้องการให้เสียงหรือกลิ่นล่วงรู้ไปถึงบุคคลอื่น มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง และให้คำแนะนำเราได้ว่าทำอย่างไรจึงจะตดให้น้อยและไม่เหม็น






ภาพประกอบข่าว
       ตด หรือเรียกอีกอย่างว่า ผายลม เกิดจากมีอากาศหรือแก๊สในกระเพาะมากเกินไป คนทั่วไปตดประมาณวันละ 10-14 ครั้ง เรามักคิดว่าผู้ชายตดบ่อยกว่าผู้หญิง แต่ที่จริงแล้วทั้งชายและหญิงตดบ่อยพอๆ กัน เพียงแต่ตดของผู้หญิงมีปริมาตรน้อยกว่าผู้ชาย เพราะร่างกายเล็กกว่า และไม่ว่าจะหญิงหรือชายก็ตดเหม็นได้พอๆ กัน
      
       จากการศึกษา พบว่า 99% ของตดนั้นไม่มีกลิ่น กลิ่นเหม็นนั้นมาจากอีก 1% ที่เหลือเท่านั้น กลิ่นตดกับเสียงตดก็ไม่สัมพันธ์กัน นั่นหมายถึงตดที่ดังสนั่นไม่ได้มีกลิ่นเหม็นเสมอไป หรือคุณอาจตดเบาๆ ไม่มีใครได้ยิน แต่อาจส่งกลิ่นเหม็นอย่างร้ายกาจก็เป็นได้
      
       ข้อแนะนำเพื่อให้ตดแต่น้อยและไม่มีกลิ่น
       

       - อาหารบางประเภทไม่ควรกินมากเกินไป เช่น ไข่ เนื้อ และผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี บร็อกโคลี่ เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบ แบคทีเรียในลำไส้จะย่อยให้เป็นแก๊สที่มีกลิ่นเหม็น
      
       - ถั่วและผักสดบางชนิดมีน้ำตาลที่ร่างกายย่อยไม่ได้ ซึ่งจะถูกส่งผ่านไปหมักหมมอยู่ในลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียในลำไส้จะย่อยน้ำตาลพวกนี้แทน และทำให้เกิดแก๊สขึ้น
      
       บางข้อมูลแนะนำให้กินถั่วและผักที่ปรุงสุกแล้ว หรือ ให้นำถั่วไปแช่น้ำ ให้น้ำท่วมถั่วสัก 2 นิ้ว คัดเมล็ดถั่วที่เสียหรือลอยน้ำทิ้งไป แช่ทิ้งไว้ประมาณ 4 ชั่วโมง หรือทิ้งไว้ข้ามคืนเลยก็ได้ ถ้ามีเวลาน้อยหรือรอไม่ไหว ให้นำถั่วไปแช่ในน้ำร้อน 10-15 นาทีขึ้นไป แล้วล้างน้ำออกก่อนนำไปปรุงอาหาร หรืออีกวิธีก็คือ นำถั่วไปล้างน้ำ ต้ม 3 นาที แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง ก่อนนำไปปรุงอาหาร จะช่วยลดปัญหาผายลมจากการกินถั่วได้
      
       แต่บางข้อมูลก็บอกว่าถึงแม้จะนำถั่วมาต้มให้สุกหรือแช่น้ำอย่างไร ก็ยังคงตดมากและเหม็นเหมือนเดิม ยกเว้นว่าจะทำตามวิธีที่นักวิจัยทดลองทำ นั่นก็คือนำถั่วมาต้มนาน 3 นาที แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นนาน 2 ชั่วโมง จากนั้นเทน้ำทิ้ง แล้วนำไปแช่ในน้ำเย็นใหม่อีก 2 ชั่วโมง เทน้ำทิ้งแล้วแช่อีก 2 ชั่วโมง แล้วสะเด็ดน้ำทิ้งเป็นครั้งสุดท้าย น้ำตาลในถั่ว 90% จะถูกกำจัดออกไป คราวนี้ตดจะไม่เหม็นมาก แต่ปริมาตรตดยังคงเท่าเดิม (ถ้าต้องทำถึงขนาดนี้ คงหายอยากหรือไม่ก็ยอมตด)






ภาพประกอบข่าว
       - บางคนอาจผายลมเมื่อดื่มนมเข้าไป เพราะขาดเอนไซม์บางอย่าง เช่น แลคเตส ซึ่งช่วยย่อยน้ำตาลในนม
      
       - หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมฟรัคโทส เช่น เครื่องดื่มกระป๋อง น้ำผลไม้กระป๋อง บางคนอาจดูดซึมน้ำตาลชนิดนี้ได้น้อย ทำให้ท้องอืดหรือผายลมมากขึ้น
      
       - หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเติมแก๊ส เช่น น้ำอัดลม เบียร์ โซดา เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะไปเพิ่มปริมาณลมหรือแก๊ส ทำให้เรอและผายลมมากขึ้น
      
       - ลดอาหารไขมันสูง เพราะอาหาร ประเภทไขมันจะใช้เวลาย่อยนานกว่าอาหารประเภทอื่น จึงอาจอยู่ในกระเพาะได้นานถึง 2 ชั่วโมง แบคทีเรียมีเวลาเหลือเฟือในการสร้างแก๊สตด แต่ถ้ากินไขมันน้อยลง ลำไส้จะบีบตัวให้อาหารผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ได้เร็วขึ้น แบคทีเรียสร้างแก๊สในลำไส้ได้ลดลง ก็จะช่วยป้องกันอาการท้องอืดและผายลมได้
      
       - อาหารค้างคืนที่นำออกจากตู้เย็นมาอุ่น ก็สามารถกระตุ้นให้แบคทีเรียในอาหารผลิตแก๊สได้ การกินอาหารที่อุ่นซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงมีส่วนทำให้ตดบ่อย
      
       - อย่ากินอาหารหรือดื่มน้ำเร็วเกินไป เพราะระหว่างนั้นเราจะกลืนลมเข้าไปด้วย การกินช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด จะช่วยให้กลืนอากาศเข้าไปน้อยลง
      
       - การอมลูกอม เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือสูบบุหรี่ ก็เช่นเดียวกัน เวลาที่เรากลืนน้ำลายหรือสูบบุหรี่ ก็จะกลืนอากาศเข้าไปด้วย
      
       - การพูดมากๆ ก็อาจทำให้กลืนลมเข้าไปมากเช่นกัน
      
       - กินขิง อบเชย หรือเปปเปอร์มินท์ อาจช่วยลดแก๊สในกระเพาะได้
       

       - กินอาหารเครื่องดื่มที่มีจุลินทรีย์ชนิดดี (probiotic) เป็นประจำ เช่น แลคโตบาซิลลัสในโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว เพื่อให้จุลินทรีย์ชนิดดีไปแย่งอาหาร และลดจุลินทรีย์กลุ่มที่ชอบสร้างแก๊ส โดยเลือกโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวที่มีน้ำตาลและไขมันต่ำ
      
       - กินมื้อเล็กๆ แต่บ่อยขึ้น วันละ 5-6 มื้อ แต่ละมื้อกินไม่ต้องมาก หรือแค่เกือบอิ่ม
      
       - ดื่มน้ำให้มากขึ้น โดยดื่มคราวละน้อยๆ แต่ดื่มบ่อยๆ ตลอดวัน
      
       - การเดินหลังอาหารช้าๆ ประมาณ 10-15 นาที มีส่วนช่วยให้ลำไส้บีบตัวให้อาหารผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ได้เร็วขึ้น แบคทีเรียมีเวลาสร้างแก๊สในลำไส้น้อยลง จึงช่วยลดการผายลมได้ การออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวให้มากเป็นประจำยังทำให้ลำไส้และระบบย่อยทำงาน ได้ดีอีกด้วย
      
       ในขณะที่คนส่วนใหญ่ถูกสอนให้กระมิดกระเมี้ยนตด แพทย์ชาวฝรั่งเศส กลับบอกว่า อย่าอั้นมันไว้ “คน เราควรจะผายลมเพื่อกำจัดแก๊สที่เกิดขึ้นในตัวให้หมดในแต่ละวัน เพราะมันเป็นไปตามขบวนการตามธรรมชาติ การกลั้นเอาไว้อาจเป็นอันตรายกับลำไส้ อย่าได้อายในการระบายกลิ่นอายของร่างกายออกไป เพราะจะเป็นการรักษาสุขภาพของตนเองให้อยู่ดี”
      
       ติดตามฟังรายการ “Happy & Healthy”
       ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.00-12.00 น.
       ทางคลื่นของประชาชน คนนำปัญญา FM 97.75 MHz
       และ www.managerradio.com