เส้นเลือดขอด varicose vein

credit siamhealth.net
เส้นเลือดดำเป็นเส้นเลือดที่รับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ ปกติจะไม่โป่งพอง แต่ถ้าเกิดโรคที่หลอดเลือดหรือลิ้นของหลอดเลือดทำให้เลือดคั่งในหลอดเลือด การคั่งของเลือดอาจจะเกิดได้หลายๆแห่งเช่น
  • เกิดที่ทวารหนักเรียกโรคริดสีดวงทวาร
  • เกิดที่ผนังหลอดอาหารเรียก esophageal varices
  • เกิดที่อัณฑะเรียก varicococel
สำหรับเส้นเลือดขอดที่จะกล่าวเกิดที่ขา ท่านผู้อ่านคงได้ยินการโฆษณาถึงการรักษาเส้นเลือดขอด ทำให้หายขาด ไม่เจ็บปวด และปลอดภัย ทำให้ท่านผู้อ่านสับสนว่าจะรักษาดีหรือไม่ ข้อมูลที่นำเสนอเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยท่านในการตัดสินใจ
เส้นเลือดขอดคืออะไร
เส้นเลือดขอดคือเส้นเลือดที่มีเลือดมากองทำให้หลอดเลือดโป่งพองและมักจะมีอาการหนักเท้า คันเท้ารายที่เป็นมากอาจจะมีแผลที่เท้า

เส้นเลือดขอดที่เท้า varicose vein

เส้นเลือดดำที่เท้าจะมีสองระบบคือเส้นเลือดดำที่ผิว เรียก superficial vein จะนำเลือดจากผิวหนังไปสู่ระบบที่สองคือเส้นเลือดดำที่อยู่ลึกเรียก deep vein ซึ่งนำเลือดกลับสู่หัวใจ โดยมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อ เป็นตัวไล่เลือดจากขาไปเส้นเลือดดำใหญ่ในท้อง โดยมีลิ้นๆกั้นเลือดมิให้ไหลกลับ หากลิ้นดังกล่าวเสียซึ่งอาจจะเกิดจากโรคของ valve เอง หรือจากการเสื่อมตามอาย ุทำให้ไม่สามารถกั้นเลือดไหลกลับเลือดจึงค้างอยู่ในหลอดเลือดดำ จึงเกิดโป่งพองโดยมากเกิดในผู้หญิงอายุ 30-70 ปี


เส้นเลือดโป่งและคด เส้นเลือดที่ผิวและเส้นเลือดลึก แสดงลิ้นหลอดเลือดดำรั่ว
สาเหตุ
  1. มีความผิดปกติของลิ้นในหลอดเลือดดำ
  2. เป็นกรรมพันธุ์
  3. มีการอักเสบของหลอดเลือดดำ thrombophlebitis
  4. ปัจจัยส่งเสริมเช่น การยืน การนั่งนานๆ 
  5. คนท้อง
  6. อายุมากมีการหย่อนของลิ้นหลอดเลือด
  7. การผ่าตัดโดยเฉพาะบริเวณสะโพก
  8. ผู้ป่วยหัวใจวาย
  9. อาการของเส้นเลือดขอดที่เท้า
     
    พบผิวหนังสีน้ำตาล
      แผลที่เกิดจากเส้นเลือดขอด
  10. ปวดเท้าปวดหนักๆ ตึงๆ
  11. อาจจะเกิดตะคริวของกล้ามเนื้อ
  12. เห็นเส้นเลือดดำพอง
  13. บวมหลังเท้า
  14. เลือดไปเลี้ยงผิวหนังน้อยลง ผิวหนังบริเวณข้อเท้าจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ผิวบาง แห้งและค่อนข้างแข็ง
  15. หากมีการคั่งของน้ำมากๆ อาจจะเกิดการอักเสบของผิวหนังที่เรียกว่า stasis eczamaซึ่งจะมีอาการคัน หรืออาจจะเกิดแผล
  16. เลือดออกจากเส้นเลือดขอด
การนั่งหรือยืนนานๆจะทำให้อาการดังกล่าวเป็นมากขึ้น
การวินิจฉัย
  • หากพบเห็นหลอดเลือดดำพองและบิดขดตำแหน่งที่พบบ่อยคือบริเวณน่องก็สามารถวินิจฉัยได้
  •  บางรายอาจจะใช้ doppler ultrasound
  • การฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำที่เรียก venogram
การดูแลตัวเอง
  1. การออกกำลังกาย การเดินเป็นวิธีดีที่สุดจะเป็นการทำให้การไหลเวียนดีขึ้นแพทย์จะแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  2. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  3. ให้สวมรองเท้าส้นเตี้ยซึ่งจะเพิ่มการไหลเวียนของเลือด หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่ฟิตๆ
  4. ให้ยกขาสูงครั้งละ10-15 นาที วันละ 3-4 ครั้งโดยยกสูงระดับหน้าอก
  5. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งนานๆ
  6. ใช้elastic bandage พันตั้งแต่ข้อเท้าถึงบริเวณเข่า
  7. ห้ามนั่งไขว่ห้าง
  8. ห้ามสวมชุดที่คับเกินไปโดยเฉพาะบริเวณเอว ขาหนีบ
  9. ลดอาหารเค็มเพื่อป้องกันอาการบวม
  10. ถ้าหากต้องนั่งนานให้ลุกเดินทุกชั่วโมง และขณะนั่งให้บริหารข้อเท้าตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาสลับกัน เหยียดเท้าและกระดกเท้าทำสลับกัน
การรักษา
การรักษาอาจจะไม่จำเป็นนอกจากมีข้อบ่งชี้คือปวดมาก หรือมีแผล หรือเพื่อความสวยงาม
  • การผ่าตัดเอาหลอดเลือดเสียออกเส้นใหญ่ออกทั้งเส้น
  • sclerotherapy การฉีดสารเคมีเพื่อให้หลอดเลือดเสียตีบ
  • Ambulatory phlebectomy การผ่าตัดเอาหลอดเลือดดำเส้นเล็กๆออก
โรคแทรกซ้อน
  1. มีการอักเสบของหลอดเลือดดำ thrombophlebitis
  2. มีการแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ deep vein thrombosis
  3. เกิดแผลที่เท้า
ควรปรึกษาแพทย์ในกรณีดังต่อไปนี้
  • ปวดเพิ่มขึ้น
  • บวมเพิ่มขึ้น
  • มีไข้
  • แผลที่เท้า
เส้นเลือดฝอย spider vein

เป็นเส้นเลือดฝอยที่ใกล้ผิวหนังรวมกันเป็นกลุ่มเป็นสีแดงหรือเขียวทำให้เห็นได้ สามารถเกิดได้ทุกที่แต่ที่พบบ่อยคือ หน้า ต้นขา น่อง เส้นเลือดนี้ไม่มีผลต่อสุขภาพ
สาเหตุ
ยังไม่มีใครทราบแน่นชัดเชื่อว่าเป็นผลจากฮอร์โมน กรรมพันธุ์ การตั้งท้อง คนอ้วน  การทำงานที่ต้องนั่งหรือยืนนาน ภาวะนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
เส้นเลือดฝอยนี้ต่างจากเส้นเลือดขอดอย่างไร
เส้นเลือดฝอยเป็นเส้นเลือดที่อยู่ใกล้ผิวหนังขนาดของเส้นเลือดไม่ใหญ่ อาการปวดเท้าไม่มาก แต่เส้นเลือดขอดมักเป็นเส้นเลือดใหญ่ หลอดเลือดจะโป่งมาก มีอาการปวดมากกว่า มีโรคแทรกซ้อนมากกว่า
เราสามารถป้องกันเส้นเลือดฝอยนี้ได้หรือไม่
ผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่สามารถป้องกันได้แต่มีผู้ป่วยบางส่วนสามารถป้องกันได้โดยพัน elastic bandage ตั้งแต่ข้อเท้าไปถึงบริเวณเข่า การออกกำลังกายจะช่วยให้ระบบไหลเวียนดีขึ้น การควบคุมน้ำหนักให้ปกติจะช่วยลดความดันในหลอดเลือดดำ การรับประทานอาหารที่มีใยสูง การใส่รองเท้าส้นเตี้ย รวมทั้งการทาครีมกันแดดซึ่งจะช่วยบรรเทา
เส้นเลือดขอดที่เท้ารักษาอย่างไร
ที่นิยมใช้การฉีดสารเคมีที่ระคายต่อผนังหลอดเลือดทำให้ผนังหลอดเลือดบวม เลือดในหลอดเลือดแข็งในที่สุดหลอดเลือดนั้นจะตีบตันเรียก sclerosing therapy

ผลข้างเคียงของการรักษามีอะไรบ้าง
  1. ปวดบริเวณที่ฉีด บางรายเป็นตะคริวอาการจะหายไป 10-15 นาทีหลังฉีด
  2. ผิวที่ฉีดจะแดงอาการนี้จะหายไปในไม่กี่วัน
  3. เส้นสีน้ำตาลซึ่งเกิดจากธาตุเหล็กในเลือดรอยแนวสีน้ำตาลนี้อาจจะหายใน 1 ปี แต่บางรายอาจจะอยู่ได้หลายปี
  4. เกิดหลอดเลือดฝอยใหม่ได้
  5. แผลเจ็บปวดบริเวณที่ฉีดเนื่องจากการรั่วของสารเคมีหากมีอาการดังกล่าวรีบแจ้งแพทย์
  6. รอยจ้ำเขียวเนื่องจากเลือดออกใต้ผิวหนังอาการนี้หายเองได้
  7. บางรายอาจจะเกิดการแพ้สารเคมี
  8. มีการอักเสบของเส้นเลือดทำให้ปวดเส้นเลือด
หลังการรักษาจะกลับเป็นซ้ำหรือไม่
มีโอกาสเป็นใหม่ได้ทั้งเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอย

วิธีการฉีด sclerotherapy

ก่อนฉีด

หลังฉีด 1 เดือน

หลังฉีด 3 เดือน
การรักษาเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอย
การผ่าตัด
แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้
  1. มีอาการเช่น ปวด บวม
  2. เพื่อความงาม
  3. เมื่อมีโรคแทรกซ้อนจากเส้นเลือดขอด เช่นเกิดผื่น เกิดแผล หรือเลือดออก
ถ้าหากไม่มีเหตุผลดังกล่าวแพทย์อาจจะยังไม่พิจารณาผ่าตัด ก่อนที่ท่านจะรักษาท่านต้องปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านถึงความคาดหวังของ ท่าน เพื่อที่แพทย์จะพิจารณาว่าสามารถทำได้หรือไม่ถ้าหากผ่าไม่ได้หรือระหว่างรอ การผ่าตัดท่าน อาจจะใช้ elastic bandage พันเพื่อลดอาการ
ชนิดของการผ่าตัด
  1.  surgical exploration โดยการผ่าตัดที่ขาหนีบหรือบริเวณหลังเข่าเพื่อตัดและผูกเส้นเลือดที่อยู่ผิวออก
  2. surgical stripping คือการตัดเส้นเลือดดำที่สงสัยว่าลิ้นในหลอดเลือดผิดปกติออกทั้งเส้น เพื่อป้องกันการเกิดเป็นซ้ำ
  3. surgical removal เป็นการผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดซึ่งอยู่ลึกออกทั้งเส้น
แม้ว่าจะผ่าตัดเอาเส้นเลือดดำออกทั้งเส้นแต่ก็ไม่มีผลต่อการไหลเวียน เนื่องจากมีหลอดเลือดดำอื่นที่สามารถทดแทนส่วนที่ถูกตัดออก
การตรวจก่อนผ่าตัด
ก่อนการผ่าตัดแพทย์ต้องทราบว่าเส้นเลือดใดมีปัญหาเพื่อที่จะวางแผนการผ่าตัด โดยอาศัยการตรวจร่างกายและตรวจ duplex ultrasound scan ซึ่งสามารถเห็นหลอดเลือดดำและทิศทางการไหลของเลือด
โรคแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
  1. โรคแทรกซ้อนจากการดมยาสลบได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน แพ้ยาสลบ หรือในคนสูงอายุอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่อหัวใจหากมีโรคหัวใจอยู่เก่า
  2. เลือดออก เนื่องจากการผ่าตัดเกี่ยวกับหลอดเลือดต้องมีการเสียเลือดโดยทั่วไปไม่มาก
  3. แผลติดเชื้อถ้าหากผ่าตัดเป็นเวลานาน หรือคนอ้วนหรือมีแผลอยู่ใกล้บริเวณที่ผ่าตัดก็ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  4. ระหว่างการผ่าตัดอาจจะมีการทำให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเสียหายเช่น เส้นเลือดแดง เส้นประสาท
  5. เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำพบไม่บ่อยแต่หากเกิดอาจจะรุนแรงได้โดยเฉพาะในผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัด 3-4 วันแรกให้นอนพักให้มาก ยกเท้าสูง และใส่ Tubigrip หลังจากที่หายดีอาจจะค่อยๆเริ่มเดิน แต่ขณะนอนยังคงต้องนอนยกเท้าสูง ท่านสามารถทำได้ได้ตามปกติหลังจากผ่าตัด 2 สัปดาห์

การรักษาเส้นเลือดขอดมีกี่วิธี
หลักการรักษาเส้นเลือดขอดคือการจักการกับหลอดเลือดขอดซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้
  • การผ่าตัดนำหลอดเลือดขอดออก
  • การฉีดสารเคมีทำให้หลอดเลือดตีบ sclerotherapy
  • การใช้ laser
  • การใช้ไฟฟ้าจี้
โรคแทรกซ้อนของการรักษามีอะไรบ้าง
  • การผ่าตัด จะมีโรคแทรกซ้อนจากการดมยา เช่นคลื่นไส้อาเจียน การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด และยังเกิดแผลเป็นบริเวณที่ผ่าตัด
  • sclerotherapy โรคแทรกซ้อนขึ้นกับสารที่ใช้ บางชนิดทำให้เกิดอาการแพ้ บางชนิดทำให้เกิดอาการปวด บางชนิดทำให้เกิดรอยดำ
  • การรักษาแต่ละชนิดจะไม่หายขาดเนื่องจากร่างกายอาจจะสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่หรือเส้นเก่าเกิดพองเหมือนก่อนรักษา และยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดใหม่