homeowners insurance Claim home insurance Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim commercial insurance Claim cheap auto insurance Claim cheap health insurance Claim indemnity Claim car insurance companies Claim progressive quote Claim usaa car insurance Claim insurance near me Claim term life insurance Claim auto insurance near me Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim progressive renters insurance Claim state farm insurance quote Claim metlife auto insurance Claim best insurance companies Claim progressive auto insurance quote Claim cheap car insurance quotes Claim allstate car insurance Claim rental car insurance Claim car insurance online Claim liberty mutual car insurance Claim cheap car insurance near me Claim best auto insurance Claim home insurance companies Claim usaa home insurance Claim list of car insurance companies Claim full coverage insurance Claim allstate insurance near me Claim cheap insurance quotes Claim national insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim health insurance quotes Claim ameritas dental Claim state farm renters insurance Claim medicare supplement plans Claim progressive renters insurance Claim aetna providers Claim title insurance Claim sr22 insurance Claim medicare advantage plans Claim aetna health insurance Claim ambetter insurance Claim umr insurance Claim massmutual 401k Claim private health insurance Claim assurant renters insurance Claim assurant insurance Claim dental insurance plans Claim state farm insurance quote Claim health insurance plans Claim workers compensation insurance Claim geha dental Claim metlife auto insurance Claim boat insurance Claim aarp insurance Claim costco insurance Claim flood insurance Claim best insurance companies Claim cheap car insurance quotes Claim best travel insurance Claim insurance agents near me Claim car insurance Claim car insurance quotes Claim auto insurance Claim auto insurance quotes Claim long term care insurance Claim auto insurance companies Claim home insurance quotes Claim cheap car insurance quotes Claim affordable car insurance Claim professional liability insurance Claim cheap car insurance near me Claim small business insurance Claim vehicle insurance Claim best auto insurance Claim full coverage insurance Claim motorcycle insurance quote Claim homeowners insurance quote Claim errors and omissions insurance Claim general liability insurance Claim best renters insurance Claim cheap home insurance Claim cheap insurance near me Claim cheap full coverage insurance Claim cheap life insurance Claim

เผยโรคหัวใจ-หลอดเลือด คร่าชีวิตคนไทยพุ่งเป็นอันดับ 3

สธ.จัดโครงการรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 10,000 ราย ถวายในหลวง หลังพบคนไทยตายด้วย "โรคหัวใจและหลอดเลือด" เป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งและอุบัติเหตุจราจร ขณะที่อัตราการตายพุ่งถึงร้อยละ 17 สูงกว่าต่างประเทศเกิน 2 เท่า...

เมื่อวันที่ 4 เม.ย. นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยหลังประชุมวิชาการและชี้แจงนโยบายการพัฒนาระบบการรักษาผู้ป่วย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในประเทศ แก่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป แพทย์และพยาบาลทั่วประเทศ จำนวนรวม 900 คน เพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิตสูงขึ้น ซึ่งโรคนี้ไทยมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าต่างประเทศ 2 เท่าตัว

นายวิทยา กล่าวว่า ในปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการ "10,000 ดวงใจ ปลอดภัยด้วยพระบารมี” เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ประชาชนชาวไทยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ในการเข้ารับบริการรักษาโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โครงการดังกล่าวเป็นโครงการนำร่อง การพัฒนาระบบการรักษาโรคหัวใจขาดเลือดครั้งใหญ่ในประเทศ ระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มีนาคม 2555–28 กุมภาพันธ์ 2556 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 4.8 ล้านบาท

เนื่องจากปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการป่วยและเสียชีวิตของคนไทย สูงเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งและอุบัติเหตุจราจร โดยมีผู้เสียชีวิตปีละประมาณ 18,000 ราย สาเหตุส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 เกิดมาจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จากปัญหาหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน พบผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 22,000 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น


ด้านการศึกษาของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสถาบันโรคทรวงอก และหน่วยงานอื่นๆ ทั่วประเทศ 17 หน่วยงาน ยังพบว่าโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดรุนแรง มีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 17 ซึ่งสูงกว่าต่างประเทศที่พบร้อยละ 7 หรือกว่า 2 เท่าตัว กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายเร่งพัฒนาระบบริการผู้ป่วยประเภทนี้ให้กระจายครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งเป้าจะลดอัตราการเสียชีวิตให้เหลือไม่เกินร้อยละ 10

ส่วนการพัฒนาระบบการรักษาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลในสังกัด คือสถาบันโรคทรวงอก โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ รวม 244 แห่ง ให้สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มเกิดอาการ โดยให้ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อช่วยชีวิตในระยะวิกฤติให้ปลอดภัย จนถึงขั้นการรักษาที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และให้มีระบบการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาต่อในโรงพยาบาลภาครัฐอื่น ที่มีศูนย์รักษาผู้ป่วยโรคนี้ ได้แก่ โรงเรียนแพทย์ 10 แห่ง รพ.ทหารและตำรวจ 3 แห่ง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการต่อเนื่อง รวดเร็ว โอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น

ขณะที่ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือที่เรียกว่า "ฮาร์ท แอทแท็ค" (Heart Attack) เป็นภาวะวิกฤติฉุกเฉิน ต้องได้รับบริการอย่างเร็วที่สุด โดยสาเหตุที่หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบหรือตัน เกิดจากมีไขมันหรือเนื้อเยื่อ ไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบลง พร้อมกับมีการร่อนหลุดของตะกรันดังกล่าวพร้อมกับมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บเค้นอกคล้ายถูกของแหลมแทง ใจสั่น เหงื่อออก เหนื่อยขณะออกแรง เป็นลม หมดสติ อาการจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน และมีโอกาสเสียชีวิตทันทีประมาณร้อยละ 30-40

ทั้งนี้ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เป็นโรคที่รุนแรงที่ต้องได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็ว เพื่อให้การรักษาโดยเร็วที่สุด โดยมี 3 วิธี ได้แก่ 1. การให้ยาละลายหรือสลายลิ่มเลือด 2. การขยายหลอดเลือดแดงหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยัน และ 3. การผ่าตัดเบี่ยงทางเดินหลอดเลือด ซึ่งจะได้ผลดีถ้าผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาภายใน 12 ชั่วโมง หลังมีอาการเจ็บหน้าอก โดยขณะนี้ ได้จัดทำคู่มือการดูแลรักษาผู้ป่วยส่งให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับทั่วประเทศ เพื่อให้การปฏิบัติมีมาตรฐานเดียวกันทุกแห่ง


อย่างไรก็ตาม จากรายงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่า ในปี 2554 มีผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จำนวน 33,307 ราย ในจำนวนนี้เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดรุนแรง 11,024 ราย ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลอย่างถูกต้องคือ การเปิดหลอดเลือดด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดร้อยละ 32 และขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนร้อยละ 14 รวม 4,700 ราย

สำหรับระบบการบริการตามโครงการนี้ เมื่อมีผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บหน้าอก ให้เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน หมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อส่งต่อไปรับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทุกจังหวัด เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยขั้นต้น โดยการตรวจร่างกายและคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อวินิจฉัยโรคภายใน 10 นาที หากพบว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดรุนแรง ให้ยารักษาขั้นต้นด้วยยาแอสไพรินเพื่อป้องกันเลือดแข็งตัว และส่งต่อไปโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลทั่วไปในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงขึ้น เพื่อให้การรักษาตามความเหมาะสมต่อไป โดยถือเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารักษาได้ในโรงพยาบาลทุกแห่งทั้งภาครัฐและเอกชน โดยไม่ต้องถามสิทธิ์ ไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า.


credit :http://www.thairath.co.th/