homeowners insurance Claim home insurance Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim commercial insurance Claim cheap auto insurance Claim cheap health insurance Claim indemnity Claim car insurance companies Claim progressive quote Claim usaa car insurance Claim insurance near me Claim term life insurance Claim auto insurance near me Claim state farm car insurance Claim comprehensive insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim progressive renters insurance Claim state farm insurance quote Claim metlife auto insurance Claim best insurance companies Claim progressive auto insurance quote Claim cheap car insurance quotes Claim allstate car insurance Claim rental car insurance Claim car insurance online Claim liberty mutual car insurance Claim cheap car insurance near me Claim best auto insurance Claim home insurance companies Claim usaa home insurance Claim list of car insurance companies Claim full coverage insurance Claim allstate insurance near me Claim cheap insurance quotes Claim national insurance Claim progressive home insurance Claim house insurance Claim health insurance quotes Claim ameritas dental Claim state farm renters insurance Claim medicare supplement plans Claim progressive renters insurance Claim aetna providers Claim title insurance Claim sr22 insurance Claim medicare advantage plans Claim aetna health insurance Claim ambetter insurance Claim umr insurance Claim massmutual 401k Claim private health insurance Claim assurant renters insurance Claim assurant insurance Claim dental insurance plans Claim state farm insurance quote Claim health insurance plans Claim workers compensation insurance Claim geha dental Claim metlife auto insurance Claim boat insurance Claim aarp insurance Claim costco insurance Claim flood insurance Claim best insurance companies Claim cheap car insurance quotes Claim best travel insurance Claim insurance agents near me Claim car insurance Claim car insurance quotes Claim auto insurance Claim auto insurance quotes Claim long term care insurance Claim auto insurance companies Claim home insurance quotes Claim cheap car insurance quotes Claim affordable car insurance Claim professional liability insurance Claim cheap car insurance near me Claim small business insurance Claim vehicle insurance Claim best auto insurance Claim full coverage insurance Claim motorcycle insurance quote Claim homeowners insurance quote Claim errors and omissions insurance Claim general liability insurance Claim best renters insurance Claim cheap home insurance Claim cheap insurance near me Claim cheap full coverage insurance Claim cheap life insurance Claim

ระวัง...เสพติดยา (สามัญประจำบ้าน)

ยาสามัญประจำบ้าน


ระวัง...เสพติดยา (สามัญประจำบ้าน) (Lisa)

           ไม่ ใช่เฉพาะยาเสพติดเท่านั้นที่ทำให้คนติดจนเลิกได้ยาก แม้แต่ยาประจำบ้านก็ทำให้เสพติดได้เหมือนกัน ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมันแจ้งว่า ชาวเยอรมนีประมาณ 2 ล้านคนติดยา อย่างเช่น

ยาแก้ไอ

           มีสาร Codeine ที่จะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นและหากกินไปนาน ๆ หรือกินมากเกินไปก็ทำให้ติดยาได้ ข้อแนะนำก็คือไม่ควรกินนานเกินกว่า 5 วัน

           การรักษาแบบทางเลือก ให้ดื่มน้ำมาก ๆ และอมยาแก้ไอ

สเปรย์พ่นจมูก

           สาร Naphazoline ในสเปรย์พ่นจมูกควรใช้มากที่สุดได้ไม่เกิน 3 ครั้งในหนึ่งวัน และไม่ควรพ่นจมูกเกิน 5 วัน มิเช่นนั้นจะทำให้เนื้อเยื่อจมูกบวมอยู่เสมอทั้ง ๆ ที่ไม่มีน้ำมูก ข้อแนะนำก็คือ ให้ใช้ยาสเปรย์พ่นจมูกในปริมาณต่ำกับเด็ก ๆ และค่อย ๆ เลิกใช้

           การรักษาแบบทางเลือก ควรใช้สเปรย์จากน้ำเกลือจะดีกว่า

ยาแก้ท้องผูก

           ยาที่มีสารของ Natriumpicosulfate จะทำให้ลำไส้เคลื่อนไหว และขจัดของเสีย แต่ก็จะทำให้ลำไส้ขี้เกียจยิ่งขึ้น เพราะมีผู้ช่วย ข้อแนะนำก็คือ ไม่ควรกินยาถ่ายเกิน 4 วันและควรได้รับการแนะนำจากแพทย์ว่าควรกินได้แค่ไหน

           การรักษาแบบทางเลือก ควรกินผักและผลไม้ที่มีกากใยให้มากขึ้น ลดอาหารแป้ง น้ำตาล และเนื้อสัตว์ลง หากเป็นคนไม่ชอบกินผัก ก็อาจกินเม็ดแมงลักเพื่อใช้เป็นยาระบายเพิ่มกาก โดยใช้เม็ดแมงลัก 1-2 ช้อนชา แช่น้ำหนึ่งแก้วจนพองตัวเต็มที่ กินก่อนนอน ถ้าเม็ดแมงลักพองตัวไม่เต็มที่จะทำให้ท้องอืดและอุจจาระแข็ง เม็ดแมงลักที่พองตัวเต็มที่ จะเพิ่มปริมาณอุจจาระและทำให้อุจจาระอ่อนตัวกว่าปกติ

ยานอนหลับ

           นักวิชาการเตือนว่า ยานอนหลับ อย่างเช่น Nitrazepam จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพลังงานที่สมอง และทำให้ร่างกายต้องการยานอนหลับ ข้อแนะนำก็คือ ควรถามแพทย์ถึงยาที่มีสารที่ให้ผลต่ำ เช่น Brotizolam และไม่ควรกินนานเกินกว่า 2-4 สัปดาห์

           การรักษาแบบทางเลือก อาการที่บอกว่านอนหลับไม่เพียงพอก็คือ รู้สึกอ่อนเพลียระหว่างวัน วิธีปราบอาการนอนไม่หลับง่าย ๆ ก็คือ ก่อนนอนควรอาบน้ำ ฟังเพลงเพราะ ๆ หรืออ่านหนังสือ ไม่ควรกินมากก่อนเข้านอน และงดดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ หากนอนไม่หลับก็อย่ามองนาฬิกาบ่อย ๆ ควรทำสมาธิ ทำจิตให้ว่าง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายให้มากขึ้น แต่ไม่ควรออกกำลังกายในเวลากลางคืนเพราะอาจทำให้นอนไม่หลับได้

           หากทำทุกอย่างดังที่กล่าวมาแล้วก็ยังนอนไม่หลับ ก็อาจต้องพึ่งสมุนไพร เช่น ขี้เหล็ก โดยการใช้ดอกและใบอ่อน 2-3 กำมือ ต้มน้ำดื่มก่อนนอนจะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น



http://health.kapook.com/view20761.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

 

หมอเตือนใช้ ครีมกัดผิว เสี่ยงมะเร็งผิวหนัง


ครีมกัดผิว


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

          วันนี้ (23 มกราคม) กระทรวงสาธารณสุข ออกโรงเตือนวัยรุ่นสาว ๆ โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียนมัธยมต้นและสาวประเภทสอง หลังหันมานิยมใช้ "ครีมกัดผิว" เพื่อเปลี่ยนสีผิวให้ขาวกระจ่างใสทันใจ ชี้ใช้บ่อยอันตราย ทำให้ผิวบาง แพ้สารเคมีง่ายขึ้น และเกิดริ้วรอยเยือนเร็วก่อนวัย แถมอนาคตเสี่ยงเนื้องอก และเป็นมะเร็งผิวหนัง

          โดยนายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ระบุสังคมไทยกำลังนิยมการมีสีผิวขาวใส เพราะเชื่อว่าสามารถทำให้ดูดีขึ้น ดูสดใสเหมือนชาวเกาหลี จึงหันมาใช้ครีมเปลี่ยนสีผิว เนื่องจากมีราคาถูก หาซื้อง่ายได้ง่าย ที่สำคัญใช้แล้วเห็นผลเร็ว ทั้งที่จริง ๆ แล้ว ครีมเปลี่ยนสีผิวมีส่วนผสมของ สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogenperoxide) ซึ่งสารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนระคายเคืองสูง อาจทำให้เกิดระคายเคือง แสบ คัน และเป็นผื่น

          ทั้งนี้ การนำสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มาใช้กับผิวโดยตรง ถือว่าเป็นการนำมาใช้ผิดวัตถุประสงค์ เพราะไม่ได้มีข้อบ่งชี้กำหนดว่าให้ใช้สารนี้ในการฟอกสีผิว อาจทำให้ผิวดูขาวขึ้นจริง แต่จะขาวได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น และหากใช้ตั้งแต่อายุยังน้อย ใช้บ่อย ๆ จะทำให้ผิวหนังบางลง เวลาทาครีมหรือสารชนิดอื่น จะเกิดการซึมซับของสารได้ง่ายกว่าปกติ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ระคายเคืองได้ง่ายขึ้น

          ที่สำคัญผิวหนังที่ผ่านการใช้สารกัดผิว จะมีความทนทานต่อแสงแดดน้อยลง เนื่องจาก "เมลานิน" (Melanin) หรือสารเม็ดสีในผิวหนังโดนฟอกออกไปด้วย ทำให้สารเม็ดสีน้อยลง หากใช้เป็นเวลานานจะเกิดอาการผิวแพ้ง่าย เมื่อโดนแสงแดด เหงื่อออกหรืออยู่ในที่ร้อน ๆ ผิวหนังจะตึง และมีอาการแสบ คัน และเมื่อโดนแสงแดดมาก ๆ เวลานาน ๆ จะถูกทำลายลึกไปถึงระดับโมเลกุลและระดับดีเอ็นเอ จนเกิดเป็นตุ่ม เป็นเม็ดแข็ง เป็นเนื้องอกผิวหนัง และมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังได้มากกว่าผิวธรรมดา


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
     

9 สัญญาณ บอกโรคจากประจำเดือน



ผู้หญิง


9 สัญญาณ บอกโรคจากประจำเดือน (Modern Mom)


          การมี "เมนส์" หรือประจำเดือนมาเป็นปกติทุกเดือน อาจเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับสุขภาพของคุณแม่ และผู้หญิงทุกคน เพราะการมีประจำเดือน เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงการทำงานระบบสืบพันธุ์ว่าปกติ และการทำงานของร่างกายภายในของเรามีความสมดุลลงตัว

          แต่ สำคัญยิ่งกว่านั้น ประจำเดือน ยังสามารถบอกถึงสุขภาพของร่างกายได้อีกด้วย โดยเราสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ จาก 3 อย่าง คือ สี กลิ่น และอาการ ดังต่อไปนี้

          1.ประจำเดือนสีเข้มจัด ออกน้อย มีอาการเหนื่อยง่ายเวลาต้องออกแรง อ่อนเพลียกว่าปกติ เวียนศีรษะ อาจบ่งบอกว่าเป็นสัญญาณของโรคโลหิตจางได้

          2.ประจำเดือนออกมาเป็นลิ่มเลือดคล้ายเลือดหมู มีเลือดออกภายในค่อนข้างมาก อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า กำลังอุ้งเชิงกรานอักเสบ

          3.มีกลิ่นผิดปกติ คัน เจ็บแสบในช่องคลอด ถ้าร่วมกับมีอาการตกขาว แสดงว่าตกขาวจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา พยาธิในช่องคลอด หรือติดเชื้อในมดลูก มีอุ้งเชิงกรานอักเสบ

          4.ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอไม่ปกติ ให้สังเกตว่า มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ตามืดมัวลงเรื่อย ๆ มีหนวดและขนขึ้นผิดธรรมชาติ น้ำนมออกผิดปกติ ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเนื้องอกของรังไข่ หรือตรวจหาความผิดปกติของต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมอง

          5.ประจำเดือนมาน้อยและมีอาการอ่อนเพลีย เฉื่อยเนือย เต้านมแฟบ ขนรักแร้และขนที่อวัยวะเพศร่วง อาจจะเคยตกเลือดอย่างรุนแรง หรือเป็นลมขณะคลอดบุตร ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจหาโรคซีแฮน หรือโรคที่ต่อมใต้สมองขาดเลือด ทำให้ทำงานน้อยลงและทำให้รังไข่ทำงานน้อยลงด้วย

          6.ประจำเดือนมามากจนมีอาการซีด ควรไปพบแพทย์ แต่ที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ คือถ้าเลือดที่ออกมามีกลิ่นเหม็น และมีอาการปวดบริเวณท้องน้อย ต้องระวังเรื่องปีกมดลูกอักเสบ

          7.ประจำเดือนมามากร่วมกับมีอาการปวดประจำเดือน หรือรู้สึกเจ็บเวลาร่วมเพศ และคลำพบก้อนที่ท้องน้อยอันนี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจจะเป็นเนื้องอกในมดลูกได้

          8.ปวดประจำเดือนมากจนหน้าซีดหน้าเซียว หรือยิ่งในวันท้าย ๆ ยิ่งปวดมากขึ้น อย่างนี้ควรจะไปตรวจโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ หรือถุงช็อกโกแลตซีสต์ได้แล้วค่ะ

          9.ประจำเดือนมานานผิดปกติเกินกว่า 7 วัน อาจเป็นตอนหลังคลอดใหม่ ๆ หรือหลังใส่ห่วงคุมกำเนิดก็ถือเป็นเรื่องปกติ ทำนองเดียวกับประจำเดือนที่ขาด ๆ หาย ๆ แล้วพอมาก็มามาก แต่ก็ไม่มีผิดปกติอื่น ๆ และไม่ได้ตั้งครรภ์ มักจะเป็นในช่วงที่อ้วนเกินไป เครียด ออกกำลังกายมากเกินไป

          ประจำ เดือนเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมาเพื่อผู้หญิงทุกคน หากเราหมั่นสังเกตสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างสม่ำเสมอและหมั่นดูแลตัวเองให้ดี ก็จะสามารถช่วยป้องกันโรคได้เป็นอย่างดีค่ะ

http://health.kapook.com/view20709.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

คนไทยป่วยอัมพาตดับวันละ 37 คน-เปิดคัมภีร์เช็คเสี่ยงโรค



ผู้สูงอายุ


สธ.เปิดตัว "คัมภีร์ผู้สูงอายุ" เช็คความเสี่ยงป่วยโรคอัมพาตในผู้สูงอายุ ครั้งแรกในโลก เผยขณะนี้ไทยมียอดเสียชีวิตจากอัมพาตวันละ 37 คน (กระทรวงสาธารณสุข)

           รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยคนไทยเสียชีวิตจากโรคอัมพาตปีละกว่า 13,000 คน เฉลี่ย วันละ 37 คน มีแนวโน้มสูงขึ้นในผู้สูงอายุ พร้อมเปิดตัว "คัมภีร์ผู้สูงอายุ" นวัตกรรมแรกของโลก ใช้ตรวจสอบหาความเสี่ยงป่วยจากโรคอัมพาต เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ไม่ล้มป่วยเป็นอัมพาตในบั้นปลายชีวิต      

           วันนี้ (19 มกราคม 2554) ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์สร้างกระแสป้องกันควบคุมโรคหลอด เลือดสมอง หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า โรคอัมพาต ในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ว่า จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2552 พบประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 7,273,900 คน คิดเป็นร้อยละ 10.7 ของประชาชนทั้งประเทศ ในจำนวนนี้พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตถึงร้อยละ 32 เบาหวานร้อยละ 13 โรคหัวใจร้อยละ 7 โดยพบคนไทยเสียชีวิตจาก โรคอัมพาตปีละ 13,353 คน เฉลี่ยวันละ 37 คน หรือประมาณ 3 คน ทุก ๆ 2 ชั่วโมง และเป็นโรคที่มีอัตราการป่วยเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ จึงต้องเร่งจัดการกับปัญหาดังกล่าว เพื่อรับมือกับการเป็นสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย และให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ไม่ป่วยเป็นอัมพาตในบั้นปลายชีวิต 

           ดร.พรรณสิริกล่าวต่อว่า ในการลดจำนวนการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคอัมพาตในกลุ่มผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเน้นที่การป้องกันให้รู้ปัญหาให้เร็วขึ้น เพื่อป้องกันก่อนเกิดโรค โดยในปีนี้กรมควบคุมโรคได้พัฒนาเครื่องมือตรวจหาความเสี่ยงโรคอัมพาต ที่เรียกว่า "คัมภีร์ผู้สูงอายุ" ซึ่งเป็นนวัตกรรมง่าย ๆ เป็นครั้งแรกในโลก

           เครื่อง มือนี้สามารถใช้ตรวจสอบหาปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคอัมพาต ซึ่งมี 7 ปัจจัยด้วยตนเองได้ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ระดับโคเลสเตอรอล เป็นโรคเบาหวาน ญาติสายตรงเป็นอัมพาต สูบบุหรี่ น้ำหนักตัวเกิน และการออกกำลังกาย และมีการจัดระดับความเสี่ยงแบ่งเป็น 3 สี คือ สีแดง มีความเสี่ยงสูงต้องแก้ไข ป้องกัน สีเหลือง มีความเสี่ยงบ้าง ควรดูแลสุขภาพมากขึ้น และ สีเขียว มีความเสี่ยงต่ำ ให้ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีต่อไป ในรอบแรกจะผลิตแจกให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมงานจำนวน 500 อันก่อน จะมีการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างเหมาะสมฟรี และจะผลิตแจกจ่ายไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 9,750 แห่ง เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันโรค ซึ่งสามารถใช้ตั้งแต่คนวัยทำงานและผู้สูงอายุได้       

           ทาง ด้านนายแพทย์ศิริศักดิ์ วรินทราวาท รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพาต เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องมาจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดการตีบตันหรือแตก ทำให้สมองไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ได้ โรคอัมพาตมักเป็นโรคที่เกิดขึ้นปลายทาง หลังจากที่ป่วยจากโรคเรื้อรังมาเป็นเวลานาน ที่สำคัญ 2 โรคคือโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ทำให้หลอดเลือดแข็ง เปราะง่าย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุซึ่งอยู่ในวัยที่อวัยวะต่าง ๆ เสื่อมถอย เป็นวัยที่เสี่ยงเกิดโรคเรื้อรังมากกว่าวัยอื่นอยู่แล้ว ฉะนั้นคัมภีร์ผู้สูงอายุ จะเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญที่ทำให้คนในวัยทำงาน และผู้สูงอายุสามารถควบคุม ป้องกันได้ ภายใต้แนวคิด "รู้เร็ว รู้ทัน ป้องกันอัมพฤกษ์ อัมพาต" และแก้ไขได้ทันถ่วงที


http://health.kapook.com/view20728.html
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

แพทย์เตือนกินน้ำมันหมูมากไประวังโรค

น้ำมันพืช


แพทย์เตือนกินน้ำมันหมูมากไประวังโรค (ไอเอ็นเอ็น)

          สสจ.พิจิตร ชี้น้ำมันพืชแพง ประชาชนหันมาใช้น้ำมันหมูแทน เตือนหากรับประทานมากเกินไป อาจทำให้เป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้

          นายประจักษ์ วัฒนกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร กล่าวถึงกรณีที่ผู้บริโภคที่หันไปใช้น้ำมันหมูประกอบอาหาร แทนการใช้น้ำมันพืช เนื่องจากราคาน้ำมันพืชพุ่งสูงขึ้นมาก ว่า อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ เนื่องจากน้ำมันทุกชนิดที่ใช้ปรุงอาหาร ถ้าบริโภคมากเกินไป ก็มีข้อเสียทำให้เกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ โดย เฉพาะน้ำมันหมู โอกาสสะสมในหลอดเลือดได้สูงกว่าน้ำมันพืช ดังนั้น วงการแพทย์จึงไม่แนะนำให้บริโภค ทั้งน้ำมันพืช หรือน้ำมันหมูมากเกินไป หากมีความจำเป็น หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรบริโภคแต่เพียงน้อย

          อีก ทั้ง ช่วงนี้ควรใช้วิกฤติเป็นโอกาสปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วยการรับประทานอาหารประเภทแกงป่า ต้มยำน้ำใส หรือแกงจืด รวมถึงอาหารประเภท ต้ม หรือ นึ่ง หรือ ทานผักน้ำพริก ซึ่งนอกจากจะช่วยในการรักษาสุขภาพแล้ว ยังทำให้ประหยัดเงิน และที่สำคัญ ควรมีเวลาให้กับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจร่างกาย รวมถึง พบแพทย์เป็นประจำ ก็จะส่งผลให้สุขภาพแข็งแรงได้


http://health.kapook.com/view20633.html