วิธีลดกลิ่นปาก (ปากเหม็น) ที่สำคัญได้แก่

(1). ลดอาหาร ที่มีน้ำมันหอมระเหยบางชนิด เช่น หอม กระเทียม ฯลฯ เนื่องจากน้ำมันเหล่านี้ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ และจะซึมออกมาพร้อมกับลมหายใจ
.
(2). ไม่สูบบุหรี่ และไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป
.
(3). น้ำยา บ้วนปากช่วยชั่วคราว ควรเลือกชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ มีฟลูออไรด์ (ป้องกันฟันผุ), และมีสารที่ช่วยป้องกันการเกิดคราบจุลินทรีย์ที่ผิวฟัน
.
(4). แปรงฟันด้วยแปรงขนอ่อนมากให้ถูกวิธี และถี่ถ้วน (ทั่วถึง)
.
คน ส่วนใหญ่แปรงฟันนาน 30-45 วินาที ทางที่ดี คือ ไปเรียนวิธีแปรงฟันถูกวิธีกับอาจารย์หมอฟัน หรือนักทันตอนามัย แปรงเบาๆ นาน 2 นาที วันละ 2 ครั้ง
.
ควร หลีกเลี่ยงการแปรงฟันหลังกินอาหาร ดื่มน้ำ-ยาที่มีฤทธิ์กรดหรือด่าง เช่น ผลไม้ น้ำผลไม้ สลัด ยาลดกรด ยาน้ำ (ยาน้ำส่วนใหญ่แต่งรสด้วยกรดอ่อนกับน้ำตาล) ฯลฯ 30-60 นาที
.
เนื่องจากช่วงที่เคลือบฟันสัมผัสกรดหรือด่างจะอ่อนตัวลงนาน 30-60 นาที, ถ้าแปรงฟันในช่วงนี้จะทำให้เคลือบฟันสึกมาก
.
ทางที่ดี คือ ให้บ้วนปากหลังอาหาร-เครื่องดื่ม-กินยาน้ำหลายๆ ครั้งทันที และบ้วนปากบ่อยๆ จนครบ 30-60 นาที ค่อยแปรงฟัน
.
(5). แปรงลิ้นทุกวัน
.
คราบ จุลินทรีย์มักจะเกาะลิ้นส่วนหลังมากกว่าส่วนหน้า จึงควรแลบลิ้นให้ลิ้นส่วนหลังยื่นออกมา ใช้ด้ามแปรงสีฟัน แปรงทำความสะอาดลิ้น หรือใช้ช้อนที่ไม่คบ-คว่ำลง แล้วขูดลิ้นเบาๆ จากด้านในออกมาทางด้านนอก
.
ลิ้น ของคนเรามีลักษณะคล้ายพรม เป็นแหล่งสะสมคราบหรือเศษอาหาร บูดเน่า และทำให้เกิดกลิ่นปาก, การแปรงลิ้นเป็นประจำจะทำให้เศษอาหารที่ตกค้างลดลงไปได้มาก
.
(6). ใช้ไหมขัดฟัน
.
ควร เรียนวิธีใช้ไหมขัดฟันถูกวิธีจากอาจารย์หมอฟัน หรือนักทันตอนามัย และใช้ไหมขัดฟันเบาๆ ถูฟันให้ทั่วถึงวันละ 1 ครั้ง เพื่อลดคราบจุลินทรีย์ (plaque - พลัค / พล้าค) ที่เกาะอยู่บนผิวฟัน
.






(7). อย่าเชื่อว่า ถ้าเป่าลมหายใจบนมือแล้วไม่เหม็น = ไม่เหม็นจริง
.
การ เป่าลมหายใจออกจะได้ลมจากช่องปากส่วนหน้ามากกว่าด้านหลัง ความจริงของช่องปากก็คล้ายบ้านคนทั่วไป คือ "ส้วมมักจะอยู่หลังบ้าน" หรือกลิ่นปากมักจะมาจากส่วนหลังของช่องปากมากกว่าส่วนหน้า
.
คน เรามักจะไม่ค่อยได้กลิ่นปากตัวเอง เนื่องจากความเคยชิน, วิธีที่ดี คือ ขอความช่วยเหลือจากญาติสนิทมิตรสหายที่ไว้ใจได้ ขอให้ท่านที่เคารพมาช่วยนั่งใกล้ๆ ลมหายใจเราดูว่า เป็นอย่างไร
.
ไม่ควรขอให้แฟนมาทดสอบกลิ่นปาก เนื่องจากความปฏิกูล (ไม่น่าชม ไม่น่าดู) อาจทำให้มิตรภาพเสียหายได้
.
(8). เคี้ยวหมากฝรั่ง
.
การ เคี้ยวหมากฝรั่งชนิดไม่มีน้ำตาลหลังอาหารอย่างน้อย 3 นาที มีส่วนช่วยทำความสะอาดผิวฟัน โดยเฉพาะฟันบน-ล่างด้านที่สบกันได้ดี ทำให้คราบจุลินทรีย์หรือพลัคที่ผิวฟันลดน้อยลง
.
น้ำตาลเทียมมีส่วนทำให้เชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากเจริญเติบโตได้ไม่ดี (ไม่เหมือนน้ำตาลแท้)
.
หมากฝรั่ง 'Trident Recaldent' หรือ "ไตรเด๊นท์" มีน้ำตาลเทียมด้วย มีแคลเซียมที่ช่วยซึมซาบเข้าไปเสริมเคลือบฟันได้ด้วย
.
เวลาซื้อขอให้ดูฉลากอาหารที่กล่อง เลือกชนิดที่มีการระบุว่า ได้รับแคลเซียมร้อยละเท่าไรของที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน (RDA)
.
คนเราเป็นสัตว์ "กลืนน้ำลาย", เคี้ยวไปกลืนไป ทำให้แคลเซียมจากหมากฝรั่งดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้
.
สมมติ เราเคี้ยวหมากฝรั่ง 2 มื้อๆ ละ 2 เม็ด จะได้แคลเซียมประมาณ 20% ของที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน (นม 1 กล่องเล็ก 200 มิลลิลิตร มีแคลเซียมประมาณ 25-30% ของที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน นับเป็นแหล่งแคลเซียมที่น่าสนใจมาก
.
(9). ตรวจสุขภาพช่องปาก
.
การ ไปตรวจสุขภาพช่องปากกับอาจารย์หมอฟัน หรือนักทันตอนามัยทุกๆ 6-12 เดือน จะช่วยป้องกันปัญหากลิ่นปากจากฟันผุ เหงือกอักเสบ ปริทนต์อักเสบ (ปริ = รอบๆ; ทนต์ = ฟัน; รวม = เหงือกและเนื้อเยื่อรอบโคนฟันที่ช่วยพยุงฟันไม่ให้หลุด), คราบจุลินทรีย์ (พลัค) ฝังลึก ซึ่งอาจมีหินปูนเกาะ
.
ที นี้ถ้าดูแลช่องปากอย่างดีแล้ว ยังมีกลิ่นปากหรือปากเหม็น... อาจต้องหาต่อไปว่า มีโรคภูมิแพ้ เช่น จมูกอักเสบบวม อุดทางระบายน้ำไซนัส (โพรงรอบจมูก) หรือไม่ ฯลฯ
.
ธรรมชาติ ของธาตุน้ำในร่างกายคนเรานั้น, ถ้า "นิ่ง" แล้วจะเน่าเหม็นเสมอ พวกเสมหะ-น้ำมูก-น้ำลายก็คล้ายกัน คือ "นิ่งแล้วเน่า" จึงต้องหาทางให้มันไหล หรือเคลื่อนไปเคลื่อนมา จึงจะไม่เน่า
.
การ รักษาภูมิแพ้อาศัยหลักการหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ เช่น ทำห้องให้มีของน้อยที่สุด ทำความสะอาดเป็นประจำ ฯลฯ ใช้ยาแก้แพ้-ยาลดน้ำมูก และออกแรง-ออกกำลังให้หนักหน่อย ลมหายใจจะได้โล่ง
.
(10). ไม่ดื่มหนัก
.
การดื่ม (แอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) หนักทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง ป่วยบ่อย
.






(11). เพิ่มน้ำลาย
.
ถ้า ปากคนเราเป็นชักโครกหรือโถปัสสาวะ... น้ำลายจะทำหน้าที่คล้ายน้ำชำระล้าง ซึ่งวิธีเพิ่มปริมาณน้ำลายที่ดี คือ ดื่มน้ำให้มากและบ่อยพอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำที่จะทำให้ปริมาณน้ำลายลดลง
.
การเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาล หรือการนึกถึงของเปรี้ยวๆ เช่น มะนาว ฯลฯ มีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณการหลั่งน้ำลาย
.
(12). ไม่ดื่มน้ำหวาน-น้ำอัดลม
.
น้ำตาล เป็นอาหารของจุลินทรีย์ในช่องปาก ทำให้กลิ่นปากมากขึ้น ส่วนน้ำอัดลมมีกรดที่ทำให้เคลือบฟันสึก และเปลี่ยนจากของที่มีผิวเรียบเป็นผิวขรุขระ ทำให้จุลินทรีย์จับติดหนึบได้ง่ายขึ้น
.
น้ำอัดลมมีกรดที่ขับออกทางไต ทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียม รัฐบาลควรขึ้นภาษีน้ำอัดลม และประกาศให้ติดรูปคนฟันผุไว้ที่ขวดน้ำอัดลม
.
การศึกษาจากเยอรมนีเร็วๆ นี้พบว่า โรงเรียนที่จัด "น้ำเปล่า" ให้มากพอและทั่วถึงมีส่วนช่วยให้เด็กกินน้ำหวาน-น้ำอัดลมน้อยลง เสี่ยงอ้วนน้อยลง 30%
เดิม เราไม่รู้ว่า "น้ำพุงแห่งความอ่อนเยาว์ (fountain of youth)" อยู่ที่ไหน, การศึกษาเร็วๆ นี้พบว่า โรงเรียนที่มีน้ำพุ หรือน้ำสะอาดชนิดกดดื่มเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ ทำให้เด็กๆ หุ่นดี ดูอ่อนเยาว์กว่าเพื่อนๆ ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนเกือบ 1/3 [ nytimes ]
รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการควรรณรงค์ให้มี "น้ำพุแห่งความอ่อนเยาว์" ทั่วไทยโดยเร็ว บ้านไหนอยากอ่อนเยาว์ก็ควรทำน้ำพุแบบนี้ไว้เช่นกัน
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
credit hnakarin bloggang.com