ในคราวที่แล้ว เราเรียนรู้(และหลายคนสามารถพิสูจน์ได้)ว่า เราทุกคนสามารถใช้พลังจิตได้ และคราวนี้ เราจะเริ่มเรียนรู้การทำงานของพลังจิต โดยเริ่มจาก รู้จักกับจิตใต้สำนึก(subconscious mind)
คำว่าจิตใต้สำนึกนี้ เราจะพบในหนังสือ เวบไซต์ และสถาบันที่ศึกษาเรื่องพลังจิตแทบทุกที่ ว่ากันว่า จิตใต้สำนึกของเรานั้นมีพลังไร้ขีดจำกัด และว่ากันว่า ถ้าเราไม่รู้จักจิตสำนึกแล้วเราใช้ความสามารถเพียง7% แล้วก็ว่ากันว่า(อีกแล้ว!) ว่าในการใช้พลังพิเศษ เราต้องใช้พลังจากจิตใต้สำนึก สรุปแล้วจิตใต้สำนึกมันทำไมสำคัญนัก มันคืออะไรกันแน่ ในครั้งนี้เราจะคุยกันถึงเรื่องนี้กัน
1.เรื่องของจิตและจิตสำนึก
ก่อนอื่น เราต้องทำความเข้าใจว่าจิตคืออะไรกันแน่ เพราะจริงๆแล้ว จิตเองมีการใช้กันอย่างสับสน บางทีเราจะพูดว่าจิตแข็ง นั่นแสดงถึงระดับความมานะและความดื้อรั้น จิตตก นั่นหมายถึงกำลังใจ จิตหลอนนั่นหมายถึงการรับรู้ข้อมูลซึ่ง(คนอื่นแน่ใจว่า)ไม่มีจริง เริ่มงงหรือยังครับ ว่าจิตคืออะไรกันแน่
หมายถึงอะไรก็แล้วแต่คนพูดน่ะสิครับ บางทีเขาอาจจะหมายถึงน้องสาวเพื่อนที่ชื่อจิตก็ได้ แต่เรื่องของเรื่องสิ่งที่เราต้องจำไว้ก็คือ สำหรับบทความนี้ เราจะพูดถึงจิตที่หมายถึงสิ่งที่เรารับรู้
จริงๆแล้ว รอบๆตัวเรานี้เต็มไปด้วยสิ่งต่างๆมากมายที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง บางอย่างพบเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น หรือรับรู้ได้ง่ายๆ เช่นหน้าจอคอมนี้ มือของคุณ และคีย์บอร์ด เป็นสิ่งที่จิตเรารับรู้ได้ง่ายๆ ซึ่งก็คือจิตของเราสามารถสำนึกถึงสิ่งเหล่านี้ได้ง่าย แต่ในทางกลับกัน มีบางอย่างที่รับรู้ยาก เช่นการเต้นของหัวใจ การไหลของพลาสม่าบนจอมอนิเตอร์ วิญญาณ และความรู้สึกของคนอื่นที่อยู่รอบๆเรา ที่ปกติเราจะไม่รู้สึก และนั่นหมายความว่า จิตของเราไม่ได้สำนึกถึงสิ่งเหล่านั้น
ดังนั้นจิตสำนึก ก็คือการรับรู้ของจิต ถ้าเราสำนึกผิด แสดงว่าเรารับรู้กระบวนการต้นสายปลายเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เราพลาด แต่ถ้าเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราทำอะไรผิด เรายังไม่สำนึกผิดเลย( เอาล่ะ ผมไม่ได้บอกว่าคุณทำอะไรผิดหรอกครับ ไม่ต้องร้อนตัวไป!)
และเดี๋ยวนี้ เราเรียกสิ่งที่อยู่นอกจิตสำนึกซึ่งเราจะไม่รู้สึก ว่าเป็นเรื่องที่อยู่ใต้จิตสำนึก หรือจิตใต้สำนึกนั่นเอง เช่นเวลาที่เราไม่รู้สึกถึงการเต้นของชีพจร การเต้นของชีพจรก็อยู่ในเขตจิตใต้สำนึก เวลาที่เราเกิดโกรธใครโดยไม่รุ้ตัว เราก็โกรธจากจิตใต้สำนึก
ระวังอย่าเข้าใจผิด!
หลายๆคนและหนังสือหลายๆเล่มพยายามจัดประเภทของกิจกรรมและเรื่องราวต่างๆแต่ละอย่างว่าตกอยู่ในเขตของจิตสำนึกหรือจิตใต้สำนึก แต่จริงๆแล้วอย่าลืมว่า ขอบเขตของมันอยู่ที่การรับรู้ ถ้าเรารู้โดยชัดเจน มันคือจิตสำนึก เช่นการระลึกชาติปกติเราไม่รู้ ดังนั้นมันคือจิตใต้สำนึก แต่ในขณะที่คุณระลึกชาติอยู่..และทำได้สำเร็จ มันกลายเป็นเรื่องของจิตสำนึก ดังนั้นที่สุดแล้วไม่มีอะไรที่เป็นจิตสำนึกหรือจิตให้สำนึกเสมอไปหรอก มันขึ้นอยู่กับระดับการรับรู้!
พลังพิเศษของจิตใต้สำนึก
ถ้าสมมุติเราปิดหน้าจอคอม เราก็จะเล่นคอมไม่ได้ เช่นเดียวกัน ถ้าเราไม่สำนึกหรือรับรู้ถึงสิ่งใด เราก็ย่อมไม่สามารถใช้สิ่งนั้นได้ฉันนั้น (แต่ก็อีกนั่นแหละ ถ้าจอเปิดเราก็ยังอาจใช้ได้หรือไม่ได้อยู่ดี แต่ที่แน่ๆ เราใช้ไม่ได้เลยถ้าจอไม่เปิด) ดังนั้น เราจะทำอะไร เราต้องทำให้สิ่งนั้นมาอยู่ในขอบเขตของจิตสำนึกของเรา รวมถึงพลังจิต
การเข้าถึงอาณาเขตของบางอย่างที่เคยเป็นจิตใต้สำนึกนี่แหละ ที่มักจะเรียกกันว่า การเปิดจิตใต้สำนึก แต่จริงๆเราแค่ขยายเขตของจิตสำนึกออกไปจนครอบคลุมเรื่องที่เราจะทำนั่นเอง จิตใต้สำนึกไม่ได้เปิดหรือปิดจริงๆหรอกครับ แต่มันเหมือนกับว่าเราแหย่เข้าไปในเขตที่เคยเป็นของจิตใต้สำนึกเท่านั้น
เอาละ พอเราขยายจิตสำนึกหน้าจอเปิด เราก็เล่นคอมได้ ถ้าเรารู้สึกถึงพลังปราณ เราก็หัดใช้ปราณได้ ถ้าเรารู้สึกถึงอารมณ์อย่างทันเวลา เราก็อาจจัดการอารมณ์ได้ และจริงๆแล้ว ยังมีสิ่งต่างๆรอบตัวเราที่รอให้เรารับรู้และใช้งานอีกมากมายมหาศาล นั่นเป็นเหตุผลที่หลายคนจะบอกคุณว่าพลังที่แท้จริงของมนุษย์ซ่อนอยู่ในจิตใต้สำนึกไงล่ะ! ตัวอย่าง
1.เวลาไฟใหม้ คนส่วนใหญ่ยกของหนักกว่าตัวมากๆแล้ววิ่งได้สบายๆ แต่ปกติทำไม่ได้ เพราะกลไกการออกแรงนั้นอยู่ในจิตใต้สำนึก พวกเขาจึงบังคับมันไม่ได้
2.บางทีเรารับรู้อนาคตอย่างเลือนรางสุดๆจนใช้อะไรไม่ได้ นั่นเป็นเพราะความสามารถในการหยั่งรู้และอำนาจจิตอื่นๆส่วนใหญ่อยู่ในจิตใต้สำนึก
3.ไอเดียหรือความรู้บางอย่างที่ไม่มีใครคิดได้มาก่อนพวกนั้นมีเกลื่อนในจิตใต้สำนึก แต่เรามองไม่เห็น
สรุปแล้ว ถ้าเราขยายจิตใต้สำนึกออกไปมากพอ เราจะรับรู้และมีโอกาสที่จะทำสิ่งต่างๆมากกว่าเดิมอย่างเทียบกันไม่ได้
สัญชาติญาน
ในบางสถานการณ์ เรามักทำอะไรที่เราไม่เคยทำได้โดยไม่รู้ตัว เช่นวิ่งหนีอะไรบางอย่างด้วยความเร็วและความอดทนราวกับนักกีฬาตัวจริง .เพราะตกใจ! หรือบางครั้ง เวลาที่เราต้องเลือกอะไรสักอย่าง เราอาจรู้สึกเหมือนต้องเลือกสิ่งของชิ้นหนึ่งอย่างไม่ทราบสาเหตุ และพบภายหลังว่า นั่นเป็นทางเลือกที่ฉลาดที่สุดแล้ว
จริงๆแล้วตลอดเวลาทีเราใช้ชีวิต(หรือก่อนที่เราจะใช้ชีวิต..ถ้าคุณเชื่อเรื่องวิญญาน )จิตของเราได้เก็บข้อมูลและเรียนรู้สิ่งต่างๆตลอดเวลา เพื่อให้เราเอาตัวรอดจากอันตรายได้ทันโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการคิด โดยที่การตอบสนองต่ออันตรายนี้จะทำงานโดยอัตโนมัตินั่นคือ ต่อให้เราไม่รู้และไม่ได้สั่ง มันก็ยังทำงาน
ใช่แล้วไม่รู้และไม่ได้สั่ง มันก็ถือเป็นจิตใต้สำนึก ,และแท้ที่จริงข้อมูลและทักษะมหาศาลตั้งแต่การกะพริบตาไปจนถึงการรักษาด้วยพลังจิตและพลังอื่นๆอีกมาก ได้ถูกบันทึกไว้ในส่วนของสัญชาติญาน แต่ชัดเจนมันอยู่ในจิตใต้สำนึก เพราะอะไรน่ะหรือ? มันก็เหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับมือใหม่นั่นแหละ อะไรที่เราไม่จำเป็นต้องสนใจเขาก็ทำมาให้เป็นค่าอัตโนมัติก่อน ไว้ถ้าเราชำนาญเมื่อไหร่ค่อยeditเอา ไม่งั้นปรับมั่วมันจะพังเอาน่ะสิ
การปรับเปลี่ยนระดับจิตสำนึก
และแน่นอน ผมจะจบลงด้วยวิธีฝึก เอาล่ะ บอกตามตรงว่าจริงๆแล้ว วิธีการฝึกเพื่อเปลี่ยนระดับจิตสำนึกนั้นมีเป็นพันครับ! และแต่ละวิธีก็เหมาะกับแต่ละคนในแต่ละช่วงเวลา ไม่มีวิธีไหนเป็นวิธีที่ดีที่สุด คุณต้องลองเอง
หลักการก็ง่ายๆ การจะฝึกวิ่ง ก็คือวิ่ง การจะฝึกการรับรู้ ก็คือรับรู้ นี่เป็นตัวอย่างบางวิธีครับ
1.เวลาที่เราเข้าไปในสถานที่ใหม่ๆหรือพบคนใหม่ๆ พยายามสัมผัสความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจเรา ความรู้สึกบางอย่างออกมาจากสถานที่หรือบุคคลที่เราติดต่อด้วย
2.ถ้าว่าง จัดท่าทางให้สบาย ทำใจให้สบาย ผ่อนคลาย ไม่จำเป้นต้องหลับตา
หายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ ยาวๆ นับจังหวะหายใจเข้าและออกให้เท่ากัน ความยาวไม่สำคัญเท่าจังหวะ ต้องให้สม่ำเสมอเท่ากันทั้งเข้าออก ถ้าจะเปลี่ยนความยาวก็ต้องเปลี่ยนให้เท่ากันด้วย ทำแบบนี้ไปสักพัก จะรู้สึกสบาย จิต จะละเอียดขึ้น
กำหนดจุดสนใจไปที่ลมหายใจ ตัดความสนใจเรื่องอื่นๆออกไป(จริงๆเราควรจะจดจ่อที่ลมหายใจอยู่แล้ว แต่ถ้าเผลอกลับมาก่อน) จากนั้นขยายออกไปทั่วตัว สัมผัสการเคลื่อนไหวภายใน ลมหายใจ ปอด แรงสะเทือน ฯลฯ
ขยายออกไปอีก สัมผัสอากาศรอบๆตัว รอบๆห้อง
และขยายออกไปอีกถ้าทำได้ แน่นอน เราต้องรู้สึกถึงสิ่งที่อยู่ในขอบเขตนั้นด้วย ไม่ว่าอะไรที่มีอยู่ในนั้นแม้เล็กน้อย เราต้องรู้สึกมันทุกรายละเอียด เพียงแค่รับรู้เฉยๆ อย่าไปวุ่นวายตัดสินหรือคิดอะไรต่อเนื่อง ระหว่างที่ทำแบบนี้ จะมีความคิดหลุดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ แรกๆเราจะควบคุมมันไม่ได้ อย่าซีเรียสครับ มันควรจะเป็นแบบนั้น แต่ที่จะต้องทำให้ได้คือ ดูมัน ว่ามันเป็นความคิดหรือความรู้สึกอะไร และที่สำคัญ อย่าไปตัดสินว่ามันดีหรือไม่ดี สำรวจมันอย่างธรรมชาติ การสำรวจความจิตและความคิดในขณะที่มันทำงานโดยอิสระเป็นจุดสำคัญของแบบฝึกนี้ ขอให้ฝึกจนชำนาญ แบบฝึกนี้จะเป็นพื้นฐานให้กับแบบฝึกหลังๆครับ
สรุป
1.จิตสำนึก คือขอบเขตที่เรารับรู้ได้ ซึ่งไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับระดับของจิต
2.ในจิตใต้สำนึกมีสิ่งต่างๆซ่อนอยู่มากมายรอให้เราค้นพบและเล่นกับมัน
3.แต่โดยธรรมชาติ เราจะไม่ได้สัมผัสและควบคุมสิ่งเหล่านั้นตั้งแต่ต้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
4.การฝึกเปลี่ยนระดับจิตใต้สำนึก มีหลักการง่ายๆแค่ตั้งใจรับรู้และสังเกตรายละเอียดของสิ่งที่เป็นเป้าหมายในการฝึก ซึ่งในขั้นต้น ผมแนะนำอย่างสูงให้ฝึกสังเกตความรู้สึกนึกคิดของเราเอง
คำว่าจิตใต้สำนึกนี้ เราจะพบในหนังสือ เวบไซต์ และสถาบันที่ศึกษาเรื่องพลังจิตแทบทุกที่ ว่ากันว่า จิตใต้สำนึกของเรานั้นมีพลังไร้ขีดจำกัด และว่ากันว่า ถ้าเราไม่รู้จักจิตสำนึกแล้วเราใช้ความสามารถเพียง7% แล้วก็ว่ากันว่า(อีกแล้ว!) ว่าในการใช้พลังพิเศษ เราต้องใช้พลังจากจิตใต้สำนึก สรุปแล้วจิตใต้สำนึกมันทำไมสำคัญนัก มันคืออะไรกันแน่ ในครั้งนี้เราจะคุยกันถึงเรื่องนี้กัน
1.เรื่องของจิตและจิตสำนึก
ก่อนอื่น เราต้องทำความเข้าใจว่าจิตคืออะไรกันแน่ เพราะจริงๆแล้ว จิตเองมีการใช้กันอย่างสับสน บางทีเราจะพูดว่าจิตแข็ง นั่นแสดงถึงระดับความมานะและความดื้อรั้น จิตตก นั่นหมายถึงกำลังใจ จิตหลอนนั่นหมายถึงการรับรู้ข้อมูลซึ่ง(คนอื่นแน่ใจว่า)ไม่มีจริง เริ่มงงหรือยังครับ ว่าจิตคืออะไรกันแน่
หมายถึงอะไรก็แล้วแต่คนพูดน่ะสิครับ บางทีเขาอาจจะหมายถึงน้องสาวเพื่อนที่ชื่อจิตก็ได้ แต่เรื่องของเรื่องสิ่งที่เราต้องจำไว้ก็คือ สำหรับบทความนี้ เราจะพูดถึงจิตที่หมายถึงสิ่งที่เรารับรู้
จริงๆแล้ว รอบๆตัวเรานี้เต็มไปด้วยสิ่งต่างๆมากมายที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง บางอย่างพบเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น หรือรับรู้ได้ง่ายๆ เช่นหน้าจอคอมนี้ มือของคุณ และคีย์บอร์ด เป็นสิ่งที่จิตเรารับรู้ได้ง่ายๆ ซึ่งก็คือจิตของเราสามารถสำนึกถึงสิ่งเหล่านี้ได้ง่าย แต่ในทางกลับกัน มีบางอย่างที่รับรู้ยาก เช่นการเต้นของหัวใจ การไหลของพลาสม่าบนจอมอนิเตอร์ วิญญาณ และความรู้สึกของคนอื่นที่อยู่รอบๆเรา ที่ปกติเราจะไม่รู้สึก และนั่นหมายความว่า จิตของเราไม่ได้สำนึกถึงสิ่งเหล่านั้น
ดังนั้นจิตสำนึก ก็คือการรับรู้ของจิต ถ้าเราสำนึกผิด แสดงว่าเรารับรู้กระบวนการต้นสายปลายเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เราพลาด แต่ถ้าเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราทำอะไรผิด เรายังไม่สำนึกผิดเลย( เอาล่ะ ผมไม่ได้บอกว่าคุณทำอะไรผิดหรอกครับ ไม่ต้องร้อนตัวไป!)
และเดี๋ยวนี้ เราเรียกสิ่งที่อยู่นอกจิตสำนึกซึ่งเราจะไม่รู้สึก ว่าเป็นเรื่องที่อยู่ใต้จิตสำนึก หรือจิตใต้สำนึกนั่นเอง เช่นเวลาที่เราไม่รู้สึกถึงการเต้นของชีพจร การเต้นของชีพจรก็อยู่ในเขตจิตใต้สำนึก เวลาที่เราเกิดโกรธใครโดยไม่รุ้ตัว เราก็โกรธจากจิตใต้สำนึก
ระวังอย่าเข้าใจผิด!
หลายๆคนและหนังสือหลายๆเล่มพยายามจัดประเภทของกิจกรรมและเรื่องราวต่างๆแต่ละอย่างว่าตกอยู่ในเขตของจิตสำนึกหรือจิตใต้สำนึก แต่จริงๆแล้วอย่าลืมว่า ขอบเขตของมันอยู่ที่การรับรู้ ถ้าเรารู้โดยชัดเจน มันคือจิตสำนึก เช่นการระลึกชาติปกติเราไม่รู้ ดังนั้นมันคือจิตใต้สำนึก แต่ในขณะที่คุณระลึกชาติอยู่..และทำได้สำเร็จ มันกลายเป็นเรื่องของจิตสำนึก ดังนั้นที่สุดแล้วไม่มีอะไรที่เป็นจิตสำนึกหรือจิตให้สำนึกเสมอไปหรอก มันขึ้นอยู่กับระดับการรับรู้!
พลังพิเศษของจิตใต้สำนึก
ถ้าสมมุติเราปิดหน้าจอคอม เราก็จะเล่นคอมไม่ได้ เช่นเดียวกัน ถ้าเราไม่สำนึกหรือรับรู้ถึงสิ่งใด เราก็ย่อมไม่สามารถใช้สิ่งนั้นได้ฉันนั้น (แต่ก็อีกนั่นแหละ ถ้าจอเปิดเราก็ยังอาจใช้ได้หรือไม่ได้อยู่ดี แต่ที่แน่ๆ เราใช้ไม่ได้เลยถ้าจอไม่เปิด) ดังนั้น เราจะทำอะไร เราต้องทำให้สิ่งนั้นมาอยู่ในขอบเขตของจิตสำนึกของเรา รวมถึงพลังจิต
การเข้าถึงอาณาเขตของบางอย่างที่เคยเป็นจิตใต้สำนึกนี่แหละ ที่มักจะเรียกกันว่า การเปิดจิตใต้สำนึก แต่จริงๆเราแค่ขยายเขตของจิตสำนึกออกไปจนครอบคลุมเรื่องที่เราจะทำนั่นเอง จิตใต้สำนึกไม่ได้เปิดหรือปิดจริงๆหรอกครับ แต่มันเหมือนกับว่าเราแหย่เข้าไปในเขตที่เคยเป็นของจิตใต้สำนึกเท่านั้น
เอาละ พอเราขยายจิตสำนึกหน้าจอเปิด เราก็เล่นคอมได้ ถ้าเรารู้สึกถึงพลังปราณ เราก็หัดใช้ปราณได้ ถ้าเรารู้สึกถึงอารมณ์อย่างทันเวลา เราก็อาจจัดการอารมณ์ได้ และจริงๆแล้ว ยังมีสิ่งต่างๆรอบตัวเราที่รอให้เรารับรู้และใช้งานอีกมากมายมหาศาล นั่นเป็นเหตุผลที่หลายคนจะบอกคุณว่าพลังที่แท้จริงของมนุษย์ซ่อนอยู่ในจิตใต้สำนึกไงล่ะ! ตัวอย่าง
1.เวลาไฟใหม้ คนส่วนใหญ่ยกของหนักกว่าตัวมากๆแล้ววิ่งได้สบายๆ แต่ปกติทำไม่ได้ เพราะกลไกการออกแรงนั้นอยู่ในจิตใต้สำนึก พวกเขาจึงบังคับมันไม่ได้
2.บางทีเรารับรู้อนาคตอย่างเลือนรางสุดๆจนใช้อะไรไม่ได้ นั่นเป็นเพราะความสามารถในการหยั่งรู้และอำนาจจิตอื่นๆส่วนใหญ่อยู่ในจิตใต้สำนึก
3.ไอเดียหรือความรู้บางอย่างที่ไม่มีใครคิดได้มาก่อนพวกนั้นมีเกลื่อนในจิตใต้สำนึก แต่เรามองไม่เห็น
สรุปแล้ว ถ้าเราขยายจิตใต้สำนึกออกไปมากพอ เราจะรับรู้และมีโอกาสที่จะทำสิ่งต่างๆมากกว่าเดิมอย่างเทียบกันไม่ได้
สัญชาติญาน
ในบางสถานการณ์ เรามักทำอะไรที่เราไม่เคยทำได้โดยไม่รู้ตัว เช่นวิ่งหนีอะไรบางอย่างด้วยความเร็วและความอดทนราวกับนักกีฬาตัวจริง .เพราะตกใจ! หรือบางครั้ง เวลาที่เราต้องเลือกอะไรสักอย่าง เราอาจรู้สึกเหมือนต้องเลือกสิ่งของชิ้นหนึ่งอย่างไม่ทราบสาเหตุ และพบภายหลังว่า นั่นเป็นทางเลือกที่ฉลาดที่สุดแล้ว
จริงๆแล้วตลอดเวลาทีเราใช้ชีวิต(หรือก่อนที่เราจะใช้ชีวิต..ถ้าคุณเชื่อเรื่องวิญญาน )จิตของเราได้เก็บข้อมูลและเรียนรู้สิ่งต่างๆตลอดเวลา เพื่อให้เราเอาตัวรอดจากอันตรายได้ทันโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการคิด โดยที่การตอบสนองต่ออันตรายนี้จะทำงานโดยอัตโนมัตินั่นคือ ต่อให้เราไม่รู้และไม่ได้สั่ง มันก็ยังทำงาน
ใช่แล้วไม่รู้และไม่ได้สั่ง มันก็ถือเป็นจิตใต้สำนึก ,และแท้ที่จริงข้อมูลและทักษะมหาศาลตั้งแต่การกะพริบตาไปจนถึงการรักษาด้วยพลังจิตและพลังอื่นๆอีกมาก ได้ถูกบันทึกไว้ในส่วนของสัญชาติญาน แต่ชัดเจนมันอยู่ในจิตใต้สำนึก เพราะอะไรน่ะหรือ? มันก็เหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับมือใหม่นั่นแหละ อะไรที่เราไม่จำเป็นต้องสนใจเขาก็ทำมาให้เป็นค่าอัตโนมัติก่อน ไว้ถ้าเราชำนาญเมื่อไหร่ค่อยeditเอา ไม่งั้นปรับมั่วมันจะพังเอาน่ะสิ
การปรับเปลี่ยนระดับจิตสำนึก
และแน่นอน ผมจะจบลงด้วยวิธีฝึก เอาล่ะ บอกตามตรงว่าจริงๆแล้ว วิธีการฝึกเพื่อเปลี่ยนระดับจิตสำนึกนั้นมีเป็นพันครับ! และแต่ละวิธีก็เหมาะกับแต่ละคนในแต่ละช่วงเวลา ไม่มีวิธีไหนเป็นวิธีที่ดีที่สุด คุณต้องลองเอง
หลักการก็ง่ายๆ การจะฝึกวิ่ง ก็คือวิ่ง การจะฝึกการรับรู้ ก็คือรับรู้ นี่เป็นตัวอย่างบางวิธีครับ
1.เวลาที่เราเข้าไปในสถานที่ใหม่ๆหรือพบคนใหม่ๆ พยายามสัมผัสความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจเรา ความรู้สึกบางอย่างออกมาจากสถานที่หรือบุคคลที่เราติดต่อด้วย
2.ถ้าว่าง จัดท่าทางให้สบาย ทำใจให้สบาย ผ่อนคลาย ไม่จำเป้นต้องหลับตา
หายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ ยาวๆ นับจังหวะหายใจเข้าและออกให้เท่ากัน ความยาวไม่สำคัญเท่าจังหวะ ต้องให้สม่ำเสมอเท่ากันทั้งเข้าออก ถ้าจะเปลี่ยนความยาวก็ต้องเปลี่ยนให้เท่ากันด้วย ทำแบบนี้ไปสักพัก จะรู้สึกสบาย จิต จะละเอียดขึ้น
กำหนดจุดสนใจไปที่ลมหายใจ ตัดความสนใจเรื่องอื่นๆออกไป(จริงๆเราควรจะจดจ่อที่ลมหายใจอยู่แล้ว แต่ถ้าเผลอกลับมาก่อน) จากนั้นขยายออกไปทั่วตัว สัมผัสการเคลื่อนไหวภายใน ลมหายใจ ปอด แรงสะเทือน ฯลฯ
ขยายออกไปอีก สัมผัสอากาศรอบๆตัว รอบๆห้อง
และขยายออกไปอีกถ้าทำได้ แน่นอน เราต้องรู้สึกถึงสิ่งที่อยู่ในขอบเขตนั้นด้วย ไม่ว่าอะไรที่มีอยู่ในนั้นแม้เล็กน้อย เราต้องรู้สึกมันทุกรายละเอียด เพียงแค่รับรู้เฉยๆ อย่าไปวุ่นวายตัดสินหรือคิดอะไรต่อเนื่อง ระหว่างที่ทำแบบนี้ จะมีความคิดหลุดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ แรกๆเราจะควบคุมมันไม่ได้ อย่าซีเรียสครับ มันควรจะเป็นแบบนั้น แต่ที่จะต้องทำให้ได้คือ ดูมัน ว่ามันเป็นความคิดหรือความรู้สึกอะไร และที่สำคัญ อย่าไปตัดสินว่ามันดีหรือไม่ดี สำรวจมันอย่างธรรมชาติ การสำรวจความจิตและความคิดในขณะที่มันทำงานโดยอิสระเป็นจุดสำคัญของแบบฝึกนี้ ขอให้ฝึกจนชำนาญ แบบฝึกนี้จะเป็นพื้นฐานให้กับแบบฝึกหลังๆครับ
สรุป
1.จิตสำนึก คือขอบเขตที่เรารับรู้ได้ ซึ่งไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับระดับของจิต
2.ในจิตใต้สำนึกมีสิ่งต่างๆซ่อนอยู่มากมายรอให้เราค้นพบและเล่นกับมัน
3.แต่โดยธรรมชาติ เราจะไม่ได้สัมผัสและควบคุมสิ่งเหล่านั้นตั้งแต่ต้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
4.การฝึกเปลี่ยนระดับจิตใต้สำนึก มีหลักการง่ายๆแค่ตั้งใจรับรู้และสังเกตรายละเอียดของสิ่งที่เป็นเป้าหมายในการฝึก ซึ่งในขั้นต้น ผมแนะนำอย่างสูงให้ฝึกสังเกตความรู้สึกนึกคิดของเราเอง