หวัดดีครับ สบายดีกันหรือเปล่า
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณหลายๆคน ที่ให้คำติชม ให้ผมสามารถปรับปรุงบล็อกได้ดีขึ้น(หวังว่านะ)
แต่ยังไงเสีย ผมพบว่า ผู้อ่านบล็อกนี้จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่อ่านแล้วฝึกตาม กลุ่มที่สองคือกลุ่มอ่านเอาความรู้(อ่านเอาเรื่อง)เฉยๆ ซึ่งกลุ่มที่ฝึกตามจะพบว่าฝึกตามไม่ทันกับที่ผมเพิ่มให้ ส่วนกลุ่มอ่านเฉยๆ ก็จะพบว่า ผมอัพช้าไป รอนานเปิดมาแต่ละทีไม่ค่อยมีอะไรใหม่
ยังไงก็แล้วแต่ ผมเห็นว่า ใครจะฝึก หรือไม่ฝึก เร็ว หรือช้ายังไง ก็ไม่เป็นไรหรอกครับ คนไทยส่วนใหญ่เคยชินกับการเรียนแบบสอบปลายภาค คือพอถึงวันที่กำหนดจะมีสอบทำให้ติดนิสัยเรียน(หรือฝึก)อะไรแบบที่ต้อง"ให้ทัน"
แต่สำหรับบล็อกนี้ ผมเห็นว่า แต่ละคนมีสิทธิ์เต็มที่ ที่จะฝึกเร็ว(หรือช้า)แค่ไหนก็ได้ตามใจสิครับ ไม่ได้วัดผล ไม่ได้มีใครมาประทับตราคุณว่าสอบตกหรือได้ที่เท่าไหร่ผมเห็นว่าการกำหนดเวลาจะทำให้ผู้เรียนหรือผู้ฝึกมีแนวโน้มจะข้ามบางเรื่องที่เห็นว่าไม่สำคัญไปเลย ดังนั้น ฝึกเร็วหรือช้าแค่ไหนก็ตามสบายเถอะครับ ถ้าคุณเข้าใจแล้ว ก็ไปบทต่อไป แต่ถ้าไม่เข้าใจหรือยังไม่แน่ใจ อย่าข้ามเลยครับ
ยิ่งบทต่อๆไป จะสังเกตว่า มันจะยากขึ้นๆไปเรื่อยๆ ดังนั้น ถ้าคุณผู้อ่านข้ามบทก่อนๆมา ก็จะมีแนวโน้มที่จะไม่เข้าใจ เบื่อ และเลิกฝึกไปซึ่งน่าเสียดาย
สำหรับบทนี้ เราจะมาลงรายละเอียดของ"โครงสร้าง" มากขึ้น
ในโครงสร้างคนเรา มีพลังรูปแบบต่างๆมากมายและซับซ้อนมาก นอกเหนือจากปริมาณพลังที่เราต้องรักษาไว้ ไม่ให้น้อยไปและไม่ให้แน่นไปแล้ว เรายังต้องรักษาอัตราส่วนของพลังต่างๆในตัวเราให้สมดุลย์กันด้วย
แล้วโครงสร้างพลังมันเป็นยังไงบ้าง? ในบทนี้เราจะเริ่มแบ่งพลังออกโดยใช้ระบบ จักระ
จักระคืออะไร
จักระ คือ จุดบนโครงสร้างพลัง ที่มีหน้าที่รับ-ส่งและแปลงพลังงานในแต่ละระดับ ถ้าให้เปรียบเทียบ ก็เหมือนกับadapterหรือหม้อแปลงไฟนั่นแหละครับ แต่ปกติอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีหม้อแปลง1จุดต่ออุปกรณ์1ชิ้น แต่สำหรับจักระ มีอย่างน้อย 7 จุดหลักครับ
แต่เดี๋ยวก่อน!! ลักษณะของจักระไม่ได้แยกออกจากออร่านะครับ คล้ายๆกับน้ำวนในบ่อน้ำ คือเรากำหนดขอบน้ำวนหรือรอยต่อไม่ได้เป๊ะๆ แต่ก็พอชี้ได้ว่า นี่น้ำวน นี่น้ำไม่วน พอนึกออกใหมครับ ออร่าของเราก็จะมี"น้ำวน"ที่มีหน้าที่แปลงพลังงานซึ่งมันไม่ได้แยกออกจากออร่าซะทีเดียว จริงๆแล้วคำว่า จักระ แปลว่า วงล้อ ครับ และที่มันเรียกว่าจักระก็เพราะธรรมชาติมันหมุนไปเรื่อยๆนี่เอง
การทำงานของจักระ
อย่างที่บอก จักระมีหน้าที่รับ-ส่งพลังงาน เพื่อไปใช้ในกิจกรรมต่างๆของเรา(อย่าเพิ่งงงครับ เลือดส่งสารอาหารและพลังงานให้กายเนื้อเป็นหลัก แต่ถ้าเราพูดถึงระบบโดยรวมที่ไม่ใช่แค่กายเนื้อ จักระเป็นช่องทางที่สำคัญครับ) ซึ่งจักระแต่ละจุดจะดูแลการกระจายพลังงานให้กิจกรรมแต่ละกลุ่ม กลุ่มกายเนื้อก็มีจักรหนึ่งควบคุม กลุ่มการแสดงออกและการแสดงตัวตนก็มีจักรอีกอันหนึ่งควบคุม กลุ่มของการมองเห็นและการรับรู้ก็มีอีกจักระหนึ่งควบคุมครับ แล้วกิจกรรมอื่นๆก็มีจักระอื่นดูแลอีก
และแต่ละกิจกรรม จะใช้พลังงานไม่เหมือนกันครับ ซึ่งนี่แหละคือหน้าที่ที่สำคัญของจักร ที่ต้องคอยแปลงพลังงานเป็นแบบต่างๆให้เหมาะกับกิจกรรมที่จักรนั้นรับผิดชอบอยู่
ถ้ายังไม่เข้าใจ ให้คิดอย่างนี้ครับ มีบางวันที่เรารู้สึกเอียนๆ เบื่อๆ ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรงใหมครับ ทั้งที่เราก็กินอิ่มดี และก็ไม่ได้อดหลับอดนอนอะไรนักหนา แต่ราวกับชีวิตมันขาดพลังบอกไม่ถูก นั่นแหละครับ ใช่เลย เราขาดพลัง"บางแบบ"ไป ซึ่งต้องมาดู ว่าจักรไหนที่ขาด
พอเรากินน้ำ กินอาหาร หรือนอน หรือฝึกพลังอะไรก็ตาม พลังที่เข้ามาในตัวเราจะถูกส่งไปตามจักรต่างๆ แล้วจักรต่างๆก็จะแบ่งพลังงานแล้วแปลงไปใช้ในกิจกรรมที่มันดูแล ดังนั้นถ้าจักรไหนทำงานไม่ดี ก็จะทำให้กิจกรรมบางอย่างผิดปกติไปด้วย
และที่ต้องพิจารณาอีกก็คือ จักระแต่ละจักระจะเชื่อมต่อกัน และส่งผลกระทบกันด้วยครับ โดยเฉพาะจักรข้างเคียง เช่นสมมุติจักร1(ดูแลกล้ามเนื้อ) เสีย จักรต่อมาที่จะโดนก็คือ จักร2(เพศ) ครับ ดังนั้น คนที่ปล่อยร่างกายอ่อนแอ จะมีโอกาสสูงมากที่จะเสื่อมสมรรถภาพ!! น่ากลัวใหมครับ อิอิ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าสมมุติเราเป็นคนหยิ่งจัดๆ ซึ่งเป็นอาการของจักร5 ก็ไม่ค่อยมีผลต่อสมรรถภาพทางเพศ(จักร2) แต่จะไปมีผลต่อคามรัก(จักร4) และการมองโลก(จักร6)แทน ครับ
แต่ไม่ใช่ว่าจักรที่ไม่อยู่ติดกันจะไม่เกี่ยวนะครับ เพราะจักร1ติดกับจักร2 จักร2มันก็ติดกับจักร3 ถ้าจักร1เสีย ไม่นานจักรสองก็เสีย แล้วสักพักถ้ายังไม่แก้ จักรสามก็เสียตามจักรสองอีก สรุปจักระเป็นระบบรวมครับ มีผลต่อกัน
นอกจากนั้น จักระยังสามารถดึงพลังซึ่งกันและกันได้ด้วย เช่นสมมุติถ้าจักร5(อัตตาและการแสดงออก)ของเราเด่นเกิน มันจะดึงจักร4(ความรัก)ของเราให้ทำงานให้ ทำให้เรามีแนวโน้มจะใช้ความรักเพื่อแสดงออก พูดง่ายๆ คบไว้โชว์ และบางทีก็จะดึงจักร6(การมองโลก) ทำให้เราชอบอวดมุมมองและความเห็นของเราจนเกินงาม เป็นต้น
นั่นทำให้ท้ายมฃที่สุด เราไม่ควรทำให้จักรทำงานน้อย หรือมาก แต่ต้องพอดีครับ
จนถึงตอนนี้ หลายคนคงเริ่มงง ว่าจักรมันมีกี่จักร และแต่ละจักรเป็นยังไงกันแน่ เหอะๆๆ ดังนั้น
.....
....
...
..
จบซะงั้น เดี๋ยวคราวหน้ามาต่อ เหอๆๆ
สรุป
1. จักระเป็นจุดพลังงานบนโครงสร้างพลังงาน
2.จักระจะแปลงพลังงานไปให้กับกิจกรรมที่จักรนั้นดูแล
3.แต่ละจักระ เชื่อมต่อกัน และส่งผลกระทบถึงกัน โดยเฉพาะจักรข้างเคียง จะส่งผลเร็วกว่า
4.จักระสามารถสมดุลย์ หรือมากไปจนไม่ดี หรือน้อยไปจนเป็นโทษก็ได้
แบบฝึกหัดท้ายบท
อันนี้เป็นการฝึกแบบรวมๆนะครับ จุดหมายของการฝึกนี้คือ ทำให้จักระแต่ละจุดเชื่อมต่อกันดี ในบทนี้เราจะยังไม่กำหนดพิกัดที่เจาะจงมากนัก แต่ก็ได้ผลระดับหนึ่ง
1.ผ่อนคลาย ตามที่ได้ฝึกมา
2.เริ่มกำหนดความรู้สึก อยู่ที่จักร1 จุดสีแดงในภาพ(ภาพไหนก็ได้ในบทนี้ สังเกตว่ามันจะอยู่ในบริเวณเดียวกัน)แล้วขยายดวงพลังงานสีแดงออกไปรวมกับอวกาศรอบๆ จากนั้น พอรวมดีแล้ว หดกลับเข้ามาอยู่ที่เดิม
3.ดวงสีแดงเลื่อนขึ้นมาที่จักรสองพร้อมกับค่อยๆเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้ม พอถึงตำแหน่งต้องเป็นสีส้มโดยสมบูรณ์ ขยาย และหด เหมือนเดิม
4.ค่อยๆเลื่อน เปลี่ยนสี ขยาย หด ไปทีละจักร ตามภาพ
5.พอถึงจักร7 สุดท้ายบนหัว ให้นึกถึงพลังคล้ายน้ำพุย้อยกลับลงมา(ถ้าเรายืน) รวมกับสนามออร่าของเรา แต่ถ้านอน ก็เป็นน้ำพุแนวนอน เป็นอันจบ