โรคไทรอยด์
ไทรอยด์เป็นพิษ หญิงมากกว่าชาย 8 เท่า (คมชัดลึก)โดย โรงพยาบาลวิภาวดี
โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคคอพอกเป็นพิษ เป็นโรคหนึ่งประเภทของ โรคไทรอยด์ โดยต่อมไทรอยด์ซึ่งอยู่ที่ลำคอด้านหน้า ต่ำกว่าลูกกระเดือกเล็กน้อย ทำหน้าที่สร้างและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกสู่กระแสเลือดเพื่อกระตุ้นให้ร่าง กายทำงานเป็นปกติ โดยเฉพาะหัวใจและระบบประสาท โรค คอพอกเป็นพิษเป็นการเสียสมดุลของฮอร์โมนไทรอยด์ โดยไม่ทราบสาเหตุและไม่เกี่ยวข้องกับอาหารทะเล แต่มีปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. เพศหญิง โรคไทรอยด์ เป็นพิษเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 4-8 เท่า
2. กรรมพันธุ์ มีอุบัติการณ์การพบ โรคไทรอยด์ ในเครือญาติสูงกว่าประชากรทั่วไป แต่ก็อาจะเป็น โรคไทรอยด์ โดยที่ไม่มีญาติเป็นก็ได้
อาการแสดงของ โรคไทรอยด์ เป็นพิษ
1. หัวใจจะถูกกระตุ้นให้ทำงานมาก จึงมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ได้แก่ ใจสั่น หัวใจเต้นแรงและเร็ว จับชีพจรจะเต้นไม่สม่ำเสมอในบางครั้ง เหนื่อยง่าย เช่นเดินขึ้นบันได 1 ชั้น ก็รู้สึกเหนื่อย
2. เนื้อเยื่อของร่างกายเผาผลาญสร้างพลังงานออกมามาก รวมถึงเนื้อเยื่อที่เก็บสำรองไว้เป็นไขมัน และกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย จะถูกเผาผลาญมากขึ้นทำให้มีอาการขึ้ร้อน เหงื่อออกมาก มือมักจะอุ่นและชื้น กินจุ แต่ผอมลง
3. ระบบประสาทถูกฮอร์โมนไทรอยด์กระตุ้นมากขึ้นทำให้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถูกกระตุ้นให้ทำงานผิดปกติได้เช่นเดียวกัน เช่น มือสั่น ตกใจง่าย สำไส้ถูกกระตุ้นทำให้ถ่ายอุจจาระบ่อยวันละหลายๆ ครั้ง กล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและขาอาจจะมีอ่อนแรง บางครั้งเมื่อนั่งยองๆ ก็ลุกไม่ไหว ประจำเดือนอาจมาน้อยหรือห่างออกไป นัยน์ตาอาจโตโปนถลนหรือหนังตาบนหดรั้งขึ้นไป ทำให้เห็นตาขาวข้างบนชัดดูคล้ายคนดุ
การรักษา โรคไทรอยด์ เป็นพิษมี 3 วิธี
1. ยาเม็ดรับประทาน เลือกใช้ในผู้ป่วย โรคไทรอยด์ อายุน้อย ผู้ป่วยตั้งครรภ์และก่อนได้รับการผ่าตัด หรือเกลือน้ำ เพื่อควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ทำให้อาการต่างๆดีขึ้น ต้องใช้ยาติดต่อกันตั้งแต่ปีครึ่งถึง สองสามปี บางรายต้องรับประทานยาเป็นประจำ ถ้าหยุดยาทำให้มีการเป็นพิษได้อีก การรับประทานยา มักไม่ทำให้คอยุบลง
2. การกินน้ำแร่สารกัมมันตรังสีไอโอดีน 131 ซึ่งจะไปสะสมที่ต่อมไทรอยด์และปล่อยรังสีทำงานต่อมให้หายเป็นพิษ วิธีเหมาะกับผู้ป่วยรักษาด้วยยาและไม่ได้ผลหรือผู้ที่ไม่สามารถลดยาลงได้ ต้องใข้ยาขนาดสูงตลอด หรือผู้ป่วยที่มีอายุมาก เราจะตัดสินน้ำแร่หลัง 6 เดือน หลังการรักษา และห้ามใช้ในหญิงกำลังตั้งครรภ์
3. การผ่าตัดเอกต่อมไทรอยด์บางส่นออก ซึงจะให้ผลการักษาเร็วกว่าวิธีกินยาเม็ด การผ่าตัดเหมาะที่จะใช้ในรายการที่คอโตมากๆ หรือเมื่อรักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล ข้อเสียการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกมาเกินไป ทำให้ต่อมส่วนที่เหลือสร้างฮอร์โมนไม่พอใช้ ต้องกินยาทดแทนตลอดชีวิต
การดูแลสุขภาพเพื่อป้องกัน โรคไทรอยด์ เป็นพิษ
1. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมมิให้อาการ โรคไทรอยด์ เป็นพิษรุนแรงขึ้น ไม่ควรหยุดยาเองเมื่ออาการดีขึ้น เนื่องจากตัวโรคอาจจะกำเริบได้
2. สังเกตุอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นของผลข้างเคียงของยาหรือการรักษาเพื่อรายงานอาการได้ถูกต้อง
3. ติดตามการรักษาเพื่อเป็นผลดีต่อการักษา
4. รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะได้ทุกประเภท และสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ
http://health.kapook.com/view950.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก