หากใครก็ตามที่เคยเป็นคนขยันขัน แข็ง กระตือรือร้น แล้วกลายเป็นคนอารมณ์บูดบึ้ง และไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไรทั้งสิ้น อาจเป็นเพราะ Burnout syndrome ก็ได้
ทั้งนี้ ดร.มันเฟรด เนลติ้ง จิตแพทย์ในเมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี ได้กล่าวเตือนว่า ทุกคนสามารถเกิดอาการที่ว่านี้ได้ การป้องกันไม่ให้เกิด Burnout syndrome จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด และจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยไฟร์บวร์ก พบว่า 50% ของพยาบาลที่ต้องดูแลคนไข้โรคเอดส์ มะเร็ง และผู้ป่วยอาการหนัก มักมีอาการ Burnout syndrome
นอกจากนี้ก็ยังมีแพทย์ ครู อาจารย์ นักเรียนที่เตรียมตัวเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย และผู้ที่มีตำแหน่งผู้จัดการ ก็มีอาการที่ว่านี้ได้ ได้แก่ การ นอนไม่หลับ เครียด ตื่นเช้าขึ้นมาจึงรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีแรง และเครียดหนักขึ้นเมื่องานไม่คืบหน้า และจะส่งผลต่อสุขภาพตามมา เช่น ปวดหลัง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ จึงหันเข้าหาแอลกอฮอล์ ยาเสริมกำลัง หรือออกกำลังกายอย่างหักโหม แต่ก็ไม่อาจช่วยได้ และโรคนี้ก็ยากแก่การวินิจฉัย เพราะคนมักไม่ยอมรับความจริงจนกระทั่งมีอาการรุนแรง
ผู้ ที่ช่วยได้เป็นคนแรกคือ แพทย์ ดังนั้น เราจึงควรป้องกันโรคนี้ก่อนจะเกิดขึ้น ด้วยการพูดคุยกับคนรัก และเพื่อน ๆ ไปเที่ยวพักผ่อน ทานอาหาร เดินเล่น หรือเล่นกีฬาที่สนุกสนาน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก