อาหารต้านเพลีย

บำบัดอาการเพลียด้วย “สารอาหารธรรมชาติ” ช่วยบำรุงกำลัง คืนจิตสดใส กายกระปรี้กระเปร่า




“อ่อนเพลีย” เป็นหนึ่งในอาการยอดฮิตของหลาย ๆ คน ไม่เพียงเกิดจากพักผ่อนไม่เพียงพอ ตรากตรำเรียน-ทำงานหนัก เครียด หรือ กังวลเท่านั้น เมื่อใดที่ร่างกายอยู่ในภาวะพร่อง “สารอาหารบางจำพวก” ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รู้สึก “เหนื่อยล้า” ได้เช่นกัน


สารอาหารแรกคือ “ธาตุเหล็ก” พบมากในเนื้อสัตว์ ทั้งหมู ไก่ กุ้ง หอย ปลา ไข่ ตับ และจากพืช จำพวกผักกาดหอม ฟักทอง ต้นหอม มะเขือพวง ใบขี้เหล็ก มันเทศ เผือก ลูกพรุน ถั่ว ลูกเดือย งา มีความสำคัญในการสร้างเม็ดเลือด เมื่อร่างกายขาดจะทำให้โลหิตจาง อ่อนเพลีย สมาธิสั้น การเรียนรู้ลดลง เลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อในร่างกาย และสมองได้น้อยลง


ถัดมาเป็น “แมกนีเซียม” จากเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผักใบเขียว อัลมอนด์ มีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อระบบประสาท สมอง และช่วยการทำงานของทริปโตเฟน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นในการเสริมสร้างสารเมลาโตนิน หรือ สารสื่อประสาท ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ วิตกกังวลน้อยลง เมื่อร่างกายขาดจะทำให้เกิดความรู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้


นอกจากนั้น ยังรวมถึง “วิตามินซี” ซึ่งมีมากในผักตระกูลกะหล่ำ อย่างกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี โดยขณะประกอบอาหารไม่ควรต้ม หรือ ผัดนานเกินไป เนื่องจากความร้อนจะทำลายวิตามินซีได้ง่าย นอกจากนั้น ยังพบในมะเขือเทศ ส้ม ฝรั่ง มะละกอ กล้วย สับปะรด ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เมื่อร่างกายขาดจะมีอาการอ่อนเพลีย ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง ทำให้ติดเชื้อไวรัส และแบคทีเรียได้ง่าย


สารอาหารข้างต้นถือเป็นยาชูกำลังชั้นดี รับประทานประจำในปริมาณพอเหมาะ นอกจากจะอิ่มท้อง ยังได้คุณค่าทางโภชนาการด้วย.

พบกับหลากหลายเมนูพิเศษ ที่ รร. โนโวเทลฯ สยามสแควร์

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 30 มกราคม 2555 15:38 น.
       ในช่วงบรรยากาศต้นปีแบบนี้ เป็นช่วงของการต้อนรับสิ่งใหม่ๆ  หากใครกำลังมองหาร้านอาหารที่จะฉลองในช่วงต้นปีแบบนี้ เรามีร้านมาแนะนำ เริ่มต้นความพิเศษต้นปีที่ ห้องอาหารจีน ลก หว่า ฮิน โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพฯ สยามสแคว์ ด้วย เมนูอาหารจีนรสดั่งเดิม พร้อมเมนูแสนอร่อยจากเชฟชาวฮ่องกง เช่น เมนูเป๋าฮื้อตุ๋นสไลด์ หอยนางรมทานคู่สาหร่าย มื้อค่ำ 4 ท่านราคา 6500 บาท 10ท่าน 13000 บาท++ ราคานี้รสมกับราคาไวน์ 1 ขวด และรับอั่งเปาลุ้นรางวัลกลับบ้าน โทร. 0-2209-8888 ต่อ ลก หว่า ฮิน
       ความพิเศษถัดมาที่ ห้องอาหารริเวอร์บาร์จ โรงแรมชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ เริ่ม ต้นศักราชใหม่ ด้วย บุพเฟ่ต์นานาชนิดระดับพรีเมี่ยม ซึ่งทางเชฟใหญ่ของโรงแรมฯภูมิใจเสนอ ล็อบสเตอร์และกุ้งสดจากทะเล นอกจากนั้นยังมี ตับห่าน เนื้อวากิว และ เนื้อแกะ เพื่อเพิ่มความหลากหลาย ท่ามกลางบรรยากาศแห่งสายน้ำเจ้าพระยายามค่ำคืน โทร. 0-2307-8888 ต่อ 1923
       และที่ ห้องอาหารบุพเฟ่ต์ลอยฟ้า โรงแรมใบหยก สวีท คัด สรรค์เมนูที่ได้รับความนิยมในแถบยุโรปและเอเชีย กับ “SWAFOOD EMPANADAS” พายทะเลกรอบชั้นเลิศ ที่ใช้ปลาแซลมอน หอยลาย กุ้งทะเล คลุกด้วยเครื่องเทศทำเป็นไส้ ทอดจนหอมกรอบ เพิ่มความจุใจอีกชั้นด้วยหมี่กรอบ พร้อม Salsa sauce เสริฟให้ได้ลิ้มลอง โทร. 0-2255-7755
       ลองแวะมาที่ ห้องอาหารนานานชาติ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ เชิญชวนผู้รักก๋วยเตี๋ยวมาลองลิ้มชิมรสกับบุฟเฟต์ก๋วยเตี๋ยวนานาชนิด พร้อมเมนูน้ำซุปแสนอร่อยหลากหลายสไตล์ เช่น ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก เป็นต้น ในราคาท่านละ 480++ บาท โทร. 0-2215-5010 หรือ 0-2215-5000 ต่อ 8200
       สุดท้ายกับความพิเศษที่ เดอะมิวเซียม เซ็นทาราแกรนด์บีชรีสอร์ทและวิลลา หัวหิน เชิญ ลิ้มลอง ของขนมปังนุ่มๆหอมกรุนจากเตา และขนมหวานสไตล์ฝรั่งเศสหลากหลายชนิด พร้อมของว่างนานาชนิด อาทิ ชา กาแฟ ชอกโกแลตและอีกมากมาย พร้อมเปิดบริการให้ทุกท่านทุกวัน เวลา 10.00-19.00 น. โทร.0-2351-2021-38

เลือดคั่งในหลอดเลือดดำส่วนลึก Deep vein thrombosis

credit siamhealth.net
ถ้าท่านผู้อ่านอ่านหนังสือพิมพ์ หรือฟังข่าวจะพบชื่อโรคชั้นประหยัด เป็นโรคลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำที่ขา ซึ่งมักจะเกิดในการเดินทางโดยเครื่องบินชั้นประหยัด ทางการแพทย์เรียก deep vein thrombosis ไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผนกไหนก็ต้องรู้จักเป็นอย่างด ีเนื่องจากเป็นโรคที่พบอยู่เรื่อยๆ ฟังจากชื่อแล้วเป็นเฉพาะคนจนหรือเปล่า และจำเป็นต้องนั่งเครื่องบินชั้นประหยัดหรือไม่ เป็นแล้วอันตรายหรือไม่ มีวิธีป้องกันอย่างไร หลังจากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความนี้หมดแล้ว คงพอมีความรู้เบื้องต้นที่จะดูแลและป้องกันโรคนี้
เส้นหลอดเลือดดำส่วนลึกคืออะไร
เส้นหลอดเลือดดำจะนำเลือดที่ใช้แล้วกลับสู่หัวใจ โดยอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อ ร่วมกับลิ้นในหลอดเลือดดำ หลอดเลือดดำที่ขามี 2 ชนิดคือหลอดเลือดดำที่ผิว superficial veinที่เราสามารถเห็นได้ด้วยตา ซึ่งจะนำเลือดจากผิวไปสู่หลอดเลือดดำส่วนลึก deep veinซึ่งจะอยู่ในกล้ามเนื้อ หลอดเลือดดำลึกก็จะนำเลือดไปยังหลอดเลือดดำใหญ่ในท้อง inferior venacava
เลือดคั่งในหลอดเลือดดำลึกคืออะไร
ปกติเลือดในหลอดเลือดดำจะไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อมีภาวะที่เลือดดำหยุดไหลเวียนและจับแข็งตัว
ลิ่มเลือด
thrombosisในหลอดเลือดเรียกภาวะนี้ว่าลิ่มเลือดคั่งในหลอดเลือดดำ[blood clot] ภาวะนี้อาจจะเกิดร่วมกับการอักเสบของหลอดเลือดดำ thromboplebitis คือมีทั้งลิ่มเลือดและการอักเสบของหลอดเลือด ภาวะนี้อาจจะเกิดที่เส้นเลือดผิว superficial vein ซึ่งเพียงทำให้บวมและปวดเท้านั้นจะไม่ไปอุดหลอดเลือดหัวใจหรือปอด การรักษาก็ไม่ยุงยากแต่หากเกิดที่เส้นเลือดส่วนลึก deep vein จะก่อให้เกิดปัญหามากคือลิ่มเลือดอาจจะไปอุดที่ปอดเรียก pulmonary embolism ซึ่งอันตรายเสียชีวิตได้
สาเหตุของลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
สาเหตุใหญ่ๆที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้แก่
  1. หลอดเลือดดำได้รับอันตราย เช่นอุบัติเหตุกระดูกหัก กล้ามเนื้อถูกกระแทก หรือการผ่าตัด
  2. เลือดในหลอดเลือดมีการไหลเวียนช้าลงเช่นการนั่งหรือนอนนาน หลังผ่าตัด อัมพาต การเข้าเผือก
  3. การที่เลือดมีการแข็งตัวง่าย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
  • คนแก่ นอนไม่เคลื่อนไหวมากว่า 3วัน
  • อัมพาต
  • การเข้าเผือก
  • หลังผ่าตัดทำให้ต้องนอนนาน
  • การที่ต้องนั่งรถ รถไฟ เครื่องบิน หรือนั่งไขว่ห้าง
  • การใช้ยาคุมกำเนิด ฉีดยาเสพติด
  • การตั้งครรภ์ หลังคลอด
  • นอนไม่เคลื่อนไหวมากกว่า 3 วัน
  • โรคมะเร็ง
  • โรคทางพันธุกรรมบางโรค
อาการของโรคลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
หลอดเลือดดำ
ขาข้างที่เป็น dvt จะบวมกว่าอีกข้าง
อาการที่สำคัญคืออาการบวมที่เท้าเนื่องจากการไหลกลับของเลือดไม่ดีมักจะบวมข้างเดียว บางรายอาจจะเห็นเส้นเลือดโปงพอง อาจจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริวพบได้ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะเวลากระดกข้อเท้าจะทำให้ปวดมากขึ้น เมื่อกดบริเวณน่องก็จะทำให้ปวด ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการที่เท้าอาจจะมาพบแพทย์ด้วยเรื่องหอบเหนื่อย เนื่องจากลิ่มเลือดไปอุดในปอด
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายต้องใช้การตรวจหลายอย่างมาช่วยในการวินิจฉัย
  1. บวมเท้าที่เป็นข้างเดียว และอาจจะกดเจ็บบริเวณน่อง
  2. เมื่อจับปลายเท้ากระดกเข้าหาตัวโดยที่เข่าเหยียดตรง[เรียกการตรวจนี้ว่า Homans Sign ]
  3. อาจจะตรวจพบว่าหลอดเลือดดำโป่งและอาจจะคลำได้ ถ้าเส้นเลือดอักเสบเวลาคลำจะปวด
  4. อาจจะมีไข้ต่ำๆ
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยต้องอาศัยการตรวจพิเศษ
  1. venography คือการฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดที่สงสัยเพื่อดูว่ามีลิ่มเลือดอุดหรือไม่ แต่ให้ผลการตรวจไม่แม่นยำ และอาจจะเกิดอาการแพ้จึงไม่นิยม
  2. venous ultrasound เป็นการใช้ ultrasound ช่วยในการวินิจฉัย วิธีนี้ไม่เจ็บปวดให้ผลดี
  3. MRI
การรักษา
หากวินิจฉัยว่าเป็น dvt จะต้องรีบให้การรักษาโดยรับตัวไวในโรงพยาบาลแพทย์จะเลือกให้ heparin หรือ low molecular weight heparin หลังจากนั้นต้องให้ warfarin เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอีก 3 เดือน
การป้องการคือการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกและการป้องกันเส้นเลือดขอด
วิตามินอีช่วยลดการเกิดโรคนี้ 
วิตามินอีอาจจะใช้ป้องกันโรคชั้นประหยัด
วิตามินอีเคยได้รับการทดลองให้ผู้ป่วยเพื่อป้องกันโรค หัวใจและโรคมะเร็งแต่ผลการทดลองให้ผลไม่ดีดังที่คิด แต่มีการทดลองการให้วิตามินอีพบว่ามีผลต้านฤทธิ์ต่อวิตามินเค(vitaminK)ใน สัตว์ทดลอง จึงได้มีการทลองให้ในคนซึ่งตีพิมพใน Circulation. เดือนกันยายน 2550
  • โดยศึกษาผู้หญิงแข็งอายุมากกว่า 45 ปีซึ่งก็เจาเลือดตรวจหาโรคเป็นพื้นฐาน
  • ผู้เข้ารับการศึกษาจะได้รับ วิตามินอี 600 ยูนิต แอสไปริน 100มกวันเว้นวัน หรือเม็ดแป้ง
  • การศึกษาจะดูอัตราการเกิดโรค venous thrombosis หรือผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคนี้
  • พบว่ามีผู้ป่วยประมาณ19000 คนทั้งกลุ่มที่ได้วิตามินอี และกลุ่มที่ได้เม็ดแป้ง และมีลักษาณะเช่นเชื้อชาติ อายุ ไม่ต่างกันทั้ง2 กลุ่ม ระยะเวลาที่ศึกษาประมาณ10.2 ปี
ผลการศึกษาพบว่า
  • มีการเกิดโรคลิ่มเลือดที่เท้า 482 คนโดยที่ไม่มีประวัติผ่าตัดหรือได้รับอุบัติเหตุ
  • คนที่ได้รับ วิตามินอี จะมีอัตราการเกิดลิ่มเลือดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้เม็ดแป้งเล็กน้อย
  • สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคชั้นประหยัดมาก่อนหรือมีพันธุกรรมพบว่า วิตามินอีจะลดอัตราการเกิดโรคนี้ได้ถึงร้อยละ 44-48
คำแนะนำ
  • ผู้ที่เคยเป็นโรคลิ่มเลือดอุดที่เท้ามาก่อน โดยที่ไม่ได้รับอุบัติเหตุหรือผ่าตัดน่าจะได้รับประโยชน์จากการรับประทาน วิตามินอีวันละ 600 ยูนิตต่อวัน แต่ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลท่าน

เส้นเลือดขอด varicose vein

credit siamhealth.net
เส้นเลือดดำเป็นเส้นเลือดที่รับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ ปกติจะไม่โป่งพอง แต่ถ้าเกิดโรคที่หลอดเลือดหรือลิ้นของหลอดเลือดทำให้เลือดคั่งในหลอดเลือด การคั่งของเลือดอาจจะเกิดได้หลายๆแห่งเช่น
  • เกิดที่ทวารหนักเรียกโรคริดสีดวงทวาร
  • เกิดที่ผนังหลอดอาหารเรียก esophageal varices
  • เกิดที่อัณฑะเรียก varicococel
สำหรับเส้นเลือดขอดที่จะกล่าวเกิดที่ขา ท่านผู้อ่านคงได้ยินการโฆษณาถึงการรักษาเส้นเลือดขอด ทำให้หายขาด ไม่เจ็บปวด และปลอดภัย ทำให้ท่านผู้อ่านสับสนว่าจะรักษาดีหรือไม่ ข้อมูลที่นำเสนอเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยท่านในการตัดสินใจ
เส้นเลือดขอดคืออะไร
เส้นเลือดขอดคือเส้นเลือดที่มีเลือดมากองทำให้หลอดเลือดโป่งพองและมักจะมีอาการหนักเท้า คันเท้ารายที่เป็นมากอาจจะมีแผลที่เท้า

เส้นเลือดขอดที่เท้า varicose vein

เส้นเลือดดำที่เท้าจะมีสองระบบคือเส้นเลือดดำที่ผิว เรียก superficial vein จะนำเลือดจากผิวหนังไปสู่ระบบที่สองคือเส้นเลือดดำที่อยู่ลึกเรียก deep vein ซึ่งนำเลือดกลับสู่หัวใจ โดยมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อ เป็นตัวไล่เลือดจากขาไปเส้นเลือดดำใหญ่ในท้อง โดยมีลิ้นๆกั้นเลือดมิให้ไหลกลับ หากลิ้นดังกล่าวเสียซึ่งอาจจะเกิดจากโรคของ valve เอง หรือจากการเสื่อมตามอาย ุทำให้ไม่สามารถกั้นเลือดไหลกลับเลือดจึงค้างอยู่ในหลอดเลือดดำ จึงเกิดโป่งพองโดยมากเกิดในผู้หญิงอายุ 30-70 ปี


เส้นเลือดโป่งและคด เส้นเลือดที่ผิวและเส้นเลือดลึก แสดงลิ้นหลอดเลือดดำรั่ว
สาเหตุ
  1. มีความผิดปกติของลิ้นในหลอดเลือดดำ
  2. เป็นกรรมพันธุ์
  3. มีการอักเสบของหลอดเลือดดำ thrombophlebitis
  4. ปัจจัยส่งเสริมเช่น การยืน การนั่งนานๆ 
  5. คนท้อง
  6. อายุมากมีการหย่อนของลิ้นหลอดเลือด
  7. การผ่าตัดโดยเฉพาะบริเวณสะโพก
  8. ผู้ป่วยหัวใจวาย
  9. อาการของเส้นเลือดขอดที่เท้า
     
    พบผิวหนังสีน้ำตาล
      แผลที่เกิดจากเส้นเลือดขอด
  10. ปวดเท้าปวดหนักๆ ตึงๆ
  11. อาจจะเกิดตะคริวของกล้ามเนื้อ
  12. เห็นเส้นเลือดดำพอง
  13. บวมหลังเท้า
  14. เลือดไปเลี้ยงผิวหนังน้อยลง ผิวหนังบริเวณข้อเท้าจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ผิวบาง แห้งและค่อนข้างแข็ง
  15. หากมีการคั่งของน้ำมากๆ อาจจะเกิดการอักเสบของผิวหนังที่เรียกว่า stasis eczamaซึ่งจะมีอาการคัน หรืออาจจะเกิดแผล
  16. เลือดออกจากเส้นเลือดขอด
การนั่งหรือยืนนานๆจะทำให้อาการดังกล่าวเป็นมากขึ้น
การวินิจฉัย
  • หากพบเห็นหลอดเลือดดำพองและบิดขดตำแหน่งที่พบบ่อยคือบริเวณน่องก็สามารถวินิจฉัยได้
  •  บางรายอาจจะใช้ doppler ultrasound
  • การฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำที่เรียก venogram
การดูแลตัวเอง
  1. การออกกำลังกาย การเดินเป็นวิธีดีที่สุดจะเป็นการทำให้การไหลเวียนดีขึ้นแพทย์จะแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  2. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  3. ให้สวมรองเท้าส้นเตี้ยซึ่งจะเพิ่มการไหลเวียนของเลือด หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่ฟิตๆ
  4. ให้ยกขาสูงครั้งละ10-15 นาที วันละ 3-4 ครั้งโดยยกสูงระดับหน้าอก
  5. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งนานๆ
  6. ใช้elastic bandage พันตั้งแต่ข้อเท้าถึงบริเวณเข่า
  7. ห้ามนั่งไขว่ห้าง
  8. ห้ามสวมชุดที่คับเกินไปโดยเฉพาะบริเวณเอว ขาหนีบ
  9. ลดอาหารเค็มเพื่อป้องกันอาการบวม
  10. ถ้าหากต้องนั่งนานให้ลุกเดินทุกชั่วโมง และขณะนั่งให้บริหารข้อเท้าตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาสลับกัน เหยียดเท้าและกระดกเท้าทำสลับกัน
การรักษา
การรักษาอาจจะไม่จำเป็นนอกจากมีข้อบ่งชี้คือปวดมาก หรือมีแผล หรือเพื่อความสวยงาม
  • การผ่าตัดเอาหลอดเลือดเสียออกเส้นใหญ่ออกทั้งเส้น
  • sclerotherapy การฉีดสารเคมีเพื่อให้หลอดเลือดเสียตีบ
  • Ambulatory phlebectomy การผ่าตัดเอาหลอดเลือดดำเส้นเล็กๆออก
โรคแทรกซ้อน
  1. มีการอักเสบของหลอดเลือดดำ thrombophlebitis
  2. มีการแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ deep vein thrombosis
  3. เกิดแผลที่เท้า
ควรปรึกษาแพทย์ในกรณีดังต่อไปนี้
  • ปวดเพิ่มขึ้น
  • บวมเพิ่มขึ้น
  • มีไข้
  • แผลที่เท้า
เส้นเลือดฝอย spider vein

เป็นเส้นเลือดฝอยที่ใกล้ผิวหนังรวมกันเป็นกลุ่มเป็นสีแดงหรือเขียวทำให้เห็นได้ สามารถเกิดได้ทุกที่แต่ที่พบบ่อยคือ หน้า ต้นขา น่อง เส้นเลือดนี้ไม่มีผลต่อสุขภาพ
สาเหตุ
ยังไม่มีใครทราบแน่นชัดเชื่อว่าเป็นผลจากฮอร์โมน กรรมพันธุ์ การตั้งท้อง คนอ้วน  การทำงานที่ต้องนั่งหรือยืนนาน ภาวะนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
เส้นเลือดฝอยนี้ต่างจากเส้นเลือดขอดอย่างไร
เส้นเลือดฝอยเป็นเส้นเลือดที่อยู่ใกล้ผิวหนังขนาดของเส้นเลือดไม่ใหญ่ อาการปวดเท้าไม่มาก แต่เส้นเลือดขอดมักเป็นเส้นเลือดใหญ่ หลอดเลือดจะโป่งมาก มีอาการปวดมากกว่า มีโรคแทรกซ้อนมากกว่า
เราสามารถป้องกันเส้นเลือดฝอยนี้ได้หรือไม่
ผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่สามารถป้องกันได้แต่มีผู้ป่วยบางส่วนสามารถป้องกันได้โดยพัน elastic bandage ตั้งแต่ข้อเท้าไปถึงบริเวณเข่า การออกกำลังกายจะช่วยให้ระบบไหลเวียนดีขึ้น การควบคุมน้ำหนักให้ปกติจะช่วยลดความดันในหลอดเลือดดำ การรับประทานอาหารที่มีใยสูง การใส่รองเท้าส้นเตี้ย รวมทั้งการทาครีมกันแดดซึ่งจะช่วยบรรเทา
เส้นเลือดขอดที่เท้ารักษาอย่างไร
ที่นิยมใช้การฉีดสารเคมีที่ระคายต่อผนังหลอดเลือดทำให้ผนังหลอดเลือดบวม เลือดในหลอดเลือดแข็งในที่สุดหลอดเลือดนั้นจะตีบตันเรียก sclerosing therapy

ผลข้างเคียงของการรักษามีอะไรบ้าง
  1. ปวดบริเวณที่ฉีด บางรายเป็นตะคริวอาการจะหายไป 10-15 นาทีหลังฉีด
  2. ผิวที่ฉีดจะแดงอาการนี้จะหายไปในไม่กี่วัน
  3. เส้นสีน้ำตาลซึ่งเกิดจากธาตุเหล็กในเลือดรอยแนวสีน้ำตาลนี้อาจจะหายใน 1 ปี แต่บางรายอาจจะอยู่ได้หลายปี
  4. เกิดหลอดเลือดฝอยใหม่ได้
  5. แผลเจ็บปวดบริเวณที่ฉีดเนื่องจากการรั่วของสารเคมีหากมีอาการดังกล่าวรีบแจ้งแพทย์
  6. รอยจ้ำเขียวเนื่องจากเลือดออกใต้ผิวหนังอาการนี้หายเองได้
  7. บางรายอาจจะเกิดการแพ้สารเคมี
  8. มีการอักเสบของเส้นเลือดทำให้ปวดเส้นเลือด
หลังการรักษาจะกลับเป็นซ้ำหรือไม่
มีโอกาสเป็นใหม่ได้ทั้งเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอย

วิธีการฉีด sclerotherapy

ก่อนฉีด

หลังฉีด 1 เดือน

หลังฉีด 3 เดือน
การรักษาเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอย
การผ่าตัด
แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้
  1. มีอาการเช่น ปวด บวม
  2. เพื่อความงาม
  3. เมื่อมีโรคแทรกซ้อนจากเส้นเลือดขอด เช่นเกิดผื่น เกิดแผล หรือเลือดออก
ถ้าหากไม่มีเหตุผลดังกล่าวแพทย์อาจจะยังไม่พิจารณาผ่าตัด ก่อนที่ท่านจะรักษาท่านต้องปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านถึงความคาดหวังของ ท่าน เพื่อที่แพทย์จะพิจารณาว่าสามารถทำได้หรือไม่ถ้าหากผ่าไม่ได้หรือระหว่างรอ การผ่าตัดท่าน อาจจะใช้ elastic bandage พันเพื่อลดอาการ
ชนิดของการผ่าตัด
  1.  surgical exploration โดยการผ่าตัดที่ขาหนีบหรือบริเวณหลังเข่าเพื่อตัดและผูกเส้นเลือดที่อยู่ผิวออก
  2. surgical stripping คือการตัดเส้นเลือดดำที่สงสัยว่าลิ้นในหลอดเลือดผิดปกติออกทั้งเส้น เพื่อป้องกันการเกิดเป็นซ้ำ
  3. surgical removal เป็นการผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดซึ่งอยู่ลึกออกทั้งเส้น
แม้ว่าจะผ่าตัดเอาเส้นเลือดดำออกทั้งเส้นแต่ก็ไม่มีผลต่อการไหลเวียน เนื่องจากมีหลอดเลือดดำอื่นที่สามารถทดแทนส่วนที่ถูกตัดออก
การตรวจก่อนผ่าตัด
ก่อนการผ่าตัดแพทย์ต้องทราบว่าเส้นเลือดใดมีปัญหาเพื่อที่จะวางแผนการผ่าตัด โดยอาศัยการตรวจร่างกายและตรวจ duplex ultrasound scan ซึ่งสามารถเห็นหลอดเลือดดำและทิศทางการไหลของเลือด
โรคแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
  1. โรคแทรกซ้อนจากการดมยาสลบได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน แพ้ยาสลบ หรือในคนสูงอายุอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่อหัวใจหากมีโรคหัวใจอยู่เก่า
  2. เลือดออก เนื่องจากการผ่าตัดเกี่ยวกับหลอดเลือดต้องมีการเสียเลือดโดยทั่วไปไม่มาก
  3. แผลติดเชื้อถ้าหากผ่าตัดเป็นเวลานาน หรือคนอ้วนหรือมีแผลอยู่ใกล้บริเวณที่ผ่าตัดก็ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  4. ระหว่างการผ่าตัดอาจจะมีการทำให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเสียหายเช่น เส้นเลือดแดง เส้นประสาท
  5. เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำพบไม่บ่อยแต่หากเกิดอาจจะรุนแรงได้โดยเฉพาะในผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัด 3-4 วันแรกให้นอนพักให้มาก ยกเท้าสูง และใส่ Tubigrip หลังจากที่หายดีอาจจะค่อยๆเริ่มเดิน แต่ขณะนอนยังคงต้องนอนยกเท้าสูง ท่านสามารถทำได้ได้ตามปกติหลังจากผ่าตัด 2 สัปดาห์

การรักษาเส้นเลือดขอดมีกี่วิธี
หลักการรักษาเส้นเลือดขอดคือการจักการกับหลอดเลือดขอดซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้
  • การผ่าตัดนำหลอดเลือดขอดออก
  • การฉีดสารเคมีทำให้หลอดเลือดตีบ sclerotherapy
  • การใช้ laser
  • การใช้ไฟฟ้าจี้
โรคแทรกซ้อนของการรักษามีอะไรบ้าง
  • การผ่าตัด จะมีโรคแทรกซ้อนจากการดมยา เช่นคลื่นไส้อาเจียน การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด และยังเกิดแผลเป็นบริเวณที่ผ่าตัด
  • sclerotherapy โรคแทรกซ้อนขึ้นกับสารที่ใช้ บางชนิดทำให้เกิดอาการแพ้ บางชนิดทำให้เกิดอาการปวด บางชนิดทำให้เกิดรอยดำ
  • การรักษาแต่ละชนิดจะไม่หายขาดเนื่องจากร่างกายอาจจะสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่หรือเส้นเก่าเกิดพองเหมือนก่อนรักษา และยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดใหม่

โรคหัวใจวาย Heart failure

การทำงานของหัวใจ  credit siamhealth.net


หัวใจของคนเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่กว่ากำป้านของเจ้าของ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ทุกๆวันหัวใจจะเต้นประมาณ 100000 ครั้ง สูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2000 แกลลอน


ระบบไหลเวียนโลหิตของเราประกอบไปด้วยหลอดเลือด ซึ่งเชื่อมติดต่อกันเป็นโครงข่ายทั่วร่างกาย โดยเริ่มต้นจากหัวใจห้องซ้ายล่าง Left Ventricle ฉีดเลือดไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เรียกว่า Aorta แล้วต่อไปยังหลอดเลือดแดง Artery ,Aterioles ต่อเส้นเลือดฝอย capillaries เลือด ณ.บริเวณนี้จะอุดมไปด้วยอาหารและออกซิเจนซึ่งแลกเปลี่ยนกับเนื้อเยื่อ แล้วไหลกลับสู่หลอดเลือดดำ vein ซึ่งนำเข้าหลอดเลือดดำใหญ่และเข้าสู่หัวใจ


โรคหัวใจวาย Heart failure


โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศไทย ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม สาเหตุการตายก็เปลี่ยนจากการติดเชื้อเป็นอุบัติเหตุ โรคหัวใจ โรคเอดส์ ปัจจุบันการตายจากโรคหัวใจก็เพิ่มมากขึ้น บางคนก็เสียชีวิตเฉียบพลัน บางคนก็กลายเป็นโรคเรื้อรังและมีโรคแทรกซ้อน


โรคหัวใจวายเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็วบางรายอาจจะถึงแก่ชีวิต การเปลี่ยนแปลงของโรคไม่แน่นอน ท่านอาจจะปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะทราบพยากรณ์ของโรค เมื่อเป็นโรคหัวใจนอกจากเกิดผลกระทบกับตัวผู้ป่วยแล้วยังกระทบกับครอบครัว เพื่อนและครอบครัวต้องช่วยกันดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ทั้งเรื่องอาหาร การทำความสะอาด


หัวใจวายคืออะไร


หัวใจวายหมายถึงภาวะซึ่งหัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างพอเพียง หัวใจวายไม่เหมือนกับหัวใจหยุดเต้น เราเรียกหัวใจวายว่า congestive heart failure คือหัวใจทำงานล้มเหลวทำให้เนื้อเยื่อต่างๆขาดออกซิเจน เมื่อไตได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลงทำให้ไตสร้างสารบางชนิดออกมาทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย หากหัวใจห้องซ้ายวายก็จะมีการคั่งของน้ำและเกลือที่ปอดทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด Pulmonary edma หากหัวใจห้องขวาวายจะเกิดการคั่งของน้ำที่ขาทำให้บวมที่เท้า


อาการหัวใจวายอาจจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่นเกิดภายหลังจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออาจจะค่อยๆเกิดเช่นโรคของลิ้นหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจ


ชนิดของหัวใจวาย


เราทราบกันแล้วว่าหัวใจคนเรามี สี่ห้องคือมีหัวใจ การแบ่งหัวใจวายจะแบ่งเป็นหัวใจวายห้องขวา ซึ่งประกอบด้วยห้องบนขวา ( right atrium) และหัวใจห้องล่างขวา (right ventricle) และหัวใจวายห้องซ้ายซึ่งประกอบด้วยหัวใจห้องบนซ้าย( left atrium) และหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricle)


หัวใจห้องซ้ายล้มเหลวleft-sided heart failure


หัวใจห้องซ้ายจะรับเลือดที่ฟอกแล้วจากปอดและจะสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจข้างนี้จะแข็งแรงกว่าหัวใจห้องอื่น หากหัวใจข้างนี้วายร่างกายจะไม่สามารถสูบฉีดเลือดทำให้เลือดคั่งในปอดเกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด Pulmonary edema นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการบวมที่เท้า


หัวใจห้องขวาล้มเหลว


หัวใจห้องขวาจะรับเลือดจากร่างกายแล้วสูบเลือดไปปอด หากหัวใจห้องขวาล้มเหลวจะทำให้เกิดอาการบวมของเท้า
สาเหตุของหัวใจวาย
เมื่ออายุมากขึ้นการบีบตัวตัวของหัวใจก็จะลดลง หากมีภาวะที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น หรือมีการสูญเสียความสามารถในการบีบตัวของหัวใจก็จะเกิดโรคหัวใจวาย นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเช่น การสูบบุหรี่ อ้วน การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออกกำลังกาย เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดโรคหัวใจวายได้ หัวใจวายมีด้วยการหลายสาเหตุ บางครั้งอาจจะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด สาเหตุที่พบได้บ่อยได้แก่
  • หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ (coronary heart disease) ผู้ป่วยมักจะมีประวัติเจ็บและแน่นหน้าอกมาก่อน เมื่อเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ กล้ามเนื้อหัวใจก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบตันอย่างเฉียบพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายไปบางส่วน หากบริเวณที่ตายกินบริเวณกว้างก็อาจจะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
  • กล้ามเนื้อหัวใจเอง ได้แก่โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ การติดเชื้อไวรัสบางตัวทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเกิดล้มเหลว (cardiomyopathy) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง
  • ความดันโลหิตสูง (Hypertension)เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหนาตัวต้องทำงานมากขึ้น และเกิดล้มเหลวได้
  • ลิ้นหัวใจ เช่น โรคหัวใจ รูมาติก rheumatic heart disease ทำให้ลิ้นหัวใจตีบ หรือมีการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • โรคปอดเช่นโรคถุงลมโป่งพองก็สามารถทำให้หัวใจห้องขวาวาย
  • โรคเบาหวาน สาเหตุที่โรคเบาหวานมักจะมีโรคหัวใจ คือผู้ป่วยมักจะอ้วน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ
  • หัวใจเต้นผิดปกติ อาจจะเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นช้าเกินไป (bradyarrhythmia) หรือเต้นเร็วเกินไป (tachyarrhythmia) ทำให้หัวใจไม่สามารถป้ำเลือดได้อย่างเพียงพอ
  • สารพิษ เช่น สุรา หรือยาเสพติด ซึ่งจะทำลายกล้ามเนื้อหัวใจเป็นต้น
  • ผู้ป่วยที่มีโลหิตจางมากก็ทำให้เกิดหัวใจวาย
  • ผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษ
การปรับตัวของหัวใจเมื่อเป็นโรคหัวใจวาย
โรคหัวใจวายเป็นโรคเรื้อรังและมีการดำเนินของโรคอยู่ตลอดเวลา หากเป็นใหม่มักจะไม่มีอาการหรือมีอาการแต่ไม่มาก เนื่องจากหัวใจมีการปรับตัวดังนี้
  • หัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือที่เรียกว่าหัวใจโต Cardiomegaly การที่หัวใจมีขนาดโตขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการเลือดของร่างกาย แต่เมื่อโตถึงระดับหนึ่ง กล้ามเนื้อหัวใจถึงยืดทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
  • กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น Hypertrophy เพื่อเพิ่มแรงบีบให้กับหัวใจ
  • หัวใจเต้นเร็วขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น


อาการของโรคหัวใจวาย
ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเล็กน้อยจึงไม่ ได้ใส่ใจ บางรายเป็นขณะทำงานพอพักแล้วหาย จึงยังไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เป็นจำนวนไม่น้อยที่มาพบแพทย์เมื่ออาการหนักมาก ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจวาย ควรที่จะรู้ว่ามีอาการอะไรบ้างและควรที่จะติดตามอาการเหล่านั้น หากอาการแย่ลงต้องรีบปรึกษาแพทย์อาการต่างๆทีพบได้
ปอดบวม รูปแสดงปอดในสภาพปกติ และรูปปอดที่เป็นหัวใจวายและมีน้ำท่วมปอด
  • เหนื่อยง่ายหากโรคหัวใจเป็นไม่มากจะหอบเฉพาะเวลาทำงานหนัก หรือขึ้นบันได พอพักจะหายเหนื่อย dyspnea on exertion แต่ถ้าโรคหัวใจเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะเหนื่อยง่ายงานที่เคยทำได้ก็จะเหนื่อย หากเป็นมากขึ้นกิจกรรมปกติก็จะเหนื่อย จนกระทั่งเวลาพักก็เหนื่อย หากอาการเหนื่อยเปลี่ยนในทางที่แย่ลงต้องปรึกษาแพทย์อาการเหล่านี้เกิดจากน้ำท่วมปอด Pulmonary edma
  • นอนราบไม่ได้จะเหนื่อย ต้องลุกมานั่งหลังจากนอนไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง บางรายต้องนั่งหลับเรียกว่า orthopnea
    เท้าบวมหลังเท้าบวม
    หน้าแข้งและหลังเท้าบวม เมื่อกดหลังเท้าจะพบรอยบุ๋ม
  • แน่นหน้าตอนกลางคืน ต้องลุกขึ้นมานั่ง
  • อ่อนเพลียง่าย ไม่มีแรง
  • ข้อเท้าบวม บวมท้องเนื่องจากมีการคั่งของน้ำและเกลือ
  • น้ำหนักเพิ่มอย่างเร็ว
  • ไอเรื้อรังโดยเฉพาะหากเสมหะมีเลือดปนออกมาต้องรีบไปพบแพทย ์เพราะนั้นคืออาการของน้ำท่วมปอด
  • เบื่ออาการ คลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากระบบย่อยอาหารได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลง
  • ความจำเสื่อม มีการสับสน
  • ใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว
ปรึกษากับแพทย์ของท่านหากท่านมีโรคหัวใจอยู่ก่อนและเกิดอาการดังกล่าว
อาการ ต้นเหตุ อาการของผู้ป่วย
แน่นหน้าอก เลือดคั่งในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงปอด เหนื่อยเวลาทำงานหนัก เหนื่อยเวลาพัก เหนื่อยหรือแน่นหน้าอกเวลานอน
ไอเวลานอน เลือดคั่งในปอดและมีการรั่วของเลือดเข้าในปอด ไอเวลานอน แน่นหน้าอกเวลานอน ต้องลุกนั่งจึงจะหาย
บวม เลือดไม่สามารถผ่านหัวใจ เกิดการคั่งในเนื้อเยื่อ และมีการรั่ว บวมหลังเท้า ข้อเท้า ท้อง และมือ
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เนื่องจากหัวใจฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อน้อย เกิดการคั่งของของเสีย อ่อนเพลีย ไม่มีแรงเดินหรือขึ้นบันได
คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร กระเพาะลำไส้ได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อย รู้สึกแน่นท้องตลอดเวลา
สับสน ความจำไม่ดี เนื่องจากมีคั่งของเกลือแร่ ผู้ป่วยมีอาการมึนงง ความจำไม่ดี
ใจสั่น หัวใจต้องเต้นเร็ว ใจสั่น เหนื่อยง่าย
สิ่งที่ต้องบอกแพทย์เพื่อให้แพทย์ประเมินความรุนแรงของโรค
สิ่งที่จะต้องบอกแพทย์เมื่อไปพบแพทย์
  • ความรุนแรงของอาการ ไม่ว่าจะเป็นอาการแน่นหน้าอก หรือไอ บวม อ่อนเพลีย หรือเหนื่อย เช่น เดินเร็วจะเหนื่อย หรือนอนราบจะเหนื่อยเป็นต้น
  • ความถี่ของอาการ เช่นทุกครั้งที่ขึ้นบันไดจะเหนื่อย หรือทุกครั้งที่นอนหงาย หรือเป็นทุกวันทุกคืน
  • ระยะเวลาของอาการ เช่นบวมตอนสายตอนเช้าไม่บวม หรือแน่หน้าอกครั้งละ 20 นาทีเป็นต้น
  • รูบแบบของอาการ เช่นเดินขึ้นบันไดจะเหนื่อย หรือ บวมตอนเช้า หรือ หยุดออกกำลังแล้วแน่หน้าอกหายไป
  • ต้องบอกว่าเป็นที่ส่วนไหนให้ชัดเจน เช่นเหนื่อย หายใจหอบ
แพทย์จะตรวจอะไรบ้างเพื่อวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคหัวใจวายจะวินิจฉัยจากประวัติการหอบเหนื่อยหรืออาการบวม และจากการตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มีอาการและแพทย์ตรวจแล้วสงสัยว่าจะมีโรค หัวใจวายแพทย์จะตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจทางห้องปฏิบัติการก็เพื่อหาสาเหตุ ประเมินความรุนแรงของโรคหัวใจวาย
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG
  • เจาะเลือดตรวจเพื่อดูการทำงานของตับและไต
  • ตรวจปัสสาวะ
  • X-RAY ปอดและหัวใจเพื่อจะดูขนาดของหัวใจ และดูว่ามีน้ำท่วมบอดหรือไม่ ผู้ป่วยหัวใจวายจะมีขนาดหัวใจโต
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่ กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวหรือไม่ การเต้นของหัวใจปกติหรือไม่patient receiving echocardiogram, color photo
  • ตรวจคลื่นเสียงหัวใจ Echocardiography วิธีการตรวจเครื่องจะปล่อยคลื่นเสียงผ่านไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ คลื่นเสียงจะสะท้อนกลับมายังเครื่องรับ ทำให้เราสามารถเห็นความหน้าของกล้ามเนื้อหัวใจ เห็นการบีบตัวของหัวใจเพื่อตรวจวัดว่าหัวใจบีบตัวดีหรือไม่ มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจหรือไม่ คนที่เป็นโรคหัวใจวายหัวใจจะมีการบีบตัวน้อยกว่าปกติ กล้ามเนื้อหัวใจหนาหรือไม่ การตรวจนี้ไม่เจ็บปวดใช้เวลาประมาณไม่ถึงครึ่งชั่วโมง
  • การตรวจทางนิวเคลีย Radionuclide ventriculography เพื่อวัดปริมาณเลือดที่หัวใจบีบออกไปในแต่ละครั้ง
  • การตรวจด้วยวิธีการวิ่งบนสายพาน Treadmil Exercise  เป็นการตรวจเพื่อดูว่าเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบหรือไม่
การแบ่งความรุนแรงของโรคหัวใจ
การแบ่งความรุนแรงของโรคหัวใจก็เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาและดูแลตัว แพทย์จะแบ่งความรุนแรงออกเป็น 4 ระดับดังนี้
ความรุนแรง ปริมาณผู้ป่วย อาการของผู้ป่วย
I 35%  ผู้ป่วยไม่มีอาการ สามารถทำงานได้เหมือนคนปกติ
II 35% มีอาการเล็กน้อยเวลาทำงานปกติ พักจะไม่เหนื่อย
III 25% ไม่สามารถทำงานปกติได้เพราะเหนื่อย เช่นเดินก็เหนื่อย แต่พักจะไม่เหนื่อย
IV 5% ไม่สามารถทำงานปกติเช่นการอาบน้ำ การเดิน ขณะพักก็เหนื่อย.
การรักษา
โรคหัวใจวายเป็นโรคที่มีการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมากพอจึงเกิดอาการของหัวใจวาย โปรดจำไว้ว่าการรักษาโรคหัวใจวายไม่ใช่การรักษาแล้วหายขาด การรักษาหัวใจวายเป็นการปรับให้ร่างกายสู่สมดุล ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องร่วมมือในการรักษาโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำรงชีวิต หลักการรักษามีดังนี้

การป้องกันโรคหัวใจวาย
การตรวจวัดความดันโลหิต โรคหัวใจเมื่อเป็นแล้วมักจะรักษาไม่หาย ดังนั้นการป้องกันก่อนการเกิดโรคหัวใจวายเรียก Primary prevention น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เช่น การออกกำลังกาย รับประทานอาหารคุณภาพหลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่เครียด งดการสูบบุหรี่ ดื่มสุราในปริมาณที่จำกัด
  2. รักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น การรักษาโรคความดันโลหิต การรักษาโรคเบาหวาน ไขมัน หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ
  3. ตรวจร่างกายประจำปีก่อนการเกิดโรคหัวใจ
  4. การรักษาโรคพื้นฐาน เช่น การเต้นหัวใจที่ผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคธัยรอยด์เป็นพิษ
จะพบแพทย์บ่อยแค่ไหน
ช่วงปรับยาอาจจะพบแพทย์ทุกอาทิตย์หลังจากปรับยาได้เหมาะสมแพทย์จะนัดห่างออกไป
จะพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อไร
ท่านควรไปพบแพทย์หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น เช่นหากท่านรู้สึกเหนื่อยง่าย นอนแล้วแน่นหน้าอก น้ำหนักขึ้น'หรือบวมเท้า ควรปรึกษาแพทย์

ความดันโลหิตสูง

credit siamhealth.net
ทุกๆ คนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ
เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มี อาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต
 ความดันโลหิตแค่ไหนจึงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
เมื่อตรวจร่างกายแล้วว่าความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาทันทีหรือไม่
เมื่อท่านตรวจพบความดันโลหิตสูงถ้าไม่สูงมากอาจจะไม่จำเป็นต้องรับประทานยา แต่หากสูงมากก็จำเป็นต้องรับประทานยา ตารางข้างล่างจะเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย
ความดันโลหิตที่วัดได้ (mm Hg)*
ความรุนแรงของความดันโลหิต Systolic Diastolic จะต้องทำอะไร
ความดันโลหิตที่ต้องการ น้อยกว่า 120 น้อยกว่า 80 ให้ตรวจซ้ำใน 2 ปี
ความดันโลหิตสูงขั้นต้น Prehypertensionl 130-139 85-89 ตรวจซ้ำภายใน 1 ปี
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงระดับ 1 Stage 1 (mild) 140-159 90-99 ให้ตรวจวัดความดันอีกใน 2 เดือน
ความดันโลหิตสูงระดับ 2 Stage 2 (moderate) >160 >100 ให้พบแพทย์ใน 1 เดือน
สาเหตุของความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่านใหญ่ไม่ทราบสาเหตุเรียก primary หรือ essential hypertension  เราสามารถควบคุมความดันโลหิตได้แต่รักษาไม่หายดังนั้นจึงจำเป็นต้องป้องกัน ส่วนที่ทราบสาเหตุเรียก secondary hypertension เช่น เนื้องอกต่อมหมวกไต ยาคุมกำเนิด หากทราบสาเหตุสามารถรักษาให้หายขาดได้

Primary hypertension

หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า essential hypertension เป็นความดันโลหิตสูงที่พบมากที่สุดกลุ่มนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารเค็ม อ้วน กรรมพันธุ์ อายุมาก เชื้อชาติ และการขาดการออกกำลังกาย

Secondary hypertension

เป็นความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสาเหตุที่พบได้บ่อยคือ

โรคไต ผู้ป่วยที่มีหลอดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบทั้งสองข้างมักจะมีความดันโลหิตสูง
เนื้องอกที่ต่อมหมวกไตพบได้สองชนิดคือชนิดที่สร้างฮอร์โมน hormone aldosterone ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับเกลือแร่โปแตสเซียมในเลือดต่ำ อีกชนิดหนึ่งได้แก่เนื้องอกที่สร้างฮอร์โมน catecholamines เรียกว่าโรค Pheochromocytoma ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับใจสั่น
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ Coarctation of the aorta พบได้น้อยเกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบบางส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตต่ำ

ปกติความดันโลหิตยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะเกิดโรคน้อย แต่หากความดันโลหิตที่ต่ำทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ เป็นลมเวลาลุกขึ้นแสดงว่าความดันต่ำไป สาเหตุที่พบได้มีดังนี้

ผู้ป่วยที่มีโรคระบบประสาทหรือต่อมไร้ท่อ
ผู้ที่นอนป่วยนานไป
ผู้ที่เสียน้ำหรือเลือด

เคล็ดลับในการรักษาความดันโลหิตสูง
  1. ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
  2. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
  3. งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรับต่อวัน
  4. รับประทานอาหารไขมันต่ำ
  5. งดการสูบบุหรี่
  6. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  7. ไปตามแพทย์นัด
  8. ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน
  9. รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม
  10. แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจวัดความดันโลหิต
ความดันโลหิตสูงในเด็ก

เราไม่ค่อยพบความดันโลหิตสูงในเด็ก แต่เด็กก็สามารถเป็นความดันโลหิตสูงการค้นพบความดันโลหิตสูงตั้งแต่แรกจะสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคไต ดังนั้นเด็กควรที่จะได้รับการวัดความดันโลหิตเหมือนผู้ใหญ่ สาเหตุก็มีทั้ง primary และ secondary พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิต หรือบางเชื้อชาติ กลุ่มเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์แนะนำอาหาร และการออกกำลังกาย หากความดันโลหิตไม่ลงจึงให้ยารับประทาน

คนที่เป็นความดันโลหิตสูงสามารถอบ Sauna ได้หรือไม

คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถอาบน้ำอุ่นหรืออบ Sauna ได้โดยที่ไม่เกิดผลเสีย ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจหอบควรจะหลีกเลี่ยงการอบ Sauna หรือแช่น้ำร้อน และไม่ควรที่จะดื่มสุรา นอกจากนั้นไม่ควรอาบน้ำร้อนสลับกับน้ำเย็นเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

ทำไมต้องรักษาความดันโลหิตสูง

เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ แต่โรคความดันโลหิตสูงสามารถทำให้เกิดโรคแก่ร่างกาย เช่นทำให้หัวใจต้องทำงานหนักอาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งของโรคอัมพาต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ผู้ที่ไม่ได้รักษาความดันโลหิตสูงจะมีผลดังนี้

มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น 3 เท่า
มีโอกาสเกิดโรคหัวใจวายเพิ่มขึ้น 6 เท่า
มีโอกาสเกิดโรคอัมพาตเพิ่มขึ้น 7 เท่า

เรื่องความดันที่น่าสนใจ

ความดันโลหิตสูงตามแนวทางยุโรป
ความดันโลหิตคืออะไรและถ้าสูงจะทำให้เกิดปัญหาอะไร
ใครมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตวัดได้อย่างไร
ความดันที่ดีต้องเท่าไร
การตรวจพิเศษเมื่อท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูง
เมื่อไรจึงจะรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคที่เกิดจากความดันโลหิตสูง
อวัยวะที่เสียหายจากโรคความดันโดยที่ไม่เกิดอาการ
เครื่องมือวัดความดันโลหิต
โรคความดันโลหิตสูงกับผู้หญิง
วิธีป้องกันความดันโลหิตสูงโดยไม่ต้องใช้ยา
การรักษาความดันโลหิตสูง
รับประทานเกลือน้อยจะลดการเกิดโรคหัวใจ
ถั่วเหลืองช่วยลดความดันโลหิต 18/1/2008 อ่านที่นี่
ดื่มสุราปานกลางลออัตราการเสียชีวิต 19/1/2008 อ่านที่นี่
เกลือโปแตสเซี่ยม
เกลือและสุขภาพ
คำถามที่พบบ่อย
การรักษาโรคโดยไม่ต้องรับประทานยา
รับประทานผลไม้สีเข้มป้องกันโรคความดันโลหิคตสูง

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


ถ้าอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์จะพบว่าผู้มีชื่อเสียง ดารา เสียชีวิตจากโรคหัวใจไม่เว้นแต่ละวัน โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด เนื่องจากชีวิตความเป็นอยู่เช่นการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ทำให้โรคนี้พบมากขึ้น โรคหัวใจเป็นโรคใกล้ตัว คุณอาจเป็นคนหนึ่งที่เสี่ยง และเป็นโรคหัวใจหากคุณตั้งอยู่บนความประมาท ขอเชิญชวนท่านผู้อ่านร่วมกันทำบุญโดยคุณอ่านบทความนี้จนจบ โปรดแนะนำญาติ คนใกล้ชิด หรือคนรู้จักให้รู้ถึงปัจจัยเสี่ยง วิธีป้องกันความเสี่ยง รวมทั้งอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ








หากท่านผู้อ่านสามารถให้ความรู้และป้องกันการเสียชีวิตได้หนึ่งรายจะทำญาติให้ผู้ป่วยมีความสุขมากน้อยแค่ไหน เนื้อหาที่จะกล่าวจะแบ่งเป็นส่วนๆดังนี้


โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นโรคที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเนื่องจากมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายอาจจะเกิดหัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดปกติ


โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ | ระบาดวิทยา |อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ | อาการเจ็บหน้าอก | การวินิจฉัยโรค | คลื่นไฟฟ้าหัวใจ | ผลการตรวจเลือด | ข้อมูลที่ต้องบอกแพทย์ | กลไกการเกิดโรค | การแบ่งประเภทของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด | ปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดโรค | จะพบแพทย์เมื่อไร |การป้องกันทุติยภูมิ ิ | ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด | การรักษา | การใส่สายสวนหัวใจ | การทำบอลลูน | การฟื้นคืนชีพ | การดูแลเบื้องต้น ||การป้องกันเส้นเลือดตีบ | การตรวจโรคหัวใจทางห้องปฏิบัติการ| โรคแทรกซ้อน |การตรวจหัวใจหลังกล้ามเนื้อหัวใจตาย | การตรวจพิเศษในผู้ป่วยที่หัวใจขาดเลือด | อาหารกับโรคหัวใจ | บุหรี่กับโรคหัวใจ | การออกกำลังกาย
fbgoole


เรื่องที่น่าสนใจ


ดูทีวีมากกว่า 2 ชั่วโมงเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
ได้รับแคลเซี่ยมเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
หัวใจเต้นช้าดีกว่าหัวใจเต้นเร็ว


เอกสารอ้างอิง


Advanced Clinical Cardiology,First Edition, อภิชาต สุคนธสรรพ์ บรรณาธิการ 2845 , ISBN 974-656-762-4
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน,นิธิ มหานนท์ ,ปิยะมิตร ศรีธรา,สรณ บุญใบชัยพฤกษ์, บรรณาธิการ ISBN 974-85995-7-4

โรคหัวใจและหลอดเลือด


โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตของการเสียชีวิตของประเทศที่เจริญแล้ว และประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการและอาการแสดงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมีได้หลายลักษณะได้แก่


กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใขาดเลือดโดยที่ไม่มีอาการเรียก Silent ischemia
กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกเมื่อออกกำลังกาย เรียก Stable angina
กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกแบบ Unstable angina
กลุ่มผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด Myocardial infarction
กลุ่มผู้ป่วยที่มาด้วยเรื่องหัวใจวาย Congestive heart failure
กลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตเฉียบพลัน Sudden cardiac death


Acute Coronary Syndrome เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เฉียบพลัน แต่เดิมนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 3กลุ่มใหญ่คือ


unstable angina (UA)
non-ST elevation myocardial infarction (NSTEMI)
acute ST-elevation myocardial infarction (STEMI) กดเพื่อดูรูปคลื่นไฟฟ้า กดเพื่อนเรียนรู้เรื่องคลื่นไฟฟ้าหัวใจ


ในบทความนี้จะกล่าวละเอียด เฉพาะกลุ่ม ACS ที่ไม่ใช่ STEMI เพราะ STEMI นั้น มีการรักษาดูแลที่แตกต่างและพิเศษกว่ากลุ่มอื่นคลิกที่นี่


สาเหตุของ ACS


กลไกที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเชื่อว่าเป็นจากการที่หัวใจได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงไม่พอ ซึ่งมีสาเหตุหลัก 4 ประการ 1 คือ


ลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดหัวใจ(Occlusive or non-occlusive thrombus on pre-existing plaque) : เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของ ACS โดยผู้ป่วยส่วนมากจะมีคราบ (atherosclerosis plaque ) อยู่เดิมแล้ว ต่อมาเกิดลิ่มเลือด( thrombus formation ) อุดตัน พยาธิกำเนิดของการเกิด thrombus อุดตันอย่าง ฉับพลันนี้จะกล่าวโดยละเอียดต่อไป
Dynamic obstruction (coronary spasm) : เป็นกลไกอธิบายภาวะ โรคPrinzmetal’s angina ซึ่งผู้ป่วยมีหดเกร็งของหลอดเลือดหัวใจ( vasospasm) จากการบีบตัวมากไป( hypercontractility ) ของกล้ามเนื้อหลอดเลือด (vascular smooth muscle) หรือ endothelial dysfunction ทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกขึ้นขณะพักโดยที่ไม่ได้เกิดจากหลอดเลือดตีบ
Progressive mechanical obstruction : เกิดจาก atherosclerosis ตีบขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เกิดเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ progressive/worsening angina ถึงแม้ไม่มี plaque rupture หรือ vasospasm ก็ตาม กลุ่มนี้ทำให้เกิดโรค Angina pectoris
Secondary causes : ในกรณีนี้ ผู้ป่วยมหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่ก่อน (stable coronary artery disease) อยู่แล้ว แต่มีปัจจัยมากระตุ้นบางอย่างที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจต้องการเลือด ไปเลี้ยงมากขึ้น เช่น ไข้ หัวใจเต้นเร็ว โรคติดเชื้อ โรคคอพอกเป็นพิษ หรือ การที่มี myocardial oxygen delivery ลดลง เช่น ความดันต่ำ ภาวะเลือดจาง


กลไกการเกิดโรค


ลักษณะอาการทางคลินิก


อาการเจ็บหน้าอก


ลักษณอาการที่สำคัญของผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด Unstable angina/NonQ Myocardial infarction


Rest pain หรือเจ็บหน้าอกขณะพัก ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบมักจะมีอาการเจ็บหน้าอดเวลาทำงานหรือออกกำลังกาย หากเจ็บหน้าอกขณะพักและเจ็บนานเกิน 20นาทีก็ให้รีบสงสัยว่าจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดต้องรีบไปโรงพยาบาล
New onset angina ผู้ที่ไม่เคยเจ็บหน้าอกมาก่อน หากมีอาการเจ็บหน้าอกครั้งแรก อาการเจ็บหน้าอก แบบ angina ครั้งแรกที่เกิดขึ้นใหม่ภายในเวลาไม่เกิน 2 เดือน โดยมีระดับความรุนแรงของการเจ็บหน้าอกอย่าง น้อยเทียบเท่ากับ Canadian Cardiovascular Society (CCS) class III ก็ให้สงสัยว่าจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
Increasing angina อาการเจ็บหน้าอก แบบ angina ภายในเวลา 2 เดือน ที่มีอาการกำเริบ มากขึ้นทั้งในแง่ความรุนแรง ความถี่และระยะเวลาของ การแน่น หรืออาการเจ็บหน้าอกถูกกระตุ้นให้เกิดได้ง่ายกว่าเดิม โดยที่ระดับความรุนแรงของการเจ็บหน้าอก อย่างน้อย CCS class III


รเะดับความรุนแรงของการเจ็บหน้าอกแบ่งตาม CCS (canadian cardiology society)


ตารางแสดงระดับความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอก Angina pectoris ตาม Canadian Cardiovascular Society (CCS)
Class อาการเจ็บหน้าอก
1 กิจวัตรประจำวันไม่ทำให้เจ็บหน้าอก เช่นการเดินหรือขึ้นบันได แต่การทำงานหนักหรือเร็วและแรงจะทำให้เกิดเจ็บหน้าอก
2 หากทำกิจวัตรประจำวันอย่งเร็วจะเจ็บหน้าอก เช่นการเดินหรือขึ้นบันไดอย่างเร็ว การเดินขึ้นเขา การเดินอย่างเร็วหรือขึ้นบันไดหลังอาหาร อากาศหนาวหรือเย็น ความเครียด
3 เดินธรรมดาก็เจ็บหน้าอก
4 ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันเนื่องจากเจ็บหน้าอก หรืออาจจะเจ็บหน้าอกขณะพัก


จะเห็นว่าหากคุณมีอาการเจ็บหน้าอกที่รุนแรงระดับ4แสดงว่าหลอดเลือดคุณตีบหรือตันมากขึ้นกว่าระดับ 1


อาการเจ็บหน้าอกนี้เหมือนกับอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่


เมื่อซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วยแล้วก็นำมาประมวลผลว่า อาการเจ็บหน้าอกของผู้ป่วยรายนี้เหมือนกับอาการของหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบหรือไม่โดยประเมินจาก


โอกาสที่จะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดสูงHigh likelihood (85-99%) โดยจะมีข้อใดข้อหนึ่ง:
ประวัติเคยเจ็บป่วยจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
อาการเหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเป็นชายอายุมากกว่า 60 ปี และมากกว่า 70 ปีในหญิง
ระหว่างที่เจ็บหน้าอกมีการเปลี่ยนแปลงของสัญาณชีพ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
Variant angina (pain with reversible ST-segment elevation)
คลื่นไฟฟ้าหัวใจยกขึ้นหรือลดต่ำลง(ST-segment elevation or depression) 1 mm or
คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติแบบ Marked symmetrical T wave inversion in multiple precordial leads
มีโอกาสเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดปานกลาง(Intermediate likelihood) (15-84%)ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้:
อาการเหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเป็นชายอายุน้อยกว่า 60 ปี และน้อยว่า 70 ปีในหญิง
อาการไม่เหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเป็นชายอายุมากกว่า 60 ปี และมากกว่า 70 ปีในหญิง
อาการไม่เหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน diabetes mellitus
อาการไม่เหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด 2 หรือ 3 ข้อ (ปัจจัยเสี่งต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้แก่ เบาหวาน สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงl)
มีโรคหลอดเลือดอื่น เช่น อัมพฤต หรือเส้นเลือดขาตีบ
คลื่นไฟฟ้าผิดปกติ ST depression 0.05 to 1 mm
คลื่นไฟฟ้าผิดปกต T wave inversion 1 mm or greater in leads with dominant R waves
มีโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดต่ำ(Low likelihood) (1-14%)จะมีลักษณะดังต่อไปนี้:
อาการไม่เหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
มีปัจจัยเสี่ยงข้อเดียว
คลื่นไฟฟ้าผิดปกติ T-wave flattening or inversion less than 1 mm in leads with dominant R waves
คลื่นไฟฟ้าปกติ Normal ECG findings


ผู้ป่วยรายนี้มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน


หลังจากที่เราประเมินอาการเจ็บหน้าอก ละโอกาสการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแล้ว ก็มาประเมินว่าผู้ป่วยรายนี้เป็นรุ่นแรงหรือไม่ หรือความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมีมากหรือไม่ เพื่อที่จะได้ให้การรักษาตามความรุนแรงของโรค โดยจะประเมินจากคลิกที่นี่


กลุ่มที่เสี่ยงต่อการกิดโรค


ได้มีการศึกษาผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกและเป็นชนิด unstable angina ทั้งหมดประมาณ 3000 ครั้ง โรงพยาบาลที่เข้าร่วมในการศึกษา 35 โรงพบว่าผู้ป่วยเหล่านี้จะมีลักษณะดังต่อไปนี้


อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยประมาณ 62 ปี
ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุ65 ปีโดยคิดเป็นร้อยละ 44
ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยมีดังนี้
ความดันโลหิตสูงพบได้ 60%
โรคเบาหวานพบได้ 26%
ผู้ป่วยที่ยังคงสูบบุหรี่พบได้ 25%
ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงพบได้ 43%
ประวัติครอบครัวเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดพบได้ 42%
เคยเป็นอัมพาต 9%
เคยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายจากหลอดเลือดแดงตีบ 36%
เคยเจ็บหน้าอกแบบ angina - 66%
หัวใจวาย14%
เคยทำบอลลูนหัวใจ 23%
เคยผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจ 25%


การวินิจฉัยโรค


เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขององค์การอนามัยโรคกำหนดไว้ว่าอย่างน้อยต้องมีสองในสามข้อ ซึ่งประกอบด้วย


อาการเจ็บหน้าอกซึ่งเข้าได้กับกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซึ่งเจ็บนาน20 นาที อ่านเพิ่มเติมที่นี่
มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เจาะเลือดพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของเอ็นไซม์ที่หลั่งจากหัวใจ ( cardiac enzyme) คลิกที่นี่


Classification ของ UA


เนื่องจากผู้ป่วย ACS มี spectrum ความรุนแรง ของโรคที่แตกต่างกันมาก จึงมีความพยายามที่จะ แบ่งกลุ่มผู้ป่วย เพื่อช่วยพยากรณ์โรคและบอก prognosis Classification ที่ใช้กันบ่อยคือ Braunwald Classification ซึ่งแบ่งกลุ่มผู้ป่วย โดยคำนึง ถึง 3 ปัจจัย คือ


ความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอก
ลักษณะทางคลินิก และ
ยาที่ผู้ป่วยได้รับช่วง เกิดอาการ


การจำแนกชนิดของ unstable angina (Braunwald ‘s Classification)
Characteristic Class/Category Details
ความรุนแรงของการเจ็บปวด I อาการเจ็บหน้าอกเพิ่งจะเกิด หรือ อาการเจ็บหน้าอกเป็นมากขึ้นในช่วงสองเดือน เจ็บหน้าอกวันละ 2-3 ครั้งต่อวัน ออกกำลังกายไม่มากก็เจ็บหน้าอก ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาไม่มีอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก
II เจ็บหน้าอกขณะพักในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่ไม่ได้ในช่วง 48 ชมก่อนมาโรงพยาบาล
III เจ็บหน้าอกขณะพักหลายครั้งใน 48 ชมที่ผ่านมา
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เจ็บหน้าอก A มีอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากโลหิตจาง หรือการติดเชื้อ ความดันดลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว คอพอกเป็นพิษ หายใจวาย
B อาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบ
C มีอาการเจ็บหน้าอกภายในสองสัปดาห์หลังจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด Post infarction unstable angina (within 2 weeks of documented MI)
การรักษาขณะเกิดอาการ 1 ยังไม่ได้รักษาAbsence of treatment or minimal treatment
2 ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน (conventional doses of oral beta-blockers, nitrates, and calcium antagonists)
3 ได้การรักษาด้วยยาเต็มที่แล้ว


ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อท่านได้ไปถึงโรงพยาบาล


แพทย์หรือเจ้าหน้าที่จะซักประวัติการเจ็บป่วยของท่าน ประวัติการรักษา อาการสำคัญที่ท่านเป็นอยู่
ตรวจร่างกายโดยเจ้าหน้าที่หรือแพทย์ซึ่งจะต้องตรวจวัดความดันโลหิต ชีพขจร การหายใจ และอุณหภูมิ
หากประวัติและการตรวจร่างกายเข้าได้กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแพทย์จะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที
เจาะเลือดตรวจหา cardiac enzyme ว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่
ประเมินว่าอาการป่วยของท่าน เกิดจากโรคอื่น เกิดจากหัวใจขาดเลือดซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มอาการ angina กลุ่มอาการ unstable stable angina , กลุ่ม Non Q Myocardial infarction,กลุ่มอาการ ST Elevate Myocardial infarction
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและผลเลือดไม่เหมือนโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก็ให้อยู่สัเกตอาการ และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และตรวจเลือดซ้ำ
สำหรับผู้ป่วยที่ตรวจซ้ำทั้งคลื่นไฟฟ้าและผลเลือดปกติ แนะนำให้มาตรวจหัวใจโดยอาจจะใช้การวิ่งสายพานหรือใช้ยากระตุ้นให้หัวใจทำงานเพื่อจะตรวจว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่
สำหรับผู้ป่วยที่ผลการตรวจร่างกาย ผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และผลเลือดเข้าได้กลับกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะต้องได้รับการประเมินว่า 1กลุ่มที่สาเหตุน่าจะเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด 2 ความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด
แพทย์จะให้การรักษาตามความหนักหรือความรุนแรงของโรค


การรักษา


จุดมุ่งหมายของการรักษา คือ


ทำให้อาการ เจ็บ แน่นหน้าอกดีขึ้น ป้องกันการเกิด AMI หรือ reinfarction
ป้องกันการเกิด sudden cardiac death


การที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้


การรักษาเพื่อลดการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ
การให้ยาต้านเกร็ดเลือด
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
การประเมินความเสี่ยงที่จะเสียชีวิต
การเลือกการรักษา


ขั้นตอนการรักษามีดังนี้


ให้ผู้ป่วยนอนพัก ติดเครื่องติดตามการเต้นของหัวใจ
ให้ออกซิเจน และติดตามระดับออซิเจนให้มากกว่า 90 %
ผู้ป่วยที่มีอาการแน่หน้าอกความจะได้อมยาNTG ทุก 5 นาที 3 ครั้ง
หากอมยาแล้วไม่หายปวดก็จะพิจารณาให้ยา NTG ทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 48 ชมเพื่อรักษาภาวะหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง
ให้ Beta-blocker ภายใน 24 ชมหากไม่มีข้อห้ามดังต่อไปนี้


หัวใจวาย
หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายน้อย low output state
มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะช็อคเนื่องจากหัวใจ
ความเสี่ยงอื่นๆ เช่น หัวใจเต้นช้า โรคหอบหืด


หากไม่สามารถให้ยากลุ่ม Beta-blocker ก็อาจจะพิจารณาให้ยา verapamil หรือ diltiazem แทน
ให้ยากลุ่ม ACE Inhibitor ภายใน 24 ชมในรายที่มีหลักฐานว่าหัวใจทำงานน้อยแต่ยังไม่มีภาวะความันโลหิตต่ำ
หากผู้ป่วยทนต่อยาในกลุ่ม ACE Inhibitor ไม่ได้ก็ให้ยากลุ่ม angiotensin blocker แทน
การดูแลรักษาทั่วไป: เช่นการพัก, ให้ออกซิเจน, การให้ยานอนหลับ และ ยาแก้ปวด เช่น morphine รวมถึงการแก้ไขปัจจัยส่งเสริม เช่น เช่น ภาวะโลหิตจาง, ติดเชื้อ, หัวใจเต้นผิดปกติ, คอพอกเป็นพิษ เป็ นต้น
ยาที่ใช้รักษาแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ


2.1 Anti-ischemic drugs : Nitrates, Betablockers, Calcium- blockers
2.2 Antiplatelets
2.3 Anticoagulants
2.4Glycoprotein (GP) IIb/IIIa inhibitors


การดูแลตัวเองหลังออกจากโรงพยาบาล


สำหรับท่านผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลและอาการดีขึ้น แพทย์จะให้ท่านกลับบ้าน แต่ท่านจะต้องมีภาระหน้าที่ร่วมกับแพทย์สองประการได้แก่


การเตรียมตัวเพื่อที่จะไปดำรงชีวิตเหมือนปกติ
จะต้องทบทวนการดูแลตัวเองที่ผ่านมาว่าได้ละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องใดบ้าง เมื่อทราบแล้วท่านต้องปรับพฤติกรรมตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบขึ้นมาอีก


การใช้ยาในการป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด


ยาที่ใช้ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบซ้ำก็จะเหมือนกับการรักษาโรคหลอดเลือดตีบ กล่าวคือจะต้องมียาที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงอยู่ได้แก่


ยาลดความดันโลหิตสูง
ยาลดไขมัน
ยาต้านเกร็ดเลือด
ยารักษาโรคเบาหวาน


สิ่งที่ผู้ป่วยจะต้องเรียนรู้ก่อนที่จะกลับบ้าน


การรักษาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ


ภาวะไขมันในเลือดสูงโดยเฉพาะไขมัน Cholesterol LDL สูงจากการศึกษาพบว่าการให้ยา Statin เพื่อลดไขมันจะลดการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงไว้ไม่ให้เกิน 130/80 mmHg
สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่แนะนำให้เลิกบุหรี่โดยเด็ดขาด
การควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
ผู้ที่มีน้ำหนักเกินต้องลดน้ำหนักลงให้ใกล้เคียงน้ำหนักที่เหมาะสม
หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS and COX-2–selective inhibitors เพราะจะทำให้เกิดโรคหัวใจ
สำหรับยาที่นิยมให้เช่น Folic acid/B-vitamin vitamins C, E, beta carotene ที่เคยเชื่อว่าป้องกันโรคหัวใจได้ แต่จากการศึกษาพบว่าไม่ได้ลดโอกาสเกิดโรคหัวใจจึงไม่แนะนำ


การออกกำลังกาย


การออกกำลังกานอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้หัวใจทำงานดีขึ้น น้ำหนักลดลง และลดปัจจัยเสี่งอื่นๆอีก การออกกำลังควรจะเริ่มหลังจากอาการดีขึ้นแล้วหนึ่งสัปดาห์ ดดยจะออกกำลังให้หัวใจเต้นประมาณ 60-70% สำหรับการออกกำลังกายแบบ aerobic และยกน้ำหนักควรจะทำหลังจากอาการดีขึ้นแล้ว4 สัปดาห์