Showing posts with label วิทยาศาสตร์ กลไก. Show all posts
Showing posts with label วิทยาศาสตร์ กลไก. Show all posts

มหาคลื่นแห่งเทพโพเซดอนปกป้องชาวกรีก ที่แท้คือ “สึนามิ”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤษภาคม 2555 16:20 น.
คลื่นยักษ์ของเทพโพเซดอนที่กวาดล้าง ทหารเปอร์เซีย ปกป้องชาวกรีกให้พ้นจากภัยคุกคามนั้น แท้จริงแล้ว ก็คือ “สึนามิ” แห่งยุคโบราณ ที่นักธรณีวิทยายุคใหม่ชี้ชัดไว้ ซ้ำจากบันทึกอดีต ยังระบุว่า คลื่นดังกล่าวเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง กลายเป็นคำถามถึงความเสี่ยงของชายฝั่งพักร้อนในแถบทะเลเอเจียน
      
       เมื่อ 2,500 ปีก่อน เมืองชายฝั่งแห่งหนึ่งของกรีก รอดพ้นจากการรุกรานของทหารเปอร์เซีย ที่ยกกองกำลังมาทางเรือ พร้อมปล้นสะดม โดยจากบันทึกของ เฮโรโดตัส (Herodotus) นักประวัติศาสตร์แห่งยุคกรีกโบราณ บอกเล่าเหตุการณ์คลื่นยักษ์ที่พากองทหารเปอร์เซียหายสู่ทะเลต่อหน้าต่อตาชาว เมือง โดยพวกเขาเชื่อว่า เทพแห่งท้องทะเล คือ “โพเซดอน” ได้ช่วยเหลือ พร้อมทั้งได้ขนานนามคลื่นทะลุหนุนสูงว่า “โพเซดอนเวฟ” (Poseidon Wave)
      
       ทว่า จากการศึกษาหลักฐานในยุคดิจิทัลนี้ ได้ชี้ชัดว่า เหตุกาณ์อันเป็นตำนาน ที่เทพปกป้องมนุษย์จากการรุกรานนั้น แท้จริงคือปรากฏการณ์ธรรมชาติ และมันคือ “สึนามิ” ที่เราคุ้นหูกันนี่เอง ซึ่งนับเป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ที่ต้องใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์เข้าขยายความ
      
       เคลาส์ ไรชเออร์เตอร์ (Klaus Reicherter) นักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมัน แห่งมหาวิทยาลัยอาเคิน (Aachen University) ในเยอรมนี ได้ศึกษาหลักฐานทางภูมิศาสตร์ของเหตุการณ์ จนมีข้อสรุปดังกล่าว พร้อมทั้งเสนอไว้ในการประชุมของสมาคมแผ่นดินไหวแห่งอเมริกา (Seismological Society of America) เมื่อช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา โดยอาวเออร์อะเมซิงแพลเน็ต (OurAmazingPlanet) ได้นำมารายงาน
      
       ข้อความของเฮโรโดตัส เขียนเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ปัจจุบันคือ บริเวณแหลมคาสซานดรา (Kassandra) ทางตอนเหนือของกรีซ มุ่งสู่เมืองเนียโพทีเดีย (Nea Potidea) ว่า ขณะ ที่กองทัพเรือของเปอร์เซียกำลังมุ่งหน้าเข้ามาที่ชายฝั่ง น้ำทะเลก็เริ่มลดแห้งลง แต่ยังไม่ทันที่ผู้บุกรุกจะได้เหยียบแผ่นดิน ท้องทะเลก็คำรามพร้อมกับคลื่นยักษ์หนุน ดูดกลืนทหารเปอร์เซียหายไปสิ้น ทำให้ชาวเมืองปลอดภัยจากการรุกราน
      
       “กระแสน้ำขนาดใหญ่จากทะเลหนุน สูงขึ้นมากกว่าที่เคยเห็นมาก่อน และในฐานะที่เป็นคนที่นี่ เชื่อว่า กระแสน้ำหนุนสูงเช่นนี้ มีเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง” เฮโรโดตัสบันทึกไว้ ในสิ่งที่เห็นกับตาพร้อมกับชาวเมืองเนียโพทีเดีย
      
       ทว่า การบรรยายเหตุการณ์คลื่นทะเลที่กลืนทหารเปอร์เซียไป นั้น ทำให้ไรชเออร์เตอร์ แน่ใจว่า นั่นคือ รูปแบบการเกิดสึนามิ และยังแสดงให้เห็นว่า บริเวณชายฝั่งทะเลเอเจียน แถบนั้นน่าจะมีคลื่นสึนามิเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากกว่าที่เราคิด
      
       “ถ้าหลักฐานจากการบันทึกทางประวัติศาสตร์เหล่านั้นถูกต้องจะต้องเข้า ไปประเมินที่บริเวณชายฝั่งดังกล่าว” ไรชเอร์เตอร์ กล่าว เพราะจากบันทึกของเฮโรโดตัส ที่บอกว่า เห็นน้ำทะเลขึ้นสูงบ่อยครั้ง ทำให้เกิดคำถามว่า ชายฝั่งบริเวณนั้นจะมีความปลอดภัยหรือไม่ เพราะปัจจุบันกลายเป็นสถานที่พักร้อนยอดนิยมในแถบนั้นไปเสียแล้วด้วย
      
       ทั้งนี้ ไรชเออร์เตอร์ เปิดเผยว่า ความเชื่อว่าสึนามิที่ชายฝั่งของกรีซ มีอยู่จริงไม่ใช่แค่จากบันทึกเรื่องเล่าโบราณ แต่พื้นดินที่อยู่ใกล้กับเมืองเนียโพทีเดีย นักวิจัยได้ขุดพบชั้นทรายที่คลื่นสึนามิพามาทับถมไว้ และยิ่งกว่านั้น สภาพทางภูมิศาสตร์ในบริเวณดังกล่าวยังมีความเป็นไปได้ในการก่อรูปร่างคลื่น ยักษ์ขนาดใหญ่ ซึ่งก้นทะเลที่มีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ใกล้กับชายฝั่งทางตะวันตกเฉียง เหนือของกรีซ
      
       จากข้อมูลดังกล่าว เมื่อไรชเออร์เตอร์ และทีมได้สร้างแบบจำลองขึ้นมา ทำให้เห็นว่า มีปัจจัยมากพอที่จะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวและแผ่นดินถล่ม รวมถึงคลื่นยักษ์สึนามิสูงราว 2-5 เมตร
      
       ทั้งนี้ งานวิจัยของไรชเออร์เตอร์เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาประเมินผลกระทบของสึนามิ โบราณ เพื่อจะพิจารณาว่าพื้นที่ส่วนใดที่เสี่ยงต่อการถูกทำลายด้วยคลื่นยักษ์ และยังช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเตรียมการรองรับภัยธรรมชาติอาจจะเกิดขึ้นใน วันข้างหน้า

เปิดประสบการณ์ถ่ายภาพหอดูดาวเกาหลีใต้

ศุภฤกษ์ คฤหานนท์
ภาพ หอดูดาวโซแบกซาน Sobaeksan Optical Astronomy Observatory (SOAO) หอดูดาวแรกของสถาบันดาราศาสตร์และอวกาศเกาหลี (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ : Canon EOS 5D Mark2 / Fisheye 15 มม. / F2.8 / ISO 1600 / 30 วินาที)
       ใน ช่วงที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานกับโครงการยุวทูตดาราศาสตร์ ณ ประเทศเกาหลี ซึ่งเป็นการเดินทางไปทัศนศึกษาหน่วยงานทางดาราศาสตร์ ณ สาธารณรัฐเกาหลี เช่น Korea Astronomy and Space Science Instuitute (KASI) ณ เมือง Daejeon ซึ่งเป็นเมืองแห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้เรียนรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของวงการดาราศาสตร์ในเกาหลีใต้ ที่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสามผู้นำทางดาราศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก นอกเหนือจากจีน และญี่ปุ่น
      
        นอกจากนี้ยังได้เยี่ยมชมการทำงานของนักดาราศาสตร์ ณ หอดูดาว Bohyunsan ที่ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 เมตร หอดูดาวโซแบกซาน Sobaeksan Optical Astronomy Observatory (SOAO) หอดูดาวแรกของสถาบันดาราศาสตร์และอวกาศเกาหลี หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุ Taeduk ที่ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาด 14 เมตร ท้องฟ้าจำลอง อุทยานวิทยาศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงของสาธารณรัฐเกาหลี
      
        และยังได้ศึกษาประวัติศาสตร์ทางดาราศาสตร์ของสาธารณรัฐเกาหลี ด้วยการเยี่ยมชมหอดูดาว Cheomseongdae ซึ่งเป็นหอดูดาวโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในเกาหลีใต้ สร้างขึ้นในรัชสมัยของราชินีซอนต๊อก มีอายุมากกว่า 1,300 ปี และในทริปนี้ผมรับหน้าที่ถ่ายภาพสถานที่สำคัญทางดาราศาสตร์ของ ณ สาธารณรัฐเกาหลี มาให้ชมกันครับ แต่ก่อนอื่นผมขอเล่าประสบการณ์ในการสังเกตการณ์ท้องฟ้าที่ได้เห็นสภาพความ แตกต่างของท้องฟ้าระหว่างยอดเขาของสาธารณรัฐเกาหลี กับยอดดอยอินทนนท์ของไทยเราว่าแตกต่างกันอย่างไรครับ
      
       สภาพความแตกต่างของท้องฟ้าระหว่างยอดเขาของเกาหลีใต้กับยอดดอยอินทนนท์ของไทยเป็นอย่างไรบ้าง
      
        จากประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ทดสอบทัศนวิสัยของท้องฟ้า ณ ยอดดดอยอินทนนท์ เพื่อศึกษาค่าต่างๆ ที่จะมีความเหมาะสมในการก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มากว่า 2 ปี เมื่อให้เปรียบเทียบถึงสภาพความแตกต่างด้านต่างๆระหว่างยอดดอยอินทนนท์ กับ ยอดเขาประเทศเกาหลี ผมจะขอเปรียบเทียบออกมาเป็นข้อแล้วกันนะครับ
      
        - ด้านทัศนวิสัยของท้องฟ้า : ส่วนตัวผมคิดว่ายอดดอยอินทนนท์ดีกว่ามากกครับ ทั้งค่าทัศนวิสัยของท้องฟ้าหรือเรียกสั้นๆว่า ค่า Seeing ความมืดของท้องฟ้า มลภาวะทางแสง (Light pollution) ก็ถือว่าดีกว่า ทั้งนี้น่าจะมาจากยอดดอยอินททน์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากว่า 2,000 เมตร ซึ่งเป็นระดับความสูงที่พวกฝุ่นละออง ควัน หรือระดับฟ้าหลัวนั้นขึ้นมาไม่ถึง ประกอบกับยอดดอยอินทนนท์อยู่ไกลจากตัวเมืองค่อนข้างมาก จึงทำให้ยอดดอยอินทนนท์มีทัศนวิสัยของท้องฟ้างและความมืดค่อนข้างมากครับ
      
        - ด้านจำนวนวันที่ท้องฟ้าเปิดสามารถถ่ายภาพท้องฟ้าหรือใช้งานหอดูดาวได้ : ยอดดอยอินทนนท์ มีจำนวนที่ท้องฟ้าเปิดสามารถใช้งานหอดูดาวได้มากกว่า 60 เปอร์เซ็น โดยจะไม่สามารถใช้งานได้ในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ในช่วงเดือนปลายเดือนพฤษภาคม - ต้นเดือนตุลาคม แต่ยอดเขาของเกาหลีใต้มีจำนวนวันที่ท้องฟ้าเปิดสามารถถ่ายภาพท้องฟ้าหรือใช้ งานหอดูดาวได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็น ดังนั้นทางหน่วยงานทางดาราศาสตร์ของประเทศเกาหลีใต้ จึงได้ไปก่อสร้างหอดูดาวขนาดใหญ่ไว้ที่ต่างประเทศ ที่มีทัศนวิสัยของท้องฟ้าที่ดีกว่า เช่น ประเทศชิลี ดังนั้นจะเห็นว่าประเทศเราค่อนข้างจะโชคดีที่ช่วงเวลาที่ท้องฟ้าเปิดมี มากกว่าต่างประเทศ
      
        - ด้านอุณหภูมิ : อุณหภูมิที่ยอดเขาเกาหลีใต้ ต้องขอบอกไว้เลยครับว่าหนาวกว่ามากกกกก เรียกได้ว่าทรมาณเลยทีเดียว ประกอบกับมีหิมะอีกด้วย ทั้งนี้เนื่องมาจากประเทศเกาหลีตั้งอยู่ในตำแหน่งละติจูดที่สูงกว่าเราค่อย ข้างมาก จึงมีสภาพอุณหภูมิที่เย็นกว่า ดังนั้น นักดาราศาสตร์ที่จะปฏิบัติงานบนยอดเขาต้องเตรียมเครื่องกันหนาวกันเป็นอย่าง ดี และหากช่วงที่เกิดพายุหิมะการขึ้นลงหอดูดาวก็จะค่อนข้างยากลำบากมากขึ้นอีก ด้วย แต่ในส่วนตัวผมก็ชอบนะครับเพราะมีหิมะให้เล่น เวลาถ่ายภาพออกมาดูสวยดีครับ (บ้านเราไม่มีหิมะครับ อาจจะพูดแบบเด็กบ้านนอกคนหนึ่งแล้วกันครับ)
      
        - สภาพภูมิประเทศ : ต้องยอมรับเลยว่าบนยอดเขาของเกาหลี โดยรอบมักจะไม่มีต้นไม้ขนาดใหญ่ จะมีเพียงต้นไม้ขนาดเล็กๆ ทำให้พื้นที่โดยรอบหอดูดาวดูโล่งกว้าง แต่ยอดดอยอินทนนท์เป็นเขตป่าดิบชื้น มีต้นไม้สูงใหญ่มากกว่าซึ่งอาจทำให้บดบังมุมมองบางส่วนได้

สภาพ เส้นทางขึ้นหอดูดาวโซแบกซาน (SOAO) ระหว่างทางเต็มไปด้วยหิมะทำให้การเดินทางค่อนข้างลำบาก ซึ่งแตกต่างกับยอดดอยอินทนนท์ที่เส้นทางสะดวกและปลอดภัยกว่า
       อย่าง ไรก็ตาม จากที่กล่าวมาในแต่ละด้านจะเห็นว่า สภาพโดยรวมนั้น ยอดดอยอินทนนท์มีความเหมาะสมค่อนข้างดีทั้งด้านค่าทัศนวิสัยของท้องฟ้า จำนวนวันที่ท้องฟ้าเปิดสามารถใช้งานหอดูดาวได้ ความมืดของท้องฟ้า และอุณหภูมิ เพียงแต่ประเทศเกาหลีใต้นั้น มีความก้าวหน้าของวงการดาราศาสตร์และให้ความสำคัญกับดาราศาสตร์มานานแล้ว หากประเทศไทยให้ความสำคัญทางด้านดาราศาสตร์มากขึ้น ส่วนตัวผมก็มั่นใจว่าประเทศไทยก็จะเป็นหนึ่งในผู้นำทางดาราศาสตร์ในภูมิภาค เอเชียตะวันออก ได้ไม่ยากเย็นนัก และในคอลัมป์นี้ผมจะขออธิบายเทคนิคและวิธีการ และการเลือกใช้อุปกรณ์เล็กๆน้อยๆ ในการถ่ายภาพตามสถานที่หอดูดาวต่างๆให้ทราบกันซักหน่อยครับ
      
       มาทำความเข้าใจกันก่อน
      
        ในการไปเยี่ยมชมตามหอดูดาวต่างๆ ก็ดี หรืออาจเป็นท้องฟ้าจำลองก็ดี โดยส่วนใหญ่หอดูดาวมักถูกออกแบบให้เป็นโดมครึ่งวงกลมและมีพื้นที่ไม่กว้าง มากนัก ดังนั้นอุปกรณ์ที่น่าจะเหมาะที่จะใช้ถ่ายภาพให้ได้ คลอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ก็น่าจะเป็นเลนส์มุมกว้าง (Wide Lens) หรืออาจเป็นเลนส์ตาปลา ( Fisheye Lens) ก็จะเป็นทางเลือกที่ดีและได้ภาพที่มีมุมมองแปลกตาอีกด้วย

ภาพ หอดูดาว Bohyunsan ที่ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 เมตร ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์แบบออฟติคอลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ตั้งอยู่ในประเทศ เกาหลีใต้ (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ : Canon EOS 5D Mark2 / Fisheye 15 มม. / F2.8 / ISO 1600 / 30 วินาที)
       อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพภายในหอดูดาวมุมกว้าง
        1. เลนส์มุมกว้าง (Wide Lens) หรืออาจเป็นเลนส์ตาปลา ( Fisheye Lens) ยิ่งมุมรับภาพมากเท่าไหร่ก็จะสามารถเก็บรายส่วนต่างๆ ภายในโดมดูดาวได้มากเท่านั้น แต่ก็อย่าลืมว่ายิ่งเลนส์มุมกว้างเท่าไหร่ การบิดเบือนหรือการบิดเบี้ยว (Distortion) ของภาพก็มากตามมาด้วยครับ ดังนั้นก็ควรเลือกใช้ตามวัตถุประสงค์ของการถ่ายภาพแล้วกันนะครับ
       
       2. ขาตั้งกล้อง ก็อุปกรณ์ที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง หากเราจำเป็นต้องถ่ายภาพในช่วงเวลาที่มีแสงน้อย ขาตั้งกล้องก็เป็นอุปกรณ์ที่จะใช้ให้ภาพของเราคมชัดได้ดีที่สุด
      
       3. แฟลช หากภายในโดมมีแสงน้อยๆ แฟลชก็ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ภาพของเรามีความสว่างมากขึ้น โดยอาจต้องใช้แผ่นกระจายแสงร่วมด้วยขณะถ่ายภาพด้วยแสงแฟลช เพื่อให้ภาพมีความสว่างทั่วทั้งภาพครับ

เลนส์ ตาปลา (Fisheye) นิยมนำมาใช้ในการถ่ายภาพในหอดูดาวเนื่องจากมีมุมรับภาพกว้าง และประกอบกับภายในโดมหอดูดาวจะเป็นทรงโค้งครึ่งวงกลม ซึ่งจะทำให้เก็บภาพได้ทั่วทั้งโดม
       เทคนิคและวิธีการ
      
       1. ในการถ่ายภาพภายในหอดูดาวซึ่งส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ค่อนข้างคับแคบ ในส่วนตัวผมมักจะเลือกใช้เลนส์ตาปลา (Fisheye) ในการเก็บภาพตัวกล้องเพื่อให้ได้ภาพทั้งหมด และเลือกถ่ายภาพในมุมต่ำ โดยอาจนั่งกับพื้น มหรือในบางครั้งก็นอนกับพื้นไปเลยก็ได้ครับ
      
        2. หากภายในหอดูดาวมีความสว่างค่อนข้างน้อย เราก็จำเป็นต้องถ่ายภาพบนขาตั้งกล้องที่มั่นคง และทำให้เราสามารถเลือกค่ารูรับแสงแคบๆ เพื่อให้ได้ความชัดลึกทั่วทั้งภาพอีกด้วย
      
        3. ในการถ่ายภาพหากกล้องมีขนาดใหญ่มาก สภาพแสงในส่วนที่อยู่สูงๆ มักจะมีความมืด ไม่สว่างมากนัก ควรใช้แฟลชในการเปิดเงามืดและกระจายแสงแฟลชร่วมด้วย เพื่อให้ได้ภาพที่สว่างทั่วทั้งภาพ โดยปรับมุมของหัวแฟลชให้ตั้งขึ้นแล้วสะท้อนแสงแฟลชกับผนังของโดม เป็นสะท้อนแสงให้แสงแฟลชกระจายทั่วโดม
      
        4. การถ่ายภาพภายในหอดูดาวส่วนมาก จะมีผนังสีขาวเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นในการถ่ายภาพเพื่อให้เหมือนกับที่ตาเรามองเห็น ควรชดเชยแสงให้สว่างขึ้นอีก 1-2 สตอป เพื่อให้ภาพดูไม่มืด
      
        5. สำหรับการถ่ายภาพหอดูดาวจากภายนอก และเพื่อเป็นการให้ภาพสื่อถึงความเป็นหอดูดาว ผมมักจะเลือกถ่ายภาพในเวลากลางคืน ในช่วงเวลาที่มีกลุ่มดาวสว่างขึ้นบนท้องฟ้าเป็นฉากหลัง เพื่อแสดงความเป็นหอดูดาวมากยิ่งขึ้นครับ และแน่นอนครับเลนส์มุมกว้างก็เป็นตัวเลือกอันดับแรกๆ ของผมครับเพื่อเก็บภาพทั้งหอดูดาวและกลุ่มดาวบนท้องฟ้าอีกด้วย

ภาพ หอดูดาวของท้องฟ้าจำลองกรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลีใต้ (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ : Canon EOS 5D Mark2 / Fisheye 15 มม. / F2.8 / ISO 1600 / 1/60 วินาที)
      
ภาพ หอดูดาวโซแบกซาน Sobaeksan Optical Astronomy Observatory (SOAO) (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ : Canon EOS 5D Mark2 / Fisheye 15 มม. / F4 / ISO 1600 / 1/60 วินาที โดยเปิดแสงแฟลชสะท้อนขึ้นกับโดมช่วยเพื่อเปิดเงามืดได้ภาพที่สว่างทั่วทั้ง ภาพ)
       
ภาพ หอดูดาว Bohyunsan ที่ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 เมตร ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์แบบออฟติคอลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ตั้งอยู่ในประเทศ เกาหลีใต้ โดยเปิดแสงแฟลชสะท้อนขึ้นกับโดมช่วยเพื่อเปิดเงามืดได้ภาพที่สว่างทั่วทั้ง ภาพ (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ : Canon EOS 5D Mark2 / Fisheye 15 มม. / F2.8 / ISO 800 / 1/60 วินาที)
       
ภาย ในห้องปฏิบัติการวิจัยเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ (Solar research Laboratory) และกล้องโทรทรรศน์สำหรับสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ (Solar Telescope) (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ : Canon EOS 5D Mark2 / Fisheye 15 มม. / F5.6 / ISO 800 / 1/125 วินาที)
       
ภาพ หอดูดาวโซแบกซาน Sobaeksan Optical Astronomy Observatory (SOAO) บริเวณด้านนอกหอดูดาว โดยมีกลุ่มดาวสว่างเป็นฉากหลังทำให้แสดงถึงความเป็นหอดูดาวได้ดียิ่งขึ้น (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ : Canon EOS 5D Mark2 / Fisheye 15 มม. / F2.8 / ISO 1600 / 30 วินาที)
       
หอ สังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุ Taeduk ที่ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาด 14 เมตร (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ : Canon EOS 5D Mark2 / Fisheye 15 มม. / F3.5 / ISO 2000 / 60 วินาที)
      
เกี่ยวกับผู้เขียน
      
       
      
       ศุภฤกษ์ คฤหานนท์
      
       สำเร็จ การศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
      
       ปัจจุบันเป็นเจ้า หน้าที่สารสนเทศทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. , เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร. ในหัวข้อ "มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย"
      
       "คุณค่าของภาพถ่ายนั้น ไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบาย ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย" 
      
  ขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7292 ข่าวสดรายวัน


ปั๊มน้ำมัน


คอลัมน์ รู้ไปโม้ด
น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com



น้าครับ การตั้งปั๊มน้ำมันมีหลักการไหม เพราะเป็นวัตถุไวไฟ เกี่ยวกับความปลอดภัยของคน น้าเห็นด้วยไหม

Ton32

ตอบ Ton

สถานีบริการน้ำมันที่จะเปิดบริการต้องมีความปลอดภัยตามกฎของกรมโยธาธิการ โดยเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ดังนี้ 1.สถานที่ตั้งสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีทางเข้าออกติดหรือเชื่อมกับ ถนนหลวงหรือถนนสาธารณะที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 8-12 เมตร ทางเข้าออกมีขนาดกว้างพอให้รถผ่านเข้าออกได้สะดวก ไม่อนุญาตให้สร้างสถานีบริการน้ำมันบริเวณทางโค้ง เพราะเป็นจุดที่ล่อแหลมต่อการเกิดอุบัติเหตุ ภายในเขตสถานีบริการต้องไม่มีอาคารอื่นใดนอกจากอาคารบริการสูงไม่เกิน 2 ชั้น สร้างด้วยวัสดุถาวรและทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีชั้นลอย และจัดระยะห่างระหว่างอาคารเหมาะสม

นอกจากนี้ เครื่องสูบและตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องอยู่ห่างจากริมผนังของอาคารบริการ ไม่น้อยกว่า 4 เมตร และตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องยึดแน่นอยู่บนแท่นคอนกรีตสูงกว่าระดับพื้น โดยรอบไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร มีแสงสว่างเพียงพอในยามค่ำคืน หรือติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน


2.ภายในสถานีบริการต้องติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการจ่ายน้ำมัน และต้องตรวจตราความเรียบร้อยอยู่เสมอ อาทิ เครื่องวัดระดับน้ำมันในถังใต้ดิน ในแต่ละวัน พนักงานต้องเช็กปริมาณน้ำมันจากเครื่องวัดระดับน้ำมันในถังใต้ดิน เพื่อสังเกตดูว่าเกิดการรั่วไหลออกมาภายนอกหรือไม่ และตรวจสอบอุณหภูมิภายในถังให้อยู่ในภาวะ ปกติ ทั้งมีระบบสวิตซ์ฉุกเฉินของวงจรไฟฟ้าที่จะพร้อมทำงานทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุก เฉิน ในส่วนของหัวจ่ายจะมีอุปกรณ์หยุดการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันมิให้น้ำมันเชื้อเพลิงล้นถังในขณะเติมน้ำมัน หัวจ่ายถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้ลื่นไหลหลุดจากช่องเติมน้ำมันได้ง่าย

3.จัดเก็บสารเคมีอันตรายอย่างเป็นระบบชัดเจน สารเคมีอันตรายต้องจัดเก็บในห้องอย่างมิดชิด เชื้อเพลิงที่มีจุดวาบไฟสูงอย่างน้ำมันเบนซินต้องเก็บไว้ในถังใต้ดิน เป็นถังที่มีผนังหรือชั้นที่ออกแบบคำณวนและผ่านการทดสอบตามมาตรฐานสากลเพื่อ ความปลอดภัย โดยเชื้อเพลิงจะติดไฟได้ก็เมื่อมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ไอน้ำมัน อากาศ และความร้อนที่ถึงจุดวาบไฟหรือประกายไฟ วิธีลดความเสี่ยงคือแยกสิ่งทั้ง 3 ออกจากกัน ความร้อนที่ถึงจุดวาบไฟจะเป็นตัวที่ควบคุมได้ง่ายที่สุด ดังนั้นการเก็บถังน้ำมันใต้ดินนับเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแยกไอน้ำมันเชื้อ เพลิงออกจากอากาศและประกายไฟ และต่อท่อหายใจจากถังน้ำมันเพื่อเป็นทางระบายและควบคุมความดัน เพื่อความปลอดภัยต่อถังน้ำมัน

4.มีอุปกรณ์ดับเพลิงเตรียมพร้อมบริเวณลานจ่ายเสมอ โดยกฎหมายกำหนดว่า ต้องมีเครื่องดับเพลิงอย่างน้อย 2 เครื่อง ต่อตู้จ่ายน้ำมัน 1-4 ตู้จ่าย และ 3 เครื่องต่อตู้จ่าย 5-8 ตู้จ่าย หากมีตู้จ่ายเกิน 8 ตู้จ่าย ให้ติดเครื่องดับเพลิงเพิ่ม 1 เครื่องต่อทุกๆ 3 ตู้จ่าย 5.ความรับผิดชอบของบริษัทน้ำมันก็มีส่วนสำคัญ โดยการควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงใน 2 ระดับ ระดับที่หนึ่งจะควบคุมไอน้ำมันที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นจากการจ่ายน้ำมันที่ คลังและขณะลงน้ำมันในสถานีบริการ และระดับที่สองจะควบคุมระหว่างจ่ายน้ำมันจากตู้จ่ายลงสู่รถ ส่วนที่สำคัญที่สุดของอุปกรณ์กักไอน้ำมันระดับที่หนึ่ง คือตัวที่เรียกว่าพีพีวาล์ว เป็นตัวควบคุมไอน้ำมันไม่ให้ออกสู่สิ่งแวดล้อมและช่วยควบคุมความดันในขณะที่ มีการจ่ายน้ำมัน

6.ติดตั้งอุปกรณ์ระบบความปลอดภัยอื่นๆ ในสถานีบริการ เช่น การติดตั้งสายดินบริเวณต่างๆ อย่างจุดที่ลงน้ำมัน บริเวณท่อรับไอน้ำมันสู่ถังรถ หรือบริเวณตู้จ่ายสายมือจ่าย เพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตที่สะสมอยู่ในท่อขณะลงน้ำมันซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิด ประกายไฟและการลุกไหม้ 7.พนักงานควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดในขณะให้บริการผู้ขับขี่เพื่อ ความปลอดภัย และผู้รับบริการก็ควรจะปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด

วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7327 ข่าวสดรายวัน


น้ำแร่


คอลัมน์ รู้ไปโม้ด
น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com



น้ำแร่มีกี่ชนิด แล้วการกินน้ำแร่มีประโยชน์อย่างไร โทษมีบ้างไหม

Nunid

ตอบ Nunid

น.พ.กฤษ ดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ อธิบายไว้ว่า น้ำแร่มี 2 ชนิด คือ ชนิดแร่น้อย และชนิดแร่มาก โดยทางการกำหนดว่าต้องมาจากแหล่งธรรมชาติจริงๆ เช่น น้ำพุธรรมชาติ น้ำพุร้อน และต้องไม่เอาแร่มาเติมใส่เอง พูดง่ายๆ ว่าน้ำแร่ธรรมชาตินั้นรองจากน้ำพุใส่ขวดแล้วเอามาขายเลย หรือถ้าผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ หรืออัดแก๊สเข้าไปก็ต้องระบุไว้ในฉลากด้วย

ใน น้ำแร่จะมีแร่ธาตุหลักๆ อยู่ 5 ชนิด ได้แก่ แคลเซียม เกลือ(โซเดียม) แมกนี เซียม โพแทส เซียม และกำมะ ถัน โดยที่การดื่มน้ำแร่ก็คล้ายกับกินดินโป่ง เพราะแร่ในน้ำแร่มาจากดิน ถ้าเปรียบไปก็คล้ายกับสิ่งมีชีวิตในป่าที่กินดินโป่งเอาแร่ธาตุ น้ำแร่ก็เหมือนกับยาน้ำบำรุงแร่ธาตุจากธรรมชาติ


ราคา น้ำแร่จะแตกต่างกันมาก ขึ้นกับแหล่งผลิตและต้นทุนในการขนส่ง บางยี่ห้อเป็นน้ำแร่ฝรั่งเศส เยอรมนี พวกนี้จะแพงเพราะค่าขนส่งและภาษีขาเข้า แต่น้ำแร่ที่ผลิตในประเทศไทย ไม่มีต้นทุนอะไรมาก นอกจากค่าขวดกับค่าโฆษณา จึงมีราคาถูกกว่า เว้นแต่มีการเช่าสัมปทานแหล่งน้ำพุแร่ธรรมชาติ

สำหรับคำถาม จำเป็นที่คนต้องกินน้ำแร่หรือไม่ ที่จริงแล้วจะกินก็ได้หรือไม่กินก็ไม่เสียหายอะไร เพราะแร่ธาตุนั้นเป็นของต้องการน้อย แต่ขาดไม่ได้ เนื่องจากร่างกายต้องการใช้ปรุงสารเคมีต่างๆ เลี้ยงตัวเอง แต่บรรดาธาตุในน้ำแร่นี้ปกติก็ได้จากอาหารมากอยู่แล้ว ได้แก่ แคลเซียม พบมากในกะปิ เต้าหู้ งาดำ, เกลือโซเดียม แมกนีเซียม พบในผักใบเขียวจัด, โพแทสเซียม พบในกล้วย ส้ม, กำมะถัน พบในกระเทียม หัวหอม ขึ้นฉ่าย ทุเรียน แต่การที่น้ำแร่มีแร่ธาตุเจืออยู่ทำให้เกิดรสชาติ เฉพาะบางคนอาจชอบดื่มน้ำแร่เพราะลิ้นอาจไวต่อรสชาติกร่อยเหล่านี้ก็ได้

เคย มีบางการศึกษาแนะนำว่า คนที่ควรดื่มน้ำแร่ คือ 1.ผู้ใหญ่วัยทอง ต้องสร้างกระดูก 2.คนที่กินนมวัวไม่ได้ จะได้แคลเซียมจากน้ำแร่ 3.เด็กน้อยที่กำลังโต ซึ่งมีงานวิจัยหนึ่งพบว่าธาตุแคลเซียมในน้ำแร่ดูดซึมได้ดีกว่าจากนมวัวสด นอกจากนั้นยังมีการวิจัยหนึ่งในอิตาลีพบว่าช่วยป้องกันฟันผุได้ นอกจากนี้ มีข้อดีประการหนึ่งของน้ำแร่ คือ มีงานวิจัยพบว่าน้ำแร่บริสุทธิ์นั้น ไม่พบรายงานการติดเชื้อท้องเสียจากการดื่มน้ำแร่ โดยการศึกษาพบว่า ประเทศตะวันตกมีผู้ท้องเสียจากการดื่มน้ำประปากว่า 4 แสนคน เมื่อเทียบกับผู้ดื่มน้ำแร่ที่ไม่พบรายงานปัญหาเช่นว่านี้เลย

อย่าง ไรก็ตาม มีคำเตือนถึงกลุ่มบุคคลที่ควรพึงระวังการบริโภคน้ำแร่ ดังนี้ 1.น้ำแร่อาจมีโซเดียมทำให้คนวัยทองความดันขึ้น 2.คนที่มีปัญหาเรื่องไต หรือทางเดินปัสสาวะไม่ค่อยดี น้ำแร่อาจไปตกตะกอนเกิดตะกรันนิ่วอุดท่อฉี่ได้ 3.คนที่มีปัญหาโรคหัวใจต้องระวังธาตุโพแทสเซียมในน้ำแร่ไปกวนหัวใจให้เต้น ผิดปกติ 4.แร่บางอย่างในเด็กถ้ามากเกินไปจะเป็นพิษ อย่างฟลูออไรด์ทำให้ฟันเป็นจุดด่างดำ 5.คนท้องต้องระวังเรื่องน้ำแร่อัดแก๊สที่อาจทำให้ลมขึ้นเสียดท้องได้ และน้ำแร่ที่มีโลหะหนักมากอาจไปสะสมในทารกได้ และ 6.โลหะหนักปนเปื้อนในน้ำแร่สะสมในคนได้ เช่น สารหนู ตะกั่ว ปรอท แมงกานีส ซีลีเนียม

น้ำดื่มที่ดีที่สุดไม่ใช่น้ำดื่มที่ปราศจากแร่ใดๆ เลย อย่างนั้นเรียกน้ำกลั่น แหล่งน้ำดื่มที่ดีที่สุดคือ น้ำประปา น้ำกรอง หรือน้ำธรรมชาติที่ไหลเวียนอยู่เสมอ ไม่ใช่น้ำนิ่ง ถ้าจะดื่มน้ำแร่ขอให้เลือกดูที่ข้างฉลากบอกปริมาณแร่ธาตุสำคัญ จะได้ไม่ต้องรับแร่ธาตุเกินไปกระตุ้นโรค