ชิคุนกุนยา มี ยุงลาย เป็นพาหะ
ชิคุนกุนยา มี ยุงลาย เป็นพาหะ
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก กระทรวงสาธารณสุข , thaimuslim.com , bangkokhealth.com
เมื่อเร็ว ๆ นี้เราคงได้ยินข่าวว่าเกิดการแพร่ระบาดของ โรค ชิคุนกุนยา ในแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนลุกลามไปเกือบทั่วทั้งประเทศแล้วนั้น ทำให้หลายคนแปลกใจไม่น้อยว่า ชิคุนกุนยา นี่คือโรคประหลาดสายพันธุ์ใหม่อะไรหรือเปล่า วันนี้กระปุกดอทคอมจึงอาสาคลายข้อสงสัย ด้วยการนำความรู้เกี่ยวกับ โรค ชิคุนกุนยา มาบอกต่อกันค่ะ
ชิคุนกุนยา มี ยุงลาย เป็นพาหะ
ชิคุนกุนยา คืออะไร "โรค ชิคุนกุนยา " (Chikungunya) หรือ "โรคไข้ปวดข้อยุงลาย" ไม่ใช่โรคใหม่อะไรหรอกค่ะ แต่เป็นโรคที่อุบัติขึ้นมานานแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ.1955 (พ.ศ.2498) โดย ชิคุนกุนยา มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปแอฟริกา ก่อนจะแพร่ระบาดไปหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งผู้ที่บรรยายลักษณะของโรค ชิคุนกุนยา เป็นคนแรกคือ Marion Robinson และ W.H.R. Lumsden ในปี ค.ศ.1955 (พ.ศ.2498) ซึ่งก่อนหน้านั้น 3 ปี เกิดมีการระบาดของโรคในดินแดนที่ราบสูงมากอนดี พรมแดนระหว่างประเทศโมแซมบิก และแทนซาเนียในปัจจุบัน จากนั้นก็พบการระบาดของเชื้อ ชิคุนกุนยา เป็นครั้งคราวในทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การแพร่เชื้อโรค ชิคุนกุนยา ในทวีปแอฟริกานั้น มี 2 วงจร คือ "วงจรชนบท" คน-ยุง-ลิง ซึ่งมีลิงบาร์บูน เป็นโฮสต์ โดยมีการระบาดเล็กๆ เป็นครั้งคราว ก่อนที่คนจะนำเชื้อชนิดนี้ออกมาสู่ชุมชนเมือง ทำให้เกิด "วงจรในเมือง" คน-ยุง กลายเป็นการแพร่ระบาด ชิคุนกุนยา จากคนสู่คน โดยมียุงเป็นพาหะนั่นเอง
ส่วนการแพร่เชื้อ ชิคุนกุนยา ในทวีปเอเชียต่างจากในทวีปแอฟริกา เนื่องจากวงจรที่พบคือ "วงจรในเมือง" มียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อติดต่อไปสู่คนได้ รูปแบบคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อที่นำโดยยุงลายอื่นๆ ซึ่งอุบัติการของโรคเป็นไปตามการแพร่กระจาย และความชุกชุมของยุงลาย โดยเกิดการแพร่ระบาดในทวีปเอเชียครั้งแรกที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย ในปี ค.ศ.1963 (พ.ศ.2506) จากนั้นพบการระบาดเป็นครั้งคราว จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2005 – ค.ศ.2006 (พ.ศ.2548 – พ.ศ.2549) พบการระบาดใหญ่ของ ชิคุนกุนยา ที่หมู่เกาะทางตอนใต้ของอินเดีย มีผู้เสียชีวิต 237 ราย และประชากรหนึ่งในสามติดเชื้อไวรัส ชิคุนกุนยา
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.2006 (พ.ศ.2549) พบการระบาดของไวรัส ชิคุนกุนยา ในประเทศปากีสถาน ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 (พ.ศ.2551) พบการระบาดในประเทศสิงคโปร์ พบผู้ป่วย ชิคุนกุนยา 10 ราย โดยทางการสิงคโปร์ได้ออกมาตราการเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด ทางด้านประเทศมาเลเซียพบการระบาดของโรค ชิคุนกุนยา ใน เดือนกันยายน ค.ศ.2008 (พ.ศ.2551) มีผู้ป่วย 1,975 ราย กว่าครึ่งอาศัยอยู่ในรัฐยะโฮร์ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มาจากประเทศอินเดีย และคนมาลาเซียที่เดินทางไปท่องเที่ยวประเทศอินเดีย
ชิคุนกุนยา มี ยุงลาย เป็นพาหะ
ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรค ชิคุนกุนยา 7 ครั้ง ดังนี้
- ในปี พ.ศ.2531 (ค.ศ.1988) พบการระบาดของโรค ชิคุนกุนยา ที่จังหวัดสุรินทร์
- ในปี พ.ศ.2534 (ค.ศ.1991) พบการระบาดของโรค ชิคุนกุนยา ที่จังหวัดขอนแก่น และปราจีนบุรี
- ในปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ.1993) มีการระบาดของโรค ชิคุนกุนยา 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย
- ในปี พ.ศ.2551 (ค.ศ.2008) พบการระบาดของโรค ชิคุนกุนยา ที่จังหวัดนราธิวาส รายงานผู้ป่วยที่ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ
ตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 ถึงวันที่ 12 ตุลาคม 2551 พบรายงานผู้ป่วย ชิคุนกุนยา รวม ทั้งหมด 170 ราย ใน 2 จังหวัด คือนราธิวาส ใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอยี่งอ 99 ราย อำเภอเจาะไอร้อง 9 ราย และอำเภอแว้ง 44 ราย และพบที่ อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี จำนวน 18 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
- ในปี พ.ศ. 2552(ค.ศ.2009) การแพร่ระบาดของโรค ชิคุนกุนยา พบในจังหวัดพัทลุง
โดยสำรวจพบผู้ป่วย ชิคุนกุนยา ครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วย ชิคุนกุนยา สูงสุดคือระหว่าง 25-34 ปี อาชีพที่พบผู้ป่วย ชิคุนกุนยา สูงสุดคือกลุ่มเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และอาชีพรับจ้าง อำเภอที่พบผู้ป่วย ชิคุนกุนยา มากสุดคืออำเภอป่าพะยอม อำเภอกงหรา อำเภอเขาชัยสน และอำเภอเมือง ตามลำดับ โดยผู้ป่วย ชิคุนกุนยา ทั้งหมดได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลอำเภอนั้น ผู้ป่ว ชิคุนกุนยา ยทุกรายอยู่ในอาการปลอดภัย นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการแพร่ระบาดของโรค ชิคุนกุนยา เพิ่มมากขึ้นหลังมีผู้ป่วยเดินทางกลับจากรับจ้างกรีดยางพาราจากจังหวัดใกล้เคียง ทั้ง นี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 พบผู้ป่วยโรค ชิคุนกุนยา สะสมจำนวน 20,541 ราย ใน 23 จังหวัด ยังไม่พบผู้เสียชีวิต โดยพบผู้ป่วยจาก 7 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี ตรัง พัทลุง ยะลา นราธิวาส และสตูล
ชิคุนกุนยา
ที่มาของชื่อไวรัส ชิคุนกุนยา
ชื่อของเชื้อไวรัส ชิคุนกุนยา นั้น มาจากคำในภาษา Makonde ซึ่งเป็นภาษาของชนพื้นเมืองในแอฟริกาที่อาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ ประเทศแทนซาเนีย และทางตอนเหนือของประเทศโมแซมบิก โดยรากศัพท์พื้นเมืองเดิมเรียกว่า kungunvala ซึ่งมีความหมายเป็นภาษาอังกฤษว่า "That which bends up" สอดคล้องกับลักษณะอาการปวดข้อของโรค ชิคุนกุนยา
สาเหตุของโรค ชิคุนกุนยา
โรค ชิคุนกุนยา เกิดจากเชื้อไวรัส ชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ดังนั้นจึงมักพบการระบาดของ ชิคุนกุนยา ในช่วงฤดูฝนที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการเพาะพันธุ์ของยุงลาย ซึ่งเมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้น ทำให้มีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น โดยพบโรค ชิคุนกุนยา ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออก และหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี
ชิคุนกุนยา
การติดต่อของโรค ชิคุนกุนยา
การติดต่อของโรค ชิคุนกุนยา เกิด ขึ้นเมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสนั้นจะไปเพิ่มจำนวนมากขึ้นในตัวยุง และเมื่อยุงนั้นไปกัดคนอื่นต่อ ก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค ชิคุนกุนยา ได้
ทั้งนี้ โรค ชิคุนกุนยา มี ระยะฟักตัว 1-12 วัน แต่ช่วง 2-3 วันจะพบบ่อยที่สุด ส่วนในช่วงวันที่ 2-4 วัน จะเป็นช่วงที่มีไข้สูง มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก และสามารถติดต่อกัน ชิคุนกุนยา ได้หากมียุงลายมากัดผู้ป่วยในช่วงนี้ และนำเชื้อไปแพร่ยังผู้อื่นต่อ
อาการของโรค ชิคุนกุนยา
ผู้ที่เป็นโรค ชิคุนกุนยา จะ มีไข้สูงอย่างฉับพลัน ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดกระบอกตา หรือมีเลือดออกตามผิวหนัง และอาจมีอาการคันร่วมด้วย ซึ่งดูเผินๆ คล้ายกับโรคไข้เลือดออก หรือหัดเยอรมัน แต่จะไม่มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นช็อก หรือเลือดออกมากเช่นโรคไข้เลือดออก
อย่าง ไรก็ตาม โรค ชิคุนกุนยา สามารถเป็นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงกว่า คือมักจะมีอาการปวดข้อทั้งข้อมือ ข้อเท้า และเป็นข้ออักเสบตามมาด้วย ซึ่งมักจะเปลี่ยนตำแหน่งที่ปวดไปเรื่อยๆ บางครั้งมีอาการรุนแรงมากจนขยับข้อไม่ได้ แต่จะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ หรือบางคนอาจจะปวดเรื้อรังอยู่เป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้ และไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อกจนเสียชีวิต
ชิคุนกุนยา
การรักษาและป้องกันโรค ชิคุนกุนยา
ทุกวันนี้ยังไม่มีวัคซีนสำหรับการรักษาและป้องกันโรค ชิคุนกุนยา ดังนั้นการรักษา ชิคุนกุนยา จึง เป็นการรักษาตามอาการ เช่น หากเป็นไข้ก็ให้ยาลดไข้ หรือหากปวดข้อก็ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น แต่ล่าสุดได้มีผลการศึกษาวิจัยพบว่า ยาคลอโรควิน (Chloroquin) สามารถบรรเทาอาการที่เกิดจากโรค ชิคุนกุนยา ได้ผลดีเช่นกัน ทั้งนี้ วิธีที่จะสามารถป้องกันโรค ชิคุนกุนยา ได้ดีที่สุดก็คือ การกำจัดยุงลายอันเป็นตัวพาหะนำโรค ชิคุนกุนยา โดย ต้องหมั่นตรวจดูแหล่งน้ำภายในบ้าน เช่น บ่อ กะละมัง ชาม โอ่งน้ำ ตุ่ม ฯลฯ ควรหาฝาปิดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงมาวางไข่ หรือให้ใส่ทรายอะเบทในอัตรา 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ลงไปในน้ำก็จะสามารถป้องกันการวางไข่ของยุงลายได้ รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาฉีดพ่นหมอกควันตามอาคารบ้านเรือนที่ มีแหล่งน้ำขังอยู่ เพื่อเป็นการป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลาย พาหะของ ชิคุนกุนยา
นอกจากนี้ ตัวเราเองก็ต้องป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยการทายากันยุง หรือใช้สารไล่ยุง และสวมเสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด รวมทั้งยังต้องเฝ้าสังเกตอาการของคนรอบข้างว่ามีอาการใกล้เคียงกับโรค ชิคุนกุนยา หรือไม่ หากมีอาการคล้ายเคียงหรือต้องสงสัยให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็ว
จะเห็นว่าแม้โรค ชิคุนกุนยา จะไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ทำให้คนป่วยได้รับความทุกข์ทรมาน และความรำคาญใจจากอาการปวดได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรป้องกัน และเตรียมพร้อมรับมือกับโรค ชิคุนกุนยา ไว้ก่อนจะดีที่สุดค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- กระทรวงสาธารณสุข
- สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
- สสส. , สสส.
- bangkokhealth.com