นักวิทยาศาสตร์ทดสอบการนอนของคน 100 คน ระหว่างช่วงอายุ 45-80 ปี ผู้ที่ปราศจากอาการสมองเสื่อม ครึ่งหนึ่งในอาสาสมัครครอบครัวมีประวัติเป็นอัลไซเมอร์
ดร.โย อิ จู จากมหาวิทยาลัย วอชิงตัน กล่าวว่า การนอนหลับไม่ต่อเนื่องเกี่ยวข้องกับการสร้าง แอมีลอยด์ พลาก ที่เป็นตัวบ่งชี้ของโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งคราบแอมีลอยด์ พลาก (amyloid plaque) นั้นเราจะพบในสมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และในในโรคสมองเสื่อมบางชนิด
การทดลองจะใช้อุปกรณ์บันทึกการนอนหลับของผู้เข้าร่วมการทดลองเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากทำการศึกษา พบว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ของอาสาสมัครเกิดแอมีลอยด์ พลาก ซึ่งจะปรากฎก่อนเป็นปีก่อนจะเกิดอาการอัลไซเมอร์
เวลาเฉลี่ยของการนอนในการทดลองอยู่ราวๆ 8 ชั่วโมง แต่เวลาเฉลี่ยของการหลับอยู่ที่ 6.5 ชั่วโมง เพราะมีการตื่นในช่วงสั้นๆระหว่างคืน
ผลการศึกาาพบว่า ผู้ที่ตื่นนมากกว่า 5 ครั้งในหนึ่งชั่วโมง ดูเหมือนว่าจะมีการสร้าง แอมีลอยด์ พลาก มากกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ตื่นน้อยกว่า
นักวิจัยพบว่าผู้ที่หลับน้อยแต่มีประสิทธิภาพมีแนวโน้มจะเป็นอัลไซเมอร์ระยะแรกได้มากกว่าผู้ที่หลับนานและมีประสิทธิภาพ
ผู้ที่ใช้เวลาหลับน้อยกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ มีแนวโน้มที่จะเป็นอัลไซเมอร์มากกว่าผู้ที่ใช้เวลาหลับมากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์
ดร.จู กล่าวเพิ่มเติมว่า การหลับแบบสะดุดไม่ต่อเนื่องและแอมีลอยด์ พลาก เป็นความน่าสนใจ แต่ข้อมูลจากการศึกษาไม่สามารถตัดสินสาเหตุของความสัมพันธ์หรือทิศทางของความสัมพันธ์นี้ได้
ทีมวิจัยต้องการเวลาในการติดตามการนอนหลับของบุคคลมากเป็นปี เพื่อแสดงผลที่แน่นอนของการหลับแบบไม่ต่อเนื่องกับแอมีลอยด์ พลาก หรือการเปลี่ยนของสมองเมื่อเป็นอัลไซเมอร์จึงทำให้การนอนเปลี่ยนไป
การศึกษาครั้งนี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับการจัดการนอนหลับเพื่อวางแผนป้องกันหรือชะลอการเกิดอัลไซเมอร์
Credit : prachachatnews