เมื่อเกิดอาการปวดศีรษะใครหลายๆ คนมักคิดว่าคำตอบของอาการปวดที่เกิดขึ้นต้องมีที่มาเพราะเรื่องของ "ระบบสมอง" อย่างแน่นอน แต่เชื่อหรือไม่ว่า ! ความคิดนั้นอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่ถูกต้อง เพราะเหตุของการปวดศีรษะมีมากกว่าเรื่องของสมอง แต่เป็นปัญหาเชื่อมต่อจากจิตใจที่เราอาจคาดไม่ถึง
จากบทสรุปของแพทย์ระบบประสาทภายหลังจากการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุอย่าง ละเอียด และพบว่าอาการปวดศีรษะไม่ได้เกิดจากปัญหาทางกายภาพที่เกี่ยวกับสมองซึ่ง เปรียบได้กับเป็น (Hardware) ของคนเรา แต่อาจมีสาเหตุจากปัญหาด้านจิตใจที่เป็นเสมือน (Software) ซึ่งต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษา
"อาการปวดศีรษะ" มี ความ สัมพันธ์กับความเครียด ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับตามจิตของมนุษย์ ได้แก่ จิตรู้สำนึกและจิตใต้สำนึก โดยถ้าเปรียบเทียบจิตของมนุษย์เราเป็นห้องภายในบ้าน จิตรู้สำนึก จะเปรียบได้กับเป็นห้องรับแขกและจิตใต้สำนึก เสมือนห้องเก็บของหรือห้องใต้ดิน เช่น เมื่อมีคนทำให้เรารู้สึกโกรธ แต่เราบอกว่าไม่เป็นไร ไม่โกรธ ให้อภัย สิ่งนี้คือจิตรู้สำนึก แต่ในความเป็นจริงแล้วอารมณ์โกรธ ความไม่พอใจ ยังคงมีตกค้างอยู่ภายในจิตใต้สำนึก
ซึ่งถ้าความฝังใจต่างๆ ถูกสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จิตใต้สำนึกหรือห้องเก็บของก็จะกลายเป็นโกดังเก็บของขนาดใหญ่ที่กักเก็บเอา ขยะทางความคิด มลพิษทางอารมณ์ของมนุษย์เราไว้จำนวนมาก และสิ่งที่อยู่ในจิตใต้สำนึกเมื่อมีความฝังใจสะสมอยู่มาก หากมีเหตุการณ์หรือคำพูดใดที่เข้ามาสะกิดใจแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจส่งผลให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ทางความรู้สึกขึ้นได้ เช่น ทำให้โกรธง่าย น้อยใจร้องไห้ง่าย เป็นต้น
สำหรับการรักษาผู้ที่มีอาการปวดศีรษะจากความเครียดสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ
1. การรักษาในระดับจิตรู้สำนึก Counseling หรือจิตบำบัด กรณีของผู้ที่ปวดศีรษะจากความเครียดด้วยปัญหาที่ระบุได้ชัดเจน เช่น ทำงานหนัก ปัญหาหนี้สิน ครอบครัว เรื่องส่วนตัว เรื่องสังคม เป็นต้น
2. การรักษาในระดับจิตใต้สำนึก ในกรณีของผู้ที่มีความฝังใจสะสมอยู่เดิม และส่งผลให้เกิดความเครียดในปัจจุบัน จึงต้องใช้วิธีการรักษาด้วยการสะกดจิตบำบัด (Hypnotherapy) เป็นลักษณะของการล้างใจ (Mental Detox) และสำหรับสะกดจิตบำบัดเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์ที่ในปัจจุบันเรียกได้อีกชื่อ ว่า การโปรแกรมจิตใต้สำนึกใหม่ (Neuro - Linguistic Programming : NLP) ด้วยการเคลียร์ ล้าง และโปรแกรมจิตใต้สำนึกใหม่ให้กับผู้ที่มี ความเครียด นอนไม่หลับเรื้อรัง กลัวเกินเหตุ อารมณ์ฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีเหตุผล มีปัญหาความสัมพันธ์กับผู้อื่น ผู้ที่คิดลบกับตนเองตลอด ซึ่งการรักษาจะใช้ภาษาและดนตรีบำบัดเข้ามามีส่วนร่วม
โดยจะใช้เพลง ที่มีท่วงทำนองเหมาะสมสื่อนำให้ผู้ป่วยเข้าสู่โหมด คลื่นสมองเทต้า (Theta Brainwave) เนื่องจากคลื่นสมองเทต้า เป็นภาวะที่มนุษย์เราจะอยู่ในภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการรักษาด้วยวิธี (Hypnotherapy) เพื่อเปลี่ยนสิ่งที่อยู่ในจิตใต้สำนึกให้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ สามารถดำเนินต่อไปสร้างผลดีให้กับชีวิต เพราะถ้าหากเกิดความเครียดในระดับจิตใต้สำนึกและไม่ได้รับการบำบัดที่ต้นตอ ปัญหานั้นอาจส่งผลมากกว่าแค่ความเครียด มีผลกระทบกับชีวิตเรื้อรังเป็นความกดดัน มีปัญหาสุขภาพ และทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ด้านอื่นๆ ตามมาได้อีกด้วย การโปรแกรมจิตใต้สำนึกใหม่ นอกเหนือจากเพื่อบำบัดต้นตอของความเครียดที่ส่งผลกับปัญหาการปวดศีรษะแล้ว ยังสามารถทำเพื่อโปรแกรมชีวิตในมุมบวกซึ่งจะมีผลอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น การพัฒนาศักยภาพการทำงาน, การสร้างความคิดให้เด็กรักในการเรียน
แนว ทางในการรักษาผู้ที่มีอาการปวดศีรษะทั้งในระดับจิตรู้สำนึกและระดับจิตใต้ สำนึก สามารถนำ ดนตรีบำบัด (Music Therapy) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาได้ โดยพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ดนตรีบำบัด คือ การนำดนตรีหรือองค์ประกอบอื่นๆ ทางดนตรี มาประยุกต์ใช้เพื่อปรับพัฒนา รักษา ด้านจิตใจ อารมณ์ ที่มีหลักการและหลักเกณฑ์ในแต่ละโหมดของสภาวะทางจิตใจ กับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะจากความเครียดโดยไม่ต้องใช้ยา เพราะดนตรีก็เป็นเสมือนยาที่ได้จากการฟังเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ปัจจุบันเราเลือกใช้ดนตรีบำบัดจากการฟังเพลงเพื่อรักษาผู้ป่วย เนื่องจากเป็นการบำบัดที่สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ต้องใช้เครื่องดนตรี สามารถปฏิบัติได้ง่าย แค่คัดสรรให้คลื่นเสียงไปปรับคลื่นสมองให้สู่สมดุล สำหรับคลื่นสมองของคนเราสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
- คลื่นเบต้า (Beta wave) อยู่ในภาวะที่รู้สึกตัว แต่มีความเครียด หงุดหงิด
- คลื่นอัลฟ่า (Alpha wave) คืออยู่ในภาวะที่รู้สึกตัว ผ่อนคลาย สบายใจ เช่น ช่วงที่สวดมนต์ นั่งสมาธิ
- คลื่นเทต้า (Theta wave) เป็นช่วงที่อยู่ในภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น เช่น เวลาที่นอนหลับไม่สนิทและฝัน ขณะขับรถและมีหลับใน เป็นต้น
- คลื่นเดลต้า (Delta wave) เป็นคลื่นสมองที่ช้าที่สุด เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ เป็นช่วงที่ร่างกายกำลังพักผ่อนอย่างเต็มที่ หลับลึกโดยไม่มีความฝัน
เพลงที่นำมาใช้ส่วนใหญ่จะเป็นไปเพื่อให้เกิดความผ่อนคลายและเพื่อให้นอนหลับ ได้สนิท แต่สิ่งสำคัญที่สุดของดนตรีบำบัดด้วยการฟังเพลง คือ การเลือกแนวเพลงจะต้องได้รับการคัดสรรจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คลื่นเสียงของเพลงตรงกับคลื่นสมองที่ต้องการบำบัดและถูกต้องกับช่วง เวลาในการใช้ชีวิต
นพ. สุกมล วิภาวีพลกุล
จิตแพทย์
รพ. พญาไท 2
ปวดศีรษะอาจเป็นมากกว่าแค่เรื่องสมอง SANOOK