น้องสาวจ๋าสะอาดหรือยังจ๊ะ



สุขภาพ

น้องสาวจ๋าสะอาดหรือยังจ๊ะ (e-magazine)

          สาว ๆ หลายคนประสบกับปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์ในที่ลับ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากการดูแลน้องสาวไม่ถูกวิธี ทั้ง ๆ ที่ใช้น้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น และแผ่นอนามัยก็แล้ว แต่ทำไมความรู้สึกไม่สะอาดยังคงมีอยู่ ดังนั้น เราจึงมีเคล็ดลับง่าย ๆ ในการดูแลทำความสะอาดจุ๋มจิ๋มแบบถูกวิธีมาฝากกัน

          1. ไม่ว่าจะอยู่ต่างบ้านต่างเมืองจนไม่อยากเข้าห้องน้ำแต่สิ่งที่คุณห้ามพลาด เลยก็คือ ต้องทำความสะอาดน้องสาวทุกวัน ทั้งเช้าและเย็นด้วยน้ำและสบู่ จากนั้นจึงซับให้แห้งด้วยผ้าเช็ดตัวที่สะอาดและอ่อนนุ่ม โดยไม่ควรเช็ดถูแรง ๆ เนื่องจากผิวหนังบริเวณดังกล่าวค่อนข้างละเอียดอ่อนมาก

          2. เวลาที่ล้างทำความสะอาดอย่าได้มองข้ามบริเวณซอกหลืบและรอยพับของแคมนอก เพราะ อาจมีคราบไคลสะสมอยู่ ซึ่งจะทำให้เกิดการหมักหมม จนเป็นแหล่งที่อยู่ของเชื้อโรค ดังนั้นคุณจึงควรล้างด้วยน้ำอุ่น ๆ หรือจะใช้สำลีพันปลายไม้ชุบน้ำอุ่นเช็ด หากจะใช้น้ำยาอนามัยควรเลือกที่มีความเป็นกรดด่างใกล้เคียงกับผิวหนัง คือประมาณ 5.5

          3. ห้ามสวนล้างช่องคลอดด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง และสารเคมีในน้ำยาจะไปทำลายแบคทีเรียที่ชื่อว่า "แลคโตแบซิลลัส" ซึ่งมีหน้าที่ช่วยปรับสภาพในช่องคลอดให้เป็นกรดอ่อน ๆ ทำให้เชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายไม่สามารถเจริญเติบโตได้ เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วช่องคลอดจะมีการทำความสะอาดภายในตัวเอง โดยจะขับสิ่งสกปรกออกมาเป็นตกขาว ซึ่งจะมีมากน้อยต่างกันไป

          4. เรื่องของขนอ่อน ๆ ที่อยู่ภายนอก ตามธรรมชาติแล้วมีไว้เพื่อความสวยงามและป้องกันไม่ให้ความชุ่มชื้นระเหยออกมา คุณจึงไม่ควรถอน โกน หรือย้อมสีตามสมัยนิยม เพียงแค่ตัดเล็มเสริมแต่งให้พองามก็ดีแล้ว

          5. เมื่อถึงช่วงนั้นของเดือน ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ถ้าเป็นไปได้ควรเปลี่ยนทุก ๆ 3 ชั่วโมง และ การใช้ผ้าอนามัยแบบสอดก็ควรเลือกแบบที่สะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐาน ส่วนอีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ไม่ควรเก็บผ้าอนามัยไว้ในที่อับชื้น เพราะจะทำให้เป็นเชื้อราได้ง่าย ส่วนแผ่นอนามัยที่สาว ๆ นิยมใช้เป็นประจำทุกวัน ความจริงแล้วไม่ใช่ของที่จำเป็นเลย เพราะจะทำให้น้องสาวของเราอับชื้นและติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้น ใช้ในช่วงที่เพิ่งหมดประจำเดือนไม่กี่วันก็เพียงพอแล้ว

          6. สำหรับกางเกงในที่ใส่ควรมีเนื้อผ้าบางเบา เช่น ผ้าฝ้าย เพื่อช่วยลดความอับชื้นของอวัยวะเพศ อย่าให้คับหรือหลวมจนเกินไป และควรซักตากให้แห้งก่อนนำมาใช้ เพราะจะช่วยฆ่าเชื้อราและไม่ควรใช้กางเกงในร่วมกับคนอื่น ส่วนในยามค่ำคืน การนอนแบบไม่สวมกางเกงลิงจะช่วยให้น้องสาวของเรารู้สึกสบายยิ่งขึ้น

          7. ทุกครั้งหลังถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ควรใช้น้ำล้างให้สะอาด แล้วใช้กระดาษชำระซับให้แห้ง โดยเช็ดจากอวัยวะเพศไปทวารหนัก เพื่อไม่ให้เชื้อโรคจากทวารหนักติดต่อมายังช่องคลอด

          8. รู้จักสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ บริเวณอวัยวะเพศ เช่น คันในช่องคลอด ตกขาวมากจนผิดสังเกต อวัยวะ เพศมีกลิ่นเหม็นมากตกขาวมีสีผิดไปจากเดิม หรือเวลาปัสสาวะแล้วรู้สึกเจ็บเหมือนปัสสาวะไม่สุด ควรไปพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง

          9. รับประทานอาหารที่มีคุณค่า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ ก็ช่วยให้ทั้งน้องสาว และสุขภาพของเราแข็งแรงได้อย่างแน่นอน




ลิขสิทธิ์บทความของ e-magazine.info
ติดตามบทความ สุขภาพ หรืออ่าน แมกกาซีน

ดื่มน้ำสะอาด...วิธีรับมือโรคที่มากับอุทกภัย



น้ำ


ดื่มน้ำสะอาด...วิธีรับมือโรคที่มากับอุทกภัย (ไทยโพสต์)

          ในช่วงที่มีน้ำท่วมขังอย่างนี้ การเตรียมพร้อมรับมือกับสารพัดโรคที่มาพร้อมน้ำท่วม เช่น โรค ทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจ โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง โรคน้ำกัดเท้า โรคฉี่หนู ฯลฯ นั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่เป็นเด็กเล็ก ดังนั้นการดื่มน้ำสะอาดและสังเกตอาการเบื้องต้นของโรค และรีบพบแพทย์ทันทีหากพบความผิดปกติรุนแรง สามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคที่แฝงมากับน้ำท่วมลงได้

          รอ.นพ.พันเลิศ ปิยะลาศ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า การดูแลตนเองและสังเกตอาการผิดปกติในเบื้องต้น จะช่วยป้องกันโรคได้ในระดับหนึ่ง ที่สำคัญควรดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น เช็ดตัวให้แห้ง หลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันอันตรายจากไข้หวัดใหญ่และปอดบวม

          ขณะเดียวกันก็ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด หรืออาหารกระป๋องที่ยังไม่หมดอายุ กระป๋องไม่บวมหรือเป็นสนิม รวมทั้งดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำจากขวดที่ฝาปิดสนิท หรือน้ำต้มสุกเพื่อทำลายเชื้อโรคในน้ำ ใน ส่วนของน้ำใช้หากไม่แน่ใจว่ามีความสะอาดเพียงพอหรือไม่ ให้ใช้ผงปูนคลอรีนทำลายเชื้อโรคในน้ำ โดยคลอรีนสามารถทำลายเชื้อโรคได้มากกว่า 99% รวมทั้งเชื้อ อีโคไล (E.coli) และเชื้อไวรัส นอกจากนี้ผงปูนคลอรีนสามารถเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำได้ ซึ่งการใช้คลอรีนอย่างระมัดระวังจะไม่เกิดอันตราย และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการถ่ายอุจจาระลงในน้ำ ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดของโรคระบาด

          สำหรับการป้องกันตัวเองจากโรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส ที่เป็นโรคยอดฮิตในช่วงน้ำท่วมนั้น ควรหลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน และ ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำ โดยการสวมร้องเท้าบู๊ตยาง หากไม่สามารถเลี่ยงได้ควรรีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุด แต่หากพบอาการระคายเคืองบริเวณตา ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคตาแดง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดทันที หรือถ้ามีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตาไม่ควรขยี้ตาด้วยมือที่สกปรก อย่าให้แมลงตอมตา และหลีกเลี่ยงที่จะใช้ของร่วมกับผู้ป่วยเพื่อป้องกันการระบาดของโรค

           นอกจากนี้ อุบัติเหตุที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วมได้แก่ ไฟดูด จมน้ำ เหยียบของมีคม สามารถป้องกันได้โดยถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า สับคัตเอาต์ตัดไฟฟ้าในบ้านก่อนที่น้ำจะท่วมถึง ขณะเดียวกันคุณหมอกล่าวว่า การเก็บกวาดขยะวัตถุแหลมคมในบริเวณอาคารบ้านเรือน และตามทางเดินอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากของมีคมได้แล้ว ยังช่วยป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นงู ตะขาบ แมงป่อง ซึ่งหนีน้ำมาหลบอาศัยในบริเวณบ้านเรือนได้ด้วย

          อย่าง ไรก็ตาม เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม คุณหมอกล่าวว่าสิ่งแรกที่ต้องทำคือ มีสติ อย่าตกใจหรือกลัวจนขาดสติ ควรเตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ ติดตามรายงานของทางราชการอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนศึกษาขั้นตอนการอพยพ ระบบการเตือนภัยและเส้นทางการเคลื่อนย้ายในกรณีเร่งด่วน




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

อาหารอะไร? คนมีอาการปัสสาวะเล็ดควรเลี่ยง



อาหารเพื่อสุขภาพ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          การ อั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือ ภาวะปัสสาวะเล็ด เป็นอาการที่พบเห็นได้บ่อย ซึ่งมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และในผู้สูงวัยมากกว่าคนหนุ่มสาว แต่คนทั่วไปก็ประสบความยากลำบากจากอาการนี้ได้เช่นกัน เราจึงได้นำรายการอาหารต่าง ๆ ที่ผู้มีภาวะปัสสาวะเล็ดควรหลีกเลี่ยง จากเว็บไซต์สุขภาพ  health.com รวบรวมเอาไว้ มาฝากกันค่ะ

1. การบริโภคของเหลวชนิดต่าง ๆ

          การบริโภคของเหลวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำเปล่า นม น้ำผลไม้ ซุป ฯลฯ ทำให้เกิดของเหลวสะสมในกระเพาะปัสสาวะ กระตุ้นให้เกิดอาการอยากเข้าห้องน้ำไปฉี่บ่อย ๆ อย่างไรก็ตามคุณไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการงดบริโภคของเหลวทุกชนิด เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ยังทำให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการระคายเคือง และก่อให้เกิดโรคนิ่วได้ ทางออกที่ดีคือการบริโภคน้ำในปริมาณที่เหมาะสม คือวันละ 8 แก้ว ซึ่งอาจเพิ่มหรือลดลงจากนี้ได้ตามมวลกายของคุณ และหากคุณประสบปัญหาลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกเป็นประจำ การลดปริมาณและของเหลวในมื้อเย็น และก่อนเข้านอนจะช่วยให้อาการของคุณดีขึ้น

2. การดื่มแอลกอฮอล์

          แอลกอฮอล์มีคุณสมบัติขับปัสสาวะ โดยนอกจากจะทำให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคืองแล้ว และยังไปเพิ่มปริมาณของเหลวในกระเพาะปัสสาวะด้วย การงดหรือจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่บริโภคในหนึ่งวัน จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้

3. การดื่มชาและกาแฟ

          ชาและกาแฟต่างก็มีสารคาอีน ซึ่งออกฤทธิ์ขับปัสสาวะและทำให้กระเพาะปัสสาวะเกิดอาการระคายเคืองได้เช่น เดียวกับแอลกอฮอล์ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีน แต่หากทำใจงดชาและกาแฟถ้วยโปรดไม่ได้ ลองเลือกชากาแฟประเภทดีคาฟ (decaf) ซึ่งมีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่าปกติแทนถ้วยปกติที่ดื่มเป็นประจำ

4. ช็อกโกแลต

          ต้องขอแสดงความเสียใจกับช็อกโกแลตเลิฟเวอร์ที่ประสบปัญหาภาวะปัสสาวะเล็ด เพราะช็อกโกแลตแสนอร่อย ไม่ว่าจะเป็นแบบดาร์กช็อกโกแลต ช็อกโกแลตนม โกโก้เย็น หรือว่าฮ็อตช็อกโกแลตอุ่น ๆ ที่ดื่มก่อนนอน ต่างก็มีสารคาเฟอีนเจือปนอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลต่ออาการปวดปัสสาวะด้วย

5. น้ำตาล

          หากคุณกำลังพยายามด้วยทดแทนช็อกโกแลตด้วยของหวานชนิดอื่น คงจะต้องผิดหวังอีกครั้ง เมื่อน้ำตาลเองก็สามารถสร้างความระคายเคืองให้กับกระเพาะปัสสาวะได้เช่นกัน โดยน้ำตาลในที่นี้ยังหมายรวมถึง น้ำผึ้ง น้ำเชื่อมข้าวโพดหรือคอร์นซีรัป และน้ำตาลฟรักโทสซึ่งพบได้ในผลไม้ทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องงดน้ำตาลเหล่านี้โดยสิ้นเชิงเพื่อรักษาอาการกลั้นปัสสาวะ ไม่อยู่ เพราะน้ำตาลเองก็มีประโยชน์ช่วยให้ความสดชื่นกับร่างกาย เพราะฉะนั้นเพียงเลือกบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะก็เพียงพอ

6. น้ำอัดลม

          น้ำรสซ่าอย่างน้ำอัดลมประเภทต่าง ๆ มีทั้งส่วนผสมของคาเฟอีน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทำให้ภาวะปัสสาวะเล็ดยิ่งย่ำแย่ลง ด้วยทั้งคู่นั้นต่างทำให้เกิดอาการระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ นอกเหนือจากการหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และน้ำอัดลมแล้ว ผู้ที่ประสบปัญหากลั้นปัสสาวะไม่ได้ ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เจือสารสังเคราะห์ เช่น สารแต่งกลิ่นและสี และเน้นการรับประทานอาหารที่มาจากธรรมชาติ อันอุดมไปด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนท์และวิตามินแทน

7. อาหารรสเผ็ด

          อาหารรสเผ็ดจัด อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งทีทำให้ผู้ที่มีปัญหาในการกลั้นปัสสาวะ มีอาการแย่ลงกว่าเดิม เพราะฉะนั้นหากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของผงกะหรี่, พริก, พริกไทย, พริกปาปริก้า และอาหารที่มีรสชาาติเผ็ดร้อนทั้งหลาย

8. ผลไม้รสเปรี้ยว

          แม้ผลไม้รสเปรี้ยวอย่างมะนาว เลมอน ส้ม เกรปฟรุต หรือแม้กระทั่งมะเขือเทศ จะอุดมไปด้วยวิตามินซี แต่กรดที่ทำให้เกิดรสเปรี้ยวนี้ จะไปรบกวนการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะให้บีบตัว ทำให้เกิดอาการปวดฉี่ อยากเข้าห้องน้ำได้

9. แครนเบอร์รี่

          ในทางหนึ่งแครนเบอร์รี่สามารถใช้เป็นอาหารบำบัดในรายที่มีอาการทางเดิน ปัสสาวะอักเสบ หลายคนจึงมักเข้าใจผิดว่ามันสามารถใช้รักษาอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ แต่ในความจริงแล้วมันกลับยิ่งทำให้อาการกลั้นปัสสาวะได้ลำบากยื่งหนักขึ้น เนื่องจากแครนเบอร์รี่มีค่า pH เป็นกรด อันทำให้เกิดอาการระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง

10. ยาบางประเภท

          ยาบางประเภทที่ใช้รักษาอาการโรคหัวใจ, โรคความดันตํ่า, ยาคลายกล้ามเนื้อ, ยาระงับประสาท และ ยาอีกบางชนิด ทำให้อาการกลั้นปัสสาวะลำบากยิ่งย่ำแย่ลง เนื่องด้วยเมื่อกินยาเข้าไป ร่างกายจะพยายามขับน้ำส่วนเกินออก เพื่อให้หัวใจและอวัยวะส่วนต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปริมาณของเหลวในกระเพาะปัสสาวะจึงมีเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกปวดปัดสาวะขึ้นมานั่นเอง อย่างไรก็ตามหากคุณกำลังประสบปัญหาเช่นกรณีนี้ อย่าหยุดยาด้วยตัวเองเพื่อรักษาอาการกลั้นปัสสาวะยาก แต่ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ของคุณเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมขึ้น

          อาการ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือ ภาวะปัสสาวะเล็ด ดูไม่เป็นพิษภัยร้ายแรงที่คุกคามชีวิตเช่นโรคร้ายอื่น ๆ แต่ก็สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันอยู่ไม่น้อย เพราะ ฉะนั้นอย่าลืมที่จะเอาใจใส่ และสังเกตความผิดปกติของกลไกการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย และหากพบอาการผิดปกติเรื่องการปัสสาวะเช่นนี้ ควรเข้าพบแพทย์และหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้อาการปัสสาวะเล็ดยิ่งย่ำแย่ ลงด้วยค่ะ

กรมอนามัยเตือนเล่นน้ำเน่าอาจถึงตายได้





น้ำท่วม

 
กรมอนามัยเตือนเล่นน้ำเน่าอาจถึงตายได้ (ไอเอ็นเอ็น)

          อธิบดีกรมอนามัย เผย การทำความสะอาดหลังน้ำลด ต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้าก่อน ย้ำ อย่าลงเล่นน้ำเน่า เพราะอาจถึงชีวิตได้

          น.พ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงการทำความสะอาดบ้านเรือนให้ปราศจากเชื้อโรคตกค้างภายหลังน้ำลด ว่า เบื้องต้น ต้องตรวจระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และเครื่องใช้ไฟฟ้า ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด รวมทั้งควรตรวจสอบฝ้าและเพดาน ว่า ได้รับความเสียหายผุพังหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้พังลงมาทับ ควรนำถุงดำ แยกขยะอันตราย เช่น ถ่านไฟฉาย หรือกระป๋องสเปร์ย จากนั้นให้เริ่มทำความสะอาดพื้นบ้านด้วยการขัดล้างให้สะอาด ที่สำคัญ การทำความสะอาดห้องน้ำ ถ้าพบว่ามีกลิ่นเหม็น ต้องใช้สารอีเอ็มใส่ลงไปในโถสุขภัณฑ์เพื่อลดกลิ่น สำหรับเชื้อราที่ขึ้นตามฝาผนังบ้าน ควรใช้แปรงขัดร่วมกับผงซักฟอกขจัดเชื้อรา

          สำหรับประชาชนที่ยังถูกน้ำท่วมขัง ไม่ควรถ่ายอุจจาระ หรือทิ้งขยะลงน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดโรคระบาดได้ ที่สำคัญไม่ควรลงเล่นน้ำเน่าเสีย เนื่องจากมีเชื้อโรคจำนวนมากที่พร้อมจะเข้าร่างกาย ทั้งทางปาก จมูก หรือทางบาดแผล ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้




แพทย์ชี้ผู้สูงอายุเสี่ยงกระดูกพรุนเพิ่ม ช่วงอุทกภัย



กระดูกพรุน


เตือนภัยอุทกภัย...ผู้สูงอายุเสี่ยง ลื่นล้มซ้ำกระดูกหัก-พรุนเพิ่มขึ้น (ไอเอ็นเอ็น)

          จาก วิกฤตการณ์ภาวะอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในหลายจังหวัดขณะนี้ ส่งผลทำให้ผู้ประสบภัยจากน้ำท่วมโดยเฉพาะผู้สูงอายุ อยู่ในสภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น

          โดยในปัจจุบันหญิงและชายสูงอายุส่วนใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น ซึ่ง ในช่วงของอุทกภัยที่คาดว่าจะใช้ระยะเวลายาวนานหลายเดือน จะส่งผลทำให้ผู้สูงอายุเกิดปัญหาทางร่างกายด้วยการขาดแคลเซียม อันเนื่องมาจากการรับประทานอาหารน้อย และที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการหรือไม่ครบ 5 หมู่ เช่น อาหารกระป๋องหรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

          ขณะที่บางคนเมื่อน้ำท่วมบ้านหนัก ๆ ก็ไม่สามารถออกจากบ้านพักอาศัย ได้แต่อยู่ในที่แคบ ๆ ไม่ได้โดนแดด หรือรับวิตามินดีจากแสงแดด หรือไม่มีการเดินเหินเหมือนปกติทั่วไป ผู้สูงอายุบางคนอาจเกิดอาการ ลื่นหกล้มจากตะไคร่ หรือพื้นบ้านที่ลื่น ทำให้กระดูกหักตามส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระดูกตามแขน ข้อมือ นิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อเท้า ขา ทั้งหมดเป็นปัญหากับผู้สูงอายุทั้งสิ้น ปัญหาของโรคกระดูกพรุนก็จะเพิ่มขึ้นมาอีก

          นพ.บุญวัฒน์ จะโนภาษ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ คลินิก ศูนย์แพทย์พัฒนา กล่าวว่า การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุอันเกิดจากพื้นไม่เรียบ หรือแสงสว่างไม่เพียงพอ เป็นมหันตภัยเงียบของโรคกระดูกพรุน ผู้ป่วยสูงอายุเหล่านี้ไม่เคยรู้ตัวเองเลยว่าป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนมาก่อน แต่เมื่อเกิดการหักของกระดูก หรือกระดูกยุบตัวจากอุบัติเหตุจึงได้รู้ความจริง แต่ขั้นตอนการรักษานั้นทำได้ยาก ถึงแม้จะมีหลายวิธีที่จะทำการรักษา แต่ก็ไม่หายขาดเหมือนเก่า ซึ่งวิธีการรักษาก็จะมีทั้งการรับยา การทานยาแคลเซียมเพื่อเสริมความแข็งแรงของกระดูก การเข้าเฝือก การดามเหล็กหรือการฉีดซีเมนต์ เมื่อมีอาการกระดูกแตกหรือหักหรือยุบตัว

          "ใน ช่วงภาวะน้ำท่วม ขณะนี้มีผู้สูงอายุได้รับอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น บางคนถึงกับเกิดกระดูกสันหลังยุบตัว เพราะไปช่วยคนในครอบครัวยกของหนักเพื่อหนีน้ำ นำของขึ้นที่สูง บางคนเดินไปสะดุดล้ม หรือลื่นหกล้ม ซึ่งไม่กี่วันที่ผ่านมามีคนไข้ที่กระดูกมือกระดูกเท้าหัก และมีคนไข้ที่กระดูกสันหลังยุบ เนื่องจากไปช่วยลูกหลานของตัวเองยกของ ซึ่งภายในไม่กี่วันที่ผ่านมามีคนไข้ผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนสูงขึ้น และส่วนใหญ่เป็นโรคกระดูกพรุนโดยไม่รู้ตัวและไม่แสดงอาการ"

          "นอกจากนี้อีกปัจจัยหนึ่งที่น่าห่วงผู้สูงอายุในขณะนี้ก็คือ ควรระมัดระวังเรื่องของการดูแลเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยง เนื่องจากบางทีเด็กเล็กมักจะเล่นกับคุณยาย คุณย่ารุนแรง หรือเราไปอุ้มเขาผิดท่าผิดจังหวะบ้าง ทำให้เราบาดเจ็บผิดท่า เกิดอาการกระดูกสันหลังยุบตัว หรือข้อมือข้อเท้าหักได้ หรือบางครั้งคนสูงอายุชอบเลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัข แล้วเดินจูงไปจูงมา เกิดลื่นหรือหกล้มทำให้เกิดกระดูกหักได้"

          สำหรับ การป้องกัน และปรับพฤติกรรมของผู้สูงอายุในขณะนี้ ควรจะต้องมีการออกกำลังกายเบา ๆ  เช่น การยืดแขนยืดขาให้สุดหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้การทรงตัวดีขึ้น และจะต้องรับประทานอาหารให้ครบหลัก 5 หมู่ ตามสูตร "ส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู" รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม หรือปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว กะปิ กุ้งแห้ง หรือยาแคลเซียมที่แพทย์จ่ายให้ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนอยู่แล้ว แพทย์อาจจ่ายยาที่ช่วยเพิ่มมวลกระดูกให้ด้วย ซึ่งยาเหล่านี้ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องและอยู่ในการดูแลของแพทย์

          หาก ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ประสิทธิผลของยาในการลดการหักของกระดูกไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่ยังมียาอีกชนิดหนึ่งเป็นยาชนิดฉีด เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุน ใช้ฉีดปีละ 1 ครั้งทางหลอดเลือดดำ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่มีปัญหารับประทานยาไม่สม่ำเสมอ และผู้ป่วยที่ลำบากในการเดินทางมาตรวจกับแพทย์.


ขอขอบคุณข้อมูลจาก