การปลูกตำลึง

ที่มา กรมส่งเสริมการเกษตร
ตำลึง เป็นผักพื้นบ้านที่คนทั่วไปรู้จักกันมานาน เป็นผักที่มี คุณค่าทางโภชนาการมาก สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น แกงจืด ต้มจิ้มน้ำพริก ใส่ก๋วยเตี๋ยวและต้มเลือดหมู เป็นต้น ในอดีตนั้นเราไม่ จำเป็น ต้องปลูกตำลึงเอาไว้รับประทานเอง เนื่องจากตำลึงมักพบเห็นทั่วไป ตามเถาไม้เลื้อยอื่น ตามพุ่มไม้เตี้ยหรือพุ่มไม้แห้งตาย รวมทั้งขึ้นตามริม รั้วบ้าน จนมีคำกล่าวถึง “ ตำลึงริมรั้ว ” อยู่เสมอ
แต่ในปัจจุบันเราไม่ค่อยพบตำลึงตามริมรั้วอีกแล้ว จะเห็นก็เฉพาะ ในที่รกร้างว่างเปล่า หรือไม่ก็ตามสวนที่ปลูกตำลึงไว้เพื่อการค้า ซึ่งสามารถ ทำรายได้อย่างงามแก่ผู้ปลูกตำลึงขายเป็นอย่างดี
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อย เถาตำลึงมี ลักษณะกลม แยกเพศกันอยู่คนละต้น ปลายดอก
แยกออกเป็น 5 แฉก โคนติดกันเป็นกรวย ผลมีรูปร่าง กลมรีคล้ายแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลอ่อนมี
สีเขียวลายขาว เมื่อแก่กลายเป็นสีแดง ตำลึงเป็น พืชที่ชอบน้ำ จะสังเกตเห็นว่าในหน้าแล้งใบตำลึงจะ
แคระแกร็น แต่ในหน้าฝนยอดตำลึงจะอ่อนอวบอิ่ม น่ารับประทาน ตำลึงออกดอกประมาณ
เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม
คุณค่าทางอาหาร
ตำลึงเป็นผักใบเขียวเข้มมีคุณค่าทางอาหารสูงมีทั้งเบต้า – แคโรทีน ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด ทั้งในแคลเซียม และสารอาหารอื่น ๆ ที่พร้อมกันมาช่วยให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนี้ยังพบว่า ตำลึงยังประกอบไปด้วยเส้นใย ที่มีความสามารถในการจับ
ไนไตรท์ได้ดีที่สุด เมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น นี่เป็นคุณลักษณะพิเศษของตำลึง ที่มีเส้นใยคอยจับไนไตรท์เพราะจะเป็นการลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งใน กระเพาะอาหารได้
การปลูกและการขยายพันธุ์
ตำลึงมีการปลูกและขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ
• เพาะเมล็ด
• ปักชำด้วยเถา
การเพาะเมล็ด
มีวิธีการง่าย ๆ ดังนี้
เตรียมดินเหมือนปลูกผักทั่วไปผสมปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยคอกก็ได้ นำ ผลตำลึงแก่สีแดงแกะเอาเมล็ดออกมาโรยบนดินที่เตรียมไว้ โรยดินกลบหรือ ใช้ใบไม้แห้งกลบบาง ๆ รดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตำลึงชอบดินชุ่มแต่อย่าให้แฉะ เพราะจะเกิดโรคโคนเน่าได้ เมื่อต้นงอกขึ้นมาสักประมาณ 5 ซม. เริ่มมีมือเกาะให้ทำค้าง
(เนื่องจากตำลึงเป็นไม้เลื้อย จำเป็นต้องใช้ค้าง เพื่อให้ตำลึงไต่ขึ้นสู่ที่สูงเพื่อ รับแสงแดด ) เหมาะที่สุดคือ ความสูงระดับ 1 เมตรขึ้นไป แต่ไม่ควรสูงเกิน 3 เมตร เพราะจะไม่สะดวกในการเก็บยอดตำลึง โดยใช้ไม้ไผ่ต้นเล็ก 3 ต้น ปัก เป็น 3 เส้า รอบปลายเชือกเข้าไว้ด้วยกัน ผูกด้วยเชือกกล้วยหรือเชือกปอ ใช้
วัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เพื่อช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง หรือหากมีรั้วไม้ระแนง ก็ถือโอกาสใช้ประโยชน์โดยโรยเมล็ดไปตามริมรั้วเลย ทีเดียว
ตำลึงต้องได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ลมโกรกผ่านได้ ตำลึงจะ สังเคราะห์แสงแดดคายไอน้ำได้เต็มที่ ควรปล่อยให้มดแดงขึ้น เพราะจะช่วยกิน เพลี้ยและแมลงที่จะมากัดกินตำลึง
ปักชำด้วยเถา
การปลูกตำลึงเพื่อการค้านั้นนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ เนื่องจาก ตำลึงจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการเพาะด้วยเมล็ด
วิธีการปักชำ
ให้นำเถาที่แก่พอสมควรมาตัดให้ยาว 15 – 20 ซม. ปักชำในหลุม ปลูกที่ได้เตรียมไว้แล้ว( ลักษณะขั้นตอนการปลูกเหมือนกับหัวข้อการเพาะ เมล็ด ) พอเจริญเติบโตเต็มที่ประมาณ 1 เดือน ก็สามารถเก็บยอดมาปรุงอาหาร ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ตำลึงแตกยอดใหม่ทยอยออกมาตลอดปี ต้องหมั่น เก็บมาบริโภคอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันให้ใส่ปุ๋ยคอก ช่วยเพิ่มเติมอาหารในดิน ประมาณเดือนละครั้ง ต้องหมั่นรดน้ำสม่ำเสมอในหน้าแล้งและหน้าหนาว ส่วนหน้าฝนจะเว้นได้บ้างแต่ต้องช่วยรดน้ำในขณะที่ฝนทิ้งช่วง

จัดทำ/เผยแพร่โดย : กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร
สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี
กรมส่งเสริมการเกษตร

การปลูกกุยช่าย

ที่มา กรมส่งเสริมการเกษตร
กุยช่ายเป็นพืชผักอยู่ในวงศ์ เดียวกับหอม กระเทียม มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน นิยมบริโภคในเอเซียทั่วไป เป็นพืช ข้ามปี มี 2 สายพันธุ์ คือ กุยช่ายใบ และกุยช่ายดอก
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ในสภาพแวดล้อมที่มีช่วงแสงสั้น อุณหภูมิต่ำ กุยช่ายจะพักตัว หยุดชะงักการเจริญ การทำลายระยะพักตัวสามารถทำได้โดยการ เพิ่มช่วงแสง (เปิดไฟในเวลากลางคืน) หรือผ่านอุณหภูมิต่ำเป็นระยะเวลานานในสภาพช่วง แสงยาว จะกระตุ้นให้เกิดการเจริญของดอก ในบางสายพันธุ์ต้องการอุณหภูมิ
ต่ำ สำหรับการเจริญเติบโตของดอก อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโต ของกุยช่าย คือ 20°ซ
สภาพดินที่เหมาะสม
กุยช่ายชอบดินที่ร่วนซุย มีหน้าดินหนา อินทรีย์วัตถุสูง ระบายน้ำ ได้ดี ค่า pH ของดินอยู่ระหว่าง 6.5 – 6.8
วิธีการปลูก
1. การปลูกโดยการเพาะเมล็ด (เมล็ดพันธุ์หนัก 3–4 กรัมมีจำนวน 1,000 เมล็ด ก่อนเพาะควรแช่เมล็ด ในน้ำผสมปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท ( 13 – 0 – 50 ) เข้มข้น 0.1 % นาน 1 ชั่วโมง แล้วนำออกมาใส่ในผ้าเปียก เก็บในตู้เย็นด้านล่าง (5°ซ )เป็นเวลา 3–5 วัน รักษาความชื้นในวัสดุเพาะ สม่ำเสมอ เพื่อช่วยในการงอกของเมล็ดจึงนำออกมาผึ่งให้ผิวแห้ง การหยอด เมล็ดอาจใช้ถาดเพาะและหยอดเมล็ด 3 – 5 เมล็ด ต่อหลุม อุณหภูมิที่ เหมาะสมสำหรับการงอกของเมล็ดอยู่ระหว่าง 15 – 20°ซ เมล็ดจะงอกภายใน เวลา 7 – 14 วัน อายุกล้า 55 – 60 วัน หลังเพาะเมล็ด ระยะปลูก 12 – 20 ต้นต่อ ตารางเมตรหรือใช้ระยะปลูก30 x 30 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และความ อุดมสมบูรณ์ของดินใช้จำนวนต้นกล้า 3 – 4 ต้นต่อหลุม
2. ปลูกโดยการแยกกอ ใช้ต้นแม่พันธุ์อายุ 6 เดือนขึ้นไป ขุดและ แยกกอปลูก ก่อนปลูกควรตัดใบออกไปบ้าง เพื่อลดการคายน้ำ ตัดรากให้ เหลือยาว 1 – 2 เซนติเมตร ปลูก 3 – 4 ต้นต่อหลุม การปลูกกุยช่ายแต่ละ แปลงใช้เวลา 3 ปี หลังจากนั้นควรทำการแยกกอและเตรียมแปลงปลูกใหม่
การใส่ปุ๋ย
- หลังเตรียมดินควร ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกอัตรา 2 กิโลกรัมต่อ ตารางเมตร
- หลังย้ายปลูก 7 วัน ควรใส่ ปุ๋ย 21–0 – 0 (แอมโมเนีย ซัลเฟต ) ในดินที่เป็นด่าง อัตรา 10กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 13 – 0 – 0 – 26 ( แคลเซียมไน เตรท ) ในดินที่เป็นกรด อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่
- หลังย้ายปลูกทุก 3 เดือน ใส่ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก อัตรา 1 กิโลกรัม ปุ๋ย 13 – 13 – 21 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ และ 21 – 0 – 0 ในดิน ที่เป็นด่าง อัตรา 1 กิโลกรัมต่อไร่หรือ 13 – 0 – 26 ในดินที่เป็นกรด อัตรา 15 กิโลกรัม ต่อไร่
- หลังการเก็บเกี่ยว ใส่ปุ๋ย 21 – 0 – 0 ในดินที่เป็นด่าง อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 13 – 0 – 26 ในดินที่เป็นกรดอัตรา 15กิโลกรัมต่อไร่ - วิธีการใส่ปุ๋ยหลังย้ายปลูก เจาะหลุมห่างจากต้น 10 เซนติเมตร
ด้านใดด้านหนึ่ง และใส่อีกด้านหนึ่งในครั้งต่อไปสลับด้านกัน - ฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ด หรือปุ๋ยน้ำที่มีธาตุอาหารหลักและธาตุอาหาร รอง ในรูป สารละลายทางใบ ทุก ๆ สัปดาห์
การคลุมแปลงปลูก
ควรใช้วัสดุคลุมแปลงปลูก เช่นฟางข้าวเพื่อลดอุณหภูมิดิน รักษา ความชื้นและป้องกันวัชพืช ถ้าไม่คลุมแปลงปลูกควรพรวนดินตื้น ๆ เพื่อกำจัด วัชพืช
การให้น้ำ
ควรให้น้ำสม่ำเสมอ พืชจะชะงักการเจริญในกรณีที่ขาดน้ำ และ การให้น้ำมากเกินไปอาจทำให้รากและเหง้าเน่า ใบเหลืองตาย ระบบการให้น้ำที่เหมาะสมคือแบบน้ำหยด อาจจะใช้ระบบพ่น ฝอยหรือทดน้ำเข้าแปลงแต่ควรระวังในกรณีที่ใบเปียกโรคจะเข้าทำลายได้ง่าย
การผลิตกุยช่ายขาว
ระยะที่เหมาะสมสำหรับการ ผลิตกุยช่ายขาวคือ 3 เดือนหลังย้าย ปลูก (90วัน) เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง นิยมปลูกในเดือนกรกฎาคม เริ่มเก็บเกี่ยวใน เดือนตุลาคม – มีนาคม
- ใช้มีดที่คมตัดใบออกให้ชิดดินทั้งกอ ( ขายเป็นกุยช่ายเขียว )
- ใช้กระถางดินเผาครอบต้น โดยใช้กระถางทรงกระบอก ขนาด ปากกว้าง 7 นิ้ว ก้นกระถางกว้าง 8 นิ้ว คลุมสูง 12 นิ้ว ครอบให้ชิดดินและปิด ไม่ให้แสงผ่านเพื่อให้เป็นกุยช่ายขาว ( ในประเทศจีนนิยมใช้อุโมงค์ไม้ไผ่ปิด ด้วยฟางหรือกระดาษหนา )
- ทยอยครอบและเก็บเกี่ยว ในปริมาณตามความต้องการของ ตลาด
- หลังเก็บเกี่ยว 1 เดือน (ปล่อยให้ใบเจริญ ) ตัดใบออกขายเป็น กุยช่ายเขียวและเริ่มครอบใหม่กระถางใหม่ เพื่อผลิตกุยช่ายขาว
การเก็บเกี่ยว
กุยช่ายเขียว สามารถเก็บเกี่ยว 3 – 9 ครั้งต่อปี ขึ้นอยู่กับพันธุ์ สภาพแวดล้อมและการดูแลรักษาระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมคือเดือน ตุลาคม – มีนาคม
กุยช่ายขาว เก็บเกี่ยวหลังจากใช้กระถางครอบหรือคลุมแปลง ประมาณ 2 อาทิตย์ เก็บเกี่ยวเมื่อใบมรความยาว 20 เซนติเมตร ตัดโคนใบชิดดิน ล้างด้วยน้ำเย็น ตัดแต่งส่วนที่ถูกทำลายโดยโรค
แมลง หรือแผลที่เกิดจากการขนส่ง และเศษวัชพืชอื่นที่ปลอมปนเก็บไว้ในที่ ร่มป้องกันแสงอาทิตย์ในระหว่างเก็บรักษาและขนส่ง
กุยช่ายดอก เก็บเกี่ยวระยะดอกตูม ตัดโคนก้านดอกยาว 30 – 40 เซนติเมตร ใบมีอัตราการหายใจและคายน้ำสูง ควรเก็บรักษาในที่มี อุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพันท์สูง โดยบรรจุในถุงพลาสติก เก็บในอุณหภูมิ 0° องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันท์ 95 %

เรียบเรียงโดย : รศ. นิพนธ์ ไชยมงคล
สาชาพืชผัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ผลิตและเผยแพร่โดย : กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร
สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี