homeowners insurance Claim home insurance Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim commercial insurance Claim cheap auto insurance Claim cheap health insurance Claim indemnity Claim car insurance companies Claim progressive quote Claim usaa car insurance Claim insurance near me Claim term life insurance Claim auto insurance near me Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim progressive renters insurance Claim state farm insurance quote Claim metlife auto insurance Claim best insurance companies Claim progressive auto insurance quote Claim cheap car insurance quotes Claim allstate car insurance Claim rental car insurance Claim car insurance online Claim liberty mutual car insurance Claim cheap car insurance near me Claim best auto insurance Claim home insurance companies Claim usaa home insurance Claim list of car insurance companies Claim full coverage insurance Claim allstate insurance near me Claim cheap insurance quotes Claim national insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim health insurance quotes Claim ameritas dental Claim state farm renters insurance Claim medicare supplement plans Claim progressive renters insurance Claim aetna providers Claim title insurance Claim sr22 insurance Claim medicare advantage plans Claim aetna health insurance Claim ambetter insurance Claim umr insurance Claim massmutual 401k Claim private health insurance Claim assurant renters insurance Claim assurant insurance Claim dental insurance plans Claim state farm insurance quote Claim health insurance plans Claim workers compensation insurance Claim geha dental Claim metlife auto insurance Claim boat insurance Claim aarp insurance Claim costco insurance Claim flood insurance Claim best insurance companies Claim cheap car insurance quotes Claim best travel insurance Claim insurance agents near me Claim car insurance Claim car insurance quotes Claim auto insurance Claim auto insurance quotes Claim long term care insurance Claim auto insurance companies Claim home insurance quotes Claim cheap car insurance quotes Claim affordable car insurance Claim professional liability insurance Claim cheap car insurance near me Claim small business insurance Claim vehicle insurance Claim best auto insurance Claim full coverage insurance Claim motorcycle insurance quote Claim homeowners insurance quote Claim errors and omissions insurance Claim general liability insurance Claim best renters insurance Claim cheap home insurance Claim cheap insurance near me Claim cheap full coverage insurance Claim cheap life insurance Claim

สาว ๆ ไม่ได้คิดไปเอง แต่ขี้โรคกว่าหนุ่มจริง ๆ

credit kapook.com
ผู้หญิง


สาว ๆ ไม่ได้คิดไปเอง แต่ขี้โรคกว่าหนุ่มจริง ๆ (Lisa)

          เมื่อถูกถามเรื่องสุขภาพ โดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิงส่วนใหญ่จะตอบว่ามีสุขภาพแย่ เมื่อเทียบกับหนุ่ม ๆ ในกลุ่มอายุเดียวกัน

          นี่ไม่ใช่เรื่องทีเราคิดไปเอง แต่ผลการวิจัยจากแดนกระทิงบอกออกมาแล้วว่า เป็นเพราะผู้หญิงมีโรคเรื้อรังมากกว่าผู้ชายนั่นเอง โดยนักวิจัย Davide Malmusi จาก Public Health Agency เปิดเผยในวารสาร European Journal of Public Health จากการรวบรวมของ ตัวอย่างกว่า 29,000 คน มีผู้หญิงร้อยละ 38.8 ชี้ว่าสุขภาพตนเอง "ย่ำแย่" ในขณะที่ผู้ชายมีแค่ร้อยละ 27 เท่านั้น โดยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ตกอยู่ใน 5 กลุ่มคือ โรคไขข้ออักเสบ ปัญหาสุขภาพจิต ปวดคอ ปวดศีรษะ และปวดหลัง

          ทั้ง นี้ นักวิจัยสรุปว่า แม้ผู้หญิงมีอายุขัยเฉลี่ยสูงกว่าผู้ชาย แต่ในหลายประเทศ ความแตกต่างนี้กำลังลดลง อาจเป็นเพราะผู้ชายสุขภาพดีขึ้น ในขณะที่ผู้หญิงเป็นไปในทางตรงกันข้ามก็ได้



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

วิธีง่าย ๆ เพื่อเช้าวันใหม่ที่สดชื่น

credit kapook.com
ตื่นเช้า


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          เชื่อ ว่าหลาย ๆ คนคงเกลียดการตื่นเช้า เพราะการผละจากเตียงนุ่มสบายเพื่อแต่งตัวไปโรงเรียนหรือทำงานนั้นไม่ใช่ เรื่องง่าย ๆ เลย แต่เชื่อเถอะว่าถ้าคุณรู้วิธีตื่่นที่ถูกต้อง เช้าวันใหม่ของคุณจะสดชื่นขึ้นอย่างแน่นอน

1. เตรียมทุกอย่างให้เรียบร้อยก่อนเข้านอน

          เตรียมอุปกรณ์ที่คุณต้องใช้พรุ่งนี้ให้พร้อมก่อนเข้านอน ถ้าคิดว่าพรุ่งนี้จะใส่ชุดไหนก็เอาออกมาแขวนไว้ในที่ ๆ มองเห็น รวมทั้งเอกสารที่ต้องเอาไปก็ควรจะวางอยู่ใกล้ ๆ กัน คุณจะได้ไม่ต้องมารีบเร่งตอนเช้า ทำให้รู้สึกสดชื่นแจ่มใสขึ้นเยอะ

2. นอนให้เร็วขึ้น

          ถ้าได้นอนเต็มอิ่มก็จะทำให้รู้สึกเพลียน้อยลง ถ้าคุณกลัวว่าจะดูโทรทัศน์หรือเล่นอินเทอร์เน็ตเพลินจนลืมเวลานอน จะลองตั้งนาฬิกาเตือนตัวเองดูก็ได้

3. อย่ากินเยอะก่อนเข้านอน

          ถ้ารู้สึกหิวมากจริง ๆ ควรกินขนมทานเล่นหรือผลไม้ชิ้นเล็ก ๆ แทนจะดีกว่า เพราะการกินก่อนจะเข้านอนทันที นอกจากจะทำให้กระเพาะทำงานหนักแล้ว ยังทำให้น้ำหนักของคุณเพิ่มขึ้นอีกด้วย

4. เขียนแพลนของวันพรุ่งนี้ไว้ล่วงหน้า

          การเขียนแพลนไว้ล่วงหน้าแบบนี้จะทำให้คุณมีความกระตือรือร้นมากขึ้น เพราะมันช่วยเตือนให้คุณรู้ว่าวันพรุ่งนี้ต้องรีบตื่นไปทำอะไรบ้าง

5. รู้จักจัดลำดับความสำคัญ

          ตอนที่เขียนแพลนควรใส่เรื่องสำคัญ ๆ หรือเรื่องที่ทำให้รู้สึกดีมาเป็นอันดับแรก จะช่วยทำให้วันต่อไปน่าสนใจมากขึ้น และทำให้คุณรู้สึกมีกำลังใจที่จะตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่

6. ตื่นทันทีที่นาฬิกาปลุกดัง

          การกดปิดนาฬิกาและนอนต่ออีก 5 นาทีไม่ได้ทำให้คุณเพลียน้อยลง มีแต่จะทำให้คุณไปสาย และทำให้เช้าวันใหม่ยุ่งยากกว่าเดิมเสียเปล่า ๆ เพราะฉะนั้นเวลานาฬิกาปลุกดังควรกดปิดมันแล้วลุกขึ้นจากเตียงทันที

          อ่าน จบกันแล้วก็ลองนำวิธีเหล่านี้ไปใช้กันดู เผื่อว่าจะช่วยทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นทุกครั้งที่ตื่นนอน จะได้เตรียมตัวรับเช้าวันใหม่ได้สดใสมากกว่าเดิมยังไงล่ะจ๊ะ

อย. แนะ 3 ข้อ ใช้คอนแทคเลนส์บิ๊กอายอย่างปลอดภัย

ที่มา kapook.com
บิ๊กอาย

อย. มอบคาถา 3 ข้อ ใช้คอนแทคเลนส์บิ๊กอายอย่างปลอดภัย (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)

          อย.เตือน!! ก่อนใช้คอนแทคเลนส์ควรปรึกษาจักษุแพทย์ ไม่ควรซื้อจากแผงลอยตามตลาด หรือศูนย์การค้า เพราะอาจเสี่ยงกับคอนแทคเลนส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน มอบคาถา 3 ข้อ ใช้คอนแทคเลนส์ ที่ได้รับอนุญาตจาก อย.-ใช้อย่างถูกวิธี และรักษาความสะอาดอยู่เสมอ

          นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า คอนแทคเลนส์ หรือเลนส์สัมผัสที่มีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เพื่อแก้ไขความผิดปกติของสายตา หรือเพื่อความสวยงาม จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องได้รับอนุญาตตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เลนส์สัมผัส ดังนั้น คอนแทคเลนส์หรือเลนส์สัมผัส บนฉลากหรือเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์นั้นจะต้องระบุ ชื่อสินค้า วัสดุที่ใช้ทำ ค่าพารามิเตอร์ (กำลังหักเห ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง รัศมีความโค้ง) เลขที่ใบอนุญาต ระยะเวลาการใช้งาน วิธีการใช้ วิธีการเก็บรักษา

          นอก จากนั้น ยังต้องมีคำเตือนโดยแสดงข้อความว่า "การใช้เลนส์สัมผัสควรได้รับ การสั่งใช้ และตรวจติดตามทุกปี โดยจักษุแพทย์หรือผู้ประกอบโรคศิลปโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์เท่านั้น", "การใช้คอนแทคเลนส์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ที่ผิดวิธีมีความเสี่ยงต่อการ อักเสบหรือการติดเชื้อของดวงตา อาจรุนแรงถึงขั้นเสียสายตาอย่างถาวรได้"

          ข้อห้ามใช้โดยแสดงข้อความว่า "ห้ามใส่คอนแทคเลนส์สัมผัสนานเกินระยะเวลาใช้งานที่กำหนด", "ห้ามใช้เลนส์สัมผัสร่วมกับบุคคลอื่น", "ห้ามใส่เลนส์สัมผัสทุกชนิดเวลานอน ถึงแม้จะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม ควรถอดล้างทำความสะอาดทุกวัน" รวมทั้งข้อควรระวังในการใช้

          ทั้งนี้ ผู้ขายต้องขายเฉพาะคอนแทคเลนส์หรือเลนส์สัมผัสที่ได้รับอนุญาตจาก อย. และต้องดูแลให้มีฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ตามที่ได้รับอนุญาตไว้ รวมถึงการโฆษณาคอนแทคเลนส์หรือเลนส์สัมผัสใด ๆ ต้องได้รับอนุญาตจาก อย. ก่อน

          รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ก่อน ตัดสินใจใช้คอนแทคเลนส์ควรปรึกษาจักษุแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงศึกษาวิธีการใช้ วิธีการเก็บรักษา ระยะเวลาการใช้งาน คำเตือน ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวัง ที่สำคัญ เลือกซื้อคอนแทคเลนส์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว โดยสังเกตได้จากเครื่องหมาย อย. บนฉลากกล่อง และควรสังเกตเดือน ปี ที่หมดอายุ ไม่ควรซื้อคอนแทคเลนส์จากร้านค้า แผงลอยตามตลาด หรือศูนย์การค้า เพราะอาจได้รับอันตรายจากการใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และก่อนการใช้ควรอ่านฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ให้เข้าใจเสียก่อน เพราะหากใช้ไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดการแพ้ ติดเชื้อ กระจกตาเป็นแผล จนถึงขั้นตาบอดได้

          ปัญหาที่พบบ่อยสำหรับผู้ใช้คอนแทคเลนส์ คือ การรักษาความสะอาดอย่างไม่ถูกต้อง ทั้งการล้าง แช่ และเก็บรักษา ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียอันตรายถึงขั้นทำให้ตาบอด ได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อการใช้คอนแทคเลนส์อย่างปลอดภัย อย.จึงขอมอบคาถา 3 ข้อ คือ

          1. ใช้คอนแทคเลนส์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย.
          2. ใช้อย่างถูกวิธี
          3. รักษาความสะอาดอยู่เสมอ





ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ยาตีกันอันตราย

ยาตีกันอันตราย (หมอชาวบ้าน)
โดย ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ยา

ยาตีกันอันตราย (หมอชาวบ้าน)
โดย ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ยาตีกัน คืออะไร ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร?

          รู้ไหมว่า ยิ่งใช้ยามากชนิด ก็จะยิ่งเพิ่มยาตีกัน เนื่องจากทุกวันนี้มียาให้เลือกใช้มากกว่าในอดีตเป็นอันมาก ชนิดของยานับวันจะมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีทางเลือกให้แพทย์ได้สั่งจ่ายยาที่มีความเฉพาะเจาะจงและเหมาะสมกับผู้ ป่วยมากขึ้น ทั้งยังครอบคลุมการรักษาโรคให้กว้างยิ่งขึ้น

          ท่ามกลางการค้นพบยาใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้ป่วยก็มีโอกาสใช้ยาจำนวนมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง ยิ่งถ้าผู้ป่วยเป็นหลายโรค ก็ต้องใช้ยามากชนิดขึ้นตามอาการของโรคที่เป็นทำให้มีแนวโน้มว่าคนจะมีการใช้ ยากันมากขึ้น

          การที่ ต้องใช้ยาหลายชนิดในคราวเดียวกัน เพื่อรักษาโรคที่เป็นปัญหาอยู่นั้น อาจจะส่งผลให้ยาที่ใช้อยู่นั้นเกิด "ผลต่อกันได้" ซึ่งอาจจะเป็นคุณหรือโทษต่อผู้ใช้ยาก็ได้ และเราเรียกผลของยาชนิดที่หนึ่งที่ไปส่งผลต่อยาอีกชนิดหนึ่งนี้ว่า "ยาตีกัน"

          คำว่า "ยาตีกัน" มาจากภาษาอังกฤษว่า druginteraction ซึ่งถ้าแปลตรงตัวจะได้ความว่า ปฏิกิริยาระหว่างยา ในที่นี้ขอเรียกให้เข้าใจตรงกันง่าย ๆ ว่า "ยาตีกัน"

ยาตีกัน มีทั้งคุณและโทษ

          เมื่อใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน ก็อาจส่งผลกระทบต่อกัน หรือยาตีกัน ซึ่งจะส่งผลบวกหรือลบต่อสุขภาพร่างกายได้ โดยด้านบวกหรือคุณ ก็จะช่วยเพิ่มคุณประโยชน์ของยา ช่วยให้ลดขนาดของยาที่ใช้ลงได้ หรือเมื่อเกิดยาตีกันแล้วทำให้ได้ผลการรักษาดีขึ้น

          ขอยกตัวอย่างเช่น การใช้ยาเพนิซิลลิน (ยาปฏิชีวนะ) ร่วมกับยาโพรเบเนซิด (ยารักษาโรคเกาต์) จะเกิด "ยาตีกัน" ขึ้น และทำให้ยาเพนิซิลลินถูกขับออกจากร่างกายได้ช้าลง เป็นผลให้ระดับยาเพนิซิลลินสูงขึ้น และอยู่ในร่างกายได้นาน เสมือนกับมีการยืดระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาให้นานยิ่งขึ้น ทำให้ไม่ต้องให้ยาในขนาดที่สูง ๆ และ/หรือไม่ต้องให้ยาบ่อย ๆ เป็นการเพิ่มความสะดวกในการใช้ยา และลดค่าใช้จ่ายของยา พร้อมกับคงประสิทธิภาพของยาได้เหมือนเดิมอีกด้วย

"ยาตีกัน" มักจะทำให้เกิดโทษมากกว่า

          แต่ ในทางตรงกันข้าม ยาตีกันชนิดที่ทำให้เกิดโทษ ซึ่งเป็นปัญหาจากการใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน เป็นปัญหาที่พบบ่อย ก่อให้เกิดความสูญเสีย และเป็นอันตรายต่อผู้ใช้เป็นอันมาก ฉบับนี้ขอยกตัวอย่างยาตีกันที่พบบ่อยและทำให้เกิดโทษหรืออันตรายต่อผู้ใช้ยา ดังนี้

          1.การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ร่วมกับยาอะม็อกซีซิลลิน อาจทำให้ตั้งครรภ์ได้
          2.การใช้ยาลดไขมันในเลือด กลุ่มสแตตินกับยาอีริโทรไมซิน อาจพาลให้ไตวาย
          3.การใช้ยาลดน้ำตาลในเลือด ในโรคเบาหวานกับยาแก้ปวดข้อกลุ่มเอ็นเสด ทำให้ช็อกได้
         

ยา

ยาเม็ดคุมกำเนิด + ยาอะม็อกซีซิลลิน

          การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดร่วมกับยาอะม็อกซีซิลลิน อาจทำให้ตั้งครรภ์ได้

          ตัวอย่างที่ 1 นี้ต้องขอยกให้กับคุณผู้หญิงที่แต่งงานหรือมีแฟนแล้วทุกคน เพราะว่าระหว่างที่คุณกินยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นประจำทุกวันนั้น ก็ด้วยความหวังที่จะใช้ชีวิตครอบครัวตามปกติ และยังไม่ประสงค์ที่จะมีบุตร จึงต้องกินยาเม็ดคุมกำเนิดติดต่อกันทุกวันเป็นประจำต่อเนื่องเป็นแรมเดือน แรมปี แต่ถ้าระหว่างนั้นมีเหตุจำเป็นที่จะต้องใช้ยาอะม็อกซีซิลลิน (amoxicillin) ซึ่งเป็นยารักษาอาการติดเชื้อ เช่น เจ็บคอร่วมด้วย เมื่อยาทั้ง 2 ชนิดมาเจอกัน ก็จะเกิดการตีกันของยาได้

          โดย ยาอะม็อกซีซิลลินจะไปมีผลต่อเชื้อจุลชีพที่อยู่ในทางเดินอาหาร ส่งผลรบกวนการดูดซึมของยาเม็ดคุมกำเนิดในทางเดินอาหาร ทำให้ปริมาณยาคุมกำเนิดที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ลดน้อยลง เมื่อปริมาณยาคุมกำเนิดในเลือดลดน้อยลงกว่าปกติ ก็จะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดน้อยลงด้วย จนอาจทำให้ล้มเหลว ไม่ได้ผลในการคุมกำเนิด และเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นได้

          กรณีนี้ อาจสังเกตด้วยตนเองได้ว่า ขณะนี้ระดับยาคุมกำเนิดในเลือดลดต่ำลง เพราะจะมีอาการเลือดออกกะปริดกะปรอยได้ ดังนั้น คุณผู้หญิงที่กำลังอยู่ในระหว่างการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดและมีความจำเป็นต้อง ใช้ยาอะม็อกซีซิลลิน จึงขอแนะนำให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดประเภทอื่นร่วมด้วย (เช่น การใช้ถุงยางอนามัย) เพื่อช่วยให้คงการคุมกำเนิดได้ระหว่างที่ใช้ยาอะม็อกซีซิลลิน โดยเริ่มตั้งแต่วันแรกที่ใช้ยาอะม็อกซีซิลลิน จนกระทั่งหยุดใช้ยาไปแล้ว 1 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะตั้งครรภ์ได้

ยาตีกัน

ยาลดไขมันในเลือด + ยาอีริโทรไมซิน

          การใช้ยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตตินกับยาอีริโทรไมซินอาจพาลให้ไตวายได้

          ตัวอย่างที่ 1 แค่คุมกำเนิดไม่ได้ผล ทำให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่คาดฝัน และต้องเลี้ยงดูบุตรไปจนโต แต่ตัวอย่างที่ 2 ของยาตีกันนี้ ทำให้เกิดโรคไตวายได้ เรียกว่าเกิดอันตรายกับตัวผู้ใช้ยา และรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ เพราะโรคไตวายนี้มีอาจารย์แพทย์บางท่านจะผวนคำว่า "ตายไว" และนิยมพูดกันเล่นๆ ว่า "ไตวาย ทำให้ตายไว"

          ยาตีกันดังตัวอย่างที่ 2 นี้ก็เป็นยาที่ได้รับความนิยมมากอีกชนิดหนึ่ง คือ ยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตติน (statins) ซึ่งเป็นยาที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ
ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น ซิมวาสแตติน (simvastatin) อะโทรวาสแตติน (atrovastatin) โลวาสแตติน (lovastatin) เป็นต้น จะสังเกตได้ว่า ชื่อยากลุ่มนี้จะลงท้ายว่า "สแตติน" ทุกตัว จึงเรียกกันติดปากว่า กลุ่มสแตติน

          ยากลุ่มสแตตินนี้นิยมจ่ายให้กับผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง และจะต้องใช้ยาติดต่อกันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเป็นประจำ เพื่อควบคุมลดปริมาณคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับที่เป็นปกติ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ยอดจำหน่ายยากลุ่มนี้ติดอันดับหนึ่งสูงกว่ายากลุ่มอื่น ๆ ติดต่อกันหลายปีทีเดียว

          แต่ เมื่อไหร่ที่มีการใช้ยาอีริโทรไมซิน (erythromycin) ร่วมกับยากลุ่มสแตติน ยาอีริโทรไมซินซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในผู้ที่แพ้ยาเพนิ ซิลลิน เมื่อยากลุ่มสแตตินมาพบกับยาอีริโทรไมซิน ก็จะทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างกัน หรือเกิดยาตีกัน

          กรณีนี้ ยาอีริโทรไมซินจะไปยับยั้งการทำลายยากลุ่มสแตติน ทำให้ปริมาณยาสแตตินไม่ถูกทำลายตามปกติ และคงอยู่ในร่างกายนานพร้อมทั้งมีปริมาณมากขึ้น และมีการสะสมตัวยากลุ่มสแตตินในเลือดมากขึ้น จนทำให้เกิดพิษ โดยมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อลีบ และเป็นพิษต่อไตได้

          ดัง นั้น ตัวอย่างที่ 2 นี้เป็นตัวอย่างของยาตีกันที่เป็นอันตรายถึงชีวิต จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทั้ง 2 ชนิดนี้ร่วมกันซึ่งแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการเปลี่ยนจากยาอีริโทรไมซินไปใช้ยา ชนิดอื่นแทน หรืออาจจะเปลี่ยนไปใช้ยากลุ่มสแตตินอื่นที่ไม่เกิดผลต่อยาอีริโทรไมซิน เช่น ฟลูวาสแตติน (fluvastatin) พราวาสแตติน (pravastatin) เป็นต้น

          นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มสแตตินอยู่ก็จะต้องคอยสังเกตอาการผิดปกติของตนเองด้วย โดยเฉพาะอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นต้น


ยาตีกัน


ยาลดน้ำตาลในเลือด + ยาแก้ปวดข้อกลุ่มเอ็นเสด

          การใช้ยาลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน กับยาแก้ปวดข้อกลุ่มเอ็นเสด ทำให้ช็อกได้

          ตัวอย่างที่ 3 เป็นกรณีของผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาลดน้ำตาลในเลือดกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (sulfonylureas) เช่น ไกลเบนคลาไมด์ (glibencalmide) คลอโพรพาไมด์ (chlorpropamide) เป็นต้น

          ยากลุ่ม นี้มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งก็ทำนองเดียวกันกับ 2 ตัวอย่างแรกที่จะต้องใช้ยานี้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป เพราะถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นระยะเวลานาน ๆ จะไปทำลายระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดอาการชาปลายมือปลายเท้า ตาฝ้าฟาง และเป็นโรคไตได้

          ถ้าผู้ป่วยได้รับยาแก้ปวดแก้อักเสบข้อและกล้ามเนื้อกลุ่มที่เรียกว่า เอ็นเสด (NSAIDs) เช่น ไดโคลฟีแนก (diclofenac) ไพร็อกซิแคม (piroxicam) ยากลุ่มเอ็นเสด เมื่อเจอกับยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย ก็จะเกิดการตีกันของยาโดยยาเอ็นเสดจะส่งผลให้ปริมาญากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียใน เลือดเพิ่มสูงมากขึ้น ทำให้ฤทธิ์การลดน้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้นตาม จนอาจไม่มีน้ำตาลเหลืออยู่ในเลือดเลย ผู้ป่วยก็อาจจะมีอาการอ่อนแรง เป็นลม หมดสติ และช็อกได้

          กรณีนี้ก็เช่นเดียวกับตัวอย่างที่ 2 ที่จะต้องระวังตัวไม่ควรใช้ยากลุ่มเอ็นเสดร่วมกับยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย เพื่อไม่ให้เกิดการตีกันของยา และทางที่ดีควรติดตามวัดระดับน้ำตาลในเลือด หรือลดขนาดของยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียลงให้เหมาะสมระหว่างที่มีการใช้ยากลุ่ม เอ็นเสดร่วมด้วย

สมุดบันทึกยา : วิธีง่าย ๆ ที่ช่วยป้องกันยาตีกัน

          จากทั้ง 3 ตัวอย่างของ 3 คู่ของยาตีกัน ที่อาจส่งผลต่อการรักษา และ/หรือทำให้เกิดพิษ เกิดอันตรายจากการใช้ยาได้ ในที่นี้ขอแนะนำวิธีง่าย ๆ ในการช่วยป้องกันยาตีกัน ก็คือสมุดบันทึกยา

          สมุด บันทึกยาหรือบันทึกรายการยา ใช้บันทึกรายชื่อยาทั้งหมด ทั้งที่ใช้ประจำ และนาน ๆ ใช้ครั้งหนึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วิตามิน เกลือแร่ และสมุนไพรด้วย โดยนำรายชื่อยาและสารอื่น ๆ เหล่านี้ไปปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ว่าจะมีโอกาสเกิดยาตีกันหรือไม่ จะได้เฝ้าระวัง ป้องกัน และหลีกเลี่ยงตามลักษณะเฉพาะของยาแต่ละคู่แต่ละประเภท

          กรณีที่จะไปพบแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อรักษาโรคก็ขอเสนอให้พกสมุดบันทึกยา (หรือบันทึกรายการยา) ไปด้วยเสมอ และควรแสดงให้กับแพทย์ที่ตรวจรักษาได้รับรู้ และ/หรือแสดงให้เภสัชกรที่จ่ายยาได้ทราบ เพื่อจะจ่ายยาให้เหมาะสมไม่เกิดการตีกัน

ยาตีกัน

ข้อแนะนำการใช้ยา

          1.ก่อนใช้ยา ควรอ่านฉลากยาอย่างละเอียด และไม่ควรกินยาของคนอื่น การไม่อ่านฉลากยา และใช้ยาผิดอาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

          2.การกินยาหลังอาหาร หมายถึง กินยาหลังอาหารทันที ไม่จำเป็นต้องรอเวลา (30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง)

          3.ยาส่วนใหญ่จะระบุให้กินหลังอาหารเพื่อให้จำง่าย ซึ่งผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภารกิจเร่งรีบจนไม่มีเวลากินอาหารตามมื้อควรกิน ยาในเวลาเดียวกันเป็นประจำ โดยไม่ต้องคำนึงถึงการกินอาหาร เพื่อผลในการควบคุมโรค เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ยาขับปัสสาวะ ที่ต้องกินตรงเวลาทุกเช้า

          4.ยาบางชนิดจำเป็นต้องกินหลังอาหารทันทีหรือพร้อมอาหาร เนื่องจากมีฤทธิ์กัดกระเพาะ ดัง นั้น หากถึงเวลากินยาก็จำเป็นต้องกินอาหารรองท้องไว้ เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากยากัดกระเพาะจนอาจเป็นแผลเลือดออก ไม่ควรแก้ปัญหาด้วยการงดยา เพราะจะทำให้ควบคุมอาการของโรคไม่ได้

          5.ยาที่ต้องกินก่อนอาหาร หมายถึง กินก่อนมื้ออาหารครึ่งชั่วโมงขึ้นไป (30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง) เนื่องจากอาหารจะลดการดูดซึมของยา หรือเพื่อให้ยาออกฤทธิ์บรรเทาอาการได้ในเวลากินอาหาร เช่น ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนหากลืมกินยา และกินอาหารไปแล้ว ให้กินยาหลังอาหารมื้อนั้น 1 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อให้ท้องว่าง แต่ต้องระวังว่าเวลาที่กินอาหารจะไม่ใกล้กับยาในมื้อถัดไป

          6.ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องกินยาก่อนอาหารเป็นนาที ถึงครึ่งชั่วโมง แล้วแต่ชนิดของยา เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจากการกินอาหาร จึงจำเป็นต้องกินอาหารหลังกินยาทุกครั้ง มิฉะนั้นจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ทำให้หน้ามืด วิงเวียน เป็นลม และในทางกลับกัน หากงดยาเองเพราะไม่อยากกินอาหารก็อาจทำให้ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

          7.การ กินยามีความสำคัญ ผู้ป่วยที่ไม่มั่นใจในการกินยาควรปรึกษาเภสัชกรที่ห้องจ่ายยาโรงพยาบาลหรือ ร้านยาทุกครั้ง เพื่อให้ใช้ยาได้อย่างปลอดภัย เภสัชกรสามารถจัดตารางการกินยาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำ วันของผู้ป่วย หรือแม้แต่ประสานกับแพทย์ เพื่อปรับเปลี่ยนยาที่ต้องกินวันละหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งไม่สะดวก มาเป็นเพียงวันละ 1-2 ครั้ง ไม่ควรลดหรือเพิ่มขนาดยาเอง

          8.การไปพบแพทย์หลาย ๆ โรงพยาบาล (หรือคลินิก) อาจทำให้ได้รับยาชนิดเดียวกัน ผู้ป่วยต้องกินยาซ้ำซ้อน หรือเกิด "การตีกัน" ของ ยาซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงแก่ผู้ป่วยได้ การไปพบแพทย์หรือเภสัชกรจึงควรมีรายการยา หรือนำยาที่กำลังใช้อยู่ทุกชนิดไปด้วยทุกครั้ง เพื่อให้เภสัชกรพิจารณาว่ามียาซ้ำซ้อนกันหรือไม่ หรือยาตีกันหรือไม่ จะได้หาทางแก้ไขและป้องกัน เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้ยา

          9.ผู้ป่วยที่มีภาวะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรแจ้งเภสัชกรทุกครั้งที่รับยา เพื่อให้เภสัชกรพิจารณาความเหมาะสมของยา และผลของยาที่อาจมีต่อบุตรในครรภ์หรือบุตรทีได้รับนมแม่



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

kapook.com

คุณเป็น Burnout syndrome หรือเปล่า

kapook.com
ทำงาน


คุณเป็น Burnout syndrome หรือเปล่า (Lisa)

          หาก ใครก็ตามที่เคยเป็นคนขยันขันแข็ง กระตือรือร้น แล้วกลายเป็นคนอารมณ์บูดบึ้ง และไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไรทั้งสิ้น อาจเป็นเพราะ Burnout syndrome ก็ได้

          ทั้งนี้ ดร.มันเฟรด เนลติ้ง  จิตแพทย์ในเมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี ได้กล่าวเตือนว่า ทุกคนสามารถเกิดอาการที่ว่านี้ได้ การป้องกันไม่ให้เกิด  Burnout syndrome จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด และจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยไฟร์บวร์ก พบว่า 50% ของพยาบาลที่ต้องดูแลคนไข้โรคเอดส์ มะเร็ง และผู้ป่วยอาการหนัก มักมีอาการ  Burnout syndrome

          นอกจากนี้ก็ยังมีแพทย์ ครู อาจารย์ นักเรียนที่เตรียมตัวเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย และผู้ที่มีตำแหน่งผู้จัดการ ก็มีอาการที่ว่านี้ได้ ได้แก่ การ นอนไม่หลับ เครียด ตื่นเช้าขึ้นมาจึงรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีแรง และเครียดหนักขึ้นเมื่องานไม่คืบหน้า และจะส่งผลต่อสุขภาพตามมา เช่น ปวดหลัง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ จึงหันเข้าหาแอลกอฮอล์ ยาเสริมกำลัง หรือออกกำลังกายอย่างหักโหม แต่ก็ไม่อาจช่วยได้ และโรคนี้ก็ยากแก่การวินิจฉัย เพราะคนมักไม่ยอมรับความจริงจนกระทั่งมีอาการรุนแรง

          ผู้ ที่ช่วยได้เป็นคนแรกคือ แพทย์ ดังนั้น เราจึงควรป้องกันโรคนี้ก่อนจะเกิดขึ้น ด้วยการพูดคุยกับคนรัก และเพื่อน ๆ ไปเที่ยวพักผ่อน ทานอาหาร เดินเล่น หรือเล่นกีฬาที่สนุกสนาน



ขอขอบคุณข้อมูลจาก