homeowners insurance Claim home insurance Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim commercial insurance Claim cheap auto insurance Claim cheap health insurance Claim indemnity Claim car insurance companies Claim progressive quote Claim usaa car insurance Claim insurance near me Claim term life insurance Claim auto insurance near me Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim progressive renters insurance Claim state farm insurance quote Claim metlife auto insurance Claim best insurance companies Claim progressive auto insurance quote Claim cheap car insurance quotes Claim allstate car insurance Claim rental car insurance Claim car insurance online Claim liberty mutual car insurance Claim cheap car insurance near me Claim best auto insurance Claim home insurance companies Claim usaa home insurance Claim list of car insurance companies Claim full coverage insurance Claim allstate insurance near me Claim cheap insurance quotes Claim national insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim health insurance quotes Claim ameritas dental Claim state farm renters insurance Claim medicare supplement plans Claim progressive renters insurance Claim aetna providers Claim title insurance Claim sr22 insurance Claim medicare advantage plans Claim aetna health insurance Claim ambetter insurance Claim umr insurance Claim massmutual 401k Claim private health insurance Claim assurant renters insurance Claim assurant insurance Claim dental insurance plans Claim state farm insurance quote Claim health insurance plans Claim workers compensation insurance Claim geha dental Claim metlife auto insurance Claim boat insurance Claim aarp insurance Claim costco insurance Claim flood insurance Claim best insurance companies Claim cheap car insurance quotes Claim best travel insurance Claim insurance agents near me Claim car insurance Claim car insurance quotes Claim auto insurance Claim auto insurance quotes Claim long term care insurance Claim auto insurance companies Claim home insurance quotes Claim cheap car insurance quotes Claim affordable car insurance Claim professional liability insurance Claim cheap car insurance near me Claim small business insurance Claim vehicle insurance Claim best auto insurance Claim full coverage insurance Claim motorcycle insurance quote Claim homeowners insurance quote Claim errors and omissions insurance Claim general liability insurance Claim best renters insurance Claim cheap home insurance Claim cheap insurance near me Claim cheap full coverage insurance Claim cheap life insurance Claim

ทำไมคนเราต้องตรวจสุขภาพด้วย?


ตรวจสุขภาพ


ทำไมคนเราต้องตรวจสุขภาพด้วย?  (โรงพยาบาลพญาไท)

          "อ้าว ก็อยากอยู่กับคนที่เรารักไปนาน ๆ ไง" คำตอบข้างต้นคงเป็นเป็นคำตอบที่ถูกต้องแล้วสำหรับทุกคน เพราะเป้าหมายของการตรวจสุขภาพก็เพื่อเป็นการลดอัตราการเสียชีวิต หรือเพิ่มอัตราการมีชีวิตให้ยืนยาวขึ้นนั่นเอง

แล้วคนเรามักเสียชีวิตด้วยโรคอะไรกันบ้าง?

          จากสถิติปัจจุบันพบว่า โรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยเรียงจากลำดับสูงสุดลงไป คือ โรคมะเร็ง (81.4 ต่อแสนคน) อุบัติเหตุ (57.6 ต่อแสนคน) โรคหัวใจ ความดันและหลอดเลือด (57.4 ต่อแสนคน) โรคเกี่ยวกับปอด (22.4 ต่อแสนคน) โรคไตอักเสบไตพิการ (20.2 ต่อแสนคน) โรคเกี่ยวกับตับและตับอ่อน (14.6 ต่อแสนคน) โรคเอดส์ (12.8 ต่อแสนคน) ที่เหลือเป็นโรคอื่น ๆ ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำ

          การ ตรวจสุขภาพ จึงเป็นการคัดกรองว่าเราจะไม่ป่วยเป็นโรคเหล่านี้ เพราะได้ผ่านการดูแล และตรวจสอบตลอดเวลาแล้วว่ามีอะไรที่ผิดปกติก่อนวัย หรือมีอะไรที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ในอนาคต และควรจะต้องเฝ้าระวังหรือไม่ จากการใช้ชีวิตประจำวันที่อาจจะมีผลต่อสุขภาพคุณได้โดยไม่รู้ตัว เช่น การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ความครียด มลภาวะ การรับประทานอาหาร เป็นต้น

          การตรวจสุขภาพจะสามารถหยุดขบวนการ หรือสารต่าง ๆ ที่ทำลายร่างกายได้ โดยถ้าหากพบโรคร้ายแรงในระยะเริ่มแรกก็จะได้รีบเข้ามารับการรักษา ผลการรักษาก็จะดีกว่าที่จะไปพบแพทย์ในระยะที่อาจช่วยอะไรได้ไม่มากแล้ว และยังจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนการใช้ชีวิตใหม่ว่า ควรจะต้องปรับเปลี่ยนหรือ ระมัดระวังการใช้ชีวิตในเรื่องอะไรบ้าง

ตรวจอะไรเพื่ออะไร?

การตรวจความดันโลหิต

          ความดันโลหิตสูงอาจไม่แสดงอาการปวดศีรษะ แต่ในระยะยาวทำให้เกิดผลเสียต่อสมอง หัวใจ และไต การตรวจร่างกายทำให้พบและรักษาได้ แทนที่จะเกิดปัญหาใหญ่ ๆ เช่น ไตวาย หรือเส้นเลือดสมองแตก

การเอกซเรย์ปอด

          เพื่อวินิจฉัยโรคปอด เยื่อหุ้มปอดและหัวใจ และกระดูกช่วงอก โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่หรือได้รับสารพิษติดเชื้อ ซึ่งอาจทำให้ปอดผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของวัณโรค โรคถุงลมโป่งพอง

การตรวจอัลตร้าซาวนด์ (Ultrasound)

          เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตร้าซาวนด์ในการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง

          การตรวจช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen) เป็นการตรวจภายในช่องท้องเพื่อดูความผิดปกติของตับ ไต ถุงน้ำดี ม้าม ตับอ่อน เป็นต้น

          การตรวจช่องท้องส่วนล่าง หรืออุ้งเชิงกราน (Ultrasound Lower Abdomen or Pelvis) เป็นการตรวจภายในช่องท้อง เพื่อดูความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง (อุ้งเชิงกราน) เช่น รังไข่ มดลูก ต่อมลูกหมาก หรือก้อนเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน

          การตรวจช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen) เป็นการตรวจดูความผิดปกติภายในช่องท้องทั้งหมด

การตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

          โรคตับอักเสบชนิดบี อาจทำให้มีอาการอ่อนเพลียเบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการป่วย การตรวจช่วยให้ทราบว่ามีการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายหรือไม่ หรือถ้ายังไม่พบการติดเชื้อ และไม่มีภูมิต้านทาน จะได้รับวัคซีนเพื่อป้องกัน

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC

          เป็นการตรวจหาความผิดปกติของร่างกายด้วยการตรวจเลือด เพื่อทำการป้องกันและแก้ไขโรคต่อไป

การตรวจการทำงานของไต Creatinine

          เป็นการวัดระดับสารเคมีในเลือด สามารถตรวจดูได้ว่า เป็นภาวะไตเสื่อม หรือไตวาย ได้หรือไม่

การตรวจการทำงานของตับ

          เป็นการตรวจเพื่อดูความผิดปกติในส่วนของเนื้อตับ เช่น ตับอักเสบ และดูความผิดปกติในระบบทางเดินน้ำดี

การตรวจระดับกรดยูริค

          เป็นการตรวจหาโรคเก๊าท์ และถ้าระดับกรดยูริคสูงกว่าปกติ อาจก่อให้เกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นสาเหตุของโรคไตตามมาได้

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด FBS

          เป็นการตรวจเพื่อดูว่า มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ โรคเบาหวานอาจพบได้ก่อนแสดงอาการ หากท่านน้ำหนักมาก หรือมีกรรมพันธุ์เป็นโรคเบาหวาน การตรวจน้ำตาลในเลือดจะมีประโยชน์มาก

การตรวจปริมาณไขมันในเลือด

          ไขมันคอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นการตรวจระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดว่า มีปริมาณสูงเกินไปหรือไม่

          ไขมันไตรกรีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นการตรวจเพื่อดูองค์ประกอบไขมันในเลือดสูง

          ไขมันความหนาแน่นสูง (HDL) เป็นไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี จะช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตัน

          ไขมันในเลือดต่ำ (LDL) เป็นไขมันคอเลสเตอรอลไม่ดี ก่อให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดง

การตรวจปัสสาวะ

          เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะอาจเกิดโรคกระเพาะอักเสบหรือโรคไต และตรวจสารตกค้างของยาเสพติด

การตรวจอุจจาระ

          เป็นการตรวจหาพยาธิต่าง ๆ และตรวจระบบขับถ่ายว่าผิดปกติหรือไม่

http://health.kapook.com/view17860.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

8 ข้อหลักง่าย ๆ กินเจ ให้ถูกวิธี


อาหารเจ

อาหารเจ

อาหารเจ

อาหารเจ

8 ข้อหลักง่าย ๆ กินเจให้ถูกวิธี (สสส.)
โดย สุนันทา สุขสุมิตร

          สัญลักษณ์ธงเหลืองปลิวไสวอยู่ตามแผงร้านอาหาร เป็นสัญญาณบ่งบอกถึง "เทศกาลกินเจ" ที่หลายคนเลือกจะงดบริโภคอาหารสัตว์ แล้วหันมาทานผัก โปรตีนที่ได้จากถั่ว เต้าหู้แทน พร้อม ๆ ไปกับการรักษาศีล ทำความดี โดยปีนี้กำหนดจัดเทศกาลกินเจระหว่างวันที่ 7-16 ตุลาคม 2553

          แล้ว กินเจอย่างไรให้ถูกวิธี ไม่ให้อ้วน ไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหาร วันนี้ นายสง่า ดามาพงษ์ ผู้จัดการแผนงานโภชนาการเชิงรุก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีคำแนะนำดี ๆ มาบอกให้ฟังว่า การกินเจถือเป็นเรื่องดี ที่คนหันมากินผักมากกว่า แต่การกินเจใช่เพียงจะมองแต่จะไม่รับประทานเนื้อสัตว์ แต่ควรมองเรื่องของการถือศีลควบคู่เป็นสำคัญ ส่วนวิธีการกินเจให้ถูกวิธี มีหลักง่าย ๆ 8 ข้อ คือ

          1.ต้องมั่นใจว่ารับประทานอาหารครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะหมู่โปรตีน ซึ่ง โปรตีนที่จะมาทดแทนเนื้อสัตว์คือ โปรตีนที่ได้จากถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งปัจจุบันนี้มีการผลิตออกมาในรูปแบบของเต้าหู้แผ่น น้ำเต้าหู้ เต้าหู้ทอด ขณะที่วิทยาศาสตร์ด้านอาหารก้าวไกลไปมาก จึงทำให้เกิดโปรตีนเกษตรที่ปัจจุบันนี้ ก็มีผู้นิยมบริโภคจำนวนมากเช่นกัน แต่จากที่ตนได้ลงสำรวจในตลาดพบว่า ปัจจุบันนี้มีการทำเลียนแบบเนื้อสัตว์ แต่ไม่ได้ทำมาจากโปรตีนเกษตร โดยทำมาจากแป้ง ซึ่งก็อาจส่งผลให้ผู้บริโภคที่ไม่รู้ทานมากไปอาจอ้วนได้

          2.ความสะอาด ส่วนมากผู้ทานเจในปัจจุบันจะมักนิยมไปซื้ออาหารเจตามร้านค้า ไม่ค่อยปรุงอาหารเอง ซึ่งก็เสี่ยงต่อเรื่องของความสะอาด ดังนั้นผู้ปรุงอาหารเจขายควรคำนึงเรื่องของความสะอาดให้มาก โดยเฉพาะการทำความสะอาดผักที่นำมาประกอบอาหาร การเลือกดูเครื่องปรุงรส ไม่ว่าจะเป็นซอส ซีอิ๊ว ต้องดูวันหมดอายุ และผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นต้น

          แนะวิธีล้างผักง่าย ๆ นำผักสดที่ซื้อมาใส่ภาชนะ เติมเกลือประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ทิ้งไว้ 2-5 นาที แล้วล้างด้วยน้ำเปล่าอีก 1 รอบ ก็จะช่วยล้างสารพิษออกจากผักได้ในระดับหนึ่ง ประมาณ 30-70%


อาหารเจ

อาหารเจ

          3.หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ในที่นี้หมายถึงรสมันจัดกับเค็มจัด เพราะอาหารเจมักจะปรุงด้วยวิธีการผัด-ทอดในน้ำมัน หากเป็นไปได้ควรหันมาบริโภคอาหารประเภทต้ม ย่าง อบ ยำ เช่น ยำมะเขือยาว แกงจืดเต้าหู้ ฯลฯ แทน

          ส่วนรสเค็มจัดนั้น ต้องอย่าลืมว่าการปรุงอาหารก็จะใช้ซอส ซีอิ๊ว เกลือแทนน้ำปลา ซึ่งเครื่องปรุงเหล่านี้มีปริมาณของโซเดียมสูง ซึ่งจะส่งผลให้ไตทำงานหนัก โดยปกติคนเราจะบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 mg./วัน

          4.ควรเลือกทานผัก-ผลไม้สด มากกว่าผักดอง เพราะผักสดมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักดอง

          5.อาหารเจประเภทที่ปรุงด้วยวิธีการเคี่ยวนาน ๆ อาจทำให้คุณค่าของสารอาหารสูญเสียไป เช่น ต้มจับฉ่าย ที่ต้องใช้เวลาเคี่ยวนาน ในส่วนนี้ต้องระวังเรื่องของคุณค่าอาหารจะหายไป รวมถึงความสะอาดของผัก เพราะหากไม่ล้างให้สะอาดแล้วนำมาปรุง ก็เท่ากับสารพิษก็จะตกค้างอยู่ในหม้อ

          6.ทานเจให้ได้ไอโอดีนอย่างเพียงพอ เพราะการทานเจไม่ได้รับประทานอาหารทะเล ดังนั้นการรับประทานอาหารเจ ก็ควรเติมเกลือไอโอดีนใส่ในการปรุงรสด้วยก็จะช่วยทดแทนได้

          7.ควรบริโภคข้าวกล้องมากกว่าข้าวขาว เพราะในข้าวกล้องมีวิตามิน แร่ธาตุ โปรตีนมากกว่าข้าวขาว

          8.งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม แล้วหันมาดื่มน้ำเปล่าบริสุทธิ์แทน


อาหารเจ

อาหารเจ

          8 ข้อหลักนี้เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ผู้บริโภคจะเลือกไปปฏิบัติ แล้วรู้หรือไม่ว่าการกินเจจะมีประโยชน์กับระบบของร่างกายอย่างไร? ศูนย์สารนิเทศทางอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุประโยชน์ของการกินเจไว้ว่า

          ร่างกายสามารถขับถ่ายของเสียออกให้หมด ทำให้ไม่มีสารพิษตกค้างอยู่ภายใน สารอาหารที่มีคุณค่าในพืชผักสดผลไม้ช่วยให้การขับถ่าย และการย่อยเป็นปกติ
    
          เมื่อรับประทานเป็นประจำ โลหิตจะถูกฟอกให้สะอาดขึ้นเรื่อย ๆ เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายเสื่อมสลายช้าลง ทำให้อายุยืนยาว ผิวพรรณสดชื่น ผ่องใส นัยน์ตาแจ่มใส ไม่พร่ามัว ร่างกายแข็งแรง รู้สึกเบาสบาย ไม่อึดอัด มีสุขภาพอนามัยดี
    
          อวัยวะหลักสำคัญภายในและอวัยวะประกอบทั้ง 5 แข็งแรง ทำงานได้เป็นปกติสมบูรณ์มีสมรรถภาพสูง  (อวัยวะหลักภายในทั้ง 5 ได้แก่ หัวใจ, ไต, ม้าม, ตับ, ปอด)  (อวัยวะประกอบทั้ง 5 ได้แก่ ลำไส้เล็ก, ลำไส้ใหญ่, กระเพาะปัสสาวะ, กระเพาะอาหาร, ถุงน้ำดี)

          ร่างกายต้านทานต่อสารพิษต่าง ๆ ได้สูงกว่าคนปกติธรรมดา อาทิ  สารเคมี, ยากำจัดศัตรูพืช, ยาฆ่าแมลง, ก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ในอุตสาหกรรม เครื่องจักรกล และสารอาหารในพืชผักช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายทนต่อการทำลายจากรังสีต่าง ๆ เช่น กัมมันตภาพรังสีที่เกิดจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ และในสงคราม
      
           ในบรรดาผู้ที่รับประทานอาหารเจ อาหารพืชผักเป็นประจำ ความเจ็บไข้ได้ป่วยมักไม่มีปรากฎ
โดย เฉพาะโรคที่รุนแรงและเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง,โรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง, เส้นเลือดตีบ, ไขมันอุดตันในเส้นโลหิต,  โรคไต, ไขข้ออักเสบ, โรคเกาต์, โรคเบาหวาน โรคที่เกี่ยวกับระบบขับถ่ายย่อยอาหารและทางเดินอาหาร เช่น โรคริดสีดวงทวาร, มะเร็งในกระเพาะ และลำไส้, โรคกระเพาะ, อาหารไม่ย่อย  โรคเหล่านี้จะไม่พบในผู้ที่รับประทานอาหารเจอาหารพืชผัก และผลไม้เป็นประจำ

          เห็น คุณประโยชน์นานัปการแบบนี้แล้ว กินเจปีนี้ ใครที่ยังไม่เคยทานเจ ลองหันมาทานเจดูบ้าง อย่างน้อยก็เหมือนเป็นการล้างพิษในร่างกายแถมยังอิ่มบุญอีกด้วย
 
http://health.kapook.com/view17758.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

จิ้มจุ่ม ช้อน ส้อม ตะเกียบ ระวังเชื้อโรค



เคล็ดลับสุขภาพ

จิ้มจุ่ม ช้อน ส้อม ตะเกียบ (Modernmom)

โดย: ผศ.น.สพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ
ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คราวนี้ เราจะว่าด้วยเรื่องที่ใกล้ตัวอีกเช่นกัน

          หลาย ๆ คน คงจะเคยไปลิ้มรสอาหารในศูนย์อาหาร หรือที่เรียกว่า ฟู้ดเซ็นเตอร์ หรือ ฟู้ดคอร์ท กันมานักต่อนักแล้วนะครับ และคงเห็นหม้อน้ำร้อนที่เจ้าของสถานที่หวังดีจัดบริการให้ไว้ โดยมักจะตั้งไว้ใกล้ ๆ กับที่วางช้อน ส้อม และ ตะเกียบ ให้ได้ใช้ลวก หรือ ถ้าจะให้ถูกน่าจะเรียกว่า "จิ้มจุ่มด่วน" เนื่องจากคนที่มากินในศูนย์อาหารก็มักจะไม่ต้องการพิธีรีตองมากมายในการกิน อาหาร สำหรับท่านที่ไม่เคยเฉียดใกล้พวกห้างสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ก็อย่าค้อนหลายวงนะครับ จริง ๆ แล้ว หม้อน้ำร้อนนี้ไม่เพียงแต่จะพบได้เฉพาะในศูนย์อาหาร ฟู้ดเซ็นเตอร์ หรือ ฟู้ดคอร์ทขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่เท่านั้น ระดับโรงอาหาร ศูนย์อาหาร ในสถานที่ราชการ เอกชน หรือมหาวิทยาลัยทั่วไป ก็สามารถพบวัตถุดังกล่าวนี้ได้หนาตาโดยทั่วไปเช่นเดียวกันครับ

ใช้หม้อจิ้มจุ่มทำอะไร?

          ฟังคำถามอาจจะดูเหมือนง่าย คำตอบก็ดูเหมือนง่ายเหมือนคำถามนั่นแหละ แต่ปฏิบัติจริงอาจจะยากกว่าคำถามกับคำตอบที่คิดก็เป็นได้

          คำตอบสั้น ๆ ง่าย ๆ ก็คือ หม้อจิ้มจุ่มใช้ลวกช้อน ส้อม ตะเกียบ เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่อาจจะสะสม หรือติดอยู่กับอาวุธในการเปิบอาหารเข้าปาก

          แต่ อันที่จริงแล้ว ทุกคนก็คิดเหมือนกันว่า การจุ่มช้อน ส้อมและตะเกียบ เพียงชั่ววินาที หรือแค่ไม่กี่อึดใจลงในหม้อจิ้มจุ่มที่มีน้ำร้อนตั้งเอาไว้ตั้งแต่ปีมะโว้ เคยเปลี่ยนน้ำบ้างหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้ จะสามารถทำลายเชื้อโรคได้ทุกชนิดได้อย่างหมดจดหมดคราบ ซอกซอนลึกเข้าถึงเนื้อโลหะ เนื้อไม้ได้หรือไม่

          แหมอะไรจะมหัศจรรย์เหมือนของเล่นวิเศษที่โนบิตะได้จากโดราเอมอนล่ะ

ประวัติที่มาของหม้อจิ้มจุ่ม

          บังเอิญเป็นอย่างยิ่งทีเดียว ที่หมอได้มีโอกาสเป็นอาจารย์พิเศษไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องเกี่ยวกับไวรัสที่ติดต่อทางอาหารและน้ำ โดยหนึ่งในไวรัสที่หมอไปบรรยาย คือ ไวรัสตับอักเสบเอ และได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนพูดคุยกับอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้ทราบว่า เคยมีการระบาดของไวรัสโรคตับอักเสบเอในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งนั้นจึงได้มีความพยายามควบคุม หรือสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโรคตับอักเสบเอ ซึ่งเข้าใจว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะมีหลายมาตรการที่ออกมาในระยะนั้น และหนึ่งในมาตรการเหล่านั้น คือ การลวกช้อน ส้อมและตะเกียบในโรงอาหารที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อจากนั้นมา การปรากฏตัวของหม้อจิ้มจุ่มก็กลายเป็นวัฒนธรรม หรือประเพณีของโรงอาหาร หรือศูนย์อาหารระบาดไปทั่วประเทศ

          หมอเคยเดินทางหรือใช้ชีวิตในต่างแดนมาก็หลายประเทศ ยังไม่เคยเห็นหม้อจิ้มจุ่มแบบบ้านเราเลยครับ แนวคิดเรื่องการลวกช้อน ส้อมหรือตะเกียบนี้ มองดูเผิน ๆ คิดกันง่าย ๆ เหมือนจะเป็นหวังดี แต่ถ้าไม่ปฏิบัติดี ไม่ปฏิบัติชอบแล้วไซร้ ก็จะเป็นการประสงค์ร้ายต่อผู้อื่นแทนได้

หม้อจิ้มจุ่ม ทำผิดอะไรเหรอ?

          จริง ๆ แล้ว ตัวหม้อจิ้มจุ่มเองไม่ได้มีความผิดคิดคดทรยศ ทั้งผู้มีอุปการคุณที่มาเปิบอาหาร หรือกระทั่งเจ้าของสถานที่ แต่ความผิดอยู่ที่วิธีการใช้ "หม้อจิ้มจุ่ม" มากกว่า

          ถ้าคุณมีโอกาสนั่งเฝ้าเจ้าหม้อจิ้มจุ่มนี่ดูนะครับ ลองดูตั้งแต่เปิดโรงอาหารหรือศูนย์อาหาร จนกระทั่งศูนย์อาหารมาเชิญท่านกลับบ้าน เพราะได้เวลาปิดแล้ว ท่านอาจจะสังเกตได้ชัดเจนว่า ตั้งแต่เปิดบริการในแต่ละวัน หม้อน้ำร้อนนี้ไม่เคยได้มีโอกาสขยับไปไหน นั่งก้นร้อนติดอยู่กับที่ตลอดเวลา คาดว่า นานวันเข้าจะเป็นริดสีดวงทวารเอาได้ง่าย ๆ ครับ เจ้าของสถานที่ (หมายรวมถึง ศูนย์อาหาร โรงอาหารทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่) คงจะนึกเอาเองว่า ตั้งแต่ เช้าที่เริ่มเปิดบริการ จนกระทั่งเย็นหรือดึก น้ำที่อยู่ในหม้อจิ้มจุ่มจะสามารถทำงานได้ตลอดรอดฝั่งในการปราบเหล่าร้าย เชื้อโรคที่อาจจะนั่งคอย นอนคอยในช้อน ส้อมหรือตะเกียบ รอว่าเมื่อไหร่จะมีเหยื่อมารับอุปการะเลี้ยงดูเชื้อโรคที่ตกทุกข์ได้ยาก กำพร้าตั้งแต่เกิด

          ถ้าคุณเป็นผู้โชคดี คือ ใช้หม้อจิ้มจุ่มเป็นคนแรก ๆ ตอนที่น้ำและหม้อจิ้มจุ่มยังสะอาดดีอยู่ เชื้อโรคที่อาจจะอยู่ที่ช้อน ส้อมหรือตะเกียบ ก็จะถูกเฉดหัวไปสู่บ้านใหม่ คือ น้ำในหม้อจิ้มจุ่ม พอเจอกับความร้อนสูง ก็จะลาโลกไปหมด

          ถ้า คุณเป็นผู้โชคดีกว่านั้น คือ ใช้หม้อจิ้มจุ่มในช่วงกลาง ๆ หรือ ช่วงท้าย ๆ ของวัน สถานการณ์จะเริ่มแย่ลง เพราะว่าน้ำในหม้อจิ้มจุ่มที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนเลย ปริมาณสิ่งสกปรกมีการสะสมตัวมากยิ่งขึ้น น้ำที่ร้อนก็อาจจะร้อนน้อยลงจนกระทั่งเปลี่ยนจาก "หม้อฆ่าเชื้อ" ไปเป็น "หม้อเพาะเชื้อ" ไปเสียฉิบ ทำให้น้องแบคจากช้อน ส้อมหรือตะเกียบแทนที่จะตายในหม้อจิ้มจุ่ม กลับเพิ่มจำนวนในหม้อจิ้มจุ่ม หรือ หม้อเพาะเชื้อ ซึ่งตอนนี้ได้เปลี่ยนเป็นสวรรค์บนดินให้เชื้อโรคเพิ่มจำนวนออกลูกออกหลานมาก มายยั้วเยี้ยได้ อันเนื่องจากมีอาหารเป็นบรรดาสิ่งสกปรกที่มาจากช้อน ส้อมหรือตะเกียบ สะสมในหม้อเพาะเชื้อ ในที่สุดก็จะสะสมเพิ่มจำนวนเชื้อโรคเป็นเท่าทวีคูณมากยิ่ งๆ ขึ้นไป คุ

          ผู้โชคดีกว่า ที่คิดว่า หม้อจิ้มจุ่มจะเป็นหนทางที่จะทำให้ช้อน ส้อมหรือตะเกียบสะอาดปลอดเชื้อโรค เมื่อใช้หม้อจิ้มจุ่มนี้ กลับไปเพิ่มทั้งความสกปรกและเชื้อโรคให้กับช้อน ส้อมหรือตะเกียบมากกว่าการไม่จุ่มเสียอีก เป็นงั้นไปได้ไงนี่

แล้วจะทำยังไงดีล่ะ

          คงต้องเป็นบทบาท หรือความอนุเคราะห์จากผู้ประกอบการเจ้าของสถานที่เป็นสำคัญครับในการแก้ไขปัญหา ก็เมื่อรู้แล้วว่าน้ำในหม้อจิ้มจุ่มที่ทิ้งไว้นาน จะเป็นแหล่งหมักหมมสะสมสิ่งสกปรกและเชื้อโรค ก็ควรจะต้องเปลี่ยนน้ำให้บ่อยขึ้น เท่าที่จะทำได้

          เรื่องความร้อนของน้ำ แม้ว่าการเพิ่มความร้อนให้สูงขึ้นอีก โดยหลักการและทฤษฎีจะช่วยลดเวลาในการจุ่มทำลายเชื้อโรคได้ก็ตามที (ผู้มีอุปการคุณก็อยากได้แบบเปิดปุ๊บ...ติดปั๊บอยู่แล้วนี่) แต่เชื้อโรคบางชนิด เช่น แบคทีเรียจะมีพรสวรรค์ หรือ พรแสวง บางอย่างในการรักษาเผ่าพงศ์วงศาคณาญาติไว้ จึงสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น สถานการณ์ที่ความร้อนสูงขึ้น แม้จะต้องใช้เวลาหลายชั่วอายุเชื้อโรคก็ตาม แต่เชื่อเถอะว่า น้องแบคทำได้

สรุป

          การใช้หม้อจิ้มจุ่มที่ถูกวิธี จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโรคที่อาจจะอยู่ในช้อน ส้อมหรือตะเกียบได้ แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนน้ำในหม้อจิ้มจุ่มเลย แทนที่จะทำให้ช้อน ส้อมหรือตะเกียบสะอาดขึ้น กลับจะทำให้สกปรกและอันตรายมากขึ้นเสียอีก ทางออกสุดท้าย ก็อาจจะไม่จุ่มเลยจะดีกว่า...เอวัง


http://health.kapook.com/view17843.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

แคลเซียมอัดเม็ด... ดีจริงหรือ


ยา

แคลเซียมอัดเม็ด... ดีจริงหรือ (Lisa)

          คนมักเข้าใจกันว่า ต้องกินแคลเซียมมาก ๆ กระดูกจะได้แข็งแรง

          แต่จากการศึกษาของนักวิชาการ ไฮเคอ บิสชอฟฟ์ เฟอร์รารี จากสถาบันการแพทย์กายภาพ มหาวิทยาลัยซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า วิตามินดีช่วยป้องกันกระดูกสะโพกหัก แต่แคลเซียมอัดเม็ดไม่อาจลดความเสี่ยงของกระดูกสะโพกหักได้ และในทางตรงกันข้ามยังพบว่า แคลเซียมอัดเม็ดเพิ่มความเสี่ยงกระดูกสะโพกหัก เพราะจากการศึกษาคนชราที่กินแคลเซียมอัดเม็ดเป็นประจำ ทำให้ร่างกายขาดฟอสฟอรัส

          เนื่องจากแคลเซียมสำเร็จรูปขัดขวางการดูดซึมฟอสฟอรัสจากลำไส้ จึงส่งผลให้มีการสลายกระดูก แต่ผลิตภัณฑ์นมมีแคลแซียมและฟอสฟอรัส โปรตีน จึงน่าจะเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีกว่า ดังนั้น การกินแคลเซียมอย่างเดียวจึงไม่ได้เป็นข้อการันตีว่า จะไม่เป็นโรคกระดูกพรุน


http://health.kapook.com/view18140.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก