วิธีเลิกสูบบุหรี่ด้วยตน เอง ครับผม




วิธีเลิกสูบบุหรี่ด้วยตนเอง
โดยส่วนใหญ่ (90%)ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ(เลิกได้ไม่ต่ำกว่า1 ปี) เลิกได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา หรือสาร
นิโคตินแทนบุหรี่ การใช้สารนิโคตินทดแทนมิได้หมายความว่าจะสามารถเลิกบุหรี่ได้ทุกคน ความตั้งใจจริง กำลังใจ การปรับ
เปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง การลดความเครียดช่วงที่อยากสูบบุหรี่ ลดอาการอยากสูบบุหรี่เบี่ยงเบนความสนใจความอยากสูบ
บุหรี่ได้

วิธี การที่ผู้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำ คือ

1.
เตรียมตัว ตั้งใจ ตัดสินใจแน่วแน่ ว่าต้องการเลิกบุหรี่ด้วยตน
เอง
2.
กำหนดวัน "ปลอดบุหรี่" ของตนเอง อาจเป็นวันสำคัญทางศาสนา วันเกิดตนเอง หรือ บุตร - ภรรยา ไม่ควรเลือกเวลาช่วงที่งานเครียด ควรหา "ใคร" บางคนให้รับรู้ และคอยช่วยเหลือ
3.
ทิ้งบุหรี่ และอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อมิให้สิ่งเหล่านี้มากระตุ้นความอยากบุหรี่อีก
4.
แจ้งแก่คนในครอบครัว ที่ทำงาน นายจ้าง เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน เพื่อให้เป็นกำลังใจ เป็นแรงสนับสนุนให้เลิกได้สำเร็จ
5.
เมื่อถึงวันสำคัญที่กำหนดไว้แล้วว่า "วันปลอดบุหรี่" ให้หยุดเลย
6.
ให้งดสุรา กาแฟ อาหารรสจัด ละเว้นการรับประทานอาหารให้อิ่มจนเกินไป ไม่ควรนั่งที่โต๊ะอาหารนาน เพราะหลังอาหารทุกมื้อจะเกิดความอยากบุหรี่อีก ควรดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว เพราะความเป็นกรดจะชะล้างนิโคตินออกไป
7.
ในช่วงแรกที่อดบุหรี่ จะรู้สึกหงุดหงิด ให้สูดหายใจเข้า ออกลึก ๆ ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อลดความอยากหรืออาจอาบน้ำ ถ้าเป็นไปได้
8.
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หางานอดิเรกทำเพื่อคลายเครียด เพราะส่วนใหญ่หลังเลิกบุหรี่ น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น การออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร อดอาหารหวาน ลดอาหารไขมัน จะเป็นการควบคุมน้ำหนักได้ทางหนึ่ง
9.
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำประจำตอนสูบบุหรี่ เลี่ยงสถานการณ์ สถานที่ที่เคยสูบบุหรี่อยู่เป็นประจำ
10.
ฝึกปฏิเสธ ซ้อมพูดกับตัวเอง เพื่อนฝูง "ไม่ครับ" "ผมไม่สูบครับ" "นายแน่มาก ที่เลิกสูบบุหรี่ได้"

อาการ ที่เกิดขึ้นจากการอดบุหรี่ และวิธีแก้ไข
1.
หงุดหงิด งุ่นง่าน อยากสูบบุหรี่อีกจนแทบไม่อาจควบคุมได้ เพราะร่างกายคุณติดนิโคติน และนี่เองที่เป็นสาเหตุให้คุณอยากสูบบุหรี่
--
การแก้ไข
-
ดื่มน้ำให้มากที่สุด ดื่มบ่อย ๆ เพื่อชำระนิโคตินออกจากร่างกายให้หมดไปเร็วที่สุด
-
ออกกำลังกาย เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน เพื่อช่วยผ่อนคลายเหงื่อจะช่วยขับถ่ายนิโคตินออกไป
-
อาบน้ำอุ่น และถูตัวด้วยผ้าขนหนูให้ทั่วตัวจะทำให้ผ่อนคลายได้ดี
-
พูดคุยกับคนข้างเคียงที่คุ้นเคย เพื่อระบายความหงุดหงิดออกไปบ้าง
-
งดเว้นอาหารจากเนื้อสัตว์ อาหารติดมัน และอาหารรสจัดต่าง ๆ
-
ฝึกหายใจเข้า - ออกลึก ๆ คล้ายกับถอนหายใจบ่อย ๆ
2.
ง่วง กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิในการใช้ความคิด
--
การแก้ไข
-
นอนหลับ หรือ นั่ง เพื่อผ่อนคลายในห้องที่เงียบ ๆ ฟังเพลงเบาๆ ผ่อนคลายความรู้สึกสบสนออกไป
-
งดเว้นงานที่ต้องใช้ความคิดมาก ๆ
-
พักร้อน หรือลางานครึ่งวันเพื่อพักผ่อน
-
ดื่มนมอุ่น ๆ
3.
โกรธ ขุ่นเคืองง่าย
--
การ แก้ไข
-
อดทนกับอารมณ์ของตัวเอง บอกคนข้างเคียงให้ทราบ และขอร้องให้อดทน เข้าใจคุณ
-
แสดงออกในทางสร้างสรรค์ เช่น เต้นรำ เล่นกีฬา ออกกำลังกาย
-
ถ้าทนไม่ไหวให้ทุบ หรือ ชกหมอน เข้าห้องน้ำและตะโกนก็ช่วยได้
-
เขียนระบายความรู้สึกในสมุดบันทึก
-
คุยปัญหากับเพื่อนสนิท
4.
หมดแรง ปวดศรีษะ ไอมีเสมหะ เจ็บคอ หายใจผิดปกติ บุหรี่เป็นตัวกระตุ้น เมื่อไม่ได้สูบ ทำให้หมดแรงเป็นธรรมดา
--
การแก้ไข
-
หากิจกรรมที่กระตุ้นความรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้น เช่น ออกกำลังกาย เต้นรำ
-
พักผ่อน ด้วยวิธีการนอน หรือออกไปสูดอากาศในธรรมชาติ
-
ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำผลไม้จะช่วยให้ชุ่มคอ
-
รับประทานยาแก้ปวด
อาการ ทางกายเหล่านี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เพื่อปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติเท่านั้น อย่าตกใจ อาการจะเป็นเพียงชั่วคราว ประมาณ 72 ชั่วโมงเท่านั้น

โอกาสในการแนะนำการเลิกบุหรี่
เหตุผล ในการเลิกบุหรี่ของคนติดบุหรี่แต่ละคนแตกต่างกันซึ่งความสำเร็จในการเลิก บุหรี่นั้น ขึ้นอยู่กับกำลังใจที่เข้มแข็งของคน ๆ นั้น เป็นสำคัญ ส่วนความสำเร็จในการช่วยเหลือผู้อื่นเลิกบุหรี่นั้น ขึ้นอยู่กับการเลือกเวลาที่เหมาะสม ซึ่งมีหลายโอกาสที่อยากแนะนำ เช่น
-
ช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงในชีวิต (เปลี่ยนเพื่อนร่วมงาน เปลี่ยนงาน ตั้งครรภ์ หรือพึ่งมีลูกเล็ก)
-
มีปัญหาสุขภาพที่รุนแรง
-
การขึ้นราคาบุหรี่
-
เพื่อนหรือญาติเสียชีวิตจากโรคที่สัมพันธ์กับบุหรี่
-
การสร้างแรงกดดันทางสังคม ในโอกาสพิเศษ เช่น วันปีใหม่
-
วันงดสูบบุหรี่ โลก
จาก ทั้งหมดที่กล่าวมา หากเราทำความเข้าใจกับลักษณะ และสาเหตุของการติดบุหรี่แล้ว จะช่วยเหลือตนเองและคนที่ติดบุหรี่ที่ต้องการเลิกบุหรี่ได้ดีขึ้น

เลิก บุหรี่แล้วดีอย่างไร
ในสัปดาห์แรกที่เลิกบุหรี่ จะมีอาการ "อยาก" บุหรี่อยู่ สัปดาห์ต่อมาอาการอยากจะลดน้อยลง ความอยากจะหายไป และต้อง
ปรับ เปลี่ยนพฤติกรรม จริงจัง ตั้งใจเลิกพฤติกรรม ที่เคยชินต่อการสูบบุหรี่ เช่น ดื่มกาแฟ ดื่มสุรา นั่งเล่นที่โต๊ะอาหารหลังอิ่ม
หากคุณคิดอยากเลิกสูบ บุหรี่ คงอยากทราบแล้วว่าโดยทั่วไปมี

วิธีอะไรบ้าง
1.
การดูแลตนเอง พร้อมความตั้งใจสูง กำลังใจของผู้ต้องการเลิกบุหรี่เอง และบุคคลรอบข้าง
2.
การให้สุขศึกษา เข้าคลีนิกอดบุหรี่ อาจเป็นกลุ่ม หรือรายบุคคล
3.
การใช้ยาช่วยระงับ ลด อาการเครียด เช่น ยานอนหลับ
4.
การใช้สารนิโคตินทดแทน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หมากฝรั่งแผ่นแปะผิวหนังนิโคติน
5.
การฝังเข็มช่วยลดอาการยาก คลายอาการหงุดหงิด
6.
รับคำปรึกษาจากแพทย์
7.
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
8.
การใช้สื่อต่าง ๆ สร้างพลัง - กำลังใจ การรวมกลุ่มโปรแกรมอดบุหรี่สำหรับในชุมชน

เมื่อคุณเลิกสูบ บุหรี่
ร่าง กายและปอดของคุณจะ "ปลอด" จากสารพิษในควันบุหรี่ ปอดจะโปร่งจากนิโคติน สารทาร์ หรือน้ำมันดิน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซ และสารเคมีอื่นๆ อีกหลายพันชนิด ทางเดินหายใจ จะรู้สึกโล่ง - สะดวกขึ้นกว่าเดิม ภายในประมาณ 2 สัปดาห์ เสมหะจะลดลง ลดความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น คออักเสบ หลอดลมอักเสบ เนื่องจากไม่มีควันบุหรี่ที่เป็นสารก่อความระคายเคือง และทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้นที่สำคัญคือลดอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง ของอวัยวะต่าง ๆ ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงความทุกข์ทรมานจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง ถ้าเลิกสูบบุหรี่ขณะที่ยังไม่มีการทำลายปอดอย่างถาวร สมรรถนะปอด จะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ "ไม่มีคำว่าสาย สำหรับการเลิกบุหรี่"

ประโยชน์ ของการเลิกสูบบุหรี่
1.
การหยุดสูบบุหรี่เป็นผลดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก และเป็นผลดีที่เกิดขึ้นทันทีที่เลิกสูบบุหรี่ ทั้งในเพศชาย และเพศหญิง ในทุกกลุ่มอายุ ไม่ว่าจะป่วยเป็นโรค จากการสูบบุหรี่แล้ว หรือไม่ก็ตาม
2.
ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่จะมีอายุยืนยาวกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป โดยผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ก่อนอายุ 50 ปี จะมีโอกาศเสียชีวิตเพียง
1/2
ของผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป เมื่อทั้งสองกลุ่มมีอายุ 65 ปี
3.
การเลิกสูบบุหรี่ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งระบบอื่น ๆ หัวใจวายกระทันหัน เส้นเลือดในสมองตีบหรือตัน
กระทันหัน โรคถุงลมปอดโป่งพอง และโรคปอด เรื้อรังอื่น ๆ
4.
ผู้หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์ หรือระหว่าง 3 ถึง 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จะลดความเสี่ยงที่ลูกจะมีน้ำหนัก
แรกคลอดน้อย กว่าปกติ
5.
ผลดีที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพจากการหยุดสูบบุหรี่มีมาก น้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเพิ่มโดยเฉลี่ย 2.3 กิโลกรัม
6.
ในการหยุดสูบบุหรี่ เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป ความเสี่ยงของการที่จะเสียชีวิตจะลดลงอย่างรวดเร็ว




แหล่ง ที่มา : http://www.wing46.rtaf.mi.th/Drug/sicarat2.htm#6