homeowners insurance Claim home insurance Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim commercial insurance Claim cheap auto insurance Claim cheap health insurance Claim indemnity Claim car insurance companies Claim progressive quote Claim usaa car insurance Claim insurance near me Claim term life insurance Claim auto insurance near me Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim progressive renters insurance Claim state farm insurance quote Claim metlife auto insurance Claim best insurance companies Claim progressive auto insurance quote Claim cheap car insurance quotes Claim allstate car insurance Claim rental car insurance Claim car insurance online Claim liberty mutual car insurance Claim cheap car insurance near me Claim best auto insurance Claim home insurance companies Claim usaa home insurance Claim list of car insurance companies Claim full coverage insurance Claim allstate insurance near me Claim cheap insurance quotes Claim national insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim health insurance quotes Claim ameritas dental Claim state farm renters insurance Claim medicare supplement plans Claim progressive renters insurance Claim aetna providers Claim title insurance Claim sr22 insurance Claim medicare advantage plans Claim aetna health insurance Claim ambetter insurance Claim umr insurance Claim massmutual 401k Claim private health insurance Claim assurant renters insurance Claim assurant insurance Claim dental insurance plans Claim state farm insurance quote Claim health insurance plans Claim workers compensation insurance Claim geha dental Claim metlife auto insurance Claim boat insurance Claim aarp insurance Claim costco insurance Claim flood insurance Claim best insurance companies Claim cheap car insurance quotes Claim best travel insurance Claim insurance agents near me Claim car insurance Claim car insurance quotes Claim auto insurance Claim auto insurance quotes Claim long term care insurance Claim auto insurance companies Claim home insurance quotes Claim cheap car insurance quotes Claim affordable car insurance Claim professional liability insurance Claim cheap car insurance near me Claim small business insurance Claim vehicle insurance Claim best auto insurance Claim full coverage insurance Claim motorcycle insurance quote Claim homeowners insurance quote Claim errors and omissions insurance Claim general liability insurance Claim best renters insurance Claim cheap home insurance Claim cheap insurance near me Claim cheap full coverage insurance Claim cheap life insurance Claim

แฉคนไทยเอวหาย- ไขมันในเลือดสูง

ข้อมูลจาก เดลินิวส์ 
เผยผลสำรวจคนไทยอ้วนเยอะ กินผักผลไม้น้อย ซ้ำโรคโลหิตจางปั่นทอน คาดป่วยเบาหวานเฉียด 3 ล้าน ความดันสูง 10 ล้าน

วันนี้ (16 ก.ย.) รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร สำนักงานศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ระหว่างเดือน ก.ค.2551-มี.ค.2552 โดยเป็นการสำรวจกลุ่มตัวอย่างใน 20 จังหวัดทั่วประเทศและกรุงเทพฯ กลุ่มอายุ 15-59 ปี จำนวน 12,240 คนและอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 9,720 คน รวมทั้งหมด 21,960 คน ปรากฎว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ 19.9% ซึ่งเพศชายสูบบุหรี่เป็นประจำ 38.7% ส่วนเพศหญิงสูบบุหรี่เป็นประจำ 2.1% ทั้งนี้พบว่า 1 ใน 4 ของผู้สูงอายุชายยังคงสูบบุหรี่อยู่

รศ.นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า จากการสำรวจพฤติกรรมการกินอาหาร พบว่าประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป 77.3 % กินอาหารครบ 3 มื้อต่อวัน โดยกลุ่มอายุที่กินครบ 3 มื้อน้อยที่สุดคืออายุระหว่าง 15-29 ปี นอกจากนี้ยังพบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปสูงถึง 80 % กินอาหารมื้อเย็นที่บ้าน ส่วน 20 % กินอาหารนอกบ้านหรืออาหารปรุงสำเร็จ สำหรับการกินผลไม้ พบว่า 17.7 % กินผักและผลไม้ปริมาณต่อวันเพียงพอตามข้อแนะนำ โดยสัดส่วนการกินผักและผลไม้ในผู้ชายอยู่ที่ 16.9 % ซึ่งน้อยกว่าผู้หญิง และหากพิจารณาตามภาคพบว่า ภาคใต้ กินผักและผลไม้เพียงพอมากที่สุด

รศ.นพ.วิชัย กล่าวต่ออีกว่า สำหรับประเด็นการใช้ยาและอาหารเสริม พบว่าประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 2.3 % กินยาแก้ปวดทุกวัน โดยเพศหญิงมีความชุกในการกินยาแก้ปวดสูงกว่าชาย และสัดส่วนการกินยาแก้ปวดจะเพิ่มขึ้นตามอายุด้วย โดยภาคอีสานมีคนกินยาแก้ปวดมากที่สุด รองลงมาคือภาคกลาง ทั้งนี้พบว่า 3.3 % กินยาคลายเครียดหรือยานอนหลับเป็นประจำ ทั้งที่มีอาการหรือไม่มีอาการ โดยผู้หญิงมีความชุกการกินยามากกว่าผู้ชายด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า ประชากร 2.1 % กินยาลูกกลอนประจำ 1.1 % กินยาลดความอ้วนและ 14.8 % เคยกินอาหารเสริม ที่น่าห่วงคือ ภาวะอ้วน โดยในประชากรอายุ 15 ขึ้นไปผู้ชายพบมี 28.4 % ส่วนผู้หญิงสูงถึง 40.7 % โดยในภาคกลางและกรุงเทพฯ จะสูงกว่าภาคอื่น ๆ ส่วนภาวะอ้วนลงพุง ในผู้ชายที่รอบเอวเกิน 90 ซม.มี 18.6 % ในผู้หญิงมีมากถึง 45 % ซึ่งถือว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างชัดเจน

รศ.นพ.วิชัย ยังกล่าวถึงกรณีโรคเบาหวาน คาดว่าจะมีผู้ป่วยอายุ 15 ปีขึ้นไปประมาณ 6.9 % หรือ 3 ล้านคน โดยผู้ชายในกรุงเทพฯ จะมีความชุกสูงสุด รองลงไป ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ อย่างไรก็ตามที่น่าห่วงมากคือ 1 ใน 3 ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวานมาก่อน อีกประเด็นที่น่าห่วงคือ โรคความดันโลหิตสูง เพราะพบว่าคนอายุ 15 ปีขึ้นไปมี 21.4 % หรือประมาณ 10 ล้านคน เป็นโรคดังกล่าวบางคนความดันสูงถึง 240 ก็มี ดังนั้นข้อแนะนำคือการไปตรวจร่างกายทุกปี โดยเฉพาะในคนอายุ 20 ปีขึ้นไป ส่วนภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ พบประมาณ 19.1 หรือประมาณ 10 ล้านคน ทั้งนี้พบว่าระดับไขมันคลอเลสเตอรอล เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

รศ.นพ.วิชัย ยังกล่าวถึงการสำรวจภาวะซึมเศร้าในคนอายุ 15 ปีขึ้นพบ 2.8 % โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทั้งนี้พบว่าผู้ชายในภาคอีสานมีภาวะซึมเศร้ามากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ภาคใต้ ส่วนเพศหญิงพบในกรุงเทพฯ มากที่สุด อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือ ภาวะโลหิตจาง เพราะคนอายุ 15 ปีขึ้นไป พบมากถึง 23 % และยังพบในผู้หญิงมากกว่าชาย โดยกรุงเทพฯ และอีสานมีความชุกสูงกว่าภาคอื่น สำหรับเรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ พบว่า ผลสำรวจพบว่าอายุเฉลี่ยของสตรีไทยเป็นประจำเดือนครั้งแรก มีแนวโน้มลดลงและเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น โดยกลุ่มอายุ 15-29 ปี มีประจำครั้งแรกเมื่ออายุ 13.2 ปี อายุ 30-44 ปี มีประจำเดือนครั้งแรกอายุ 14.1 ปีและอายุ 45-49 ปี มีประจำเดือนครั้งแรกอายุ 15-19 ปี นอกจากนี้ยังพบว่า 10.5 % ของสตรีวัย 15-19 ปี เคยตั้งครรภ์และในจำนวนนี้ 84.8 % เคยคลอดบุตรด้วย ส่วนการมีบุตรยากพบสูงถึง 11 % โดยมีเพียง 32.9 % เท่านั้นที่เคยได้รับการักษา

“โดยสรุปผลการสำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 นี้ เทียบกับครั้งที่ 3 พบว่า ความชุกของบางปัจจัยเสี่ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น ภาวะอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง การกินผักผลไม้ไม่เพียงพอ ภาวะโลหิตจาง บางปัจจัยอยู่ในสภาพคงเดิม ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและบางปัจจัยเสี่ยงมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในบางกลุ่ม เช่น การสูบบุหรี่ลดลงในผู้ชายแต่ในผู้หญิงไม่ลดลง การมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดังนั้นจำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันกำหนดการ ดำเนินการควบคุมป้องกันปัจจัยเสี่ยงและสร้างเสริมสุขภาพประชาชนให้มี ประสิทธิผลมากขึ้น ทั้งยังต้องมีการสำรวจติดตามสถานสุขภาพประชาชนต่อเนื่องเป็นระยะต่อไป” รศ.นพ.วิชัย กล่าว.