เลือดคั่งในหลอดเลือดดำส่วนลึก Deep vein thrombosis

credit siamhealth.net
ถ้าท่านผู้อ่านอ่านหนังสือพิมพ์ หรือฟังข่าวจะพบชื่อโรคชั้นประหยัด เป็นโรคลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำที่ขา ซึ่งมักจะเกิดในการเดินทางโดยเครื่องบินชั้นประหยัด ทางการแพทย์เรียก deep vein thrombosis ไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผนกไหนก็ต้องรู้จักเป็นอย่างด ีเนื่องจากเป็นโรคที่พบอยู่เรื่อยๆ ฟังจากชื่อแล้วเป็นเฉพาะคนจนหรือเปล่า และจำเป็นต้องนั่งเครื่องบินชั้นประหยัดหรือไม่ เป็นแล้วอันตรายหรือไม่ มีวิธีป้องกันอย่างไร หลังจากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความนี้หมดแล้ว คงพอมีความรู้เบื้องต้นที่จะดูแลและป้องกันโรคนี้
เส้นหลอดเลือดดำส่วนลึกคืออะไร
เส้นหลอดเลือดดำจะนำเลือดที่ใช้แล้วกลับสู่หัวใจ โดยอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อ ร่วมกับลิ้นในหลอดเลือดดำ หลอดเลือดดำที่ขามี 2 ชนิดคือหลอดเลือดดำที่ผิว superficial veinที่เราสามารถเห็นได้ด้วยตา ซึ่งจะนำเลือดจากผิวไปสู่หลอดเลือดดำส่วนลึก deep veinซึ่งจะอยู่ในกล้ามเนื้อ หลอดเลือดดำลึกก็จะนำเลือดไปยังหลอดเลือดดำใหญ่ในท้อง inferior venacava
เลือดคั่งในหลอดเลือดดำลึกคืออะไร
ปกติเลือดในหลอดเลือดดำจะไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อมีภาวะที่เลือดดำหยุดไหลเวียนและจับแข็งตัว
ลิ่มเลือด
thrombosisในหลอดเลือดเรียกภาวะนี้ว่าลิ่มเลือดคั่งในหลอดเลือดดำ[blood clot] ภาวะนี้อาจจะเกิดร่วมกับการอักเสบของหลอดเลือดดำ thromboplebitis คือมีทั้งลิ่มเลือดและการอักเสบของหลอดเลือด ภาวะนี้อาจจะเกิดที่เส้นเลือดผิว superficial vein ซึ่งเพียงทำให้บวมและปวดเท้านั้นจะไม่ไปอุดหลอดเลือดหัวใจหรือปอด การรักษาก็ไม่ยุงยากแต่หากเกิดที่เส้นเลือดส่วนลึก deep vein จะก่อให้เกิดปัญหามากคือลิ่มเลือดอาจจะไปอุดที่ปอดเรียก pulmonary embolism ซึ่งอันตรายเสียชีวิตได้
สาเหตุของลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
สาเหตุใหญ่ๆที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้แก่
  1. หลอดเลือดดำได้รับอันตราย เช่นอุบัติเหตุกระดูกหัก กล้ามเนื้อถูกกระแทก หรือการผ่าตัด
  2. เลือดในหลอดเลือดมีการไหลเวียนช้าลงเช่นการนั่งหรือนอนนาน หลังผ่าตัด อัมพาต การเข้าเผือก
  3. การที่เลือดมีการแข็งตัวง่าย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
  • คนแก่ นอนไม่เคลื่อนไหวมากว่า 3วัน
  • อัมพาต
  • การเข้าเผือก
  • หลังผ่าตัดทำให้ต้องนอนนาน
  • การที่ต้องนั่งรถ รถไฟ เครื่องบิน หรือนั่งไขว่ห้าง
  • การใช้ยาคุมกำเนิด ฉีดยาเสพติด
  • การตั้งครรภ์ หลังคลอด
  • นอนไม่เคลื่อนไหวมากกว่า 3 วัน
  • โรคมะเร็ง
  • โรคทางพันธุกรรมบางโรค
อาการของโรคลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
หลอดเลือดดำ
ขาข้างที่เป็น dvt จะบวมกว่าอีกข้าง
อาการที่สำคัญคืออาการบวมที่เท้าเนื่องจากการไหลกลับของเลือดไม่ดีมักจะบวมข้างเดียว บางรายอาจจะเห็นเส้นเลือดโปงพอง อาจจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริวพบได้ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะเวลากระดกข้อเท้าจะทำให้ปวดมากขึ้น เมื่อกดบริเวณน่องก็จะทำให้ปวด ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการที่เท้าอาจจะมาพบแพทย์ด้วยเรื่องหอบเหนื่อย เนื่องจากลิ่มเลือดไปอุดในปอด
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายต้องใช้การตรวจหลายอย่างมาช่วยในการวินิจฉัย
  1. บวมเท้าที่เป็นข้างเดียว และอาจจะกดเจ็บบริเวณน่อง
  2. เมื่อจับปลายเท้ากระดกเข้าหาตัวโดยที่เข่าเหยียดตรง[เรียกการตรวจนี้ว่า Homans Sign ]
  3. อาจจะตรวจพบว่าหลอดเลือดดำโป่งและอาจจะคลำได้ ถ้าเส้นเลือดอักเสบเวลาคลำจะปวด
  4. อาจจะมีไข้ต่ำๆ
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยต้องอาศัยการตรวจพิเศษ
  1. venography คือการฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดที่สงสัยเพื่อดูว่ามีลิ่มเลือดอุดหรือไม่ แต่ให้ผลการตรวจไม่แม่นยำ และอาจจะเกิดอาการแพ้จึงไม่นิยม
  2. venous ultrasound เป็นการใช้ ultrasound ช่วยในการวินิจฉัย วิธีนี้ไม่เจ็บปวดให้ผลดี
  3. MRI
การรักษา
หากวินิจฉัยว่าเป็น dvt จะต้องรีบให้การรักษาโดยรับตัวไวในโรงพยาบาลแพทย์จะเลือกให้ heparin หรือ low molecular weight heparin หลังจากนั้นต้องให้ warfarin เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอีก 3 เดือน
การป้องการคือการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกและการป้องกันเส้นเลือดขอด
วิตามินอีช่วยลดการเกิดโรคนี้ 
วิตามินอีอาจจะใช้ป้องกันโรคชั้นประหยัด
วิตามินอีเคยได้รับการทดลองให้ผู้ป่วยเพื่อป้องกันโรค หัวใจและโรคมะเร็งแต่ผลการทดลองให้ผลไม่ดีดังที่คิด แต่มีการทดลองการให้วิตามินอีพบว่ามีผลต้านฤทธิ์ต่อวิตามินเค(vitaminK)ใน สัตว์ทดลอง จึงได้มีการทลองให้ในคนซึ่งตีพิมพใน Circulation. เดือนกันยายน 2550
  • โดยศึกษาผู้หญิงแข็งอายุมากกว่า 45 ปีซึ่งก็เจาเลือดตรวจหาโรคเป็นพื้นฐาน
  • ผู้เข้ารับการศึกษาจะได้รับ วิตามินอี 600 ยูนิต แอสไปริน 100มกวันเว้นวัน หรือเม็ดแป้ง
  • การศึกษาจะดูอัตราการเกิดโรค venous thrombosis หรือผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคนี้
  • พบว่ามีผู้ป่วยประมาณ19000 คนทั้งกลุ่มที่ได้วิตามินอี และกลุ่มที่ได้เม็ดแป้ง และมีลักษาณะเช่นเชื้อชาติ อายุ ไม่ต่างกันทั้ง2 กลุ่ม ระยะเวลาที่ศึกษาประมาณ10.2 ปี
ผลการศึกษาพบว่า
  • มีการเกิดโรคลิ่มเลือดที่เท้า 482 คนโดยที่ไม่มีประวัติผ่าตัดหรือได้รับอุบัติเหตุ
  • คนที่ได้รับ วิตามินอี จะมีอัตราการเกิดลิ่มเลือดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้เม็ดแป้งเล็กน้อย
  • สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคชั้นประหยัดมาก่อนหรือมีพันธุกรรมพบว่า วิตามินอีจะลดอัตราการเกิดโรคนี้ได้ถึงร้อยละ 44-48
คำแนะนำ
  • ผู้ที่เคยเป็นโรคลิ่มเลือดอุดที่เท้ามาก่อน โดยที่ไม่ได้รับอุบัติเหตุหรือผ่าตัดน่าจะได้รับประโยชน์จากการรับประทาน วิตามินอีวันละ 600 ยูนิตต่อวัน แต่ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลท่าน