ที่มา กรมส่งเสริมการเกษตร
ตำลึง เป็นผักพื้นบ้านที่คนทั่วไปรู้จักกันมานาน เป็นผักที่มี คุณค่าทางโภชนาการมาก สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น แกงจืด ต้มจิ้มน้ำพริก ใส่ก๋วยเตี๋ยวและต้มเลือดหมู เป็นต้น ในอดีตนั้นเราไม่ จำเป็น ต้องปลูกตำลึงเอาไว้รับประทานเอง เนื่องจากตำลึงมักพบเห็นทั่วไป ตามเถาไม้เลื้อยอื่น ตามพุ่มไม้เตี้ยหรือพุ่มไม้แห้งตาย รวมทั้งขึ้นตามริม รั้วบ้าน จนมีคำกล่าวถึง “ ตำลึงริมรั้ว ” อยู่เสมอ
แต่ในปัจจุบันเราไม่ค่อยพบตำลึงตามริมรั้วอีกแล้ว จะเห็นก็เฉพาะ ในที่รกร้างว่างเปล่า หรือไม่ก็ตามสวนที่ปลูกตำลึงไว้เพื่อการค้า ซึ่งสามารถ ทำรายได้อย่างงามแก่ผู้ปลูกตำลึงขายเป็นอย่างดี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อย เถาตำลึงมี ลักษณะกลม แยกเพศกันอยู่คนละต้น ปลายดอก
แยกออกเป็น 5 แฉก โคนติดกันเป็นกรวย ผลมีรูปร่าง กลมรีคล้ายแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลอ่อนมี
สีเขียวลายขาว เมื่อแก่กลายเป็นสีแดง ตำลึงเป็น พืชที่ชอบน้ำ จะสังเกตเห็นว่าในหน้าแล้งใบตำลึงจะ
แคระแกร็น แต่ในหน้าฝนยอดตำลึงจะอ่อนอวบอิ่ม น่ารับประทาน ตำลึงออกดอกประมาณ
เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม
คุณค่าทางอาหารตำลึงเป็นผักใบเขียวเข้มมีคุณค่าทางอาหารสูงมีทั้งเบต้า – แคโรทีน ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด ทั้งในแคลเซียม และสารอาหารอื่น ๆ ที่พร้อมกันมาช่วยให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนี้ยังพบว่า ตำลึงยังประกอบไปด้วยเส้นใย ที่มีความสามารถในการจับ
ไนไตรท์ได้ดีที่สุด เมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น นี่เป็นคุณลักษณะพิเศษของตำลึง ที่มีเส้นใยคอยจับไนไตรท์เพราะจะเป็นการลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งใน กระเพาะอาหารได้
การปลูกและการขยายพันธุ์ตำลึงมีการปลูกและขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ
• เพาะเมล็ด
• ปักชำด้วยเถา
การเพาะเมล็ดมีวิธีการง่าย ๆ ดังนี้
เตรียมดินเหมือนปลูกผักทั่วไปผสมปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยคอกก็ได้ นำ ผลตำลึงแก่สีแดงแกะเอาเมล็ดออกมาโรยบนดินที่เตรียมไว้ โรยดินกลบหรือ ใช้ใบไม้แห้งกลบบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตำลึงชอบดินชุ่มแต่อย่าให้แฉะ เพราะจะเกิดโรคโคนเน่าได้ เมื่อต้นงอกขึ้นมาสักประมาณ 5 ซม. เริ่มมีมือเกาะให้ทำค้าง
(เนื่องจากตำลึงเป็นไม้เลื้อย จำเป็นต้องใช้ค้าง เพื่อให้ตำลึงไต่ขึ้นสู่ที่สูงเพื่อ รับแสงแดด ) เหมาะที่สุดคือ ความสูงระดับ 1 เมตรขึ้นไป แต่ไม่ควรสูงเกิน 3 เมตร เพราะจะไม่สะดวกในการเก็บยอดตำลึง โดยใช้ไม้ไผ่ต้นเล็ก 3 ต้น ปัก เป็น 3 เส้า รอบปลายเชือกเข้าไว้ด้วยกัน ผูกด้วยเชือกกล้วยหรือเชือกปอ ใช้
วัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เพื่อช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง หรือหากมีรั้วไม้ระแนง ก็ถือโอกาสใช้ประโยชน์โดยโรยเมล็ดไปตามริมรั้วเลย ทีเดียว
ตำลึงต้องได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ลมโกรกผ่านได้ ตำลึงจะ สังเคราะห์แสงแดดคายไอน้ำได้เต็มที่ ควรปล่อยให้มดแดงขึ้น เพราะจะช่วยกิน เพลี้ยและแมลงที่จะมากัดกินตำลึง
ปักชำด้วยเถาการปลูกตำลึงเพื่อการค้านั้นนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ เนื่องจาก ตำลึงจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการเพาะด้วยเมล็ด
วิธีการปักชำให้นำเถาที่แก่พอสมควรมาตัดให้ยาว 15 – 20 ซม. ปักชำในหลุม ปลูกที่ได้เตรียมไว้แล้ว( ลักษณะขั้นตอนการปลูกเหมือนกับหัวข้อการเพาะ เมล็ด ) พอเจริญเติบโตเต็มที่ประมาณ 1 เดือน ก็สามารถเก็บยอดมาปรุงอาหาร ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ตำลึงแตกยอดใหม่ทยอยออกมาตลอดปี ต้องหมั่น เก็บมาบริโภคอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันให้ใส่ปุ๋ยคอก ช่วยเพิ่มเติมอาหารในดิน ประมาณเดือนละครั้ง ต้องหมั่นรดน้ำสม่ำเสมอในหน้าแล้งและหน้าหนาว ส่วนหน้าฝนจะเว้นได้บ้างแต่ต้องช่วยรดน้ำในขณะที่ฝนทิ้งช่วง
จัดทำ/เผยแพร่โดย : กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร
สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี
กรมส่งเสริมการเกษตร
การ์ตูนผู้หญิงแบบ PDF สั่งได้เลยที่ไลน์ไอดี fattycatty หรือแสกนคิวอาร์โค้ดไลน์ที่นี่