homeowners insurance Claim home insurance Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim commercial insurance Claim cheap auto insurance Claim cheap health insurance Claim indemnity Claim car insurance companies Claim progressive quote Claim usaa car insurance Claim insurance near me Claim term life insurance Claim auto insurance near me Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim progressive renters insurance Claim state farm insurance quote Claim metlife auto insurance Claim best insurance companies Claim progressive auto insurance quote Claim cheap car insurance quotes Claim allstate car insurance Claim rental car insurance Claim car insurance online Claim liberty mutual car insurance Claim cheap car insurance near me Claim best auto insurance Claim home insurance companies Claim usaa home insurance Claim list of car insurance companies Claim full coverage insurance Claim allstate insurance near me Claim cheap insurance quotes Claim national insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim health insurance quotes Claim ameritas dental Claim state farm renters insurance Claim medicare supplement plans Claim progressive renters insurance Claim aetna providers Claim title insurance Claim sr22 insurance Claim medicare advantage plans Claim aetna health insurance Claim ambetter insurance Claim umr insurance Claim massmutual 401k Claim private health insurance Claim assurant renters insurance Claim assurant insurance Claim dental insurance plans Claim state farm insurance quote Claim health insurance plans Claim workers compensation insurance Claim geha dental Claim metlife auto insurance Claim boat insurance Claim aarp insurance Claim costco insurance Claim flood insurance Claim best insurance companies Claim cheap car insurance quotes Claim best travel insurance Claim insurance agents near me Claim car insurance Claim car insurance quotes Claim auto insurance Claim auto insurance quotes Claim long term care insurance Claim auto insurance companies Claim home insurance quotes Claim cheap car insurance quotes Claim affordable car insurance Claim professional liability insurance Claim cheap car insurance near me Claim small business insurance Claim vehicle insurance Claim best auto insurance Claim full coverage insurance Claim motorcycle insurance quote Claim homeowners insurance quote Claim errors and omissions insurance Claim general liability insurance Claim best renters insurance Claim cheap home insurance Claim cheap insurance near me Claim cheap full coverage insurance Claim cheap life insurance Claim

ปวดหัว-ปวดหู ลองย้อนดูฟัน by SDC1st Dentist

ปวดหัว-ปวดหู ลองย้อนดูฟัน
เพราะเหตุใดจึงปวดหัว-ปวดหู

ปวดหัว-ปวดหู ลองย้อนดูฟันหัวข้อ เรื่องนี้เมื่อเห็นแล้วอาจชวนให้เกิดความรู้สึกคล้ายๆ ชื่อหัวเรื่องขึ้นมาก็ได้ แต่ขออย่าเพิ่งท้อใจ ทนอ่านต่อไปอีกหน่อย และเมื่อถึงบางอ้อ ความรู้สึกนั้นก็จะหายไปเอง ท่านที่เคยปวดหัวและ/หรือปวดหูอย่างเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ แม้จะได้รับการรักษากินยาไปหลายครั้งแล้วก็ยังไม่หาย ให้ลองไปพบทันตแพทย์ดู ท่านอาจจะแปลกใจว่า ฟันของท่านเองนั่นแหละเป็นที่มาของอาการปวดดังว่านั้น โดยเฉพาะ สุภาพสตรีมักจะเป็นมากกว่าเพศตรงกันข้าม และพบได้ตั้งแต่วัยรุ่นไปจนกระทั่งวัยดึก

หาก ไม่ได้รับการแก้ไขทันเวลา ย่อมพัฒนาไปสู่อาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อกระดูกขากรรไกรใน ที่สุด และหากทิ้งไว้เนิ่นนานไป ก็จะเกิดความผิดปกติของอวัยวะในระบบบดเคี้ยวบางส่วน หรือทั้งหมด
เพราะเหตุใดจึงปวดหัว-ปวดหู

สาเหตุ หนึ่งที่เกี่ยวพันกับฟันของท่าน คือ การสบฟันที่ผิดปกติ ท่านอาจจะมีฟันเกฟันล้มเอียง ฟันบิ่น ฟันกร่อน หรือฟันที่ได้รับการบูรณะไว้อยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะไม่ว่าจะโดยอุดหรือทำครอบ ฟัน การใส่ฟันปลอม ทำให้เกิดจุดสูงในขณะที่ฟันสบกัน หรือเกิดการสะดุดในขณะบดเคี้ยวไปมา ทำให้รู้สึกระคายเคืองอยู่เนืองๆ จึงเกิดความผิดปกติของระบบบดเคี้ยว ทั้งโดยขนาดของแรงที่ใช้ในการบดเคี้ยวและทิศทางการเคลื่อนที่ของฟัน ณ จุดสูง หรือจุดสะดุดนั้นๆ ส่งผลให้มีความเครียดในกล้ามเนื้อบดเคี้ยว, ข้อต่อขากรรไกรและประสาทส่วนคอและศีรษะหากไม่ได้รับการแก้ไขทันเวลา ย่อมพัฒนาไปสู่อาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อกระดูกขากรรไกรใน ที่สุด และหากทิ้งไว้เนิ่นนานไป ก็จะเกิดความผิดปกติของอวัยวะในระบบบดเคี้ยวบางส่วน หรือทั้งหมด (ได้แก่ ฟัน, เนื้อเยี่อปริทันต์, กระดูกขากรรไกรและข้อต่อกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง) นอกจากนี้ยังพบว่า ในผู้ป่วยจำนวนมาก สาเหตุทางด้านจิตใจและอารมณ์ก็มีความสัมพันธ์อย่างแยกไม่ออก ซึ่งมักพบว่าผู้ป่วยเหล่านี้จะมีพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง นี้ คือ การขบกรามและการนอนกัดฟันเป็นกิจวัตร การขบกรามจะเกิดขึ้นในขณะตื่น ส่วนการกัดฟันเกิดขึ้นในขณะหลับโดยเป็นไปอย่างโดยไม่รู้ตัว จึงไม่อาจควบคุมหรือหยุดพฤติกรรมนี้ได้ในทันที่ที่เกิดขึ้น


จาก การศึกษาพบว่า พฤติกรรมดังกล่าวนี้จะทำให้มีการเคลื่อนที่ของขากรรไกรล่างอย่างรุนแรง กล้ามเนื้อบดเคี้ยวมีการทำงานมากกว่าปกติ และจะเกิดเป็นจังหวะติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในรายที่นอนกัดฟัน ผลลัพธ์คือ ด้านบดเคี้ยวของฟันเกิดการสึกกร่อนในอัตราที่มากกว่าปกติหลายเท่าตัว กล้ามเนื้อในระบบบดเคี้ยวมีการเกร็งตัว ทำให้รู้สึกเมื่อยหลังตื่นนอน เมื่อฟันสึกมากจนถึงชั้นเนื้อฟัน จะเริ่มเสียวฟันเมื่อกินของเปรี้ยวของเย็น หรือกระทั่งเวลาเคี้ยวอาหารแข็งหน่อย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันฟันและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง จึงต้องหยุดการเคลื่อนที่ของขากรรไกรล่าง ด้วยการให้ผู้ป่วยใส่เฝือกฟันด้านบดเคี้ยว (Occlusal splint) ซึ่งทำจากวัสดุคล้ายพลาสติก เรียกว่า อะคริลิกเรซิ่น รูป ร่างคล้ายเกือกม้า ร่วมกับการแก้ไขจุดสูงบนตัวฟันซี่ที่เป็นต้นเหตุและอาจให้ยาคลายเครียด หรือยานอนหลับเท่าที่จำเป็น รวมทั้งยาแก้ปวด

ลักษณะอาการปวดหัว-ปวดหู


นอนกัดฟัน กรอด ๆ
ลักษณะ เด่นของอาการปวดหัวและ/หรือปวดหูที่ว่ามานี้ คือ มักจะปวดบริเวณด้านข้างเหนือใบหูใกล้ๆ ขมับข้างเดียวหรือสองข้าง และกดเจ็บ หรือปวดด้านหน้าหูร่วมกับการกดเจ็บและมีเสียงดังเวลาอ้าปาก หุบปาก ในบางคนอาจพบว่า มีอาการกดเจ็บที่กล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอยบริเวณเหนือมุมขากรรไกรหรือบริเวณ ข้างฟันกล้ามซี่ที่ 2 ด้านแก้ม อาการปวดจะรุนแรงขึ้นตามการใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อเคี้ยวของแข็งหรือเหนียว

วิธีป้องกันฟัน-เหงือก

การ ป้องกันนั้นสามารถทำได้โดยการดูแลสุขภาพเหงือกและฟันให้ดี ถ้ามีฟันซ้อนเกควรปรึกษาทันตแพทย์จัดฟัน เพื่อทำการแก้ไข ในกรณีที่มีการอุดฟัน ทำครอบฟันหรือใส่ฟันทุกครั้งควรสังเกตว่ามีจุดสูงหรือสะดุดในขณะสบฟันหรือ เคี้ยวอาหารหรือไม่ ถ้ามีให้กลับไปรับการแก้ไขโดยเร็ว สำหรับผู้ที่เครียดหรือกังวลง่าย ควรหมั่นฝึกทำสมาธิก่อนนอนประมาณ 10-15 นาทีทุกวัน ทำให้หลับสนิทไม่เกิดนิสัยนอนหลับกัดฟัน และช่วยให้ห่างไกลไม่ต้องพึ่งยานอนหลับ ในกรณีที่เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อขากรรไกร ให้งดอาหารแข็ง หรือเหนียวเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ หลีกเลี่ยงการอ้าปากกว้าง เช่น หาวนอน หรือหัวเราะ ใช้ผ้านุ่มซุบน้ำอุ่นจัดๆ ประคบบริเวณที่ปวดวันละ 2-5 ครั้งๆ ละ 5-10 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายอาการเกร็งตึงและลดปวด ถ้าต้องการยาแก้ปวด อาจเลือกใช้แอสไพรินหรือพาราเซตามอล


Night Guard
การรักษา


ผู้ป่วยที่มีปัญหาความเจ็บปวดเรื้อรังร่วมกับพฤติกรรมนอนกัดฟัน หรือขบกรามมาเป็นเวลาหลายปี จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากทันตแพทย์ระบบบดเคี้ยวโดยเฉพาะระยะเวลาในการ รักษามักจะต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน ผู้ป่วยต้องมีความอดทนที่จะไปรับการรักษาอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผล ดังนั้น เราควรใส่ใจป้องกันและรับการแก้ไขแต่เนิ่นๆ

ที่มา  คลิก

โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อพยาธิ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 ธันวาคม 2554 00:50 น. 
 อ.พญ.เจนจิต ฉายะจินดา
       ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา 
      
       รู้มั้ย! โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีพยาธิเชื้อโปรโตซัว ชื่อทางการแพทย์ว่า “ทริโคโมแนส วาจินาลิส” เป็นหนึ่งในนั้นด้วย
       
       การติดต่อของโรคผ่านทางน้ำอสุจิ ตกขาว หรือสารคัดหลั่งจากช่องคลอด ในขณะมีเพศ สัมพันธ์กับผู้มีเชื้อ และจะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 10-14 วัน ในผู้หญิง มีอาการช่องคลอดอักเสบ ตกขาวเป็นฟองสีเขียวปนเหลืองหรือสีขาว มีกลิ่นเหม็น มีอาการคัน และแสบรอบๆ ปากช่องคลอด บางรายมีอาการปัสสาวะแสบขัด เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ส่วนผู้ชาย ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ บางรายมีเมือกใส หรือเมือกปนหนองไหล มีอาการคันและเจ็บที่ท่อปัสสาวะ


หน้าตาของพยาธิเชื้อโปรโตซัว “ทริโคโมแนส วาจินาลิส”
       สำหรับการตรวจนั้น แพทย์จะนำสารคัด หลั่งภายในช่องคลอดของผู้หญิง หรือสารคัดหลั่งปลายองคชาตของผู้ชายมาย้อมสีด้วยวิธีเฉพาะ และส่องดูเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ หากพบว่าเป็นโรค ไม่ต้องตื่นตระหนกค่ะ เพราะโรคนี้สามารถรักษาหายขาดได้ แต่ต้องรักษาทั้งคู่ โดยแพทย์นิยมให้ยาชนิดรับประทานเพียงครั้งเดียว ซึ่งยาตัวนี้จะออกฤทธิ์ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้อาเจียน จึงควรรับประทานหลังอาหารทันที และหากพบว่ามีอาการแพ้ยา เช่น คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง หรือมีอาการมากขึ้น ควรรีบพบแพทย์ก่อนนัด นอกจากนี้ ควรได้รับการปรึกษาเพื่อตรวจเลือดหาเชื้อโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      
       ทั้งนี้ ขอให้ทั้งคู่หมั่นดูแลสุขภาพ เพื่อการป้องกันกลับเป็นซ้ำ ดังนี้
      
              1.งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาหาย ถ้าจำเป็นควรใช้ถุงยางอนามัย
              2.รับประทานยาตามแผนการรักษา
              3.ดูแลความสะอาด ร่างกาย เสื้อผ้า ชุดชั้นใน ไม่ใส่ซ้ำหมักหมม และไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น
              4.มารับการตรวจรักษาตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
              5.ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หรือเป็นหนอง มีอาการคัน ควรมาพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง
              6.หากคู่นอนมีอาการที่น่าสงสัย ควรพามาพบแพทย์

ช่วยด้วย! เลือดออกจากหู

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 มกราคม 2555 05:14 น. 
รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน
       ภาควิชาโสตนาสิกลาริงซ์วิทยา
      
       เลือดออกจากหู เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อย ส่วนใหญ่มักพบร่วมกับเลือดออกผิดปกติในอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
      
       สาเหตุของเลือดออกจากหู เกิดจาก
      
       1.สาเหตุเฉพาะที่ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่ การบาดเจ็บตั้งแต่หูชั้นนอก ชั้นกลาง จนถึงหูชั้นใน จากการแคะ เขี่ย แกะ เกา กระทบกระแทกจนทำให้เกิดการฉีกขาดของเส้นเลือดหรือเยื่อบุแก้วหู ซึ่งบางรายอาจเกิดจากมีสิ่งแปลกปลอม หรือเนื้องอกเกิดขึ้นในช่องหู
      
       2.สาเหตุจากโรคบางชนิด ทำให้กลไกในการห้ามเลือดผิดปกติ เช่น ความผิดปกติของเกร็ดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โรคไขกระดูกฝ่อ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคฮีโมฟีเลีย เป็นต้น
      
       การวินิจฉัย สามารถทำได้โดย
      
       ๐ แพทย์จะซักประวัติ ตั้งแต่ สาเหตุที่ทำให้เลือดออก และเลือดออกส่วนไหนของร่างกาย มีประวัติเลือดออกง่ายแต่หยุดยากหรือไม่ ในอดีตหรือคนในครอบครัวมีการใช้ยาที่ทำให้กลไกในการห้ามเลือดผิดปกติไปหรือ ไม่ มีอาการทางหูอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ปวดหู มีหนองไหล มีหูอื้อ เสียงดังในหู หรือเวียนศีรษะบ้านหมุน
      
       ๐ แพทย์จะตรวจหูโดยละเอียด ตั้งแต่ ใบหู โครงสร้างโดยรอบหู ช่องหูชั้นนอก เยื่อบุแก้วหูอาจใช้เครื่องมือดูดทำความสะอาดหู และช่องหูว่า มีรอยถลอก ฉีกขาดหรือไม่ และมีจุดเลือดออก หรือรอยจ้ำเขียวที่อวัยวะส่วนอื่นหรือไม่ หรือ มีตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลืองโต หรือเข้าข่ายโรคตับแข็ง เช่น ตาเหลือง ท้องโต มีน้ำในช่องท้อง หรือเส้นเลือดบริเวณผนังหน้าท้องโป่งพองหรือไม่
      
       ๐ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจการได้ยิน ตรวจความผิดปกติของกลไกห้ามเลือด ตรวจเกล็ดเลือด การแข็งตัวของเลือด ตรวจไขกระดูก มีมะเร็งของเม็ดเลือดขาวหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง


       การรักษา เริ่มด้วย
      
       1.ห้ามเลือดให้หยุด โดยใช้ผ้าก๊อซกดบริเวณที่เลือดออกภายนอก เช่น ใบหู (ถ้ามี) หรือทำการเย็บแผล ถ้าเลือดออกจากช่องหูชั้นนอก อาจใส่ผ้าก๊อซที่ทำเป็นเส้น และชุบยาห้ามเลือดเข้าไปในช่องหูชั้นนอก หรือจี้ให้เลือดหยุด
      
       2.ควรนอนพัก ยกศีรษะสูง นำน้ำแข็งหรือเจลประคบเย็นมาประคบบริเวณหน้าผาก คอ หรืออมน้ำแข็งเพื่อให้เลือดหยุดประมาณ 10 นาที แล้วจึงเอาออกประมาณ 10 นาที ทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อยๆ จนกว่าเลือดจะหยุด
      
       3.ควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนบริเวณหู การออกแรงมาก การเล่นกีฬาที่หักโหม หรือยกของหนัก ภายใน 24-48 ชั่วโมงแรก เพราะอาจทำให้มีเลือดออกจากหูได้อีก
      
       “และสุดท้าย รักษาที่สาเหตุ จะได้ไม่กลับเป็นซ้ำครับ”

โรคฮันนีมูน คุกคามกระเพาะปัสสาวะ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มกราคม 2555 04:01 น.
รศ.นพ.ไชยยงค์ นวลยง ภาควิชาศัลยศาสตร์
หลังแต่งงานคู่บ่าวสาวอาจจะเคยเกิดโรคจากการมีเพศสัมพันธ์หลายครั้งในช่วงเวลาแห่งความหวานชื่น ที่เรียกว่า โรคฮันนีมูน ซิสไตติส (Honeymoon Cystitis)
      
       เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดเฉพาะสตรี แต่มีคุณผู้ชายมาเกี่ยวข้องเต็มๆ วิธีสังเกตอาการมีดังนี้
      
       1.ขณะถ่ายปัสสาวะ มีอาการแสบบริเวณปลายท่อปัสสาวะ หรือบริเวณปากช่องคลอด
       2.ถ้ามีภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบร่วมด้วย ก็จะมีอาการปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวัน กลางคืน ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะขัด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะแล้วรู้สึกว่าไม่สุดต้องไปปัสสาวะอีกแม้เพิ่งปัสสาวะเสร็จ
       3.บางคนอาจจะมีอาการปวด หรือแสบบริเวณท้องน้อยร่วมด้วยทั้งตอนปวดและไม่ปวดปัสสาวะ
       4.บางคนอาจถึงขั้นติดเชื้อแบคทีเรีย ถ้ามีภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบร่วมด้วย
      
       อาการเหล่านี้มีสาเหตุจากกลุ่มคน ที่มีกิจกรรมเพศสัมพันธ์ หรือลักษณะคล้ายๆ กันนั้นบ่อยครั้ง และหลายครั้งในเวลาอันสั้น นอกจากนี้ยังมาจากผู้ที่ดื่มน้ำน้อย ชอบกลั้นปัสสาวะนานๆ หรือผู้ที่เคยรับการผ่าตัด รวมถึงเคยรักษาด้วยการฉายแสงบริเวณกระเพาะปัสสาวะและอวัยวะเพศมาก่อน ตลอดจนผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำกว่าปกติ
      
       สำหรับแนวทางการรักษา เบื้องต้นควรจะพักกิจกรรมทางเพศในระหว่างที่มีอาการ หมั่นดื่มน้ำมากๆ เพื่อระบายเชื้อโรคบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะออก (ถ้ามี) และถ้ามีอาการมาก ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ซึ่งมักจะต้องตรวจน้ำปัสสาวะโดยการเพาะเชื้อ หากพบว่าผิดปกติก็ต้องกินยาปฏิชีวนะ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้รักษา
      
       อย่างไรก็ตาม โดยส่วนใหญ่แล้วถ้าดื่มน้ำมากๆ และพักกิจกรรมทางเพศก็จะหายเองได้ภายในเวลา 5-7 วัน แต่หากปล่อยทิ้งไว้และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะเกิดภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และยิ่งถ้าติดเชื้อแบคทีเรีย ก็มีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน เช่น กรวยไต หลอดไต ซึ่งมีผลต่อไตในระยะยาว หรืออาจเกิดการติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดได้ ฉะนั้น จึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียแต่วันนี้โดย...
1.ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
       2.ดูแลความสะอาดบริเวณปลายท่อปัสสาวะและอวัยวะเพศ
       3.มีกิจกรรมทางเพศอย่างเหมาะสม โดยหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ควรไปปัสสาวะและทำความสะอาดบริเวณท่อปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะเพศ
       4.ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานเกินไป
       5.สังเกตพฤติกรรมการปัสสาวะของตนเองว่า มีการเปลี่ยนแปลงจากปกติที่เคยปฏิบัติหรือไม่ ภายหลังการเดินทาง โดยเฉพาะการฮันนีมูน
       6.ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
      
       ทำได้อย่างนี้ โอกาสกลับเป็นซ้ำคงยากแล้วครับ

ฉีดยาเข้าวุ้นตา เพื่อรักษาโรคจอตา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 มกราคม 2555 00:55 น.
       อ.พญ.โสมนัส ถุงสุวรรณ
       ภาควิชาจักษุวิทยา
      
       ปัจจุบันการรักษาโรคจอตาได้มีการพัฒนาขึ้นมาก ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการรักษาดีขึ้นกว่าในอดีต “การฉีดยาเข้าวุ้นตา” เป็น วิธีที่ใช้รักษาโรคจอตาหลายโรค เช่น โรคจุดภาพชัดเสื่อมในผู้สูงอายุ ภาวะจุดภาพชัดบวมจากภาวะเบาหวานหรือหลอดเลือดอุดตัน ภาวะหลอดเลือดผิดปกติที่จอตา ฯลฯ โดยยาที่ฉีดจะช่วยลดอาการบวมของจอตาและยับยั้งการเติบโตของหลอดเลือดผิดปกติ การรักษาโดยวิธีนี้จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
      
       ผู้ป่วยที่รับการรักษาโดยการฉีดยาเข้าวุ้นตาไม่จำเป็นต้องนอนโรง พยาบาล สามารถกลับบ้านได้เลยหลังการฉีดยา การรักษาเริ่มด้วย แพทย์จะหยอดยาชาให้ผู้ป่วย แล้วจึงฉีดยาด้วยวิธีการปราศจากเชื้อเข้าที่บริเวณเนื้อเยื่อตาขาว ห่างจากขอบตาดำประมาณ 4 มิลลิเมตร จากนั้นผู้ป่วยจะถูกปิดตาซึ่งสามารถเปิดตาได้เมื่อกลับถึงบ้านและสามารถทำ กิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เช่น อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์ แต่มีข้อควรระวังหลังฉีดยา ได้แก่ ไม่ควรขยี้ตาและไม่ควรให้น้ำเข้าตาประมาณ 3 วัน หยอดยาปฏิชีวนะ และมาตรวจตามที่แพทย์นัดหมาย

ภาพตัดขวางจอตา (OCT) แสดงจุดภาพชัดบวมจากภาวะเบาหวานก่อนและหลังการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าวุ้นตา
       มีผู้กังวลถึงการฉีดยาเข้าในวุ้นตาว่า จะอันตรายหรือไม่ โดยทั่วไปหลังการฉีดยา ผู้ป่วยอาจมีอาการตาแดงหรือระคายเคืองตาเล็กน้อย อย่างไรก็ดีจากสถิติทางการแพทย์ พบว่า การรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น การอักเสบติดเชื้อในตา จอตาลอก หรือเลือดออกในตาได้ แต่โอกาสเกิดน้อยกว่าร้อยละ 1 เท่านั้น นอกจากนั้น การฉีดยาบางชนิดอาจทำให้ผู้ป่วยเห็นจุดดำๆ ลอยไปมาจนกว่าตะกอนยาจะละลายหมด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ภายหลังการฉีดยาหากผู้ป่วยมีอาการปวดตา ตาแดง ตามัว หรือมีขี้ตา ควรมาพบแพทย์ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัดหมายนะคะ