โรคหัวใจวาย Heart failure

การทำงานของหัวใจ  credit siamhealth.net


หัวใจของคนเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่กว่ากำป้านของเจ้าของ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ทุกๆวันหัวใจจะเต้นประมาณ 100000 ครั้ง สูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2000 แกลลอน


ระบบไหลเวียนโลหิตของเราประกอบไปด้วยหลอดเลือด ซึ่งเชื่อมติดต่อกันเป็นโครงข่ายทั่วร่างกาย โดยเริ่มต้นจากหัวใจห้องซ้ายล่าง Left Ventricle ฉีดเลือดไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เรียกว่า Aorta แล้วต่อไปยังหลอดเลือดแดง Artery ,Aterioles ต่อเส้นเลือดฝอย capillaries เลือด ณ.บริเวณนี้จะอุดมไปด้วยอาหารและออกซิเจนซึ่งแลกเปลี่ยนกับเนื้อเยื่อ แล้วไหลกลับสู่หลอดเลือดดำ vein ซึ่งนำเข้าหลอดเลือดดำใหญ่และเข้าสู่หัวใจ


โรคหัวใจวาย Heart failure


โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศไทย ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม สาเหตุการตายก็เปลี่ยนจากการติดเชื้อเป็นอุบัติเหตุ โรคหัวใจ โรคเอดส์ ปัจจุบันการตายจากโรคหัวใจก็เพิ่มมากขึ้น บางคนก็เสียชีวิตเฉียบพลัน บางคนก็กลายเป็นโรคเรื้อรังและมีโรคแทรกซ้อน


โรคหัวใจวายเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็วบางรายอาจจะถึงแก่ชีวิต การเปลี่ยนแปลงของโรคไม่แน่นอน ท่านอาจจะปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะทราบพยากรณ์ของโรค เมื่อเป็นโรคหัวใจนอกจากเกิดผลกระทบกับตัวผู้ป่วยแล้วยังกระทบกับครอบครัว เพื่อนและครอบครัวต้องช่วยกันดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ทั้งเรื่องอาหาร การทำความสะอาด


หัวใจวายคืออะไร


หัวใจวายหมายถึงภาวะซึ่งหัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างพอเพียง หัวใจวายไม่เหมือนกับหัวใจหยุดเต้น เราเรียกหัวใจวายว่า congestive heart failure คือหัวใจทำงานล้มเหลวทำให้เนื้อเยื่อต่างๆขาดออกซิเจน เมื่อไตได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลงทำให้ไตสร้างสารบางชนิดออกมาทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย หากหัวใจห้องซ้ายวายก็จะมีการคั่งของน้ำและเกลือที่ปอดทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด Pulmonary edma หากหัวใจห้องขวาวายจะเกิดการคั่งของน้ำที่ขาทำให้บวมที่เท้า


อาการหัวใจวายอาจจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่นเกิดภายหลังจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออาจจะค่อยๆเกิดเช่นโรคของลิ้นหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจ


ชนิดของหัวใจวาย


เราทราบกันแล้วว่าหัวใจคนเรามี สี่ห้องคือมีหัวใจ การแบ่งหัวใจวายจะแบ่งเป็นหัวใจวายห้องขวา ซึ่งประกอบด้วยห้องบนขวา ( right atrium) และหัวใจห้องล่างขวา (right ventricle) และหัวใจวายห้องซ้ายซึ่งประกอบด้วยหัวใจห้องบนซ้าย( left atrium) และหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricle)


หัวใจห้องซ้ายล้มเหลวleft-sided heart failure


หัวใจห้องซ้ายจะรับเลือดที่ฟอกแล้วจากปอดและจะสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจข้างนี้จะแข็งแรงกว่าหัวใจห้องอื่น หากหัวใจข้างนี้วายร่างกายจะไม่สามารถสูบฉีดเลือดทำให้เลือดคั่งในปอดเกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด Pulmonary edema นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการบวมที่เท้า


หัวใจห้องขวาล้มเหลว


หัวใจห้องขวาจะรับเลือดจากร่างกายแล้วสูบเลือดไปปอด หากหัวใจห้องขวาล้มเหลวจะทำให้เกิดอาการบวมของเท้า
สาเหตุของหัวใจวาย
เมื่ออายุมากขึ้นการบีบตัวตัวของหัวใจก็จะลดลง หากมีภาวะที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น หรือมีการสูญเสียความสามารถในการบีบตัวของหัวใจก็จะเกิดโรคหัวใจวาย นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเช่น การสูบบุหรี่ อ้วน การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออกกำลังกาย เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดโรคหัวใจวายได้ หัวใจวายมีด้วยการหลายสาเหตุ บางครั้งอาจจะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด สาเหตุที่พบได้บ่อยได้แก่
  • หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ (coronary heart disease) ผู้ป่วยมักจะมีประวัติเจ็บและแน่นหน้าอกมาก่อน เมื่อเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ กล้ามเนื้อหัวใจก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบตันอย่างเฉียบพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายไปบางส่วน หากบริเวณที่ตายกินบริเวณกว้างก็อาจจะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
  • กล้ามเนื้อหัวใจเอง ได้แก่โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ การติดเชื้อไวรัสบางตัวทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเกิดล้มเหลว (cardiomyopathy) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง
  • ความดันโลหิตสูง (Hypertension)เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหนาตัวต้องทำงานมากขึ้น และเกิดล้มเหลวได้
  • ลิ้นหัวใจ เช่น โรคหัวใจ รูมาติก rheumatic heart disease ทำให้ลิ้นหัวใจตีบ หรือมีการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • โรคปอดเช่นโรคถุงลมโป่งพองก็สามารถทำให้หัวใจห้องขวาวาย
  • โรคเบาหวาน สาเหตุที่โรคเบาหวานมักจะมีโรคหัวใจ คือผู้ป่วยมักจะอ้วน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ
  • หัวใจเต้นผิดปกติ อาจจะเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นช้าเกินไป (bradyarrhythmia) หรือเต้นเร็วเกินไป (tachyarrhythmia) ทำให้หัวใจไม่สามารถป้ำเลือดได้อย่างเพียงพอ
  • สารพิษ เช่น สุรา หรือยาเสพติด ซึ่งจะทำลายกล้ามเนื้อหัวใจเป็นต้น
  • ผู้ป่วยที่มีโลหิตจางมากก็ทำให้เกิดหัวใจวาย
  • ผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษ
การปรับตัวของหัวใจเมื่อเป็นโรคหัวใจวาย
โรคหัวใจวายเป็นโรคเรื้อรังและมีการดำเนินของโรคอยู่ตลอดเวลา หากเป็นใหม่มักจะไม่มีอาการหรือมีอาการแต่ไม่มาก เนื่องจากหัวใจมีการปรับตัวดังนี้
  • หัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือที่เรียกว่าหัวใจโต Cardiomegaly การที่หัวใจมีขนาดโตขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการเลือดของร่างกาย แต่เมื่อโตถึงระดับหนึ่ง กล้ามเนื้อหัวใจถึงยืดทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
  • กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น Hypertrophy เพื่อเพิ่มแรงบีบให้กับหัวใจ
  • หัวใจเต้นเร็วขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น


อาการของโรคหัวใจวาย
ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเล็กน้อยจึงไม่ ได้ใส่ใจ บางรายเป็นขณะทำงานพอพักแล้วหาย จึงยังไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เป็นจำนวนไม่น้อยที่มาพบแพทย์เมื่ออาการหนักมาก ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจวาย ควรที่จะรู้ว่ามีอาการอะไรบ้างและควรที่จะติดตามอาการเหล่านั้น หากอาการแย่ลงต้องรีบปรึกษาแพทย์อาการต่างๆทีพบได้
ปอดบวม รูปแสดงปอดในสภาพปกติ และรูปปอดที่เป็นหัวใจวายและมีน้ำท่วมปอด
  • เหนื่อยง่ายหากโรคหัวใจเป็นไม่มากจะหอบเฉพาะเวลาทำงานหนัก หรือขึ้นบันได พอพักจะหายเหนื่อย dyspnea on exertion แต่ถ้าโรคหัวใจเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะเหนื่อยง่ายงานที่เคยทำได้ก็จะเหนื่อย หากเป็นมากขึ้นกิจกรรมปกติก็จะเหนื่อย จนกระทั่งเวลาพักก็เหนื่อย หากอาการเหนื่อยเปลี่ยนในทางที่แย่ลงต้องปรึกษาแพทย์อาการเหล่านี้เกิดจากน้ำท่วมปอด Pulmonary edma
  • นอนราบไม่ได้จะเหนื่อย ต้องลุกมานั่งหลังจากนอนไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง บางรายต้องนั่งหลับเรียกว่า orthopnea
    เท้าบวมหลังเท้าบวม
    หน้าแข้งและหลังเท้าบวม เมื่อกดหลังเท้าจะพบรอยบุ๋ม
  • แน่นหน้าตอนกลางคืน ต้องลุกขึ้นมานั่ง
  • อ่อนเพลียง่าย ไม่มีแรง
  • ข้อเท้าบวม บวมท้องเนื่องจากมีการคั่งของน้ำและเกลือ
  • น้ำหนักเพิ่มอย่างเร็ว
  • ไอเรื้อรังโดยเฉพาะหากเสมหะมีเลือดปนออกมาต้องรีบไปพบแพทย ์เพราะนั้นคืออาการของน้ำท่วมปอด
  • เบื่ออาการ คลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากระบบย่อยอาหารได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลง
  • ความจำเสื่อม มีการสับสน
  • ใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว
ปรึกษากับแพทย์ของท่านหากท่านมีโรคหัวใจอยู่ก่อนและเกิดอาการดังกล่าว
อาการ ต้นเหตุ อาการของผู้ป่วย
แน่นหน้าอก เลือดคั่งในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงปอด เหนื่อยเวลาทำงานหนัก เหนื่อยเวลาพัก เหนื่อยหรือแน่นหน้าอกเวลานอน
ไอเวลานอน เลือดคั่งในปอดและมีการรั่วของเลือดเข้าในปอด ไอเวลานอน แน่นหน้าอกเวลานอน ต้องลุกนั่งจึงจะหาย
บวม เลือดไม่สามารถผ่านหัวใจ เกิดการคั่งในเนื้อเยื่อ และมีการรั่ว บวมหลังเท้า ข้อเท้า ท้อง และมือ
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เนื่องจากหัวใจฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อน้อย เกิดการคั่งของของเสีย อ่อนเพลีย ไม่มีแรงเดินหรือขึ้นบันได
คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร กระเพาะลำไส้ได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อย รู้สึกแน่นท้องตลอดเวลา
สับสน ความจำไม่ดี เนื่องจากมีคั่งของเกลือแร่ ผู้ป่วยมีอาการมึนงง ความจำไม่ดี
ใจสั่น หัวใจต้องเต้นเร็ว ใจสั่น เหนื่อยง่าย
สิ่งที่ต้องบอกแพทย์เพื่อให้แพทย์ประเมินความรุนแรงของโรค
สิ่งที่จะต้องบอกแพทย์เมื่อไปพบแพทย์
  • ความรุนแรงของอาการ ไม่ว่าจะเป็นอาการแน่นหน้าอก หรือไอ บวม อ่อนเพลีย หรือเหนื่อย เช่น เดินเร็วจะเหนื่อย หรือนอนราบจะเหนื่อยเป็นต้น
  • ความถี่ของอาการ เช่นทุกครั้งที่ขึ้นบันไดจะเหนื่อย หรือทุกครั้งที่นอนหงาย หรือเป็นทุกวันทุกคืน
  • ระยะเวลาของอาการ เช่นบวมตอนสายตอนเช้าไม่บวม หรือแน่หน้าอกครั้งละ 20 นาทีเป็นต้น
  • รูบแบบของอาการ เช่นเดินขึ้นบันไดจะเหนื่อย หรือ บวมตอนเช้า หรือ หยุดออกกำลังแล้วแน่หน้าอกหายไป
  • ต้องบอกว่าเป็นที่ส่วนไหนให้ชัดเจน เช่นเหนื่อย หายใจหอบ
แพทย์จะตรวจอะไรบ้างเพื่อวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคหัวใจวายจะวินิจฉัยจากประวัติการหอบเหนื่อยหรืออาการบวม และจากการตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มีอาการและแพทย์ตรวจแล้วสงสัยว่าจะมีโรค หัวใจวายแพทย์จะตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจทางห้องปฏิบัติการก็เพื่อหาสาเหตุ ประเมินความรุนแรงของโรคหัวใจวาย
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG
  • เจาะเลือดตรวจเพื่อดูการทำงานของตับและไต
  • ตรวจปัสสาวะ
  • X-RAY ปอดและหัวใจเพื่อจะดูขนาดของหัวใจ และดูว่ามีน้ำท่วมบอดหรือไม่ ผู้ป่วยหัวใจวายจะมีขนาดหัวใจโต
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่ กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวหรือไม่ การเต้นของหัวใจปกติหรือไม่patient receiving echocardiogram, color photo
  • ตรวจคลื่นเสียงหัวใจ Echocardiography วิธีการตรวจเครื่องจะปล่อยคลื่นเสียงผ่านไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ คลื่นเสียงจะสะท้อนกลับมายังเครื่องรับ ทำให้เราสามารถเห็นความหน้าของกล้ามเนื้อหัวใจ เห็นการบีบตัวของหัวใจเพื่อตรวจวัดว่าหัวใจบีบตัวดีหรือไม่ มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจหรือไม่ คนที่เป็นโรคหัวใจวายหัวใจจะมีการบีบตัวน้อยกว่าปกติ กล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือไม่ การตรวจนี้ไม่เจ็บปวดใช้เวลาประมาณไม่ถึงครึ่งชั่วโมง
  • การตรวจทางนิวเคลีย Radionuclide ventriculography เพื่อวัดปริมาณเลือดที่หัวใจบีบออกไปในแต่ละครั้ง
  • การตรวจด้วยวิธีการวิ่งบนสายพาน Treadmil Exercise  เป็นการตรวจเพื่อดูว่าเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือไม่
การแบ่งความรุนแรงของโรคหัวใจ
การแบ่งความรุนแรงของโรคหัวใจก็เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาและดูแลตัว แพทย์จะแบ่งความรุนแรงออกเป็น 4 ระดับดังนี้
ความรุนแรง ปริมาณผู้ป่วย อาการของผู้ป่วย
I 35%  ผู้ป่วยไม่มีอาการ สามารถทำงานได้เหมือนคนปกติ
II 35% มีอาการเล็กน้อยเวลาทำงานปกติ พักจะไม่เหนื่อย
III 25% ไม่สามารถทำงานปกติได้เพราะเหนื่อย เช่นเดินก็เหนื่อย แต่พักจะไม่เหนื่อย
IV 5% ไม่สามารถทำงานปกติเช่นการอาบน้ำ การเดิน ขณะพักก็เหนื่อย.
การรักษา
โรคหัวใจวายเป็นโรคที่มีการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมากพอจึงเกิดอาการของหัวใจวาย โปรดจำไว้ว่าการรักษาโรคหัวใจวายไม่ใช่การรักษาแล้วหายขาด การรักษาหัวใจวายเป็นการปรับให้ร่างกายสู่สมดุล ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องร่วมมือในการรักษาโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำรงชีวิต หลักการรักษามีดังนี้

การป้องกันโรคหัวใจวาย
การตรวจวัดความดันโลหิต โรคหัวใจเมื่อเป็นแล้วมักจะรักษาไม่หาย ดังนั้นการป้องกันก่อนการเกิดโรคหัวใจวายเรียก Primary prevention น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น การออกกำลังกาย รับประทานอาหารคุณภาพหลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่เครียด งดการสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณที่จำกัด
  2. รักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น การรักษาโรคความดันโลหิต การรักษาโรคเบาหวาน ไขมัน หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ
  3. ตรวจร่างกายประจำปีก่อนการเกิดโรคหัวใจ
  4. การรักษาโรคพื้นฐาน เช่น การเต้นหัวใจที่ผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคธัยรอยด์เป็นพิษ
จะพบแพทย์บ่อยแค่ไหน
ช่วงปรับยาอาจจะพบแพทย์ทุกอาทิตย์หลังจากปรับยาได้เหมาะสมแพทย์จะนัดห่างออกไป
จะพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อไร
ท่านควรไปพบแพทย์หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น เช่นหากท่านรู้สึกเหนื่อยง่าย นอนแล้วแน่นหน้าอก น้ำหนักขึ้น'หรือบวมเท้า ควรปรึกษาแพทย์