homeowners insurance Claim home insurance Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim commercial insurance Claim cheap auto insurance Claim cheap health insurance Claim indemnity Claim car insurance companies Claim progressive quote Claim usaa car insurance Claim insurance near me Claim term life insurance Claim auto insurance near me Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim progressive renters insurance Claim state farm insurance quote Claim metlife auto insurance Claim best insurance companies Claim progressive auto insurance quote Claim cheap car insurance quotes Claim allstate car insurance Claim rental car insurance Claim car insurance online Claim liberty mutual car insurance Claim cheap car insurance near me Claim best auto insurance Claim home insurance companies Claim usaa home insurance Claim list of car insurance companies Claim full coverage insurance Claim allstate insurance near me Claim cheap insurance quotes Claim national insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim health insurance quotes Claim ameritas dental Claim state farm renters insurance Claim medicare supplement plans Claim progressive renters insurance Claim aetna providers Claim title insurance Claim sr22 insurance Claim medicare advantage plans Claim aetna health insurance Claim ambetter insurance Claim umr insurance Claim massmutual 401k Claim private health insurance Claim assurant renters insurance Claim assurant insurance Claim dental insurance plans Claim state farm insurance quote Claim health insurance plans Claim workers compensation insurance Claim geha dental Claim metlife auto insurance Claim boat insurance Claim aarp insurance Claim costco insurance Claim flood insurance Claim best insurance companies Claim cheap car insurance quotes Claim best travel insurance Claim insurance agents near me Claim car insurance Claim car insurance quotes Claim auto insurance Claim auto insurance quotes Claim long term care insurance Claim auto insurance companies Claim home insurance quotes Claim cheap car insurance quotes Claim affordable car insurance Claim professional liability insurance Claim cheap car insurance near me Claim small business insurance Claim vehicle insurance Claim best auto insurance Claim full coverage insurance Claim motorcycle insurance quote Claim homeowners insurance quote Claim errors and omissions insurance Claim general liability insurance Claim best renters insurance Claim cheap home insurance Claim cheap insurance near me Claim cheap full coverage insurance Claim cheap life insurance Claim

โรคหัวใจ ภัยแฝงที่แถมมากับ เบาหวาน

 โรคหัวใจ ภัยแฝงที่แถมมากับ เบาหวาน

โรคหัวใจ ภัยแฝงที่แถมมากับ เบาหวาน
(ไทยรัฐ)

          สถานการณ์โรคหัวใจในประเทศไทยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน ซึ่ง 50% ของคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมีอาการป่วยเป็นเบาหวานร่วมด้วย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในอดีตพบเพียงหลอดเลือดผิดปกติเท่านั้น
          ศ.นพ.เกียรติชัย ภูริปัญโญ ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี เผยถึงความสัมพันธ์ระหว่างโรคหัวใจกับโรคเบาหวานว่า สำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือดมีผลต่อประชาชนชาวไทยในช่วงครึ่งหลังของชีวิต เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่กำลังสร้างสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ในประเทศกำลังพัฒนาจะมีความชุกของปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง

โรคหัวใจส่วนใหญ่เกิดจากอะไร

         ก่อนอื่นต้องดูว่าเป็นโรคหัวใจชนิดไหน แต่ที่ถูกกล่าวถึงอยู่บ่อยๆ คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความดันโลหิตสูง พบว่ากลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และในเพศหญิงคือหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว คนที่เป็นโรคอ้วนหรือโรคอ้วนลงพุง คือมีรอบเอวใหญ่กว่ารอบสะโพก ตลอดจนการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย แต่สำหรับในโรคเบาหวานถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญในประเทศไทย

          ส่วน วิธีป้องกันนั้นต้องแยกสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เพราะบางปัจจัยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ส่วนใหญ่ คือ การปรับพฤติกรรมตัวเอง โดยเริ่มปรับเปลี่ยนตั้งแต่เด็ก คือไม่ให้อ้วนมาก รับประทานขนมหวานให้น้อยลง เปลี่ยนมารับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญคือควรได้รับการตรวจเลือดและตรวจร่างกายตามระยะเวลาที่กำหนด

          คนที่เป็นเบาหวาน มักจะเป็นโรคหัวใจด้วยในภายหลัง และสามารถเป็นโรคหัวใจได้เร็วกว่าคนทั่วไปที่ไม่เป็นเบาหวาน เนื่อง จากโรคเบาหวานจะทำให้หลอดเลือดเสื่อมลง แต่ก็ต้องดูว่ามีปัจจัยอื่นที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูง (คนที่เป็นโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะมีระดับ LDL Cholesterol สูงกว่าคนปกติ) ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ความเครียด อ้วน คนที่มีบุคลิกย้ำคิดย้ำทำ เป็นต้น แต่ปัจจุบันนี้ยังพบสาเหตุใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก เช่น การติดเชื้อบางชนิดจากการที่มีฟันผุ เหงือกอักเสบ และพบว่าสาเหตุนี้นำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจเสื่อมมากขึ้น

คนที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจมากน้อยแค่ไหน

เพียง แค่ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติคนทั่วไปก็มีโอกาสเป็นโรคหัวใจได้ ดังนั้นคนที่ป่วยเป็นเบาหวานยิ่งมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงมาก ในกรณีของคนที่เป็นเบาหวานเป็นที่ทราบกันดีว่าจะมีอาการทางด้านปลายประสาท อักเสบ ทำให้ความรู้สึกเจ็บปวดลดลงเมื่อโรคหัวใจกำเริบ คืออาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก สาเหตุนี้ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีโรคหัวใจแทรกซ้อนอยู่

ผู้ป่วยเบาหวานจะมีโอกาสเป็นโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจมากน้อยแค่ไหน

          สำหรับ คนที่ป่วยเป็นเบาหวานแล้วเกิดโรคแทรกซ้อน คือโรคหัวใจนั้นอยู่ที่ 50% โดยเฉพาะคนป่วยเป็นเบาหวานมาระยะเวลานาน ยิ่งต้องระวังเพราะมีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจมาก แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการควบคุมปัจจัยหลายๆ อย่างด้วย

ผู้ที่เป็นเบาหวานหากสงสัยว่าตนจะเป็นโรคหัวใจแฝงอยู่หรือไม่ควรทำอย่างไร

          สิ่ง แรกควรมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจร่างกายในขั้นต้นแล้วจึงทำการตรวจกราฟหัวใจ จากนั้นจะทำการประเมินว่ามีอาการอย่างไรบ้าง เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ป่วยเบาหวานมักจะไม่แสดงอาการของโรคหัวใจ ดังนั้นจึงแนะนำว่าคนที่มีปัจจัยเสี่ยงคือทราบว่าตัวเองป่วยเป็นเบาหวาน หรือคนที่มีช่วงอายุเกิน 40 ปีในผู้ชาย และหลังหมดประจำเดือนในผู้หญิงก็ควรได้รับการตรวจเช่นกัน โดยตรวจด้วยวิธีเดินสายพานเพื่อให้ทราบถึงมูลเหตุของโรคหัวใจอย่างชัดเจน

           และขั้นตอนต่อไปคือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูว่าหลอดเลือดหัวใจตีบหรือ ไม่ แต่หากผลการตรวจเดินสายพานบ่งบอกชัดเจนว่ามีเส้นเลือดหัวใจตีบ ก็สามารถข้ามขั้นตอนการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไปสู่การฉีดสีดูเส้นเลือดหัวใจ โดยตรง โดยการเจาะเข้าเส้นเลือดแดงที่ข้อมือหรือขา เพื่อสอดสายสวนขึ้นไปสู่เส้นเลือดหัวใจแล้วจึงฉีดสี วิธีนี้จะทำให้ทราบผลอย่างแน่นอน

การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่เป็นโรคเบาหวานกับไม่เป็น แตกต่างกันอย่างไร

          การ รักษาแตกต่างกันอย่างแน่นอน โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานเพียงแค่มีอาการแน่นหน้าอกและเหนื่อยง่ายให้ วิเคราะห์ได้เลยว่ามีโอกาสเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบสูง ต่างจากคนทั่วไป ไม่ว่าจะในวัย 40 ปีขึ้นไปสำหรับผู้ชาย หรือวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิง ซึ่งบางทีอาจจะไม่มีอาการของเบาหวานเพียงเข้ารับการตรวจเล็กน้อย

          สำหรับ การรักษานั้นผู้ป่วยเป็นเบาหวานจะรักษายากกว่า เนื่องจากการรักษาโรคหัวใจนั้นต้องควบคุมเบาหวาน ควบคุมไขมัน และควบคุมความดัน โดยในการควบคุมไขมันและความดันนั้นทำได้ไม่ยาก เพราะตัวยาที่ใช้ให้ผลดีกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทั้งสองอย่าง ตรงกันข้ามกับเบาหวานที่ควบคุมยาก เพราะนอกจากจะรักษาด้วยยาแล้วต้องได้รับความร่วมมือกับผู้ป่วยที่เป็นเบา หวานด้วยจึงจะได้ผล และกรณีที่คนป่วยเป็นเบาหวานเกิดหลอดเลือดตีบรักษาด้วยการทำบอลลูน โดยการใส่ขดลวดเข้าไปแล้ว พบว่าโอกาสที่หลอดเลือดจะกลับมาตีบซ้ำ มีความเป็นไปได้สูงกว่าคนปกติทั่วไปถึง 10%

          ถ้า ผู้ป่วยเป็นเบาหวานคุมเบาหวานไม่ดี เห็นชัดเจนเลยว่าการรักษาค่อนข้างจะยากกว่า และอีกหนึ่งกรณีคือลักษณะเส้นเลือดของคนที่เป็นโรคหัวใจที่ป่วยเป็นเบาหวาน จะมีลักษณะขรุขระมากกว่าคนปกติทั่วไป ทำให้การรักษาด้วยการทำบอลลูนต้องใช้ขดลวดหลายอันและในบางจุดก็ไม่สามารถใส่ ได้ จึงถือว่าเป็นการยากมากสำหรับการรักษาโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานจะสามารถป้องกันตนเองจากโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจได้หรือไม่

          ป้องกัน ได้โดยการควบคุมเบาหวานให้ดีที่สุด ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เช่น ควรวางแผนเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การับประทานยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล การตรวจระดับน้ำตาลเพื่อติดตามและควบคุมระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทราบถึงปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันรวมทั้งอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบ

          โอกาส เสี่ยงของผู้ป่วยเบาหวานที่จะเป็นโรคหัวใจถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก ดังนั้นควรควบคุมเบาหวานให้ดีที่สุด รวมถึงต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงปรับปรุงเรื่องพฤติกรรมเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนมีการพักผ่อนที่เพียงพอ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากจนเกินไปและที่สำคัญต้องเชื่อฟังคำแนะนำ รวมถึงปฏิบัติตามแพทย์สั่งการรักษาจึงจะได้ผลดี


http://health.kapook.com/view2140.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก