ส่วนผสม - พริกแห้ง 50 กรัม
- มะพร้าวขูด 1 กิโลกรัม
- กระเทียม 100 กรัม
- คั้นหัวกะทิ 2 ถ้วย หาง 8 ถ้วย
- ตะไคร้ 50 กรัม
- น้ำปลา 1/2 ถ้วยตวง
- ปลาช่อน 1 กิโลกรัม
- น้ำปลาร้าหรือ 1/2 ถ้วยตวง
- หัวหอม 100 กรัม
- ปลาอินทรีย์เค็ม 1/4 ถ้วยตวง
- ข่า 2 ช้อนโต๊ะ
- ขนมจีน 2 กิโลกรัม
- กระชาย 500 กรัม
- น้ำสำหรับต้มปลา 6 ถ้วยตวง
วิธีทำ - เตรียมเครื่องน้ำพริกทั้งหมดลงต้มพร้อมน้ำเปล่า พอเดือดใส่ปลาที่ล้างสะอาดแล้วลงต้มให้สุก
- ตักเครื่องน้ำพริกและปลาขึ้น แกะก้างและหนัง โขลกเนื้อปลาให้ละเอียดพักไว้
- โขลกเครื่องน้ำพริกที่ตักขึ้นพักไว้ให้ละเอียด
- ใส่น้ำต้มปลาละลายเครื่องน้ำพริก กรองเอาแต่น้ำพริกข้น ๆ ไม่ใช้กาก ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้งจนน้ำพริกสีจาง
- ใส่น้ำพริกผสมกับหัวกะทิตั้งไฟพอเดือด ใส่เนื้อปลา เติมหางกะทิ น้ำปลา น้ำปลาร้า เคี่ยวไฟอ่อน จนน้ำยาเริ่มข้น ชิมรส
- รับประทานกับผักเหมือด เช่น ถั่วงอก ผักกาดดอง ถั่วฝักยาว ผักกระเฉด พริกป่น ไข่ต้ม ฯลฯ
บทความจาก : เว็บไซท์อาจารย์ยิ่งศักดิ์
สูบบุหรี่... เดี๋ยว ฝี ผุดที่หน้าอกนะ! (Lisa)
ถ้าไม่อยากให้ฝีขึ้นที่หน้าอกจนหมดสวย ก็ต้องวางบุหรี่กันตั้งแต่ตอนนี้ และจงเก็บหัวนมไว้ดี ๆ อย่าเอาไปเจาะ!
โดยการศึกษาจาก University of Iowa เปิดเผยในวารสาร American College of Surgeon เขาเปิดเผยว่า คนที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นฝีที่หน้าอกมากกว่าคนปกติ 40-50% แน่ะ และพอเป็นแล้วก็มีโอกาสเป็นอีกถึง 15 เท่า ถ้าเทียบกับคนที่ไม่สูบบุหรี่เลย
ส่วนคนที่เจาะหัวนมก็อาจมีฝีได้ภายใน 7 ปี หลังจากที่เจาะมาแล้ว เราขอเตือนไว้ก่อนเลย อย่าคิดว่าฝีไม่อันตรายนะ เพราะฝีบริเวณหน้าอกนั้นจะอักเสบ ทำให้หน้าอกเป็นแผล เจ็บมาก ๆ และก็รักษายากอีกด้วย
http://health.kapook.com/view17560.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
อ่อนเพลียอย่างนี้ไม่มีโรค (หมอชาวบ้าน)
มี ผู้ป่วยหลายคนมาพบแพทย์ด้วยเรื่องอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรงทำงาน บางคนบอกว่ารู้สึกเหนื่อยง่าย บ้างก็ว่าร่างกายอ่อนล้าผิดปกติ ที่สำคัญคือกลัวว่าจะเป็นโรคร้ายแรง
โดยมากเมื่อคนเราเจ็บป่วย มักจะมีอาการอ่อนเพลียร่วมด้วยเสมอ ดังนั้น ถ้ามีอาการอ่อนเพลีย จึงมักจะนึกถึงโรคต่าง ๆ แต่สำหรับคนที่รู้สึกอ่อนเพลีย แต่ไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ ที่เห็นได้ชัด จะเกิดความวิตกกังวล ครั้นไปพบแพทย์ก็อาจตรวจไม่พบความผิดปกติใด ๆ แพทย์เองก็วินิจฉัยไม่ถูก
บาง คนก็บอกว่าเกิดจากความเครียด หรือวิตกกังวล และแพทย์เองก็ไม่รู้จะให้ยาอะไร นอกจากยาคลายเครียด วิตามิน หรือน้ำเกลือ ก็แล้วแต่วิธีการรักษาของแต่ละคน และกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาคลายเครียดด้วย ก็จะยิ่งทำให้ง่วงซึมและอ่อนเพลียมากขึ้นไปอีก
อาการอ่อนเพลียเป็นอาการทางร่างกายและจิตใจที่พบได้บ่อย ๆ ซึ่งมีทั้งที่เกิดจากโรคและที่ไม่ใช่โรค เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ตรากตรำทำงานหนัก อากาศที่ร้อนจัด วิตกกังวล เครียด ขาดสารอาหาร หรืออาจเกิดจากโรค เช่น โรคติดเชื้อ หรือเจ็บป่วยอื่น ๆ
สำหรับตัวผู้เขียนเองนั้น มักจะพยายามบอกให้ผู้ป่วยรู้จักพึ่งพาตัวเองในระดับหนึ่ง โดยใช้ดุลยพินิจวิเคราะห์อาการต่าง ๆ เมื่อรู้สึกไม่สบาย ว่าจำเป็นต้องใช้ยาหรือไม่ มีสาเหตุที่สามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องพึ่งยาหรือไม่
กรณีอ่อนเพลียที่ไม่ พบอาการผิดปกติอื่นใดและพอจะหาสาเหตุได้ เช่น นอนน้อยเกินไป มีภาวะเครียดการจำกัดอาหาร อย่างนี้ก็ให้แก้ไขที่สาเหตุ ปรับพฤติกรรมและวิถีชีวิตใหม่ พยายามผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ โดยที่ยังไม่ต้องไปพึ่งน้ำเกลือหรือยาบำรุงใด ๆ เพราะ "อาการบางอย่างไม่ใช่โรค" และ "โรคบางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยา"
อาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า บางครั้งก็เกี่ยวข้องกับอาหารที่กินด้วย เมื่อร่างกายขาดสารอาหารบางอย่างก็ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย เซื่องซึม หรือเหนื่อยล้าได้ เช่น ขาดพลังงาน ขาดโปรตีน ขาดวิตามินบี หรือธาตุเหล็ก เป็นต้น
ดังนั้น คนที่จำกัดการกินอาหารหรือพยายามลดน้ำหนัก จะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเห็นได้ชัด สิ่งที่สำคัญคือ จะต้องกินอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน ร่างกายจะ เกิดสมดุล กล้ามเนื้อแข็งแรง ภูมิคุ้มกันดีขึ้น นอกจากนี้ควรกินปริมาณพอดี ไม่มากไปหรือน้อยไป งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดอาหารพวกไขมันแปรรูป ดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 8 แก้ว เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อ่อนเพลียได้เช่นกัน
ไม่ต้องพึ่งน้ำเกลือหรือยาบำรุง เพราะอาการบางอย่างไม่ใช่โรค และโรคบางอย่างไม่จำเป็นต้องใช้ยา
นอกจากเรื่องอาหารแล้ว ควรพักผ่อนให้เพียงพอทำใจให้สบาย หลีกเลี่ยงความเครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะทำให้กล้ามเนื้อและระบบเผาผลาญทำงานดี
ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง แพทย์จะต้องซักประวัติและตรวจร่างกาย โดยส่วนใหญ่ถ้าเจ็บป่วยเป็นโรคมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย และจะสังเกตได้ไม่ยาก แต่ที่แพทย์มักจะถามอยู่เสมอคือ มีไข้ไหม น้ำหนักลดหรือผอมลงหรือไม่ปัสสาวะมากและกระหายน้ำบ่อย ๆ หรือไม่ เป็นต้น เพื่อที่จะวินิจฉัยแยกโรคว่าเกิดจากความเจ็บป่วยหรือเกิดจากสาเหตุอื่นกัน แน่
สำหรับอาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้าแบบเรื้อรัง ชนิดที่ว่าไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ พักผ่อนหรือปรับปรุงวิถีชีวิตแล้วก็ยังไม่หาย จัดเป็นอาการป่วยชนิดหนึ่ง วินิจฉัยค่อนข้างยาก ตามตำราจะเรียกอาการแบบนี้ว่า โครนิกฟาทีกซินโดรม (chronic fatigue syndrome-CFS) ซึ่ง มักจะอ่อนเพลียมานาน ส่วนใหญ่จะมากกว่า 6 เดือน และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อ เจ็บคอ มีไข้ นอนไม่หลับ ซึมเศร้า เป็นต้น
โรคนี้พบได้ไม่บ่อย สาเหตุนั้นยังไม่แน่ชัด โดยอาจเป็นผลมาจากโรคติดเชื้อเรื้อรัง ขาดสารอาหารขาดฮอร์โมนบางอย่าง หรือเกิดจากภาวะเครียดเรื้อรัง เป็นต้น การรักษานั้นต้องใช้ทั้งยา โภชนบำบัด และปรับวิถีชีวิตให้สมดุล
แต่ สำหรับอาการอ่อนเพลียที่พบอยู่บ่อย ๆ นั้น มักจะไม่ใช่เกิดจากโรคหรือความเจ็บป่วย ส่วนใหญ่เกิดจากการมีวิถีชีวิตที่ไม่ถูกต้อง เช่น พักผ่อนน้อย ตรากตรำทำงาน กินอาหารไม่เพียงพอ ความเครียด เป็นต้น ดังนั้นวิธีการรักษาจึงอยู่ที่การแก้ไขสาเหตุ มากกว่าการพึ่งพายาหรือน้ำเกลือเพื่อบำรุงกำลัง
http://health.kapook.com/view17548.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก