เส้น แบบต่างๆของญี่ปุ่นที่มีหลากรสหลากแบบ โดยแทบทุกชนิดประกอบด้วยแป้งและน้ำ อาจจะมีวัตถุดิบอื่นๆผสมลงไปเพื่อเพิ่มสี รสชาติและคุณค่ามากขึ้น เช่น เกลือ ไข่ ชาเขียว สาหร่าย ฯลฯ ส่วนกรรมวิธีการผลิตของเส้นแต่ละชนิดก็คล้ายๆกัน เริ่มจากผสมแป้ง น้ำและวัตุปรุงรสต่างๆ นวดให้เข้ากัน รีดให้เป็นแผ่น ตัดเป็นเส้น จากนั้นทำให้เส้นสุก (ถ้าเป็นเส้นแบบแห้งก็เอาไปอบหรือทอดต่อ) แล้วบรรจุถุงเพื่อรักษาให้มีคุณภาพดีพร้อมจำหน่าย
จะกินแต่เส้น เปล่าๆก็ดูจะจืดชืดไปนิด ต้องมีน้ำซุปรสกลมกล่อมมาเสริมให้เส้นเหนียวนุ่มนั้นน่าลิ้มลองมากขึ้น โดยพื้นฐานการทำซุปแบบญี่ปุ่นจะไม่ใช้เนื่อสัตว์ แต่ใช้ปลาโอแห้ง (Katsuobushi) ซีอิ๊วญี่ปุ่น (Shoyu) และสาหร่ายทะเล (Kombu) เป็นส่วนประกอบหลัก ถ้าอยากจะให้เป็นซุปแบบข้นก็ใส่เต้าเจี้ยวบด (Miso) ลงไป
แล้วจะแยกแยะอย่างไรว่าเส้นไหนหน้าตาเป็นอย่างไร ดูตรงนี้เลยค่ะ
เส้นญี่ปุ่นแบบต่างๆ
1. โซบะ (Soba) ทำ จากแป้งบักวีต (Buckwheat) เส้นมีสีน้ำตาลอ่อน รสชาติอร่อยเพราะไม่ผสมแป้งชนิดอื่นลงไปมากนัก โดยทั่วไปจะเสิร์ฟพร้อมวาซาบิและสาหร่ายโนริ โซบะชนิดนี้หากเสิร์ฟแบบเย็นบนถาดไม้ไผ่จะเรียกว่า ซารุโซบะ (Zaru Soba) ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมในหน้าร้อน |
2. ชะโซบะ (Cha Soba)ลักษณะเหมือนเส้นโซบะแต่มีสีเขียว เพราะทำจากบักวีตกับชาเขียว |
3. อุด้ง (Udon)ทำ จากแป้งสาลีผสมเกลือและน้ำเล็กน้อย นวดแล้วตัดเป็นเส้นยาว ลักษณะของเส้นกมยาวสีขาว หนานุ่ม มีขายทั้งชนิดเส้นสดและแห้ง อุด้งนั้นต่างจากโซะและราเมงตรงที่เวลากินไม่ต้องจุ่มเส้นในน้ำซุปก่อนกิน ด้วยความที่มีเส้นขนาดใหญ่และเหนียวนุ่ม จึงให้ความอบอุ่นเป็นอย่างดีในหน้าหนาว |
4. โซเมง (Somen)คล้ายเส้นขนมจีน สีขาวนวล แต่เส้นเล็กและบางกว่าอุด้ง ทำจากแป้งสาลี มีชื่อเต็มๆว่า "ฮิยาชิ โซ เมง" (Hiyashi Somen) นิยมกินกันในฤดูร้อน โดยทำเป็นหมี่เย็นเสิร์ฟบนน้ำแข็งคู่กับซอสที่ชื่อ สึยุ (Tsuyu) ที่มีรสชาติหลักของปลาโอแห้ง ฮอนดาชิ สาเก มิริน น้ำตาล |
5. ฮิยามูกิ (Hiyamugi)ฮิ ยา แปลว่า เย็น ส่วน มูกิ แปลว่า ข้าวสาลี รวมแล้วแปลได้ว่า "ข้าวสาลีที่กินแบบเย็นๆ" เริ่มแพร่หลายมาจากแถบคันไซ ฮิยามูกิมีขนาดเส้นเล็กใกล้เคียงกับโซเมง แต่มีความเหนียวนุ่มคล้ายกับอุด้ง และนิยมกินแบบเย็นๆ ในฤดูร้อนเช่นเดียวกับโซเมง ส่วนประกอบของเส้นคือแป้งสาลีกับน้ำเกลือ นวดแป้งและรีดให้เป็นแผ่นบาง ตัดให้เป็นเส้นก่อนนำมาพันให้เป็นก้อนก่อนลวกในน้ำร้อนและผ่านน้ำเย็น จากนั้นกินน้ำซอสเย็นแบบเดียวโซเมง |
6. ราเมง (Ramen)ลักษณะ เหมือนบะหมี่บ้านเรา แต่เส้นกลมสีเหลือง ได้รับอิทธิพลมาจากจีน คำว่า Ramen ออกเสียงคล้ายกับ Lo mein ในภาษาจีน ซึ่งแปลว่า เส้นต้ม (Boiled Noodles) และมักจะเสิร์ฟในน้ำซุปที่มี 4 รส ได้แก่น้ำซุปเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น (Miso) น้ำซุปรสเกลือ (Shio) น้ำซุปซีอิ๊วญี่ปุ่น (Shoyu) น้ำซุปจากน้ำต้มกระดูกหมูน้ำข้น (Tonkotsu) |
7. เส้นบุก (Shirataki)เส้น ใสคล้ายวุ้นเส้น แต่เส้นใหญ่กว่า ทำจากหัวบุก (Elephant Yam) หรือ Konjac นิยมใส่ในอาหารประเภทหม้อไฟหรือสุกี้ยากี้ ก่อนนำมาทำอาหารต้องลวกในน้ำเดือดให้หมดกลิ่นคาว |
8. วุ้นเส้นญี่ปุ่นลักษณะ เส้นใส แต่ใหญ่กว่าเส้นวุ้นเส้นของบ้านเรา มี 2 ชนิด คือ คึสึคิริ (Kuzukiri) ซึ่งทำจากแป้งมันฝรั่งและแป้งรากสามสิบ อีกชนิดหนึ่งคือฮารุซาเมะ (Harusame) ทำมาจากแป้งมันฝรั่งและแป้งข้าวโพด โดยทั้ง 2 ชนิดต้องต้ม ประมาณ 8-10 นาที ก่อนนำมาปรุงอาหาร เช่น สุกี้ยากี้ แต่ถ้าทำเป็นแกงจืดก็ต้มไปพร้อมกับน้ำแกงได้เลย |
9. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (Instant Noodles)นับ เป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นภาคภูมิใจมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เลยก็ว่าได้ มีต้นกำเนิดมาจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเกิดภาวะขาดแคลนอาหารและได้รับบริจาคแป้งสาลีจากสหรัฐอเมริกาจำนวน มาก "โมโม-ฟุกุ อันโด" ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทนิชชิน จึงคิดนำแป้งสาลีมาแปรรูปทำเป็นเส้นบะหมี่แห้ง ซึ่งผ่านการแช่ในน้ำซุปและทอดด้วยน้ำมันร้อนจัดก่อนนำมาผึ่งให้แห้งเพื่อจะ ได้เก็บไว้นานๆนำมากินได้ทันทีเมื่อเติมน้ำร้อน เริ่มต้นด้วยบะหมี่รสไก่ (Chicken Ramen) เป็นรสชาติแรกที่ออกวางขาย ปัจจุบันญี่ปุ่นถือเป็นเจ้าแห่งบะหมี่สำเร็จรูป เพราะมีหลากรส หลายเส้นให้เลือกซื้อตามสะดวก เพียงฉีกซอง ใส่เครื่องปรุง ชงน้ำร้อน 3 นาที (บางทีก็น้อยกว่านั้น) ก็พร้อมกินแล้ว |
ผู้ เชี่ยวชาญด้านการกิน (อาหารจำพวกเส้น) กล่าวว่า "การกินบะหมี่ให้อร่อยต้องใช้ตะเกียบคีบเส้นและยกชามเพื่อซดน้ำซุปด้วยเสียง อันดัง (อาจจะเขินกันบ้างที่กินเสียงดัง) ซึ่งถือเป็นมารยาทที่ยอมรับกันทั่วไปว่าให้เกียรติแก่คนที่ทำบะหมี่อร่อยๆ ให้เรากิน " ทั้งเส้นที่เหนียวนุ่มบวกกับน้ำซุปหอมหวาน บอกได้เลยคำเดียว่า เสียงยิ่งดัง...ยิ่งอร่อย
ขอบคุณข้อมูลจาก โหระพาดอทคอม