homeowners insurance Claim home insurance Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim commercial insurance Claim cheap auto insurance Claim cheap health insurance Claim indemnity Claim car insurance companies Claim progressive quote Claim usaa car insurance Claim insurance near me Claim term life insurance Claim auto insurance near me Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim progressive renters insurance Claim state farm insurance quote Claim metlife auto insurance Claim best insurance companies Claim progressive auto insurance quote Claim cheap car insurance quotes Claim allstate car insurance Claim rental car insurance Claim car insurance online Claim liberty mutual car insurance Claim cheap car insurance near me Claim best auto insurance Claim home insurance companies Claim usaa home insurance Claim list of car insurance companies Claim full coverage insurance Claim allstate insurance near me Claim cheap insurance quotes Claim national insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim health insurance quotes Claim ameritas dental Claim state farm renters insurance Claim medicare supplement plans Claim progressive renters insurance Claim aetna providers Claim title insurance Claim sr22 insurance Claim medicare advantage plans Claim aetna health insurance Claim ambetter insurance Claim umr insurance Claim massmutual 401k Claim private health insurance Claim assurant renters insurance Claim assurant insurance Claim dental insurance plans Claim state farm insurance quote Claim health insurance plans Claim workers compensation insurance Claim geha dental Claim metlife auto insurance Claim boat insurance Claim aarp insurance Claim costco insurance Claim flood insurance Claim best insurance companies Claim cheap car insurance quotes Claim best travel insurance Claim insurance agents near me Claim car insurance Claim car insurance quotes Claim auto insurance Claim auto insurance quotes Claim long term care insurance Claim auto insurance companies Claim home insurance quotes Claim cheap car insurance quotes Claim affordable car insurance Claim professional liability insurance Claim cheap car insurance near me Claim small business insurance Claim vehicle insurance Claim best auto insurance Claim full coverage insurance Claim motorcycle insurance quote Claim homeowners insurance quote Claim errors and omissions insurance Claim general liability insurance Claim best renters insurance Claim cheap home insurance Claim cheap insurance near me Claim cheap full coverage insurance Claim cheap life insurance Claim

วิธีลดกลิ่นปาก (ปากเหม็น) ที่สำคัญได้แก่

(1). ลดอาหาร ที่มีน้ำมันหอมระเหยบางชนิด เช่น หอม กระเทียม ฯลฯ เนื่องจากน้ำมันเหล่านี้ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ และจะซึมออกมาพร้อมกับลมหายใจ
.
(2). ไม่สูบบุหรี่ และไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป
.
(3). น้ำยา บ้วนปากช่วยชั่วคราว ควรเลือกชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ มีฟลูออไรด์ (ป้องกันฟันผุ), และมีสารที่ช่วยป้องกันการเกิดคราบจุลินทรีย์ที่ผิวฟัน
.
(4). แปรงฟันด้วยแปรงขนอ่อนมากให้ถูกวิธี และถี่ถ้วน (ทั่วถึง)
.
คน ส่วนใหญ่แปรงฟันนาน 30-45 วินาที ทางที่ดี คือ ไปเรียนวิธีแปรงฟันถูกวิธีกับอาจารย์หมอฟัน หรือนักทันตอนามัย แปรงเบาๆ นาน 2 นาที วันละ 2 ครั้ง
.
ควร หลีกเลี่ยงการแปรงฟันหลังกินอาหาร ดื่มน้ำ-ยาที่มีฤทธิ์กรดหรือด่าง เช่น ผลไม้ น้ำผลไม้ สลัด ยาลดกรด ยาน้ำ (ยาน้ำส่วนใหญ่แต่งรสด้วยกรดอ่อนกับน้ำตาล) ฯลฯ 30-60 นาที
.
เนื่องจากช่วงที่เคลือบฟันสัมผัสกรดหรือด่างจะอ่อนตัวลงนาน 30-60 นาที, ถ้าแปรงฟันในช่วงนี้จะทำให้เคลือบฟันสึกมาก
.
ทางที่ดี คือ ให้บ้วนปากหลังอาหาร-เครื่องดื่ม-กินยาน้ำหลายๆ ครั้งทันที และบ้วนปากบ่อยๆ จนครบ 30-60 นาที ค่อยแปรงฟัน
.
(5). แปรงลิ้นทุกวัน
.
คราบ จุลินทรีย์มักจะเกาะลิ้นส่วนหลังมากกว่าส่วนหน้า จึงควรแลบลิ้นให้ลิ้นส่วนหลังยื่นออกมา ใช้ด้ามแปรงสีฟัน แปรงทำความสะอาดลิ้น หรือใช้ช้อนที่ไม่คบ-คว่ำลง แล้วขูดลิ้นเบาๆ จากด้านในออกมาทางด้านนอก
.
ลิ้น ของคนเรามีลักษณะคล้ายพรม เป็นแหล่งสะสมคราบหรือเศษอาหาร บูดเน่า และทำให้เกิดกลิ่นปาก, การแปรงลิ้นเป็นประจำจะทำให้เศษอาหารที่ตกค้างลดลงไปได้มาก
.
(6). ใช้ไหมขัดฟัน
.
ควร เรียนวิธีใช้ไหมขัดฟันถูกวิธีจากอาจารย์หมอฟัน หรือนักทันตอนามัย และใช้ไหมขัดฟันเบาๆ ถูฟันให้ทั่วถึงวันละ 1 ครั้ง เพื่อลดคราบจุลินทรีย์ (plaque - พลัค / พล้าค) ที่เกาะอยู่บนผิวฟัน
.






(7). อย่าเชื่อว่า ถ้าเป่าลมหายใจบนมือแล้วไม่เหม็น = ไม่เหม็นจริง
.
การ เป่าลมหายใจออกจะได้ลมจากช่องปากส่วนหน้ามากกว่าด้านหลัง ความจริงของช่องปากก็คล้ายบ้านคนทั่วไป คือ "ส้วมมักจะอยู่หลังบ้าน" หรือกลิ่นปากมักจะมาจากส่วนหลังของช่องปากมากกว่าส่วนหน้า
.
คน เรามักจะไม่ค่อยได้กลิ่นปากตัวเอง เนื่องจากความเคยชิน, วิธีที่ดี คือ ขอความช่วยเหลือจากญาติสนิทมิตรสหายที่ไว้ใจได้ ขอให้ท่านที่เคารพมาช่วยนั่งใกล้ๆ ลมหายใจเราดูว่า เป็นอย่างไร
.
ไม่ควรขอให้แฟนมาทดสอบกลิ่นปาก เนื่องจากความปฏิกูล (ไม่น่าชม ไม่น่าดู) อาจทำให้มิตรภาพเสียหายได้
.
(8). เคี้ยวหมากฝรั่ง
.
การ เคี้ยวหมากฝรั่งชนิดไม่มีน้ำตาลหลังอาหารอย่างน้อย 3 นาที มีส่วนช่วยทำความสะอาดผิวฟัน โดยเฉพาะฟันบน-ล่างด้านที่สบกันได้ดี ทำให้คราบจุลินทรีย์หรือพลัคที่ผิวฟันลดน้อยลง
.
น้ำตาลเทียมมีส่วนทำให้เชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากเจริญเติบโตได้ไม่ดี (ไม่เหมือนน้ำตาลแท้)
.
หมากฝรั่ง 'Trident Recaldent' หรือ "ไตรเด๊นท์" มีน้ำตาลเทียมด้วย มีแคลเซียมที่ช่วยซึมซาบเข้าไปเสริมเคลือบฟันได้ด้วย
.
เวลาซื้อขอให้ดูฉลากอาหารที่กล่อง เลือกชนิดที่มีการระบุว่า ได้รับแคลเซียมร้อยละเท่าไรของที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน (RDA)
.
คนเราเป็นสัตว์ "กลืนน้ำลาย", เคี้ยวไปกลืนไป ทำให้แคลเซียมจากหมากฝรั่งดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้
.
สมมติ เราเคี้ยวหมากฝรั่ง 2 มื้อๆ ละ 2 เม็ด จะได้แคลเซียมประมาณ 20% ของที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน (นม 1 กล่องเล็ก 200 มิลลิลิตร มีแคลเซียมประมาณ 25-30% ของที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน นับเป็นแหล่งแคลเซียมที่น่าสนใจมาก
.
(9). ตรวจสุขภาพช่องปาก
.
การ ไปตรวจสุขภาพช่องปากกับอาจารย์หมอฟัน หรือนักทันตอนามัยทุกๆ 6-12 เดือน จะช่วยป้องกันปัญหากลิ่นปากจากฟันผุ เหงือกอักเสบ ปริทนต์อักเสบ (ปริ = รอบๆ; ทนต์ = ฟัน; รวม = เหงือกและเนื้อเยื่อรอบโคนฟันที่ช่วยพยุงฟันไม่ให้หลุด), คราบจุลินทรีย์ (พลัค) ฝังลึก ซึ่งอาจมีหินปูนเกาะ
.
ที นี้ถ้าดูแลช่องปากอย่างดีแล้ว ยังมีกลิ่นปากหรือปากเหม็น... อาจต้องหาต่อไปว่า มีโรคภูมิแพ้ เช่น จมูกอักเสบบวม อุดทางระบายน้ำไซนัส (โพรงรอบจมูก) หรือไม่ ฯลฯ
.
ธรรมชาติ ของธาตุน้ำในร่างกายคนเรานั้น, ถ้า "นิ่ง" แล้วจะเน่าเหม็นเสมอ พวกเสมหะ-น้ำมูก-น้ำลายก็คล้ายกัน คือ "นิ่งแล้วเน่า" จึงต้องหาทางให้มันไหล หรือเคลื่อนไปเคลื่อนมา จึงจะไม่เน่า
.
การ รักษาภูมิแพ้อาศัยหลักการหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ เช่น ทำห้องให้มีของน้อยที่สุด ทำความสะอาดเป็นประจำ ฯลฯ ใช้ยาแก้แพ้-ยาลดน้ำมูก และออกแรง-ออกกำลังให้หนักหน่อย ลมหายใจจะได้โล่ง
.
(10). ไม่ดื่มหนัก
.
การดื่ม (แอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) หนักทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง ป่วยบ่อย
.






(11). เพิ่มน้ำลาย
.
ถ้า ปากคนเราเป็นชักโครกหรือโถปัสสาวะ... น้ำลายจะทำหน้าที่คล้ายน้ำชำระล้าง ซึ่งวิธีเพิ่มปริมาณน้ำลายที่ดี คือ ดื่มน้ำให้มากและบ่อยพอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำที่จะทำให้ปริมาณน้ำลายลดลง
.
การเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาล หรือการนึกถึงของเปรี้ยวๆ เช่น มะนาว ฯลฯ มีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณการหลั่งน้ำลาย
.
(12). ไม่ดื่มน้ำหวาน-น้ำอัดลม
.
น้ำตาล เป็นอาหารของจุลินทรีย์ในช่องปาก ทำให้กลิ่นปากมากขึ้น ส่วนน้ำอัดลมมีกรดที่ทำให้เคลือบฟันสึก และเปลี่ยนจากของที่มีผิวเรียบเป็นผิวขรุขระ ทำให้จุลินทรีย์จับติดหนึบได้ง่ายขึ้น
.
น้ำอัดลมมีกรดที่ขับออกทางไต ทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียม รัฐบาลควรขึ้นภาษีน้ำอัดลม และประกาศให้ติดรูปคนฟันผุไว้ที่ขวดน้ำอัดลม
.
การศึกษาจากเยอรมนีเร็วๆ นี้พบว่า โรงเรียนที่จัด "น้ำเปล่า" ให้มากพอและทั่วถึงมีส่วนช่วยให้เด็กกินน้ำหวาน-น้ำอัดลมน้อยลง เสี่ยงอ้วนน้อยลง 30%
เดิม เราไม่รู้ว่า "น้ำพุงแห่งความอ่อนเยาว์ (fountain of youth)" อยู่ที่ไหน, การศึกษาเร็วๆ นี้พบว่า โรงเรียนที่มีน้ำพุ หรือน้ำสะอาดชนิดกดดื่มเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ ทำให้เด็กๆ หุ่นดี ดูอ่อนเยาว์กว่าเพื่อนๆ ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนเกือบ 1/3 [ nytimes ]
รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการควรรณรงค์ให้มี "น้ำพุแห่งความอ่อนเยาว์" ทั่วไทยโดยเร็ว บ้านไหนอยากอ่อนเยาว์ก็ควรทำน้ำพุแบบนี้ไว้เช่นกัน
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
credit hnakarin bloggang.com

เปิดเคล็ดลับชะลอชรา แนะสูตรฟื้นสุขภาพทุกช่วงวัย

ที่มา :http://health.kapook.com/view36816.html




สุขภาพดี



เมื่อ อายุเริ่มล่วงเข้าสู่วัยกลางคน หลายคนเริ่มปรากฏอาการของความชราภาพให้เห็น กระทั่งลุกจากเก้าอี้ก็ยังยาก ขึ้นบันไดไม่กี่ขั้นก็ยืนพักหายใจหอบ บางคนเกรงว่าตัวเองกำลังแก่เร็วเกินอายุจริง บางคนตัวยังไม่แก่แต่สังขารบางส่วนของร่างกายเริ่มส่อวี่แววของความสึกหรอ แม้ร่างกายยังดูเป็นปกติดี แต่ความจำและความสามารถในการคิดทำท่าเสื่อมลงตั้งแต่อายุแค่ 45

          หลายคนอยากรู้ว่า อาการของตัวเองเมื่อเทียบกับวัย ถือว่าเข้าใกล้ความแก่แล้วหรือไม่ อาการอย่างไหนถือว่าปกติ แบบไหนถือว่าไม่ปกติ

          ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ในแต่ละช่วงวัยของคนเรานั้น สิ่งที่ถือว่าเป็นเรื่องปกติ และไม่ปกติ จะผันแปรแตกต่างกันไป อวัยวะบางส่วนอาจเข้าสู่ภาวะชราภาพเร็วกว่าอายุจริงราว 5-10 ปี แต่ทั้งหมดนี้มีเคล็ดลับที่จะฟื้นฟูสภาพให้กลับคืนมาได้


ปวดหลัง

ข้อต่อและหลัง

ช่วงอายุ 30-50 ปี

          ปกติ : บางครั้งตื่นนอนรู้สึกปวดคอหรือปวดหลัง, หลังแข็งเมื่อขับรถนานเกิน 2 ชั่วโมง, ปวดขาเมื่อเดินนานครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง, อยากเดินไปมาหลังจากนั่งบนเก้าอี้แข็ง ๆ สักหนึ่งชั่วโมง

          ไม่ปกติ : ปวดตามข้ออย่างรุนแรงหลังเดินหอบหิ้วถุงช็อปปิ้ง, ลุกนั่งเก้าอี้หรือรถเก๋งอย่างยากลำบาก

          ทิม อัลลาร์ไดซ์ แห่งสมาคมโรคกระดูกอังกฤษ บอกว่า อาการเหล่านี้แสดงว่าข้อต่อหรือหลังเริ่มเสื่อมสภาพ อาจเกิดจากการบาดเจ็บ หรือขาดการออกกำลังกาย หรือนั่งผิดท่า รวมทั้งโรคอ้วน

          คำแนะนำ : อย่านั่งอยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานาน หรือนั่งตัวงองุ้มขณะใช้โน้ตบุ๊ก, เมื่อไปออกกำลังกายควรสวมรองเท้าที่ออกแบบโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยลดแรงกดที่ข้อ, หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวในท่าเดิมซ้ำ ๆ มากเกินไป เช่น วิ่งระยะทางไกล ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาที่ข้อ

ช่วงอายุ 50-70 ปี

          ปกติ : เวลาเปลี่ยนผ้าปูที่นอนมีอาการเจ็บตรงนั้นปวดตรงนี้, เอี้ยวคอมองกระจกข้างรถยนต์ไม่สะดวก, ปวดหลังเมื่อนั่งนาน, ปวดขาหรือปวดหลังเมื่อเดินนานครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง

          ไม่ปกติ : ปวดข้อจนตื่นกลางดึก, ไม่สามารถเอี้ยวคอมองกระจกข้างรถได้เลยเพราะคอแข็งหรือปวดคอ, นั่งเก้าอี้เตี้ยหรือโซฟาไม่ได้เพราะปวดเข่า ปวดสะโพก หรือปวดหลัง, ปวดข้อหรือหลังอย่างแรงเมื่อเดิน

          ทิม อัลลาร์ไดซ์ บอกว่า เมื่ออายุเลย 50 ปีขึ้นไป กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจะไม่แข็งแรง เริ่มเสื่อมสภาพ แต่นั่นก็ไม่เป็นเหตุให้ใช้ชีวิตประจำวันยากลำบากขึ้น แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นแสดงว่าข้อต่อได้เสื่อมสภาพก่อนวัย

          คำแนะนำ : ออกกำลังกายในลักษณะเพิ่มความยืดหยุ่น ฝึกโยคะ รำมวยจีน, กินน้ำมันปลา ซึ่งช่วยลดการอักเสบและอาการปวดข้อได้

อายุ 70 ปีขึ้นไป

          ปกติ : ปวดเข่าเมื่อลงบันได, เดินได้ 20 นาทีต้องพัก, หอบหิ้วถุงช็อปปิ้งไม่ไหว ต้องใช้รถเข็น, ชอบนั่งเก้าอี้มากกว่าโซฟาเพราะลุกขึ้นได้ง่ายกว่า, เวลาจะลุกขึ้นจากเก้าอี้ต้องใช้แขนช่วยดันตัวเองเพราะขาอ่อนแรง

          ไม่ปกติ : หายใจไม่ทันเวลาเดินหิ้วถุงเบา ๆ เป็นระยะทางสั้น ๆ, ต้องให้คนอื่นช่วยพยุงลุกจากเก้าอี้

          อัลลาร์ไดซ์บอกว่า คนในวัยนี้มักมีอาการข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่าเมื่อขึ้นลงบันไดหรือถือสิ่งของ และอาการหายใจไม่ทันก็ควรระวัง เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดหัวใจ

          คำแนะนำ : ออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา, คนในวัยนี้จะรู้สึกอยากอาหารน้อยลง ทำให้ดื่มน้ำน้อยและกินน้อย ร่างกายขาดน้ำ ควรดื่มน้ำและกินให้มากขึ้นเพื่อให้มีแรง


ความจำ


 ความจำ

ช่วงอายุ 30-50 ปี

          ปกติ : นึกชื่อใคร ๆ ไม่ออก, จำไม่ได้ว่าวางข้าวของไว้ตรงไหน, ลืมเบอร์โทรศัพท์

          ไม่ปกติ : นึกไม่ออกว่าจอดรถไว้ตรงไหน, จดจำใบหน้า สีสัน รูปร่าง หรือถ้อยคำได้ยาก, วางของผิดที่ เช่น เอากุญแจรถใส่ไว้ในตู้เย็น

          ดร.แคทริโอนา มอร์ริสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านความจำของมหาวิทยาลัยลีดส์ บอกว่า ปัญหาเรื่องความจำเป็นส่วนหนึ่งของภาวะชราภาพ จึงไม่ต้องกังวลเมื่อเริ่มหลงลืม สมองจะหดตัวเมื่อแก่ลงจนถึงอายุ 80 ปี น้ำหนักของสมองจะลดลง 15% หากมีปัญหาเรื่องความจำอย่างรุนแรง อาจเป็นสัญญาณของโรคสมองเสื่อม

          คำแนะนำ : ถ้าเราไม่ใช้งานสมองก็จะฝ่อ ควรทำกิจกรรมที่กระตุ้นสมอง และควรทำอะไรใหม่ ๆ บ้าง เช่น เข้าร้านอาหารที่ไม่เคยเข้า เพราะใยประสาทจะสร้างการเชื่อมต่อใหม่ ๆ เมื่อเรากำลังเรียนรู้หรือทำอะไรใหม่ ๆ

ช่วงอายุ 50-70 ปี

          ปกติ : ลืมนัดกับหมอ, เดินเข้าไปในห้องแล้วนึกไม่ออกว่าตัวเองเข้ามาทำไม

          ไม่ปกติ : ร้องขอชามาดื่มสักถ้วย ลืมไปว่าตัวเองได้ดื่มไปแล้ว, ไม่รู้ว่าคนไหนเป็นลูกหรือหลาน แต่ยังจำวัยเด็กของตัวเองได้ดี, วางของผิดที่ เช่น เอากาต้มน้ำใส่เข้าตู้เย็น

          ดร.โอลิเวอร์ ค็อกเคอเรล นักประสาทวิทยาแห่งเดอะลอนดอนคลินิก บอกว่า เรามักสูญเสียความจำระยะสั้นได้ง่าย แต่ถ้ามีปัญหาความจำอย่างหนักก็อาจเป็นสัญญาณของโรคสมองเสื่อม ซึ่งพบมากในคนวัย 65 ขึ้นไป

          คำแนะนำ : การออกกำลังกายช่วยเก็บรักษาความทรงจำ และลดความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมได้

อายุ 70 ปีขึ้นไป

          ปกติ : มักหลงลืมเหมือนตัวอย่างข้างต้น

          ไม่ปกติ : ความจำสับสน เช่น ไม่สามารถชงชาได้ เพราะนึกไม่ออกว่าเขาชงกันอย่างไร, เปิดเตาแก๊สทิ้งไว้หลังทำอาหารเสร็จ

          ดร.มอร์ริสัน บอกว่า ปัญหาความจำจะมีลักษณะไม่ต่างกันในคนต่างช่วงอายุ เพียงแต่จะรุนแรงขึ้น คนอายุ 65 มีอัตราของโรคสมองเสื่อม 5% เมื่ออายุ 80 อัตรานี้จะเพิ่มเป็น 20%

          คำแนะนำ : ใช้หัวคิดบ่อย ๆ เช่น พูดคุย หรือเล่นปริศนาอักษรไขว้

          หากเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ต้องควบคุมน้ำตาลในเลือด เพราะผู้ป่วยโรคนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสองเท่าที่จะมีปัญหาความจำ น้ำตาลในเลือดที่สูงเรื้อรังจะทำลายเซลล์สมอง


แปรงฟัน



 ฟัน

ช่วงอายุ 30-50 ปี

          ปกติ : สีของฟันเปลี่ยนเล็กน้อย สูญเสียเคลือบฟัน เหงือกอักเสบ

          ไม่ปกติ : ฟันหลุด ฟันโยก ปวดฟัน เลือดออกตามไรฟัน

          ดร.ไนเจล คาร์เตอร์ แห่งมูลนิธิสุขภาพฟันอังกฤษ บอกว่า เมื่ออายุมากขึ้นฟันของเราจะเกิดคราบเปื้อนโดยธรรมชาติ เพราะผลึกในเคลือบฟันได้แตกหลุดไป ทำให้ชาหรือไวน์แทรกซึมได้

          แต่การสูญเสียฟันในช่วงวัยนี้ถือเป็นภาวะชราก่อนวัย ซึ่งมักเกิดเพราะโรคเหงือก การบดหรือขบฟันเพราะความเครียดจะทำให้ฟันสึกก่อนวัย

          คำแนะนำ : การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงจะช่วยลดโอกาสของการเป็นโรคเหงือกได้ และควรใช้ไหมขัดฟัน

ช่วงอายุ 50-70 ปี

          ปกติ : เหงือกร่น, ฟันคล้ำ โดยเฉพาะโคนฟัน, ฟันหลุดบางซี่

          ไม่ปกติ : ฟันดูเหลืองจัด, ฟันคลอน

           ดร.คาร์เตอร์บอกว่า อาการเหงือกร่นทำให้ฟันดูยาวขึ้น ถ้าเหงือกร่นจนถึงคอฟันหรือเกือบถึงรากฟันในบริเวณเหนือเคลือบฟัน ฟันอาจหลุดได้ เพราะรากไม่ได้รับการปกป้อง

          คำแนะนำ : คำแนะนำ : ต้องใช้วิธีการป้องกันตามหลักอนามัยช่องปากก่อนที่จะมาถึงจุดนี้

อายุ 70 ปีขึ้นไป

          ปกติ : ใส่ฟันปลอม, ฟันเป็นคราบเปื้อน, ฟันบิ่น, ฟันหลุด

          ไม่ปกติ : เจ็บปาก ซึ่งเกิดเพราะปากแห้งเนื่องจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด โดยเฉพาะยาโรคหัวใจ ความดันโลหิต และโรคซึมเศร้า

          คำแนะนำ : ใช้เจลหรือสเปรย์ช่วยลดอาการปากแห้ง


ออกกำลังกาย



การออกกำลังกาย

ช่วงอายุ 30-50 ปี

          ปกติ : หายใจหอบเล็กน้อยหลังจากเดินขึ้นบันได 3 ขั้น

          ไม่ปกติ : เหนื่อยหอบอย่างมากเมื่อเดินขึ้นบันได 3 ขั้นจนขึ้นต่อไปไม่ไหว ปวดหัว ตาลาย หยุดหายใจปุบปับ หรือก้าวลงจากลังสูง 2 ฟุตได้ยาก

          กล้ามเนื้อหัวใจจะหดตัวเฉลี่ย 0.3 กรัมต่อปีเมื่อล่วงเข้าวัยกลางคน ส่งผลต่อการสูบฉีดโลหิต ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และมีอาการหอบฮัก

          การออกกำลังกายส่งผลดีต่อหัวใจ การไม่ออกกำลังกายเป็นเหตุให้ผู้คนราว 1 ใน 5 เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

          คำแนะนำ : ควรออกกำลังกายหนักปานกลางวันละ 30 นาที เช่น เดินจนรู้สึกเหนื่อย สัปดาห์ละอย่างน้อย 5 วัน การออกกำลังควรทำอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 10 นาที

ช่วงอายุ 50-70 ปี

          ปกติ : หายใจหอบเล็กน้อยเมื่อขึ้นบันได 2 ขั้นต่อเนื่องกัน

          ไม่ปกติ : หน้ามืดเมื่อออกแรง หรือลุกขึ้นยืน เช่น ลุกจากท่านั่งยองขณะทำสวน

          ดร.ทอม คริสป์ แพทย์ด้านการกีฬาแห่งคลินิกบูปา บอกว่า อาการหน้ามืดตาลายบ่งบอกว่า หัวใจและการหมุนเวียนโลหิตไม่สามารถปรับสภาพได้ และคนคนนั้นอาจเป็นโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด ถ้าเส้นเลือดหัวใจตีบร่างกายก็จะใช้เวลาปรับสภาพนานขึ้น

          คำแนะนำ : เดินจ้ำ, ทำสวน, เดินสายพาน, ไม่นั่งนานเกิน 30 นาที ไม่ว่าเป็นการนั่งหน้าจอทีวี คอมพิวเตอร์ หรือนั่งขับรถ

อายุ 70 ปีขึ้นไป

          ปกติ : หายใจหอบเล็กน้อยเมื่อขึ้นบันได 1 ขั้น, สามารถยืนด้วยสองเท้าโดยหลับตา และตัวไม่ส่ายไปมาได้เป็นเวลาแค่ 10-15 วินาที

          ไม่ปกติ : ถ้าทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ควรไปพบแพทย์

          คำแนะนำ : ทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย


หู



หู

ช่วงอายุ 30-50 ปี

          ปกติ : ฟังคำพูดไม่ได้ยินท่ามกลางเสียงดังรอบตัว

          ไม่ปกติ : ต้องเงี่ยหูฟังเวลาคุยกับคนอื่นในร้านอาหาร, รู้สึกว่าคนอื่นพูดพึมพัม, ฟังเสียงแหลมสูง หรือเสียงของเด็กและผู้หญิงได้ลำบาก

          การสูญเสียการได้ยินเนื่องจากอายุ เกิดจากเซลล์ "ขน" ในหูชั้นในได้ตายไป แต่การมีคนในครอบครัวมีอาการนี้ หรือการได้ยินเสียงดังตลอดเวลา หรือการสูบบุหรี่ ก็เพิ่มความเสี่ยงด้วยเช่นกัน เรื่องพวกนี้ไม่น่าจะเป็นปัญหาก่อนอายุ 55 ปี

          คำแนะนำ : การสูญเสียการได้ยินก่อนวัย มักเกิดจากการฟังเพลงเสียงดัง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้หูฟังเพื่อลดเสียงดังรอบข้าง เราจะได้ไม่ต้องเปิดเพลงดังลั่น

ช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป

          ปกติ : ฟังเสียงปกติในชีวิตประจำวันไม่ค่อยได้ยิน โดยเฉพาะในสถานที่เสียงดัง, ลูกหลานร้องว่าเปิดโทรทัศน์หรือวิทยุเสียงดังเกินไป

          ไม่ปกติ : หูอื้อ หูตึง ฟังอะไรแทบไม่ได้ยิน

          เมื่ออายุเกิน 55 ปี เป็นเรื่องธรรมดาที่จะสูญเสียการได้ยินเนื่องจากความสูงวัย และเมื่อมีอายุถึง 70 ปี ผู้คนราว 70% จะมีอาการนี้ แต่ในบางกรณีซึ่งพบได้ยากนั้น การสูญเสียการได้ยินของหูข้างหนึ่ง พร้อมมีอาการหูอื้อ คลื่นไส้ ตาลาย อาจเป็นสัญญาณของเนื้องอกในหูชั้นใน

          คำแนะนำ : ใช้เครื่องช่วยฟัง

          ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ผู้คนมักไม่ยอมใช้เครื่องช่วยฟังจนกระทั่งวัยล่วงเข้า 70 ตอนกลาง แต่ถ้าเราใช้แต่เนิ่น ๆ สมองจะปรับตัว ถ้ามัวแต่รอจนแก่ เซลล์สมองจะตีความเสียงด้วยความยากลำบาก


ดวงตา

ดวงตา

ช่วงอายุ 30-50 ปี

          ปกติ : ไม่สามารถอ่านตัวอักษรขนาดเล็กได้, ต้องการแสงสว่างมากในการอ่าน

          ไม่ปกติ : เห็นภาพมัว, กรอบการมองเห็นแคบลง

          โซนัล รูกานี แพทย์วัดสายตา สถาบันคนตาบอดแห่งชาติ อังกฤษ บอกว่า การอ่านตัวหนังสือขนาดเล็กได้ยาก เป็นสัญญาณของการสูญเสียการมองเห็น เนื่องจากเลนส์ตามีความยืดหยุ่นน้อยลง

          การมองเห็นภาพพร่ามัวอาจเป็นสัญญาณของโรคต้อ มักเกิดกับคนในวัย 70 แต่บางคนเริ่มมีอาการตั้งแต่วัย 50 เนื่องจากโรคเบาหวาน ขณะที่โรคต้อหินมักเกิดในวัย 70

          คำแนะนำ : การสูบบุหรี่เร่งให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับดวงตา จึงควรเลิกสูบเสีย

ช่วงอายุ 50-70 ปี

          ปกติ : มองภาพพร่ามัว มีจุดบังการมองเห็น เลนส์ตากลายเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาล

          ไม่ปกติ : มองเห็นภาพเบลออย่างปุบปับ, มองเห็นเส้นตรงเป็นเส้นหยัก

          ในช่วงวัยนี้มักเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งทำให้เห็นภาพเบลอ เนื่องจากความผันผวนของระดับน้ำตาล

          การมองเห็นเส้นตรงเป็นเส้นหยักเป็นสัญญาณของอาการกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการตาบอด

          กล้ามเนื้อเสื่อมสภาพมักเกิดขึ้นในวัย 70 การสูบบุหรี่ หรือการมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ อาจทำให้กล้ามเนื้อเสื่อมเร็วขึ้น

          คำแนะนำ : ตรวจสอบดวงตาคราวละหนึ่งข้าง เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถมองเห็นเส้นตรงในแนวดิ่งได้ หากตรวจพบแต่เนิ่น ๆ จะสามารถป้องกันโรคกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพได้ ระวังการกินไขมัน และพยายามกินกรดไขมันโอเมกา-ทรี ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพได้

อายุ 70 ปีขึ้นไป

          ปกติ : มองเห็นภาพมัว, ตาแห้ง, มีน้ำตาไหล

          ไม่ปกติ : มองเส้นตรงเป็นเส้นหยัก ในอังกฤษ คนวัยเกิน 70 ราว 40% เป็นโรคต้อ และเกือบครึ่งมีอาการกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพ

          คำแนะนำ : ควรตรวจวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้ตาบอด

9 วิธีลดหน้าท้องได้เร็วทันใจ

เวลาพูดถึงการลดหน้า
ท้อง หลายๆ คนอาจจะนึกว่ามีแค่การลดไขมันหน้าท้อง
หรือการควบคุมน้ำหนักเท่านั้น แต่จริงๆ
แล้วสิ่งที่ทำให้เราดูมีหน้าท้องอ้วนอืดนั้นมีอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ
“แก๊สในทางเดินอาหาร” ค่ะ แก๊สในทางเดินอาหารนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
อาการท้องผูก อาหารเป็นพิษ พฤติกรรมการกินที่เร่งรีบ
และผลที่ตามมาก็จะเป็นพุงกลมๆ (ที่ยังไม่นับไขมัน)
ซึ่งหากเรากำจัดเจ้าพุงลมนี้ไปได้ เผลอๆ
หน้าท้องของคุณจะลดลงไปเป็นนิ้วทั้งที่ยังไม่ต้องเริ่มลดน้ำหนักเลยด้วยซ้ำ ส่วนวิธีการจะมีอย่างไรบ้างนั้น ตามอ่านได้ด้านล่างเลยค่ะ











No.1 ทานอาหารที่มีเส้นใย


คนที่มีการขับถ่ายไม่ค่อยดี
หรือมีอาการท้องผูกลองสังเกตดูว่าพุงจะโตกว่าเวลาปกติ
สาเหตุก็เนื่องมาจากมีแก๊สอยู่ในทางเดินอาหารอยู่เยอะ
รวมถึงมีอะไรคั่งค้างอยู่ในลำไส้ทำให้ท้องอืดบวม
ทานอะไรเข้าไปใหม่ก็ย่อยได้ไม่เต็มที่




วิธีแก้ก็ง่ายๆ ค่ะพยายามทานผักผลไม้เพื่อช่วยในการขับถ่าย
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว และหัดถ่ายตอนเช้าให้เป็นนิสัย
เพราะช่วงเวลานั้นลำไส้ใหญ่จะบีบตัวได้ดี ทำให้คุณขับถ่ายได้ง่ายขึ้นค่ะ






No.2 ระวังอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ หรือการแพ้น้ำตาลแลคโตส


เวลาที่เราเกิดอาการอาหารเป็นพิษ
แก๊สในทางเดินอาหารจะเยอะทำให้ท้องอืดบวม
จุดนี้ส่วนมากถ้าพักผ่อนและปรับนิสัยการกินก็จะหายไปได้เอง
ส่วนใครที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองแพ้อะไรบ้าง หรือเป็นหนัก
ก็ควรไปปรึกษาคุณหมอค่ะ อย่าวินิจฉัยด้วยตัวเองว่าเราน่าจะแพ้อะไรบ้าง




การแพ้อาหารอีกอย่างที่มักจะไม่รุนแรงนักคือการแพ้น้ำตาลแลคโตสในนม
ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้
ทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้เข้ามาย่อยสลายจนเกิดเป็นกรดและแก๊ส
(ซึ่งทำใหเกิดพุงลมในเวลาต่อมา)
แต่การแพ้นี้ก็ไม่ถึงกับเป็นอันตรายต่อร่างกายนะคะ จริงๆ
แล้วคนไทยนั้นแพ้แลคโตสกันเกือบๆ 90% เลยทีเดียว
ทำให้หลังทานนมเราอาจเกิดอาการท้องอืดหรือเรอขึ้นมา




อย่างไรก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องเลิกทานนมไปเลย (ไม่แนะนำด้วย)
เพียงแต่ให้ดื่มทีละน้อยๆ และดื่มในขณะที่ท้องไม่ว่าง
หรือจะเลือกทานผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการหมัก เช่น โยเกิร์ต
ก็จะช่วยลดการเกิดแก๊สได้ค่ะ






No.3 ทานอาหารให้ช้าลง


เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ทานอย่างช้าๆ จะช่วยลดการเกิดลมในกระเพาะได้ และจะช่วยให้กระเพาะอาหารสามารถย่อยอาหารให้ดีขึ้นด้วย
นอกจากนั้นการทานอาหารทีละช้าๆ จะช่วยให้เราทานได้น้อยลงด้วย เพราะกระเพาะอาหารจะต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะรู้สึกอิ่ม
ถ้าเรารีบทานไปตอนที่ยังหิวๆ บางครั้งเราก็อาจเผลอทานอาหารมากกว่าปริมาณที่เราต้องการจริงๆ ไปก็ได้ค่ะ






No.4 ลดละ(หรือเลิก)น้ำอัดลม


ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นน้ำที่มีการอัดแก๊สเข้าไป
จึงเป็นที่แน่นอนว่าทานเข้าไปแล้วคุณต้องได้ลมเพิ่มในทางเดินอาหารแน่นอน
นอกจากนั้นน้ำอัดลมยังมีน้ำตาลในปริมาณสูงมากกกก ประมาณ 2
เท่าของปริมาณที่แนะนำต่อวัน ดังนั้นถ้าเราลดน้ำลมลงได้
นอกจากลดพุงลมแล้วก็ยังลดน้ำหนักได้จริงๆ อีกด้วยล่ะค่ะ






No.5 อย่าเคี้ยวหมากฝรั่งเยอะเกินไป


บางคนอาจชอบเคี้ยวหมากฝรั่งไว้ทดแทนความอยากทานขนม
หรือช่วยเรื่องโรคกรดไหลย้อน
เพียงแต่ถ้าคุณเคี้ยวมากเกินไปมันก็จะก่อให้เกิดลมในทางเดินอาหารได้
(ซึ่งมักเกี่ยวพันกับอาการอาหารไม่ย่อย)
ดังนั้นใครที่เคี้ยวตลอดเวลาก็ควรหยุดพักบ้าง
แล้วเปลี่ยนมาทานของคบเคี้ยวไขมัน + น้ำตาลต่ำ หรือของว่างจำพวกผลไม้แทน








No.6 ระวังอาหารประเภท “Sugar Free”


ฉลากอาหารประเภท Sugar Free ส่วนมากจะหมายถึงการ “ปราศจากซูโครส”
แต่ยังมีน้ำตาลแบบอื่นๆ อยู่ด้วย โดยเฉพาะน้ำตาลแอลกอฮอลล์
ที่อาจจะดูเหมือนไม่ทำให้คุณอ้วน แต่ความจริงแล้วถ้าคุณทานมากๆ
ก็มีส่วนก่อให้เกิดพุงลมได้เช่นกันค่ะ นอกจากนั้น
หากทานมากเกินกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวัน ยังอาจก่อให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะคลื่นไส้ ได้ด้วย




การทานผลิตภัณฑ์ Sugar Free หรือการใช้สารทดแทนความหวานแทนน้ำตาล
ควรจำกัดอยู่แค่อาหารประเภทเครื่องดื่มเท่านั้น และไม่ควรทานเกิน 2-3
แก้วต่อวัน






No.7 ทานเกลือให้น้อยลง


อาหารรสเค็ม
โดยเฉพาะอาหารที่ทำจากเกลือส่งเสริมให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ง่าย
และมีส่วนทำให้เกิดสิวด้วย จำกัดปริมาณไว้ที่ไม่เกิน 1,500 – 2,300 mg
ต่อวันจะดีต่อหน้าท้อง และไตของเราอีกด้วยค่ะ






No.8 ทานอาหารให้บ่อยมื้อขึ้น แต่ลดปริมาณ


ข้อนี้นอกจากลดแก๊ส และยังช่วยลดน้ำหนักด้วย หั่นอาหารมื้อใหญ่ๆ 3
มื้อให้เป็นมื้อย่อยประมาณ 5 – 6 มื้อ (ดูปริมาณแคลอรีต่อมื้อให้ดีด้วย)
ระวังอาหารจำพวกไขมันทรานส์อย่าให้มีมากเกินไป
เชื่อได้ว่าหน้าท้องคุณต้องยุบแน่ๆ ค่ะ






N0.9 ทานอาหารที่ช่วยลดการเกิดแก๊ส


เคยมีการศึกษาพบว่า ชาเปปเปอร์มินท์ ขิงหรือน้ำขิง โยเกิร์ต
และสับปะรด มีแบคทีเรียที่ดีบางชนิดอยู่ซึ่งจะช่วยลดอาการพุงป่องลงได้
แนะนำให้ลองทานอาหารเหล่านี้หลังมื้ออาหาร หรือทานเป็นของว่างดูนะคะ




http://www.goodlywomen.com

มะเร็ง วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นของมะเร็งชนิดต่างๆ

อาการต่าง ๆ ของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน สามารถบอกอะไรเราได้หลายๆ อย่างคะ เพียงแค่ใส่ใจ และสังเกตเห็น โรคร้ายก็ไม่สามารถทำอันตรายเราได้
วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นของมะเร็งชนิดต่างๆ
1. มะเร็งปากมดลูก
อาการ มีเลือดออกจากช่องคลอดทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เวลารอบเดือนปกติของคุณอาการเจ็บปวด และมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หากพบว่ามีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น การตรวจโดยขูดเนื้อเยื่อจากบริเวณดังกล่าวไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์จะรู้ได้


2. มะเร็งในมดลูก
อาการ มีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์ หรือบางครั้งอาจมีความรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อ หรือมีอาการบวมในช่องท้อง


3. มะเร็งรังไข่
อาการ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือการมีอาการเจ็บปวดหลังการมีเพศสัมพันธ์ มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย น้ำหนักลด และมีอาการปวดหลัง


4. มะเร็งในเม็ดเลือด (ลูคีเมีย)
อาการเ หนื่อยง่ายแ ละมีอาการซีดเซียวกว่าปกติมักเกิดอาการฟกช้ำดำเขียว หรือมีเลือดออกทางผิวหนังได้ง่าย โดยไม่ทราบสาเหตุ และมักจะเกิดร่วมกับอาหารปวดตามข้อต่าง ๆ ทั่วร่างกายบางครั้งจะท้องอืด และเมื่อคลำดูจะพบว่ามีก้อนบวม ที่ด้านซ้ายของช่องท้อง


5. มะเร็งปอด
อาการ มักมีอาการไอบ่อย ๆ มีเลือดออก และมีเสมหะปนมากับน้ำลาย น้ำหนักลดอย่างฮวบฮาบ เจ็บหน้าอกแล ะหายใจลำบากห รืออาจมีอาการหอบปนอยู่ด้วยทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน


6. มะเร็งตับ
อาการ ปวดในช่องท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลดตาและผิวเป็นสีออกเหลืองและเหลืองจัดจนเห็นได้ชัด


7. มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
อาการ มีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ


8. มะเร็งสมอง
อาการ ปวดศีรษะนาน ๆ และมักมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่นอาเจียน หรือการผิดปกติของการมองเห็นตาพร่า และเห็นแสงเขียว ๆ แดง ๆ ลอยไปมาเวลาปวดศีรษะ อ่อนเพลียไม่มีแรง หรือการเป็นลมโดยกะทันหันอวัยวะบางส่วน ของร่างกายหยุดทำงาน เช่น มีอาการชา และเป็นอัมพาตชั่วคราวควรให้ความระวังเป็นพิเศษ หากคุณเคยมีประวัติการปวดหัวที่มีอาการเหล่านี้ประกอบอยู่ด้วย


9. มะเร็งในช่องปาก
อาการ มีก้อนบวมอยู่ในปาก หรือทีลิ้นเป็นเวลานานมีแผลเปื่อยที่ปากที่ไม่ได้รับการรักษา หรือเป็นแผลเรื้อรังที่เหงือก เนื่องจากการกดทับของฟันปลอมที่ใส่ไว้ประจำ หรือเป็นเวลานาน


10. มะเร็งในลำคอ
อาการ เสียงแหบพร่าไปทันที มีก้อนบวมในทันทีทำให้รู้สึกว่ากลืนอาหารได้ลำบาก หรือมีการขยายตัวของต่อมในลำคอ ที่โตขึ้นจนสามารถจับและรู้สึกได้




11. มะเร็งในกระเพาะอาหาร
อาการ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อาเจียนออกมาเป็นเลือดท้องอืด หรืออาหารไม่ย่อยบ่อย รู้สึกเหมือนมีก้อนเนื้องอกในช่องท้อง หรือรู้สึกตื้อ แม้เพิ่งจะรับประทานอาหารไปได้ไม่กี่คำ
12. มะเร็งทรวงอก
อาการ มีเลือด หรือของเหลวบางอย่างไหลออกมาจากหัวนมบวม หรือผิวเนื้อทรวงอกหนาขึ้น มีก้อนบวมจนจับได้ เมื่อคลำบริเวณ ใต้รักแร้ บางครั้งอาจมีตุ่ม หรือสิวเกิดขึ้นที่เต้านม เป็นเวลานาน ควรระวัง เพราะผู้หญิง 9 ใน 10 คน จะมีอาการบวมของก้อนเนื้อ บริเวณทรวงอก โดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อมีอายุมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้เกิดเป็นถุงน้ำใต้ผิวหนัง ที่เรียกว่าซีสต์ ซึ่งควรต้องค้นหาสาเหตุของอาการบวมนั้น ให้ชัดเจนเสียก่อนว่าคืออะไรกันแน่


13. มะเร็งลำไส้
อาการ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วมีอาการปวดท้องอย่างมาก และระบบการย่อยผิดปกติ มีเลือดออก ปนมากับอุจจาระ
****ซึ่งมีวิธีสังเกตของผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับริดสีดวงทวารอยู่แล้ว คือถ้าใช้กระดาษทิชชูซับแล้ว เลือดมีสีแดงสดนั่น คืออาการของริดสีดวงทวาร แต่ถ้าเลือดมีสีดำคล้ำนั่นคือ อาการของโรค มะเร็งในลำไส้


14. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
อาการ มีก้อนบวมเกิดขึ้นที่ใต้รักแร้หรือใต้ขาหนีบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไม่ได้เกิดอาการติดเชื้อ ในบางส่วนของร่างกายมะเร็งผิวหนัง อาการมีแผลหรือแผลเปื่อยพุพอง ที่ไม่ได้รับการรักษาอยู่เป็น เวลานาน ตลอดจนไฝหรือหูดที่โตขึ้น และมีการเปลี่ยนสีหรือรูปร่าง ขนาด นอกจากนี้ อาการอันตราย อีกอย่างหนึ่งที่ เรียกว่าเมลาโนมา (Melanoma) คือเนื้องอกที่ประกอบด้วย เซลล์ที่มีเมลานิน สะสมอยู่ เช่น กระจุดด่างหรือไฝถ้าคุณมีไฝมากกว่า 50 เม็ดทั่วร่างกาย หรือมีคนในครอบครัวที่มีประวัติ ว่าเคยเป็นโรคนี้มาก่อน คุณจะมีอัตราเสี่ยงสูงกว่าคนอื่นๆ

รู้จักยาลดความอ้วนกันเถอะ

ความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหลายชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหัวใจ โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคทางระบบเดินหายใจ (sleep apnea, pickwickian syndrome) โรคข้อเสื่อม โรคเกาท์ และโรคมะเร็งหลายชนิด การลดน้ำหนักเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วนเพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนดังกล่าว


สำหรับการรักษาโรคอ้วนนั้นมีหลายวิธี ได้แก่


การควบคุมอาหาร
การออกกำลังกาย
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต
การใช้ยาลดน้ำหนัก
การผ่าตัดดูดไขมัน


ผู้ป่วยบางรายสามารถที่จะลดน้ำหนักได้ดีโดยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถควบคุมด้วยวิธีการดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่ ผู้ป่วยอาจต้องมีการใช้ยาลดน้ำหนักร่วมด้วยหรือได้รับการผ่าตัดในบางราย


สำหรับการใช้ยาลดน้ำหนักในปัจจุบันมีข้อถกเถียงกันมากทั้งในแง่ของประสิทธิภาพของยา ระยะเวลาที่ให้การรักษาและผลข้างเคียงของยา นอกจากนี้การใช้ยายังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในปัจจุบันมีแนวคิดที่จะใช้ยาในระยะยาวเพื่อทำให้ควบคุมน้ำหนักได้เป็นระยะเวลานานมากขึ้น แต่คงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาร่วมด้วย 1


ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยาลดน้ำหนัก


1. การใช้ยาลดน้ำหนักนั้น ยาเพียงแต่ช่วยควบคุมน้ำหนักให้ลดลงและคงที่ แต่ยาไม่ได้รักษาโรคอ้วนให้หายไป เช่นเดียวกับโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงการให้ยาเพียงแต่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตลดลง ดังนั้นการหยุดยาลดน้ำหนักอาจจะทำให้น้ำหนัก เพิ่มใหม่ได้


2. การใช้ยาลดน้ำหนักจะได้ผลดีต้องใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยยาอาจช่วยควบคุมน้ำหนักโดยทำให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายได้ถูกต้องยิ่งขึ้น


3. การใช้ยาลดน้ำหนัก ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ แต่พบว่าแพทย์จำนวนไม่น้อยใช้ยาลดน้ำหนักโดยที่ผู้ป่วยไม่มีข้อบ่งชี้ที่เหมาะสมทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน ในบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้


4. การใช้ยาในระยะยาว ควรพิจารณาเป็นราย ๆ ควรคำนึงถึงความปลอดภัย และผลที่ได้จากการใช้ยา ปัจจุบันเริ่มมียาใหม่ซึ่งมีข้อมูลในการใช้รักษาในระยะยาวมากขึ้น


ควรใช้ยาลดน้ำหนักเมื่อใด


การเลือกใช้ยาลดน้ำหนักในการรักษาโรคอ้วนนั้น ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการรักษา ความคุ้มและประโยชน์ที่ได้รับจากการรักษาด้วยยา ตรวจดูว่าผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่ ตรวจวัดระดับดัชนีมวลกายโดยคำนวณจากอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักตัวหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อความสูงหน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง สำหรับข้อแนะนำ ในการตัดสินใจรักษาด้วยยามีดังนี้


1. เมื่อดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วไม่สามารถลดน้ำหนักได้จนถึงเป้าหมาย


2. เมื่อดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 27 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงหรือไขมันในเลือดผิดปกติโดยที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการ ควบคุมอาหาร การออกกำลังกายและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วไม่สามารถลดน้ำหนักได้


ควรลดน้ำหนักเท่าไรจึงจะดี


ในการลดน้ำหนักในผู้ป่วยโรคอ้วนนั้นพบว่าการที่จะลดน้ำหนักลงให้เท่ากับน้ำหนักผู้ป่วยควรจะเป็น (ideal body weigh) นั้นกระทำได้ยากและอาจไม่มีความจำเป็น จากการศึกษาพบว่า การที่สามารถลดน้ำหนักได้เพียงร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักเริ่มต้นก่อนการรักษาจะช่วยลดการเกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วนและลดอัตราตายได้ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือการที่ผู้ป่วยควบคุม น้ำหนักให้คงที่ไม่ให้เพิ่มขึ้นเนื่องจากข้อมูลโดยส่วนใหญ่พบว่าผู้ป่วยมักจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจนถึงระดับเดิมก่อนการรักษาภายหลังการหยุดยา


ชนิดของยาลดน้ำหนัก


สามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้


1. Appetite suppressants: เป็นยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลางเพื่อควบคุมความหิว ทำให้รู้สึกอิ่ม ยาในกลุ่มนี้ยังแบ่งย่อยได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่


1.1 Noradrenergic agents : Phentermine, Diethylpropion, Phenylpropanolamine, Benzphetamine, Mazindol และPhendimetrazine


1.2 Serotoninergic agents : Dexfexfluramine, Fenfluramine และ Fluoxetine ปัจจุบันยา Dexfexfluramine และ Fenfluramine ได้ยกเลิกการจำหน่ายจากท้องตลาดเนื่องจาก ผลข้างเคียงทำให้เกิดลิ้นหัวใจผิดปกติ และเกิด pulmonary hypertension ทั้งในกรณีที่ใช้ตัวเดียวหรือร่วมกับ Phentermine


1.3 Noradernergic / serotoninergic agents : Sibutramine


2. Thermogenic agents: เป็นยากลุ่มที่ช่วยทำให้ความอยากอาหารลดลงร่วมกับการเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ยากลุ่มนี้ได้แก่


2.1 Adrenergic agents : ephedrine-caffeine


2.2 b3 – adrenergic receptor agonist


3. Digestion inhibitors : ยาที่ช่วยยับยั้งการดูดซึมโดยเฉพาะอาหารพวกไขมัน ได้แก่ lipase inhibitor (Orlistat)


4. Hormonal manipulation เป็นยาใหม่ที่เริ่มนำมาใช้ในการรักษาเพื่อลดน้ำหนัก


ได้แก่ leptin analogue, Neuropeptide Y antagonist, cholecystokinin, glucagon และ glucagon-like peptide-1


หลักการใช้ยาลดน้ำหนัก


1. ก่อนที่จะเริ่มใช้ยาลดน้ำหนัก ควรจะให้การรักษาด้วยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน ในกรณีที่ให้การรักษาดังกล่าวแล้วน้ำหนักลดเกินร้อยละ 10 การใช้ยาลดน้ำหนักอาจไม่มีความจำเป็นในผู้ป่วยกลุ่มนี้


2. ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาลดน้ำหนักเป็นระยะเวลา 3 เดือนแล้ว ถ้าน้ำหนักลดลงน้อยกว่าร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตัวก่อนเริ่มใช้ยา ควรพิจารณาเลิกใช้ยาดังกล่าวเนื่องจากมีการศึกษาพบว่าถ้าใช้ยาต่อไปจะไม่ได้ผลและอาจเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงของยาได้


3. ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาลดน้ำหนักเป็นระยะเวลา 3 เดือน ถ้าน้ำหนักลดลงมากกว่า ร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวก่อนเริ่มใช้ยา แสดงว่าการใช้ยาได้ผล อย่างไรก็ตามควรต้องติดตามผู้ป่วยทุกเดือน ในกรณีที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 กิโลกรัม ขณะได้รับยาลดน้ำหนักอยู่ควรพิจารณาเลิกการใช้ยาดังกล่าวเช่นกัน ส่วนในกรณีที่ยังควบคุมน้ำหนักได้ดี จะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของยารวมทั้งผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ในการใช้ยาระยะยาวและควรติดตามผู้ป่วยตลอดการใช้ยา


ข้อห้ามใช้ของยาลดน้ำหนัก


1. อายุน้อยกว่า 18 ปี เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับผลของยาต่อ puberty และเด็กในวัยเจริญเติบโต


2. สตรีตั้งครรภ์


3. ดัชนีมวลกายไม่ถึงเกณฑ์ (ดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ยกเว้นมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูงหรือไขมันในเลือดผิดปกติให้ใช้ค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 27 กิโลกรัมต่อตารางเมตร


ลดความอ้วน


วิธีลดน้ำหนัก




ที่มา: ชมรมลดความอ้วน.blogspot.com/2012/02/1.html